Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การคัดกรองภาวะเสี่ยงของสตรีตั้งครรภ์ (การแบ่งกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ตามระดับของ…
การคัดกรองภาวะเสี่ยงของสตรีตั้งครรภ์
คัดกรองปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงโดยรวม
ปัจจัยด้านภาวะชีวฟิสิกส์ (Biophysical Factors)
พันธุกรรม (Genetic Considerations)
มีผลต่อการเจริญเติบโตและความผิดปกติของทารกในครรภ์
ตั้งครรภ์แฝด
มีประวัติผิดปกิทางพันธุกรรมในครอบครัว
โรคทางพันธุกรรมของสตรีตั้งครรภ์และคู่สมรส
โภชนาการ (Nutritional Status) มีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ โดยทารกในครรภ์อาจขาดสารอาหารหรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
การตั้งครรภ์วัยรุ่น
มีการตั้งครรภ์มากกว่า3ครั้งใน2ปีที่ผ่านมา
การสูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด ดื่มสุรา
ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง โลหิตจาง
มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยหรือมากกว่าเกณฑ์
ความผิดปกติทางด้านการแพทย์และสูติกรรม (Medical and Obstetric disorders)
ภาวะแทรกซ้อนของสุขภาพในการตั้งครรภ์ในอดีตและครรภ์ปัจจุบัน
การเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บเนื่องจากการตั้งครรภ์
การแท้งหรือการสูญเสียทารกในครรภ์
ปัจจัยด้านจิตใจ (Psychological factor) มีผลกระทบต่อ
พฤติกรรมการดูแลตนเอง การสร้างสัมพันธภาพระหว่าง
สตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์และสุขภาพทารกในครรภ์
คัดกรองภาวะซึมเศร้า
คัดกรองการทำร้ายคู่สมรส
คัดกรองความเครียด
ปัจจัยส่วนบุคคล (Sociodemographic factor) เป็นปัจจัยที่อาจนำไปสู่ความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ การได้สารอาหารไม่เพียงพอ ขาดการได้รับบริการตรวจติดตามสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์และการมีภาวะแทรกซ้อน
ไม่มีรายได้หรือรายได้น้อย
การไม่ฝากครรภ์หรือฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์
อายุ
การสนับสนุนทางสังคม
เชื้อชาติหรือชนชาติ
แบบแผนสุขภาพ
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Factors)
การติดเชื้อ
การได้รับรังสี สารเคมี มลภาวะที่เป็นอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม
ปัจจัยเสี่ยงเฉพาะประเด็น
ภาวะเสี่ยงเฉพาะการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานในระยะตั้งครรภ์
การแบ่งกลุ่มสตรีตั้งครรภ์ตามระดับของภาวะเสี่ยง
1.กลุ่มเสี่ยงต่ำ (Low risk)
กลุ่มที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ปัจจุบันและอดีต ทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการปกติไม่จำเป็นต้องการรับการตรวจวินิจฉัยพิเศษใดๆ
2.กลุ่มเสี่ยงปานกลาง (Moderate risk)
กลุ่มที่ต้องการรับการตรวจวินิจฉัยและเฝ้าระวังการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อายุมากกว่า35ปี
3.กลุ่มเสี่ยงสูง (High risk)
กลุ่มที่ภาวะเสี่ยงมีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อมารดาและทารก ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์คลอดและหลังคลอดและต้องได้รับการตรวจติดตามจากแพทยืตามความรุนแรงของภาวะเสี่ยง
แบบระเมินความเสี่ยงของสตรีตั้งครรภ์
การประเมินตัดกรองเบื้องต้นเพื่อการส่งต่อ
แบบประเมินความเสี่ยงของสตรีตั้งครรภ์ (Classifying form)
เกณฑ์เสี่ยงทั่วไปทางสูติกรรมของบุญปรีดี ศิริวงศ์
แบบประเมินสตรีตั้งครรภ์เสี่ยงสูงของเมอร์ค (Merck manual)
การประเมินคัดกรองโรค
แบบประเมินภาวะสุขภาพสำหรับคัดกรองโรค
ประเมินสุขภาพจิต
ส่วนที่1 การประเมินความเครียด
ส่วนที่2 คัดกรองโรคซึมเศร้า
ส่วนที่3 ประเมินปัญหาการดื่มสุรา
แบบทดสอบวัดระดับนิโคติน แบบคัดกรองและส่งต่อ ผู้ป่วยที่ใช้ยาและสารเสพติดเพื่อการบำบัดรักษา
การประเมินครรภ์เสี่ยงสูงที่จะเกิดการคลอดก่อนกำหนด
เกณฑ์เสี่ยงการคลอดก่อนกำหนดของครีซี กรัมเมอร์ ลิกกินส์
การคัดกรองกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคทางอายุรกรรม
แนวทางการคัดกรองเบาหวานในระยะตั้งครรภ์
1.เสี่ยงต่ำ (ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองเบาหวาน)
อายุน้อยกว่า25ปี
น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์อยู่ในเกณฑ์ปกติ อยู่ในชุมชนที่ความซุกของเบาหวานขณะตั้งครรภ์ต่ำ
ไม่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นเบาหวาน
ไม่มีประวัติความผิดปกติของคงทนต้อน้ำตาลกลูโคส
ไม่มีประวัติของผลการต้ังครรภ์ที่ไม่ดีในครรภ์ก่อน
2.เสี่ยงปานกลาง (ควรตรวจคัดกรองเบาหวานขณะอายุครรภ์24-28สัปดาห์)
กลุ่มที่มีคุณสมบัตินอกเหนือากกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำและความเสี่ยงสูง
3.เสี่ยงสูง (ต้องคัดกรองเบาหวานเมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก ถ้าผลปกติต้องตรวจซ้ำขณะอายุครรภ์24-28สัปดาห์
BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 30 kg/m2
มีประวัติเคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ
ญาติสายตรงเป็นเบาหวาน
น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 Kg/m
เคยคลอดบุตรน้ำหนักมากกว่า 4000 g
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคัดครองภาวะเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพมารดาและทารก
ประเมินได้จาก
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
การตรวจครรภ์
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การประเมินด้านจิตสังคม
หลักการช่วยเหลือเบื้องต้นและการส่งต่อเพื่อรับการรักษา
ใช้หลัก Risk approch 3 ประการ
1.ค้นหาสตรีในระยะตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยง
2.ให้การดูแลรักษาอย่างเหมาะสมในแต่ละเกณฑ์เสี่ยง
3.การดูแลและส่งต่อสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงอย่าง้หมาะสม
แนวทางการดูแลตามระดับความเสี่ยง
เสี่ยงต่ำ
ดูแลในระดับโรงพยาบาลตำบลได้ โดยการให้การดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ปกติและเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงและส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอำเภอเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น
เสี่ยงปานกลาง
ดูแลในโรงพยาบาลอำเภอหรือโรงพยาบาลทั่วไปเพื่อตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นและเฝ้าระวังความรุนแรงของภาวะเสี่ยงและควรส่งวินิจฉัยเพิ่มเติมหรือภาวะเสี่ยงนั้นมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น
เสี่ยงสูง
ดูแลในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มีแพทย์เฉพาะทางหรือโรงพยาบาลศูนย์โดยรับไว้ดูแลในคลินิกภวะเสี่ยงสูง มีการตรวจติดตามและให้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากเเพทยเฉพาะทางตามภาวะเสี่ยงมราเกิดขึน