Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๐…
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง (๑๑) (จ) มาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมติคณะกรรมการคุรุสภา ในการประชุมครั้งที่ 2/๕๐ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคณะกรรมการคุรุสภาว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพไว้ ดังต่อไปนี้
หมวดที่ ๔
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพศึกษานิเทศก์
ส่วนที่ ๓
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ข้อ ๒๒ ศึกษานิเทศก์ ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กําลังใจ แก่ศิษย์ และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า ศึกษานิเทศก์ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ทักษะและ นิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ ศึกษานิเทศก์ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจาและจิตใจ ศึกษานิเทศก์ต้องไม่กระทําตน เป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ และ ศึกษานิเทศก์ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จาก การใช้ตําแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) สนับสนุน ส่งเสริมผู้รับการนิเทศให้ประสบความสําเร็จตามความถนัด ความสนใจ และศักยภาพของแต่ละคน
(๒) ส่งเสริมให้มีการดําเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาส
(๓) มีข้อมูล แนวทางปฏิบัติที่หลากหลายให้ผู้รับการนิเทศนําไปใช้เป็นตัวอย่าง
(๔) รับฟังความคิดเห็นที่มีเหตุผลของผู้รับการนิเทศ
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อย่างมุ่งมั่น ตั้งใจ เพื่อให้ผู้รับการนิเทศพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
(๖) ให้ผู้รับการนิเทศได้ร่วมวางแผนพัฒนาตนเองและเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับตนเอง
(๗) เสริมสร้างความภาคภูมิใจให้ผู้รับการนิเทศด้วยการรับฟังความคิดเห็น ยอย่อง ชมเชย และให้กําลังใจอย่างกัลยาณมิตร
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) ปฏิบัติงานมุ่งประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเลือกปฏิบัติ
(๒) เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้รับบริการในงานตามบทบาทหน้าที่
ส่วนที่ 4
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๒๓ ศึกษานิเทศก์จึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบ คุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผน พฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) เสียสละ เอื้ออาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๒) ส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๓) เป็นผู้นําในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
(๔) ยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๕) มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกัน ผนึกกําลังในการพัฒนาการศึกษา
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) นําเสนอแง่มุมทางลบต่อวิชาชีพ ข้อเสนอไม่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา
(๒) สร้างกลุ่มอิทธิพลภายในองค์การ หรือกลั่นแกล้งผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ให้เกิดความเสียหาย
(๓) แนะนําในทางไม่ถูกต้องต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ จนทําให้เกิดผลเสียต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๔) ปิดบังข้อมูลข่าวสารในการปฏิบัติงาน จนทําให้เกิดความเสียหายต่องานหรือผู้ร่วม ประกอบวิชาชีพ
(๕) ใช้อํานาจหน้าที่ปกป้องพวกพ้องของตนที่กระทําผิด โดยไม่คํานึงถึงความเสียหาย ที่เกิดขึ้นกับผู้ร่วมประกอบวิชาชีพหรือองค์การ
(๖) แอบอ้างชื่อหรือผลงานของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพเพื่อประโยชน์ของตน
(๗) วิพากษ์ วิจารณ์ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพในเรื่องที่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือ แตกความสามัคคี
ส่วนที่ ๒
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข้อ ๒๑ ศึกษานิเทศก์ ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็น สมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ
(๒) รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
(๓) ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพให้สาธารณชนรับรู้
(๔) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต ตามกฎ ระเบียบ และแบบแผน ของทางราชการ
(๕) เลือกใช้หลักการ วิธีการที่ถูกต้อง ได้ผลดี ทันสมัย และสอดรับกับผู้รับการนิเทศ
(๖) อุทิศตนเพื่อประโยชน์ของผู้รับการนิเทศและความก้าวหน้าของวิชาชีพ
(๗) สร้างสรรค์เทคนิค วิธีการใหม่ ๆ ทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพ เป็นสมาชิกที่ดี ขององค์กรวิชาชีพ
(๘) แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิกในองค์การหรือวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ใช้ศาสตร์ องค์ความรู้ในการปฏิบัติงาน
(๙) เข้าร่วม ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์ กิจกรรมของวิชาชีพหรือองค์กรวิชา อย่างสร้างสรรค์
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) วิพากษ์หรือวิจารณ์องค์การหรือวิชาชีพ จนทําให้เกิดความเสียหาย
(๒) ดูหมิ่น เหยียดหยาม ให้ร้ายผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ศาสตร์ในวิชาชีพ หรือองค์กรวิชาชีพ
(๓) ประกอบการงานอื่นที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(๔) ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่รับผิดชอบหรือไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบหรือแบบแผนของ ทางราชการจนก่อให้เกิดความเสียหาย
(๕) คัดลอกหรือนําผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
(๖) ใช้ความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพหรืออาศัยองค์กรวิชาชีพแสวงหาประโยชน์เพื่อ ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
ส่วนที่ 5
จรรยาบรรณต่อสังคม
ข้อ ๒๔ ศึกษานิเทศก์ พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นําในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่น ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพึงประพฤติและละเว้น การประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริม การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในทางวิชาการหรือวิชาชีพแก่ชุมชน
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อให้ศิษย์และผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้และ สามารถดําเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(๔) เป็นผู้นําในการวางแผนและดําเนินการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาเศรษฐกิจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรม
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) ไม่ให้ความร่วมมือหรือสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนที่จัดเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม
(๒) ไม่ให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์หรือพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหรือสิ่งแวดล้อม
(๓) ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์หรือพัฒนาสิ่งแวดล้อม
(๔) ปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนหรือสังคม
ส่วนที่ ๑
จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้อ ๒๐ ศึกษานิเทศก์ ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และ วิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ โดยต้องประพฤติ และละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) เกี่ยวข้องกับอบายมุขหรือเสพสิ่งเสพติดจนขาดสติ
หรือแสดงกิริยาไม่สุภาพ เป็นที่น่ารังเกียจในสังคม
(๒) ประพฤติผิดทางชู้สาวหรือมีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ
(๓) ปฏิบัติตนหรือปฏิบัติงานที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
(๔) ไม่รับรู้ ไม่แสวงหาความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแนวคิดเพื่อการพัฒนา ตนเองและวิชาชีพ
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี
(๒) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สําเร็จอย่างมีคุณภาพตามเป้าหมายที่กําหนด
(๓) ศึกษาหาความรู้ วางแผนพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และสะสมผลงานอย่างสม่ำเสมอ
(๔) สร้างผลงานที่แสดงถึงการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ
(๕) ค้นหาวิธีการทํางาน การพัฒนาวิชาชีพและสามารถนํามาประยุกต์ให้เกิดผล ต่อผู้รับการนิเทศ
(๖) นิเทศโดยยึดผู้รับการนิเทศเป็นสําคัญด้วยกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ
(๗) พัฒนาวิสัยทัศน์โดยผสมผสานนวัตกรรม เทคโนโลยี และแนวคิด เพื่อใช้ในการ พัฒนาวิชาชีพ
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๐
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้
“แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ” หมายความว่า ประมวลพฤติกรรมที่เป็น ตัวอย่างของการประพฤติที่กําหนดขึ้นตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ต้องหรือพึงประพฤติปฏิบัติตาม ประกอบด้วย พฤติกรรมที่พึงประสงค์ ที่กําหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องหรือ พึงประพฤติตาม และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ที่กําหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องหรือ พึงละเว้น
“จรรยาบรรณของวิชาชีพ” หมายความถึง มาตรฐานการปฏิบัติตนตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย
มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘
ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการคุรุสภารักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอํานาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่ง เพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ รวมทั้ง ให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา เกี่ยวกับการปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในข้อบังคับ
หมวด 1
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
ส่วนที่ ๑
จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้อ ๕ ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทัน ต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติ ตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี
(๒) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการดําเนินชีวิตตามประเพณี และวัฒนธรรมไทย
(๓) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สําเร็จอย่างมีคุณภาพ ตามเป้าหมายที่กําหนด
(๔) ศึกษา หาความรู้ วางแผนพัฒนาตนเอง
พัฒนางาน และสะสมผลงานอย่างสม่ําเสมอ
(๕) ค้นคว้า แสวงหา และนําเทคนิคด้านวิชาชีพที่พัฒนาและก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับ
มาใช้แก่ศิษย์และผู้รับบริการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่พึงประสงค์
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) เกี่ยวข้องกับอบายมุขหรือเสพสิ่งเสพติดจนขาดสติหรือแสดงกิริยาไม่สุภาพ เป็นที่น่ารังเกียจในสังคม
(๒) ประพฤติผิดทางชู้สาวหรือมีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ
(๓) ขาดความรับผิดชอบ ความกระตือรือร้น ความเอาใจใส่ จนเกิดความเสียหาย ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่
(๔) ไม่รับรู้หรือไม่แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ในการจัดการเรียนรู้ และการปฏิบัติหน้าที่
(๕) ขัดขวางการพัฒนาองค์การจนเกิดผลเสียหาย
ส่วนที่ ๒
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข้อ 6 ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีของ ร ต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) ไม่แสดงความภาคภูมิใจในการประกอบวิชาชีพ
(๒) ดูหมิ่น เหยียดหยาม ให้ร้ายผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ศาสตร์ในวิชาชีพ หรือองค์กรวิชาชีพ
(๓) ประกอบการงานอื่นที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(๔) ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่รับผิดชอบ หรือไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ หรือแบบแผนของ ทางราชการจนก่อให้เกิดความเสียหาย
(๕) คัดลอกหรือนําผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
(๖) ใช้หลักวิชาการที่ไม่ถูกต้องในการปฏิบัติวิชาชีพ ส่งผลให้ศิษย์หรือผู้รับบริการเกิดความเสียหาย
(๗) ใช้ความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพ หรืออาศัยองค์กรวิชาชีพแสวงหาประโยชน์เพื่อ ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ
(๒) รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
(๓) ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพให้สาธารณชนรับรู้
(๔) อุทิศตนเพื่อความก้าวหน้าของวิชาชีพ
(๕) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริตตามกฎ ระเบียบ และแบบแผนของทางราชการ
(๖) เลือกใช้หลักวิชาที่ถูกต้อง สร้างสรรค์เทคนิค วิธีการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาวิชาชีพ
(๗) ใช้องค์ความรู้หลากหลายในการปฏิบัติหน้าที่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิก ในองค์การ
(๘) เข้าร่วมกิจกรรมของวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์
ส่วนที่ ๓
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ข้อ ๗ ครูต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กําลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า ครูต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัย ที่ถูกต้องดีงาม แก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ ครูต้องไม่กระทําตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความ เจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ และครูต้องให้บริการด้วย ความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตําแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) ให้คําปรึกษาหรือช่วยเหลือศิษย์และผู้รับบริการด้วยความเมตตากรุณา
อย่างเต็มกําลัง ความสามารถและเสมอภาค
(๒) สนับสนุนการดําเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาส
(๓) ตั้งใจ เสียสละ และอุทิศตนในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ศิษย์และผู้รับบริการได้รับ
การพัฒนาตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจของแต่ละบุคคล
(๔) ส่งเสริมให้ศิษย์และผู้รับบริการสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย
(๕) ให้ศิษย์และผู้รับบริการ มีส่วนร่วมวางแผนการเรียนรู้ และเลือกวิธีการปฏิบัติ ที่เหมาะสมกับตนเอง
(๖) เสริมสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ศิษย์และผู้รับบริการด้วยการรับฟัง
ความคิดเห็น ยกย่อง ชมเชย และให้กําลังใจอย่างกัลยาณมิตร
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) ลงโทษศิษย์อย่างไม่เหมาะสม
(๒) ไม่ใส่ใจหรือไม่รับรู้ปัญหาของศิษย์
หรือผู้รับบริการ
จนเกิดผลเสียหายต่อศิษย์หรือ ผู้รับบริการ
(๓) ดูหมิ่นเหยียดหยามศิษย์หรือผู้รับบริการ
(๔) เปิดเผยความลับของศิษย์หรือผู้รับบริการ
เป็นผลให้ได้รับความอับอายหรือเสื่อมเสียชื่อเสียง
(๕) จูงใจ โน้มน้าว ยุยงส่งเสริมให้ศิษย์
หรือผู้รับบริการปฏิบัติขัดต่อศีลธรรมหรือกฎระเบียบ
(๖) ชักชวน ใช้ จ้าง วานศิษย์หรือผู้รับบริการ ให้จัดซื้อ จัดหาสิ่งเสพติด หรือเข้าไป เกี่ยวข้องกับอบายมุข
(๗) เรียกร้องผลตอบแทนจากศิษย์หรือผู้รับบริการ ในงานตามหน้าที่ที่ต้องให้บริการ
ส่วนที่ ๔
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๘ ครูพึ่งช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) เสียสละ เอื้ออาทร และให้ความช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๒) มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกันผนึกกําลังในการพัฒนาการศึกษา
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) ปิดบังข้อมูลข่าวสารในการปฏิบัติงาน
จนทําให้เกิดความเสียหายต่องานหรือผู้ร่วม ประกอบวิชาชีพ
(๒) ปฏิเสธความรับผิดชอบ โดยตําหนิ ให้ร้ายผู้อื่นในความบกพร่องที่เกิดขึ้น
(๓) สร้างกลุ่มอิทธิพลภายในองค์การหรือกลั่นแกล้งผู้ร่วมประกอบวิชาชีพให้เกิดความเสียหาย
(๔) เจตนาให้ข้อมูลเท็จทําให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเกิดความเสียหายต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๕) วิพากษ์ วิจารณ์ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพในเรื่องที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือแตกความสามัคคี
ส่วนที่ ๕
จรรยาบรรณต่อสังคม
ข้อ ๙ ครูพึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นําในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพึงประพฤติและละเว้น การประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) นําภูมิปัญญาท้องถิ่นและศิลปวัฒนธรรมมา
เป็นปัจจัยในการจัดการศึกษาให้เป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวม
(๓) จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ศิษย์เกิดการเรียนรู้
และสามารถดําเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจ พอเพียง
(๔) เป็นผู้นําในการวางแผนและดําเนินการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
พัฒนาเศรษฐกิจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรม
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) ไม่ให้ความร่วมมือหรือสนับสนุนกิจกรรม
ของชุมชนที่จัดเพื่อประโยชน์ ต่อการศึกษาทั้งทางตรงหรือทางอ้อม
(๒) ไม่แสดงความเป็นผู้นําในการอนุรักษ์หรือ
พัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา
ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหรือสิ่งแวดล้อม
(๓) ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์หรือพัฒนาสิ่งแวดล้อม
(๔) ปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนหรือสังคม
หมวด ๓
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
ส่วนที่ ๓
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ข้อ ๑๓ ผู้บริหารการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กําลังใจ แก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า ผู้บริหารการศึกษาต้องส่งเสริมให้เกิดการ เรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้บริหารการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจาและ จิตใจ ผู้บริหารการศึกษาต้องไม่กระทําตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ และผู้บริหารการศึกษาต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภา โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตําแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ โดยต้องประพฤติและ ละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) ปฏิบัติงานหรือให้บริการอย่างมีคุณภาพ
โดยคํานึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้รับบริการ
(๒) ส่งเสริมให้มีการดําเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาส
(๓) บริหารงานโดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(๔) รับฟังความคิดเห็นที่มีเหตุผลของผู้รับบริการ
(๕) ปฏิบัติหน้าที่อย่างมุ่งมั่น ตั้งใจเพื่อให้ผู้รับบริการพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
(๖) ให้ผู้รับบริการ ได้ร่วมวางแผนการปฏิบัติงานและเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมกับตนเอง
(๗) เป็นกัลยาณมิตรกับผู้รับบริการ
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) ปฏิบัติงานมุ่งประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง ไม่เป็นธรรมหรือมีลักษณะเลือกปฏิบัติ
(๒) เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้รับบริการ ในงานตามบทบาทหน้าที่
ส่วนที่ ๔
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๑๘ ผู้บริหารการศึกษา จึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่น ในระบบคุณธรรมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผน พฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) ริเริ่มสร้างสรรค์ในการบริหารเพื่อให้เกิดการพัฒนาทุกด้านต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๒) ส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๓) เป็นผู้นําในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
(๔) ใช้ระบบคุณธรรมในการพิจารณาผลงานของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๕) มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกันผนึกกําลังในการพัฒนาการศึกษา
(๖) ยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) นำเสนอแง่มุมทางลบต่อวิชาชีพ ข้อเสนอไม่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา
(๒) ปกปิดความรู้ ไม่ช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๓) แนะนำในทางไม่ถูกต้องต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ จนทําให้เกิดผลเสียต่อผู้ร่วม ประกอบวิชาชีพ
(๔) ไม่ให้ความช่วยเหลือหรือร่วมมือกับผู้ร่วมประกอบวิชาชีพในเรื่องที่ตนมีความถนัด แม้ได้รับการร้องขอ
(๕) ปฏิบัติหน้าที่โดยคํานึงถึงความพึงพอใจของตนเองเป็นหลัก ไม่ตระหนักถึงความ แตกต่างระหว่างบุคคลของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๖) ใช้อํานาจหน้าที่ปกป้องพวกพ้องของตนที่กระทําผิด โดยไม่คํานึงถึงความเสียหาย ที่เกิดขึ้นกับผู้ร่วมประกอบวิชาชีพหรือองค์การ
(๗) ยอมรับและชมเชยการกระทําของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพที่บกพร่องต่อหน้าที่หรือ ศีลธรรมอันดี
(๘) วิพากษ์ วิจารณ์ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพในเรื่องที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือแตกความสามัคคี
ส่วนที่ ๒
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข้อ ๑๖ ผู้บริหารการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็น สมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) วิพากษ์หรือวิจารณ์องค์การหรือวิชาชีพ จนทําให้เกิดความเสียหาย
(๒) ดูหมิ่น เหยียดหยาม ให้ร้ายผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ศาสตร์ในวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพ
(๓) ประกอบการงานอื่นที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(๔) ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่รับผิดชอบหรือไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบหรือแบบแผน ของทางราชการ จนก่อให้เกิดความเสียหาย
(๕) ละเลย เพิกเฉยหรือไม่ดําเนินการต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณ
(๖) คัดลอกหรือนําผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
(๗) บิดเบือนหลักวิชาการในการปฏิบัติงาน จนก่อให้เกิดความเสียหาย
(๘) ใช้ความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพหรืออาศัยองค์กรวิชาชีพแสวงหาประโยชน์เพื่อ ตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ
(๒) รักษา ชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
(๓) ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพให้สาธารณชนรับรู้
(๔) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต ตามกฎ ระเบียบ และแบบแผน ของทางราชการ
(๕) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และใช้ความรู้ ความสามารถในการพัฒนาครู และบุคลากร
(๖) ให้ความร่วมมือจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนางานที่ตนปฏิบัติ หรอ ที่รับผิดชอบ โดยไม่เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนที่ควรได้รับ
(๗) สนับสนุน ส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และนําเสนอผลงาน ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวิชาชีพ
(๘) สร้างสรรค์เทคนิค วิธีการใหม่ทางการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพ
(๙) เข้าร่วม ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์ กิจกรรมของวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพอย่างสร้างสรรค์
ส่วนที่ ๕
จรรยาบรรณต่อสังคม
ข้อ ๑๕ ผู้บริหารการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นําในการอนุรักษ์และพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพึงประพฤติ และละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริม การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในทางวิชาการหรือวิชาชีพแก่ชุมชน
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อให้ศิษย์และผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้และ สามารถดําเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(๔) เป็นผู้นําในการวางแผนและดําเนินการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พัฒนาเศ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรม
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) ไม่ให้ความร่วมมือหรือสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนที่จัดเพื่อประโยชน ต่อการศึกษาทั้งทางตรงหรือทางอ้อม
(๒) ไม่แสดงความเป็นผู้นําในการอนุรักษ์หรือพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหรือสิ่งแวดล้อม
(๓) ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์หรือพัฒนาสิ่งแวดล้อม
(๔) ปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนหรือสังคม
ส่วนที่ ๑
จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้อ ๑๕ ผู้บริหารการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ โดยต้อง ประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) เกี่ยวข้องกับอบายมุขหรือเสพสิ่งเสพติดจนขาดสติหรือแสดงกิริยาไม่สุภาพ เป็นที่น่ารังเกียจในสังคม
(๒) ประพฤติผิดทางชู้สาวหรือมีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ
(๓ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่กระตือรือร้น ไม่เอาใจใส่จนปฏิบัติงาน ไม่แล้วเสร็จ
ทันเวลาหรือเป้าหมายที่กําหนดและทําให้เกิดความเสียหายต่องานในหน้าที่
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี
(๒) ศึกษา ค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาวิชาชีพอยู่เสมอ
(๓) ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ
(๔) นําแนวทางหรือรูปแบบใหม่มาใช้ในการปฏิบัติงานจนเกิดประโยชน์ต่อ ในหน้าที่และองค์การ
(๕) สามารถใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน
(๖) สร้างผลงานที่แสดงถึงการค้นพบและพัฒนาความรู้ ความคิดในวิชาชีพ
(๗) เป็นผู้นําในการจัดทําแผนปฏิบัติการ ให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและก้าวทัน การเปลี่ยนแปลงในอนาคต
หมวด ๒
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
ส่วนที่ ๑
จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้อ ๑๐ ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) ประพฤติตนเหมาะสมกับสถานภาพและเป็นแบบอย่างที่ดี
(๒) ศึกษา ค้นคว้า ริเริ่มสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาวิชาชีพอยู่เสมอ
(๓) ส่งเสริมและพัฒนาครูในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้
(๔) สร้างผลงานที่แสดงถึงการพัฒนาความรู้และความคิดในวิชาชีพจนเป็นที่ยอมรับ
(๕) ส่งเสริมการปฏิบัติงานโดยมีแผนปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) เกี่ยวข้องกับอบายมุขหรือเสพสิ่งเสพติดจนขาดสติ
หรือแสดงกิริยาไม่สุภาพ เป็นที่น่ารังเกียจในสังคม
(๒) ประพฤติผิดทางชู้สาวหรือมีพฤติกรรมล่วงละเมิดทางเพศ
(๓) ไม่พัฒนาความรู้ในวิชาชีพเพื่อพัฒนาตนเองและองค์การ
(๔) ไม่ส่งเสริมการนําเทคโนโลยีสารสนเทศ
เพื่อไปปรับปรุงพัฒนาการจัดการศึกษา อย่างต่อเนื่อง
(๕) ไม่มีแผนหรือไม่ปฏิบัติงานตามแผน ไม่มีการประเมินผล
หรือไม่นําผลการประเมิน มาจัดทําแผนปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง
ส่วนที่ ๓
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ข้อ ๑๒ ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กําลังใจ แก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า ผู้บริหารสถานศึกษาต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงาม แก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ ผู้บริหารสถานศึกษาต้องไม่กระทําตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์และผู้รับบริการ และผู้บริหารสถานศึกษาต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับผลประโยชน์ จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) ปฏิบัติงานหรือให้บริการอย่างมีคุณภาพ โดยคํานึงถึงสิทธิขั้นพื้อฐานของผู้รับบริการ
(๒) ส่งเสริมให้มีการดําเนินงานเพื่อปกป้องสิทธิเด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาส
(๓) บริหารงานโดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(๔) รับฟังความคิดเห็นที่มีเหตุผลของศิษย์และผู้รับบริการ
(๕) ให้ครูและบุคลากร มีส่วนร่วมวางแผนการปฏิบัติงานและเลือกวิธีการปฏิบัติ ที่เหมาะสมกับตนเอง
(๖) เสริมสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ศิษย์และผู้รับบริการ ด้วยการรับฟังความคิดเห็น ยกย่อง ชมเชย และให้กําลังใจอย่างกัลยาณมิตร
(๗) ให้ศิษย์และผู้รับบริการ ได้มีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิด หรือวิธีการ ที่เป็น ประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาชีพ
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) ปฏิบัติงานมุ่งประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเลือกปฏิบัติ
(๒) เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนจากผู้รับบริการ ในงานตามบทบาทหน้าที่
ส่วนที่ ๕
จรรยาบรรณต่อสังคม
ข้อ ๑๔ ผู้บริหารสถานศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นําในการอนุรักษ์และพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยพึงประพฤติ และละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) ไม่ให้ความร่วมมือหรือสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนที่จัดเ ต่อการศึกษาทั้งทางตรงหรือทางอ้อม
(๒) ไม่แสดงความเป็นผู้นําในการอนุรักษ์หรือพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหรือสิ่งแวดล้อม
(๓) ไม่ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ์หรือพัฒนาสิ่งแวดล้อม
(๔) ปฏิบัติตนเป็นปฏิปักษ์ต่อวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนหรือสังคม
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) ยึดมั่น สนับสนุน และส่งเสริม การปกครอ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๒) ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือในทางวิชาการหรือวิชาชีพแก่ชุมชน
(๓) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อให้ศิษย์และผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้และ สามารถดําเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
(๔) เป็นผู้นําในการวางแผนและดําเนินการเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
พัฒนาเศรษฐกิจ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ ๒
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข้อ ๑๑ ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และ เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ โดยต้องประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผนพฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) แสดงความชื่นชมและศรัทธาในคุณค่าของวิชาชีพ
(๒) รักษาชื่อเสียงและปกป้องศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
(๓) ยกย่องและเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานในวิชาชีพให้สาธารณชนรับรู้
(๔) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต ตามกฎ ระเบียบ และแบบแผนของทางราชการ
(๕) ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และใช้ความรู้ความสามารถในการพัฒนาครูและบุคลากร
(๖) สนับสนุนการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับ การพัฒนาครู การเรียนการสอน และ การบริหารสถานศึกษา
(๗) ส่งเสริมให้ครูและบุคลากร ได้ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และนําเสนอผลงาน ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
(๘) เข้าร่วม ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์ กิจกรรมของวิชาชีพ หรือองค์กรวิชาชีพ อย่างสร้างสรรค์
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) วิพากษ์หรือวิจารณ์องค์การหรือวิชาชีพ จนทําให้เกิดความเสียหาย
(๒) ดูหมิ่น เหยียดหยาม ให้ร้ายผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ ศาสตร์ในวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพ
(๓) ประกอบการงานอื่นที่ไม่เหมาะสมกับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา
(๔) ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่รับผิดชอบหรือไม่ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ
หรือแบบแผนของ ทางราชการ จนก่อให้เกิดความเสียหาย
(๕) ละเลยเพิกเฉยหรือไม่ดําเนินการต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณ
(๖) คัดลอกหรือนําผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
(๗) บิดเบือนหลักวิชาการในการปฏิบัติงานจนก่อให้เกิดความเสียหาย
(๘) ใช้ความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพหรืออาศัยองค์กรวิชาชีพแสวงหาประโยชน์ เพื่อตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ
ส่วนที่ ๔
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๑๓ ผู้บริหารสถานศึกษา จึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่น ในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ โดยพึงประพฤติและละเว้นการประพฤติตามแบบแผน พฤติกรรม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
(ก) พฤติกรรมที่พึงประสงค์
(๑) ริเริ่มสร้างสรรค์ในการบริหารเพื่อให้เกิดการพัฒนาทุกด้านต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๒) ส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๓) เป็นผู้นําในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
(๔) ใช้ระบบคุณธรรมในการพิจารณาผลงานของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๕) มีความรัก ความสามัคคี และร่วมใจกัน ผนึกกําลังในการพัฒนาการศึกษา
(๖) ยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(ข) พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
(๑) นําเสนอแง่มุมทางลบต่อวิชาชีพ ข้อเสนอไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา
(๒) ปกปิดความรู้ ไม่ช่วยเหลือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๓) แนะนําในทางไม่ถูกต้องต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพจนทําให้เกิดผลเสียต่อผู้ร่วม ประกอบวิชาชีพ
(๔) ไม่ให้ความช่วยเหลือหรือร่วมมือกับผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ในเรื่องที่ตนมีความถนัด แม้ได้รับการร้องขอ
(๕) ปฏิบัติหน้าที่โดยคํานึงถึงความพึงพอใจของตนเองเป็นหลัก
ไม่ตระหนักถึงความ แตกต่างระหว่างบุคคลของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(๖) ใช้อํานาจหน้าที่ปกป้องพวกพ้องของตนที่กระทําผิด
โดยไม่คํานึงถึงความเสียหาย ที่เกิดขึ้นกับผู้ร่วมประกอบวิชาชีพหรือองค์การ
(๗) ยอมรับและชมเชยการกระทําของผู้ร่วมประกอบวิชาชีพที่บกพร่องต่อหน้าที่หรือ ศีลธรรมอันดี
(๘) วิพากษ์ วิจารณ์ผู้ร่วมประกอบวิชาชีพในเรื่องที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือ แตกความสามัคคี
ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖โดยที่เป็นการสมควรยกเลิกข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ ของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) (๑๑) (จ) และมาตรา ๕๐ แห่งพระราชบัญญัติ สภา ครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ ประกอบกับมติคณะกรรมการคุรุสภา ในการประชุม ครั้งที่ ๕/ ๒๕๕๖ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๖ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการคุรุสภาจึงออกข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖”
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548
ข้อบังคับคุรุสภาฉบับใดอ้างอิงข้อบังคับคุรุสภาฉบับที่ยกเลิกแล้วตามวรรคหนึ่ง รวมทั้งระเบียบ หรือ ประกาศใดที่ออกภายใต้ข้อบังคับดังกล่าว ให้ถือว่าอ้างอิงข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ หรือข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๖ แล้วแต่กรณี ข้อ ๔ ในข้อบังคับนี้
“วิชาชีพ” หมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษาที่ทําหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน และการ ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ รวมทั้งการรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษา ปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ากว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน และการบริหาร การศึกษานอก สถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนการสนับสนุนการศึกษาให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่อง กับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ
“ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และ บุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครู และบุคลากร ทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖
“ครู” หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริม การ เรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ากว่าปริญญา ทั้งของรัฐและเอกชน
“ผู้บริหารสถานศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตําแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ภาค เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาทตากวาปริญญา ทั้ง ของรัฐและเอกชน
“ผู้บริหารการศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตําแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษา ใน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
“บุคลากรทางการศึกษาอื่น” หมายความว่า บุคคลซึ่งทําหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการ หรือ ปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษา ในหน่วยงาน การศึกษาต่าง ๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากําหนดตําแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา
“จรรยาบรรณของวิชาชีพ” หมายความว่า มาตรฐานการปฏิบัติตนที่กําหนดขึ้นเป็นแบบแผน ในการ ประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และ ฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม อันจะนํามา ซึ่ง เกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ
ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๕ ให้ประธานกรรมการคุรุสภารักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอํานาจออกระเบียบ ประกาศ หรือคําสั่งเพื่อปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ รวมทั้งให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหา เกี่ยวกับการปฏิบัติตามที่กําหนดไว้ในข้อบังคับ
ข้อ ๖ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และแบบแผน พฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
หมวด ๑ จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้อ ๗ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และ วิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
หมวด ๔ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ข้อ ๑๔ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่น ในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
หมวด ๕ จรรยาบรรณต่อสังคม
ข้อ ๑๕ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นําในการอนุรักษ์ และพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ ของส่วนรวม และยึดมั่น ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ศาสตราจารย์ไพฑูรย์ สินลารัตน์
ประธานกรรมการคุรุสภา
หมวด ๒ จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข้อ ๔ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็น สมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
หมวด ๓ จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ข้อ ๙ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กําลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
ข้อ ๑๐ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัย ที่ถูกต้องดี งามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
ข้อ ๑๑ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจาและจิตใจ
ข้อ ๑๒ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทําตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ
ข้อ ๑๓ ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตําแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ประธานกรรมการคุรุสภา