Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เนื้องอกรังไข่ในสตรีตั้งครรภ์ (อาการ (น้ำหนักลด, ปัสสาวะบ่อย, เบื่ออาหาร,…
เนื้องอกรังไข่ในสตรีตั้งครรภ์
การวินิจฉัย
การตรวจทางรังสีวิทยา (Imaging)
การตรวจอัลตร้าซาวน์
เป็นการตรวจทางรังสีวิทยาที่เลือกใช้เป็นอันดับแรกในกรณีที่สงสัยความผิดปกติในอุ้งเชิงกรานเนื่องจากตรวจได้รวดเร็วและผู้ป่วยไม่ต้องเสี่ยงรับรังสี การตรวจอัลตร้าซาวน์ผ่านทางหน้าท้องจะช่วยให้เห็นภาพรวมและดูความสัมพันธ์ของก้อนกับอวัยวะในอุ้งเชิงกรานได้ดี ส่วนการตรวจทางช่องคลอดจะช่วยให้ได้ภาพที่มีความคมชัดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งก้อนที่ปีกมดลูกหรือรังไข่
การตรวจเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging, MRI)
การตรวจด้วยเอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งปลอดภัยต่อหญิงตั้งครรภ์หรือทารกมากกว่า จึงมีบทบาทในกรณีที่การตรวจอัลตร้าซาวน์แล้วยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ ซึ่งมีประมาณร้อยละ 20 โดยเฉพาะก้อนเนื้อที่ไม่รู้จุดกำเนิด หรือประเมินลักษณะภายในตัวก้อนได้ไม่ชัดเจน นอกจากนี้เอ็กซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ายังมีประโยชน์ในการช่วยประเมินการลุกลามในกรณีที่ก้อนเนื้อนั้นเป็นมะเร็ง หรือช่วยวินิจฉัยแยกโรคกับระบบทางเดินอาหารได้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ โรคลำไส้อักเสบชนิดอื่นๆ ทั้งนี้จะทำก็ต่อเมื่อการตรวจอัลตร้าซาวน์แล้วไม่ได้ผลการวินิจฉัย
การตรวจหาค่าบ่งชี้มะเร็งในเลือด (Tumor marker)
ในหญิงไม่ตั้งครรภ์ที่ตรวจพบก้อนที่ปีกมดลูกหรือรังไข่ นั้น จะมีการเจาะเลือดเพื่อนำไปหาค่าบ่งชี้มะเร็ง แต่สำหรับหญิงตั้งครรภ์นั้นการใช้ค่าบ่งชี้มะเร็งยังมีข้อจำกัด โดยเฉพาะค่าบ่งชี้มะเร็ง CA-125 ใช้ช่วยในการบ่งชี้มะเร็งชนิด Epithelial cell tumors และมีการศึกษามากที่สุดในหญิงตั้งครรภ์พบว่า จะมีค่าสูงขึ้นในไตรมาสแรก และลดลงในไตรมาสที่สองและสาม และเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงคลอดและหลังคลอด นอกจากนี้โรคทางนรีเวชอื่นๆที่ไม่ใช่มะเร็งก็อาจทำให้ค่าของ CA-125 สูงขึ้นได้ [เช่น fibroids และ endometriosis ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการส่งตรวจค่า CA-125 ใช้ในการบ่งชี้มะเร็งชนิด Epithelial cell tumors ซึ่งเป็นมะเร็งชนิดที่พบได้ไม่บ่อยในหญิงวัยเจริญพันธุ์ จึงยังมีข้อจำกัด
ภาวะแทรกซ้อน (Complications)
การบิดขั้ว (Torsion)
ก้อนแตก (Rupture)
การขัดขวางการคลอด (Labor obstruction)
มะเร็ง (Malignancy)
การรักษา
การรักษาโดยการเฝ้าระวังและติดตาม (Conservative treatment)
ในกรณีที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนและไม่พบอาการใด ๆ อาจติดตามไปจนถึงครบกำหนดคลอด โดยส่วนใหญ่มักจะพบว่าตัวก้อนที่พบในไตรมาสแรกมักมีขนาดเล็กลงในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์
การรักษาโดยการผ่าตัด (Surgical treatment)
พิจารณาให้การรักษาโดยการผ่าตัดเมื่อสงสัยว่าเป็นมะเร็งหรือมีอาการและภาวะแทรกซ้อนจากก้อน หากเป็นก้อนที่มีลักษณะเป็น solid หรือ mix solid cystic ร่วมกับมีน้ำในช่องท้อง จะพิจารณาลงแผลแบบ midline laparotomy โดยต้องตรวจอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน และทำ peritoneal washing เพื่อประเมินการลุกลามด้วย
การดูแลรักษาในช่วงหลังคลอด
สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ยังมีก้อนที่ปีกมดลูกหรือรังไข่ ตลอดการตั้งครรภ์นั้นควรตรวจติดตามหลังคลอดด้วยการอัลตร้าซาวน์ สำหรับช่วงเวลาหลังคลอดไม่ได้มีกำหนดไว้ชัดเจน ส่วนมากแนะนำให้ทำการตรวจอัลตร้าซาวน์ในช่วง 6 สัปดาห์หลังการคลอดซึ่งเป็นช่วงที่ฟื้นตัวเต็มที่แล้ว หากจะทำการผ่าตัดก็สามารถทำได้
อาการ
น้ำหนักลด
ปัสสาวะบ่อย
เบื่ออาหาร
ท้องผูก
คลำพบก้อน
ปวดบริเวณท้องน้อย
มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
สาเหตุ
พันธุกรรม
อายุ 25-40 ปี
การทำงานของฮอร์โมนที่ผิดปกติ
ลักษณะของเนื้องอกรังไข่
1.ถุงน้ำ เป็นเนื้องอกที่มีลักษณะเป็นถุงภายในบรรจุของเหลว
2.เนื้องอกธรรมดาหรือไม่ร้ายแรง
3.เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง
ความหมาย
เนื้องอกรังไข่ เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ในหญิงตั้งครรภ์อุบัติการณ์ของการเกิดเนื้องอกของรังไข่ในหญิงตั้งครรภ์นั้นพบน้อยมากประมาณ 1:8,000-1:20,000 เท่านั้น และในรายที่เป็นเนื้องอกรังไข่มีโอกาสที่พบว่าเป็นมะเร็งประมาณร้อยละ 2-6 ส่วนมากหากเนื้องอกมีขนาดเล็กมักไม่มีอาการอะไร และมักตรวจพบโดยสูติแพทย์ขณะทำอัลตราซาวนด์เพื่อตรวจครรภ์
นางสาวพรธิตา ลามคำ รหัส 6001110801094