Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการและทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหาร (ต่อ), นางสาวณัฎฐา ชวนชม เลขที่ 24…
วิวัฒนาการและทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหาร (ต่อ)
6.ทฤษฎีการบริหารเชิงปริมาณ(quantitative theory) เป็นทฤษฎีการบริหารจัดการ ที่นำเทคนิคคณิตศาสตร์และวิธีการเชิงสถิติช่วยในการแก้ปัญหา เชื่อในการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ในการวัดและการใช้สูตรคณิตศาสตร์ ประกอบการตัดสินใจทางการบริหารและการปฏิบัติงานขององค์การโดยมีแนวคิดที่สำคัญ 3 แนวคิดคือ
6.1 การบริหารศาสตร์ (management science) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจให้แก่ผู้บริหาร ซึ่งปัจจุบันวิธีนี้แพร่หลายมาก ในการบริหารการพยาบาลจะใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ (operation research) ศึกษาจากสภาพความเป็นจริง แล้วนำมาคำนวณตามรูปแบบที่กำหนดขึ้น ส่วนมากจะนำมาใช้สำรวจสักษณะงานและปริมาณเวลาความต้องการในการปฏิบัติงานของพยาบาล รวมทั้งเวลาในการบริหาจัดการ (management time) ด้วย
6.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (management information system : MIS) เน้นการออกแบบและการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศ โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการบริหาร(Computer based information system : CBISs) จะผลิตข้อมูลและสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารการพยาบาล หอผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางข้อมูลที่สำคัญของโรงพยาบาล ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับแผนกต่างๆ ในโรงพยาบาลมากมาย ข้อมูลทางการพยาบาลก็มีหลายชนิด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีจำนวนมากมีผลโดยตรงต่อการบริหารจัดการของโรงพยาบาล ทั้งด้านบุคลากร การเงิน การบังคับบัญชา ต่อไปต้องมีวิธีการรวบรวมประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล(assessment) แล้วจึงนำไปสู่การปฏิบัติ(action) นั่นคือ การสร้างข้อมูลทางการพยาบาลขึ้น(nursing information system)
6.3 การจัดการปฏิบัติการ (operations management) เป็นทฤษฎีสมัยใหม่ที่พัฒนามาจากทฤษฎีการจัดการ เน้นการใช้แนวทางเชิงปริมาณเข้าช่วยในการตัดสินใจ จำเป็นต้องมีข้อมูลข่าวสารมากขึ้นและข้อมูลต้องมีคุณภาพดี ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดตารางการทำงาน (work scheduling) การวางแผนการผลิต(production planning) การออกแบบอาคารสถานที่ (facilities and location design) ตลอดจนกาประกันคุณภาพ (quality assurance) โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ ในการบริหารงาน เช่น เทคนิคการทำนายอนาคต16 (forecasting) การวิเคราะห์รายการ (inventory analysis) ตัวแบบเครือข่ายการทำงาน (networking models) ตลอดจนเทคนิคการวางแผนและควบคุมโครงการ (project planning and controlling techniques) (Bartol & others, 1998) ในการบริหารการพยาบาลที่นำมาใช้ได้บ่อยคือ การวิเคราะห์รายการ โดยนำข้อมูลผ่านกระบวนการวิเคราะห์หรือแปลงข้อมูลให้อยู่ในโครงสร้างมาตรฐานที่จะนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้มาปรับปรุงการบริการให้มีประสิทธิภาพหรือในการกำหนดตารางการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นวิธีการที่ใช้มากที่สุด
ทฤษฎี 7's ซึ่งเป็นแนวคิดแบบจำลองของแมคคินซีย์ (Mc Kinsey) เป็นกลยุทธ์การบริหารที่ช่วยให้เกิดความสำเร็จในองค์การสูงที่ให้เห็นถึงความสำคัญของคนอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของการสร้างวัดวัฒนธรรมองค์ ประกอบด้วย
•Hard Ss เป็นอุปกรณ์แห่งความสำเร็จ
โครงสร้าง(Structure)
กลยุทธ์(Stratrgy)
ระบบ (System)
•Soft Ss เป็นส่วนเนื้อหาแห่งความสำเร็จ
แบบการบริหาร(Style)
บุคลากร (staff)
ทักษะ(Skill)
ค่านิยมร่วม(shared values) หรือเป้าหมายสูงสุด
การบริการคุณภาพทั้งองค์การ ( T.Q.M = total quality management) เป็นแนวคิดการบริหารที่ยึดคุณภาพเป็นหัวใจของทุกเรื่อง เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพชนะการแข่งขัน โดยทรัพยากรมนุษย์เป็นตัวสร้างคุณภาพบริการและคุณภาพในการผลิต
การรื้อปรับระบบ (reengineering) หมายถึงการสร้างกระบวนการทำงานขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลง ประสบการณ์ ตลอดจนวิทยาการต่างๆ ในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าสูงสุดแก่ลูกค้า โดยอยู่บนพื้นฐานกรอบแนวคิด ดังนี้
การปรับระบบด้านการจัดการทางการพยาบาล (nursing management) เน้นการบริหารแบบแมตทริกซ์ (matrix organization) พี่เน้นรูปแบบการมีส่วนร่วมของหน่วยงานในองค์การ เน้นผู้รับบริการมากกว่ากิจกรรม
การปรับระบบด้านบริการพยาบาล (nursing Service) ได้รับความสะดวก รวดเร็ว และมีความพึงพอใจในการบริการ
10.องค์การสมัยใหม่(Modern Organization)
10.1 องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization ) Peter M. Senge ได้กล่าวว่า
องค์การแห่งการเรียนรู้ จะเรียนรู้เร็วกว่าคู่แข่งในการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งจะพยายามที่จะประสานผลการดําเนินงานของบุคคลเข้ากับการดําเนินงานด้านการเงิน จะพัฒนาเครื่องมือและวิธีการในการวิเคราะห์ระบบตนเองด้วยได้แนะนําว่าองค์การต้องสร้างวินัย 5 ประการ (fifth discipline) ให้เกิดขึ้นแก่บุคลากรดังต่อไปนี้
-วิสัยทัศน์ร่วม (shared vision)
-การเรียนรู้เป็นทีม(team learning)
-รูปแบบความคิด(mental models)
-ความคิดเป็นระบบ (system thinking)
-บุคลากรที่มีความรอบรู้ (personal mastery)
10.2 องค์การสมรรถนะสูง (High Performance Organisation) เป็นองค์การที่มีขีดความสามารถ ในการเปลี่ยนแปลงสามารถรับมือกับแรงกดดันต่าง ๆ ได้จากภายในและภายนอก เป็นองค์การแห่งนวัตกรรม มีวัฒนธรรมองค์การเป็นตัวยึดเหนี่ยว ทําให้พนักงานและผู้บริหารทํางานร่วมกันได้เป็นอย่างดี สามารถทํางานได้ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ Gartner Group บริษัทที่ปรึกษาชื่อดังทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ระบุไว้ว่าองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง นั้นควรจะประกอบด้วยคุณลักษณะที่สําคัญ ดังนี้
การตั้งเป้าหมายที่ท้าทายและแสวงหาแนวทางในการบรรลุเป้าหมายนั้น (Setting ambitious targets and achieving them)
2.การมีค่านิยมร่วมกันของบุคลากรทั่วทั้งองค์การ (Shared values)
3.การมุ่งเน้นที่ยุทธศาสตร์และการทําให้ทั่วทั้งองค์การดําเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน (Strategic focus and alignment)
องค์การยุคหลังสมัยใหม่ (Post Modern Organization) Peter Bogason แนวคิดของการบริหารองค์การสมัยใหม่นั้นจะกล่าวถึงองค์การแบบสิ่งมีชีวิต (organic organization) ที่มุ่งเน้นการทำงานอย่างมีความสุขมีการทำงานหลายๆด้านองค์การแห่งการเรียนรู้ (learning Organization) มุ่งเน้นทำงานด้วยและเรียนรู้ควบคู่กันไปเรียนรู้จากประสบการณ์ให้องค์การเป็นศูนย์การเรียนรู้องค์การแห่งความเป็นเลิศ (excellent organization) มุ่งสู่ความเป็นที่หนึ่งเป็นแชมป์ไม่เป็นสองรองใครโดยมุ่งสู่มาตรฐานสากลและองค์การแห่งกลยุทธ์ (strategic organization) ที่มุ่งเน้นการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์โดยให้ความสำคัญต่อปัจจัยสภาพแวดล้อมของงานแต่แนวคิดในยุคหลังสมัยใหม่
ทฤษฎีไร้ระเบียบหรือที่มีชื่อเรียกว่า Chaos theoryมีผู้นำ Chaos theory และ Quantum physics ที่มีลักษณะเฉพาะเหล่านี้เอามาประกอบกันใช้เป็นทฤษฎีทั่วไปทางสังคมเรียกว่า“ ลัทธิไร้ระเบียบ” โดยนักลัทธินี้เชื่อว่า“ สรรพสิ่งบนโลกมีเกิดมีดับที่เริ่มจากความระเบียบแล้วก้าวไปสู่ความไร้ระเบียบในที่สุดหมุนเวียนอยู่เช่นนี้ (หมุนเวียนเป็นวงกลม) สังคมก็เช่นกันเมื่อพัฒนาไปจนถึงที่สุดแล้วก็จะมีวิกฤติอันสภาวะยุ่งเหยิงของความไร้ระเบียบจะมีความรุนแรงลัทธิไร้ระเบียบนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นลัทธิฉวยโอกาสอนาธิปไตยชนิดหนึ่งที่มีรูปแบบคล้ายก้าวหน้าแต่เนื้อหาถอยหลังโดยสิ้นเชิงนำเสนอลัทธิยอมจำนนไม่ใช้กำลังกายภาพไปต่อสู้กับระบบ (ความเป็นระเบียบ) ที่ตนเห็นว่าไม่เป็นธรรมหรือกำลังพาให้มนุษย์ไปสู่ความวิบัติโดยเสนอให้ต่อสู้ด้วยกำลังจิตภาพ“ เพียงแต่คิดก็ชนะ..
การจัดองค์การแบบแชมรอค(Shamrock Organization)เป็นองค์การในอนาคตอีกรูปแบบหนึ่งที่เสนอโดย ชาร์ลสแฮนดี (Charles Handy) มีรากฐานมาจากชื่อต้นที่เป็นต้นไม้ประจำชาติของประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งตันแชมรอด จะมีลักษณะพิเศษที่สำคัญอยู่ที่ใบเป็นแฉก3 ใบที่อยู่ติดกันเป็นกระจุก ถูกนำมาเทียบเคียงกับการแบ่งกลุ่มงานภายในองค์การออกเป็น 3 กลุ่มที่สำคัญ คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ(professional core) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานจากภายนอก(outsourcing vendors) และ กลุ่มพนักงาน การจัดองค์การแบบนี้สอดคล้องกับแนวคิดการลดนาดองค์การเพราะองค์การแบบแชมรอคจะช่วยลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานประจำขององค์การลงให้เหลือเพียงแค่หนึ่งในสาม โดยจะเหลือเฉพาะผู้ปฏิบัติงานประจำที่ถือเป็นความสามารถหลักขององค์การเท่นั้น ขณะที่ผู้ปฏิบัติงานอีกสองส่วนที่ดำเนินงานให้กับองค์การนั้นจะไม่ถือเป็นผู้ปฏิบัติงานประจำขององค์การ
5s Model องค์การต้องเพิ่มขีดความสามารถในทุกๆ ดันเพื่อปรับตัวเข้าสู่องค์การสมัยใหม่ที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศการบริหารองค์การเปลี่ยนจากขนาดใหญ่สู่ขนาดเล็ก ก่อให้เกิดความพึงพอใจเเก่ผู้รับบริการ
5s modelประกอบด้วย
SMLE : ยิ้มแย้มเปี่ยมน้ำใจ องค์กาที่มีความสุข
SMOOTH ; ความร่วมมือไร้ความขัดแย้ง องค์การไม่มีความขัดแย้งและมีการผนึกความร่วมมือ
SMARTฉลาดทรงภูมิปัญญา องค์การสมัยใหม่มุ่งสู่ความเฉลียวฉลาด มีความแปลกใหม่ มีนวัตกรรมใหม่
SMPLY: ทำเรื่องยาให้ง่ายละรวดเร็ว องค์การต้องปรับปรุงให้ง่ายขึ้น
SMLL : จิ๋วแต่แจ๋ว องค์การสมัยใหม่จะมีขนาดเล็กลงแต่มีคุณภาพมากขึ้น
8.4 องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)องค์การเสมือนจริงเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาครั้งแรกประมาณช่วงต้นทศวรรษ 1980 หัวใจหลักของ Virtual Office คือ หลักจิตวิทยา ที่เชื่อมโยงบุคลากรห่างไกลให้บรรลุเป้าหมายเดียวกันการเปลี่ยนแปลงสู่องค์การเสมือนจริงจะเป็นผลสำเร็จ ต้องได้รับความร่วมมือจากมนุษย์ด้วยกัน(Collaborated) ที่อยู่บนพื้นฐานจากความวางใจ ภายใต้การทำ งานด้วยความรวดเร็ว คล่องตัว ความรับผิดชอบต่อหน้าที่มีลักษณะที่สำคัญ 7ประการ ดังนี้
4.มีความไว้วางใจ (Trust)
5.การบริหารตนเอง (Self-Organization)
3.มีความยืดหยุ่น (Flexibility)
ขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน
2.สังคมกับชุมชนเครือข่ายมีการร่วมมือและพึ่งพากัน
7.ไม่มีสถานที่ตั้งองค์การ
1.การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม
12.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหาร : ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารได้แก่คน (man) ถ่อให้เกิดผลสำเร็จทั้งปริมาณและคุณภาพของงานเครื่องจักร (machine) ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าเงินทุน (money) หล่อเลี้ยงให้กิจกรรมของ องค์กรดำเนินไปโดยไม่ติดขัดและวัสดุสิ่งของ (materil) จัดหามาเพื่อดำเนินการผลิต
นางสาวณัฎฐา ชวนชม เลขที่ 24 รหัส 603101024