Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acquired heart disease : AHD :<3: (Rheumatic Heart Disease : RHD…
Acquired heart disease : AHD :<3:
Rheumatic Heart Disease : RHD
การพยาบาล
การป้องกันการเป็นไข้รูห์มาติคซ้ำ
ประเมินการทำงานของหัวจใจ เช่น ฟัง HR
การพักผ่อนอย่างเพียงพอและทำกิจกรรมที่ออกกำลังกายแขนขาเบาๆ
ดูแลให้ผู้ป่วยให้ได้รับยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น เพรดนิโซโลน (5 mg.) และ ASA (gr. V) โดยให้รับประทานหลังอาหารทันทีหรือหลังดื่มนม เพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร
การรักษา
ยาปฏิชีวนะ เช่น Benzathine, Penicillin V,
Amoxycillin, Erythromycin
รักษาตามอาการทางคลินิก เช่น หัวใจอักเสบ
รักษาอาการหวัใจวาย ยาขับปัสาวะ ยา Digitalis
ลักษณะอาการทางคลีนิค
Minor criteria
มีไข้ Fever
มีอาการปวดตามข้อ Arthralgia
Major criteria
Polyarthritis การอักเสบของข้อ
Chorea เป็นการอักเสบที่เนื้อเยื่อสมอง
Erythema การอักเสบของผิวหนัง
Carditis การอักเสบของหัวใจ
Subcutaneous nodules มีการอักเสบของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
ความหมาย
โรคหัวใจในเด็กที่เกิดภายหลัง มักเกิดตามหลังไข้รูห์มาติค ซึ่งทำให้มีการอักเสบของหัวใจทุกชั้น รวมทั้งเยื่อบุหัวใจและลิ้นหัวใจด้วย อาจทำให้เกิดลิ้นหัวใจรั่ว หรือลิ้นหัวใจตีบได้
พยาธิสรีรวิทยา
ภายหลังที่เด็กเป็นไข้รูห์มาติคแล้ว จะมีการอักเสบของหัวใจ ทุกชั้น รวมถึงลิ้นหัวใจด้วย ซึ่งประกอบด้วยแผ่นลิ้น (cusp) เนื้อเยื่อเอ็นยึดลิ้น (chordae tendinae) และกล้ามเนื้อ papillary ในรายที่เป็นไข้รูห์มาติคซ้ำหลายๆ ครั้งจะส่งผลทำให้ลิ้นหัวใจถูกทำลายมากขึ้น โดยมีการหดตัวหรือแข็งตัว ทำให้เกิดมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจขึ้นอาจเป็นการรั่วหรือการตีบ จึงเรียกว่าโรคหัวใจรูห์มาติค ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่พบบ่อยได้แก่ ลิ้นไมตรัลรั่ว ลิ้นไมตรัลตีบและลิ้นเอออร์ติครั่ว
การวินิจฉัยโรค
1.การซักประวัติ ไข้ เจ็บคอ
การตรวจร่างกาย อาการและอาการแสดงพบ ไข้ ปวดข้อ บวม แดง ร้อน อาจพบเลือดกำเดาไหล อาการหัวใจวาย เช่น ปวดท้อง (จากตับโต) เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
การตรวจทางห้องปฏิบติการ
• ECG
• X-rays
• ASO titer
• Echocardiography
• Streptococcus Antibodies
• ESR, C- reactive protein (CRP)
• Beta hemolytic streptococcus grou A
สาเหตุ
เกิดตามหลัง Rheumatic Fever
จากเชื้อ B-hemolytic streptococcus grou A
เช่น การติดเชื้อท่ีลำคอ ต่อมทอลซิน ติดเชื้อในช่องหู
Heart Failure : HF
ความหมาย
ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปตามระบบไหลเวียนเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
พยาธิสรีรวิทยา
เด็กที่มีความผิดปกติในระบบหัวใจและหลอดเลือด จะส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไหลออกไปเลี้ยงร่างกายต่อนาทีลดลง อวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกายไปรับออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น จึงมีการปรับตัวในระบบต่างๆ เพื่อคงปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอ
สาเหตุ
ปริมาณเลือดออกจากหัวใจเพิ่มมากขึ้น
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial factor)
จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ส่งผลให้ปริมาณเลือดไหลออกจากหัวใจลดลง
เกิดจากการอุดกั้นของทางออกของเวนตริเคิล ทำให้มีเลือดไหลออกจากเวนตริเคิลได้ยากขึ้น
ลักษณะอาการทางคลีนิค
อาการของหัวใจซีกซ้ายวาย
( Left Heart Failure )
หายใจเร็ว ปีกจมูกบาน หายใจลำบาก หน้าอกบุ๋ม และมีการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ นอนราบไม่ได้ มีอาการเหนื่อยหอบในช่วงกลางคืน มีเสมหะเป็นฟองหรือมีเลือดปนและฟังเสียง crepitation เนื่องจากมี pulmonary congestion
อาการของหัวใจซีกขวาวาย
( Right Heart Failure )
หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง หน้าบวม ตาบวม ตับโต บางรายอาจมีม้ามโต คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง แน่นอึดอัดท้อง แขนขาเย็น บวม และมีน้ำในช่องท้อง ในผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจ
อาการสำคัญที่บ่งชี้ว่ามีภาวะหัวใจวาย
(cardinal signs)
หัวใจโต
หัวใจเต้นเร็ว
หายใจเร็ว
ตับโต
การวินิจฉัยโรค
ซักประวัติและการตรวจร่างกาย ตรวจพบอาการและอาการแสดงของภาวะหัวใจวาย เช่น ออกแรงแล้วเหนื่อยง่ายเมื่อทารกดูดนม น้ำหนักขึ้นเนื่องจากการคั่งของน้ำในร่างกาย หายใจเร็วและหัวใจเต้นเร็วในช่วงพัก และอาการตับโต บางรายอาจฟังได้ยินเสียงหัวใจผิดปกติหรือเสียงฟู่ (cardiac murmur)
ภาพรังสีทรวงอกพบหัวใจโต ร่วมกับมีเลือดไปปอดมากขึ้น พบ pulmonary venous congestion หรือ pulmonary edema
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจพบ หัวใจเต้นเร็ว/เต้นช้า หรือเวนตริเคิลโต
การตรวจ echocardiography อาจพบ cardiac function ผิดปกติหรือการทำหน้าที่ของเวนตริเคิลลดลง
การรักษา
ยากลุ่มกลัยโคไซด์ (digitalis glycosides) ในเด็กนิยมให้ยา digoxin (lanoxin) สรรพคุณคือเพิ่มแรงในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
ยากลุ่ม beta-adrenegic receptor blocking agents)
ยาขยายหลอดเลือด (vasodilators) เช่น hydralazine (apresoline)
ยาขับปัสสาวะเช่น furosemidel(lasix), thiazides (hydrochlorothiazide/HCTz), spironolactone (aldactone)
ให้ออกซิเจน ในรายที่มีภาวะปอดบวมน้ำ
ลดอาหารเค็ม
รักษาสาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจวาย เช่น การผ่าตัด หรือการรับการตรวจสวนหัวใจ
การพยาบาล
จำกัดกิจกรรมของผู้ป่วย ดูแลให้ได้พักผ่อนเต็มที่
จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูงประมาณ 30-45 องศา เพื่อช่วยให้ปอดขยายตัวอย่าง
บันทึกปริมาณน้ำและปัสสาวะ ชั่งน้ำหนักทุกวัน
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาเพื่อประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจรวมทั้งสังเกตและบันทึกอาการข้างเคียงของยาและรายงานแพทย์หากพบอาการผิดปกติ
4 . ดูแลให้ยาขับปัสสาวะตามแผนการรักษา ดูแลให้ได้รับอาหารที่มีแคลอรีเพียงพอและรสจืดเพื่อลดการสะสมของน้ำและโซเดียมในร่างกาย
Infective Endocarditis : IE
สาเหตุ
เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ เชื้อรา ไวรัสหรือเชื้อโรคอื่นๆ โดยมักเกิดภาวะนี้ในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเนื่องจากมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจ
พยาธิสรีรวิทยา
เมื่อมีการติดเชื้อในร่างกาย ทำให้มีการไหลเวียนเลือดท่ีผิดปกติในห้องหัวใจ เยื่อบุบางส่วนให้ห้องหัวใจหรือหลอดเลือดจะถูกทำลาย ทำใหเมีบางส่วนหลุดออกมาอยู่ในกระแาเลือด เกร็ดเลือดมาเกาะแล้วเกิดเป็นก้อนลิ่มเลือดขึ้นมา
ความหมาย
โรคติดเชื้อที่หัวใจ โดยมีการอักเสบที่ลิ้นหัวใจ ผนังหัวใจ หลอดเลือดและเนื้อเยื่อข้างเคียง
ลักษณะอาการทางคลีนิค
ผู้ป่วยที่มีอาการเฉียบพลัน กลุ่มนี้จะมีอาการช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด หรือปอดบวม ซึ่งมักพบในเด็กเล็กและทารกแรกเกิด โดยเด็กจะมีไข้สูง ร่วมกับหายใจหอบเหนื่อย
ผู้ป่วยที่มีอาการดำเนินอย่างช้าๆ เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน อาการของผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้แก่อาการที่พบบ่อย ได้แก่
ไข้
เบื่ออาหาร
อ่อนเพลีย
น้ำหนักลด
เหนื่อยง่าย
อาจมีอาการปวดข้อ
ข้ออักเสบบริเวณข้อใหญ่
ปวดท้อง
คลื่นไส้อาเจียน
ในเด็กโตอาจบอกว่ารู้สึกเจ็บหน้าอก
อาการอื่นๆ ได้แก่ หัวใจวาย แขนขาอ่อนแรง มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง อาจพบนิ้วปุ้มแต่ไม่เขียวที่ปลายนิ้วมือหรืออาจพบก้อนแดงเล็กๆ กดเจ็บ หรือพบรอยแดงเล็กที่ฝ่ามือฝ่าเท้าเมื่อกดแล้วมีสีซีดลง
การพยาบาล
ให้มีกิจกรรมบนเตียงนอนศรีษะสูง
ติดตามผล EKG สังเกตหลอดเลือดที่คอโป่ง
3.ดูแลเช็ดตัวลดไข้
เพื่อระบายความร้อนอณุหภูมิออกจากร่างกาย
ภาวะแทรกซ้อน
หัวใจวายหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะจากลิ่นหัวใจและผนังหัวใจถูกทำลาย
เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ จากการที่มีก้อนลิ่มเลือดหลุดไปอุดในหลอดเลือดของอวัยวะนั้น เช่น ฝีในสมอง ปอดบวม ไตวาย ม้ามโต
การรักษา
การรักษาฌฉพาะคือให้ยาปฎิชีวนะ
การรักษาทั่วไป ได้แก่ ให้เด็กนอนพัก
และดูแลให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย
การรักษาโดยการผ่าตัด ในรายที่มีลิ้นหัวใจรั่วและมีอาการหัวใจวายที่รุนแรง
Rheumatic Fever : RF
พยาธิสรีรวิทยา
เมื่อเกิดการติดเชื้อ B-hemolytic streptococcus group A ในร่างกาย เช่น การติดเชื้อที่หู การติดเชื้อที่ต่อมทอมซิล โดยเฉพาะการติดเชื้อที่ลำคอ ซึ่งมักพบได้บ่อย ประมาณ 1 – 5 สัปดาห์ ผู้ป่วยจึงแสดงอาการ สำหรับกลไกการเกิดโรคเชื่อว่า เมื่อเชื้อโรคเข้าไปสู่ร่างกาย ร่างกายจะมีปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค
การวินิจฉัยโรค
มี 2 major criteria หรือ
มี 1 major criteria และ 2 minor criteria พร้อมทั้งมีหลักฐานอื่นๆ ที่บ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อ B-hemolytic streptococcus group A
การเกิดเป็นไข้รูห์มาติคซ้ำในผู้ป่วยที่เคยเป็นไข้รูห์มาติค หรือโรคหัวใจรูห์มาติคมาก่อน โดยมีอาการและแสดงอาการของการเกิดซ้ำของไข้รูห์มาติค เช่น มีไข้ ปวดข้อ และมีหลักฐานการติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสร่วมด้วย
ลักษณะอาการทางคลีนิค
อาการหลัก
Chorea เป็นการอักเสบที่เนื้อเยื่อสมอง
Erythema การอักเสบของผิวหนัง
Polyarthritis การอักเสบของข้อ
Carditis การอักเสบของหัวใจ
Subcutaneous nodules มีการอักเสบของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
อาการรอง
มีไข้ต่ำ ประมาณ 38 °C
ลือดกำเดาไหลไม่ทราบสาเหตุ
ปวดท้อง อาจเกิดจากหัวใจวายร่วมกับมีตับโต
อาการอื่นๆ ที่อาจพบได้คือ รู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย เหงื่อออกมาก เจ็บหน้าอก ซีด และน้ำหนักลด
มีประวัติเคยเป็นไข้รูห์มาติดมาก่อน หรือมีประวัติเป็นหวัด หรือเจ็บคอบ่อย
polyarthragia มีอาการปวดข้อหลายข้อโดยไม่มีการอักเสบ คือ บวม แดง ร้อน
สาเหตุ
ติดเชื้อ B-hemolytic streptococcus grou A
การพยาบาล
ทำ tepid sponge ในรายที่ไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส
ดูแลให้พักผ่อนอย่างเต็มที่และจำกัดกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องออกแรง
สังเกตและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง และชีพจรขณะนอนหลับ (sleeping pulse)
ดูแลให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การเพาะเชื้อจากบริเวณคอ
เม็ดเลือดขาวสูงมากกว่าปกติ
การตรวจหา C-reactive protein (CRP) ในเลือดให้ผลบวก
antistreptolysin O (ASO) เมื่อมีการติดเชื้อ ค่า ASO ในเลือดจะสูง
ความหมาย
โรคที่มีการอักเสบของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทาให้มีผลต่อเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue )เช่น หัวใจ ข้อ ผิวหนัง หลอดเลือดของระบบประสาทส่วนกลาง