Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะไม่สุขสบายในหญิงตั้งครรภ์, ยาแก้อาเจียน, tired, Bipolar disorder,…
ภาวะไม่สุขสบายในหญิงตั้งครรภ์
ไตรมาสที่ 1
อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ
(Morning sickness)
สาเหตุ
เกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทำให้อาหารผ่านเข้ากระเพาะช้า
การเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมน HCG
เกิดจากความวิตกกังวลของหญิงตั้งครรภ์
อาการ
เป็นอาการที่พบได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ประมาณ 6-12 สัปดาห์ หลังจากนั้นอาการจะค่อย ๆ ทุเลาและหายไปเอง
เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียนเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะในตอนตื่นนอนตอนเช้า หรือมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลียง่าย ง่วงตลอดเวลา เหม็นกลิ่นต่างๆ ได้ง่ายเกินไป และทานอาหารได้น้อยลง
การพยาบาล
แนะนำคุณแม่เข้มงวดในเรื่องของการรับประทานอาหาร (รับประทานอาหารที่ไม่มัน มีคาร์โบไฮเดรตสูง และทานอาหารให้น้อยลงแต่ทานบ่อย ๆ ให้อยู่ท้อง หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยากและสิ่งกระตุ้นทำให้คลื่นไส้อาเจียน)
เมื่อตื่นตอนเช้าให้ดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ เช่น นม น้ำขิง รวมถึงขนมปังกรอบ หรือคาร์โบไฮเดรตแห้งพวกบิสกิตในตอนเช้า 20 นาทีก่อนลุกขึ้นจากเตียง
หากมีอาการอาเจียนและอ่อนเพลียมาก ๆ ควรรีบไปพบแพทย์ (ห้ามซื้อยาแก้อาเจียนมาทานเอง)
อาการอ่อนเพลียเมื่อยล้า (Fatique)
อาการ
รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย
สาเหตุ
การเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในช่วงแรกของการตั้งครรภ์
การขาดอาหาร
การขาดการออกกำลังกาย
โรคโลหิตจาง
สภาวะทางจิตใจและความเครียด
การพยาบาล
แนะนำให้มารดาพักผ่อนให้เพียงพอ
แนะนำคุณแม่มีเวลางีบหลับ หรือพักผ่อนเป็นระยะ ๆ ในช่วงกลางวัน
แนะนำไม่ให้ร่างกายหักโหมจากการทำงานมากนัก
ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รับประทานอาหารกลางวันและอาหารค่ำทุกมื้อ และควรเข้านอนแต่หัวค่ำ
อารมณ์แปรปรวน (Mood swing)
อาการ
รู้สึกมีความสุขสักพักก็รู้สึกเศร้า อาการซึมเศร้าฟูมฟาย ร้องไห้ไม่มีเหตุผล
สาเหตุ
ใจน้อย
วิตกกังวล
อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
ความเครียด
ความกังวลในเรื่องการเจริญเติบโตของลูกในครรภ์ การคลอด การเลี้ยงลูกที่จะเกิดมา และจากบทบาทที่ต้องเปลี่ยนไป
การพยาบาล
คุณพ่อและคนในครอบครัวควรให้กำลังใจและรับฟังปัญหาของคุณแม่
พยายามอธิบายและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัว
ให้คุณแม่ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ
อาการปวดศีรษะ (Headaches)
สาเหตุ
ฮอร์โมน
ฮอร์โมน อาการขาดน้ำกะทันหัน
ความหิว
ความอ่อนเพลีย
เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบ
จากภาวะเครียด
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนหรือปริมาณเลือดในร่างกายที่เพิ่มสูงขึ้นขณะตั้งครรภ์
อาการ
ปวดตุ๊บ ปวดแน่นๆ อาการปวดศีรษะคล้ายปวดศีรษะไมเกรน
การพยาบาล
แนะนำให้นวดต้นคอด้านข้าง โดยเริ่มจากฐานของกะโหลกศีรษะ หรือขอให้คุณพ่อนวดใบหน้า ลำคอ และไหล่
ดื่มน้ำบ่อย ๆ ในระหว่างอาหารแต่ละมื้อ และพยายามรับประทานอาหารอย่างสม่ำเสมอให้ครบทุกมื้อ
อาการเรอเปรี้ยวหรือแสบร้อนยอดอก (Heart burn)
อาการ
พบได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ได้ 2 สัปดาห์ ไปจนถึง 12 สัปดาห์
ทำให้คุณแม่มีอาการแสบบริเวณยอดอกหรือร้อนบริเวณคอ
สาเหตุ
ฮอร์โมนโปรโจสเตอโรนไปลดการทำงานและการย่อยของระบบทางเดินอาหารทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้เคลื่อนไหวได้น้อยลง และกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารคลายตัว
มดลูกที่ใหญ่ขึ้นจะไปดันกระเพาะอาหารให้มีพื้นที่น้อยลง กรดในกระเพาะอาหารจึงไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส งดอาหารรสจัด
แนะนำรับประทานอาหารที่ย่อยได้ง่าย โดยรับประทานครั้งละน้อย ๆ แต่ทานบ่อย ๆ และรับประทานอย่างช้า ๆ
เมื่อรู้สึกว่ามีอาการร้อนในอกเกิดขึ้นให้ดื่มนมหรือน้ำอุ่น ๆ เพื่อเจือจางกรด แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นเลยควรไปพบแพทย์
อาการปัสสาวะบ่อย
สาเหตุ
มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นไปเบียดกระเพาะปัสสาวะให้มีความจุน้อยลง
การเปลี่ยนแปลงการไหลเวียนเลือดที่มากขึ้นบริเวณอุ้งเชิงกราน
ทางเดินปัสสาวะอักเสบ
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่อย่ากลั้นปัสสาวะไว้นาน ๆ
ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีสารกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เพราะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
ให้สังเกตอาการดังต่อไปนี้ ได้แก่ มีปัสสาวะแสบขัด มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดหลัง ถ้าคุณแม่มีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์
อาการ
จะเกิดขึ้นหลังจากขาดประจำเดือนไปแล้วประมาณ 1-12 สัปดาห์
รู้สึกปวดปัสสาวะได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม
หายใจไม่สะดวก (Breathlessness)
การพยาบาล
นั่งหลังตรง การนั่งหลังตรงให้อกผายไหล่ผึ่งจะช่วยให้ปอดขยายและมีความจุอากาศภายในปอดมากขึ้น
แนะนำใช้หมอนหนุนสูงขึ้นขณะนอน การใช้หมอนหนุนศีรษะให้สูงขึ้นขณะนอนหลับจะช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะในขณะที่กระบังลมถูกดันให้สูงขึ้น
ใช้หมอนหนุนสูงขึ้นขณะนอน การใช้หมอนหนุนศีรษะให้สูงขึ้นขณะนอนหลับจะช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น โดยเฉพาะในขณะที่กระบังลมถูกดันให้สูงขึ้น
สาเหตุ
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของร่างกายขณะตั้งครรภ์
ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มสูงขึ้น โดยฮอร์โมนดังกล่าวจะกระตุ้นให้สมองต้องการออกซิเจนมากขึ้น เพื่อให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนเพียงพอต่อการหายใจ
อาการ
รู้สึกเหมือนอากาศไม่พอหายใจและต้องสูดหายใจเข้าลึก ๆ เสมอ
ไตรมาสที่ 2
หายใจไม่สะดวก (Breathlessness)
อาการ
อาการ
รู้สึกอึดอัดเมื่อใส่เสื้อผ้าที่รัดรูป
หายใจไม่อิ่ม
สาเหตุ
ฮอร์โมนทำให้กล้ามเนื้ออกหย่อนตัวลงและขยายหลอดลม เนื่องจากต้องผลิตเลือดให้ปอดเพิ่มขึ้น เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์มากขึ้น มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจะไปดันกะบังลมจนส่งผลถึงปอด ทำให้หายใจได้ไม่สะดวก
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่นอนศีรษะสูง
หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชนแออัด
อย่าทำอะไรรีบร้อน พยายามหายใจช้า ๆ และลึก ๆ
อาการใจสั่น เป็นลม (Tachycardia, Fainting and Supine Hypotension)
สาเหตุ
การนอนหงายจนทำให้มดลูกไปกดทับเส้นเลือดที่กลับสู่หัวใจ ทำให้เลือดกลับสู่หัวใจไม่ดี
การเปลี่ยนแปลงอิริยาบถเร็วเกินไป เช่น จากท่านอนเป็นท่านั่ง
การที่หลอดเลือดขยายตัวจนทำให้การไหลเวียนเลือดไปยังสมองไม่ดี มีน้ำตาลในเลือดต่ำ
มีพยาธิสภาพของโรค เช่น โรคหัวใจ โรคโลหิตจาง
อาการ
วิงเวียน หน้ามืด เป็นลม ตาลาย คลื่นไส้ อาจอาเจียน มือ เท้าเย็น เหงื่อออกมาก ชีพจรเบา เต้นเร็ว หายใจเร็ว เหนื่อยกระหายน้ำ ตัวแห้ง ปัสสาวะน้อย
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่เปลี่ยนอิริยาบถอย่างช้า ๆ
รับประทานอาหารให้บ่อยครั้งขึ้น เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
เวลาจะนอนให้นอนตะแคงซ้าย เพื่อป้องกันไม่ให้มดลูกไปกดทับหลอดเลือดขนาดใหญ่
อาการอยากอาหารบางชนิดอย่างมาก (Food Cravings)
สาเหตุ
การที่ทารกกำลังเจริญเติบโตในครรภ์ จึงต้องการสารอาหารจำเป็นเพิ่มขึ้น เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก วิตามิน
ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
ฮอร์โมนในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงจนทำให้เรารู้สึกนึกถึงรสชาติของอาหารพวกนี้
อาการ
รู้สึกอยากรับประทานอาหารมากขึ้น และแปลก
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่รับประทานอาหารให้น้อยแต่บ่อยขึ้น รวมทั้งอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมาก ๆ เช่น ข้าว ขนมปัง มันฝรั่งอบ พาสต้า ฯลฯ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาล แต่ถ้าคุณแม่อยากรับประทานอาหารแปลก ๆ ควรปรึกษานักโภชนาการ
น้ำลายมาก (Ptyalism, Salivation)
สาเหตุ
การเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน เนื่องจากสาเหตุทางจิตใจของคุณแม่ทำให้ไม่สามารถกลืนลงไปหรือบ้วนทิ้ง
การพยาบาล
ในกรณีนี้ควรแนะนำให้คุณแม่รับประทานอาหารน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งขึ้นในแต่ละวัน
เหงือกอักเสบ (Gingivitis)
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่เปลี่ยนมาใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม
ล้างปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก (หากต้องการใช้ไหมขัดฟันควรใช้อย่างเบามือ)
แนะนำให้ดูแลสุขภาพฟัน โดยหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน รับประทานอาหารให้ได้สัดส่วน เพิ่มอาหารที่มีโปรตีน ผักและผลไม้
ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
สาเหตุ
การกระตุ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้มีเลือดมาคั่งค้างมากขึ้น เมื่อมีรอยขีดข่วนหรือเศษอาหารติดซอกฟันก็ทำให้เกิดการติดเชื้อ มีเลือดออกได้ง่าย และเหงือกอักเสบได้
อาการ
รู้สึกว่าเหงือกมีเลือดออกง่ายขึ้น
การผายลม (Flatulence)
สาเหตุ
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนทำให้กล้ามเนื้อหย่อนตัว อาหารและของเสียจึงไหลผ่านระบบย่อยอย่างช้า ๆ และสร้างลมในกระเพาะให้เกิดขึ้น
การกลืนอากาศอย่างไม่ตั้งใจ เพื่อไล่อาการคลื่นไส้หรือจุกแน่นหน้าอกก็สามารถทำให้เกิดลมขึ้น
พวก Alkaline food เช่น นม เกิดปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะ
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่รับประทานอาหารอย่างช้า ๆ
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส
ดื่มชาเปปเปอร์มินต์หรือชาดอกคาโมมายล์
อาการ
รู้สึกไม่สบาย อึดอัด ปวดมวนท้อง
อาการท้องผูก (Constipation)
อาการ
มีการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารเข้าไปในหลอดอาหารจนทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่หน้าอก
สาเหตุ
การเปลี่ยนของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้กระเพาะอาหารลำไส้บีบเคลื่อนไหวช้าลง มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้นจึงไปกดทับลำไส้ใหญ่ ทำให้อุจจาระผ่านได้ลำบาก อุจจาระที่ค้างอยู่นานจะถูกดูดซึมน้ำออกไปมาก
การทานวิตามิน ธาตุเหล็กก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องผูกได้
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่รับประทานอาหารที่มีกากใยมาก ๆ เช่น ผักและผลไม้สด
แนะนำให้คุณแม่ดื่มน้ำวันละมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือดื่มน้ำลูกพรุน
แนะนำให้ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา เข้าห้องน้ำทันทีที่จำเป็นอย่ากลั้นไว้
ริดสีดวงทวาร
สาเหตุ
การเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและจากมดลูกที่โตขึ้นจนไปกดทับเส้นเลือดดำ ทำให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณทวารหนักไม่ดี ความดันในเส้นเลือดเลยสูงขึ้น เส้นเลือดจึงโป่งพอง เมื่อท้องผูกอุจจาระจะเป็นก้อนแข็ง ทำให้เส้นเลือดที่โป่งพองเกิดฉีกขาด จึงมีเลือดสด ๆ ปนออกมากับอุจจาระ
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่รับประทานอาหารที่มีกากใย
ดื่มน้ำให้มาก ๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
ฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา
ให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการผ่าตัด
หลีกเลี่ยงการสวมชุดชั้นใน หรือกางเกงที่รัดรูปมากเกินไป
หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน แนะนำให้เปลี่ยนท่าทางให้บ่อยครั้ง
อาการ
พบได้บ่อยในช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือน
ทำให้คุณแม่รู้สึกปวดแสบ
เส้นเลือดดำบริเวณทวารหนักบวม มีอาการปวด และมีติ่งยื่นที่บริเวณทวารหนัก
อาการตกขาว (Leukorrhea)
อาการ
มักพบได้ในช่วงอายุครรภ์ 4 เดือน
ลักษณะของตกขาวจะเป็นมูกขาวขุ่นเล็กน้อยและมีกลิ่นเหม็นอ่อน ๆ
ลักษณะของตกขาวจะเป็นมูกขาวขุ่นเล็กน้อยและมีกลิ่นเหม็นอ่อน ๆ
ถ้าเกิดจากการติดเชื้อหนองในก็จะมีอาการแสบเวลาปัสสาวะด้วย
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่ดูแลความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศให้สะอาดและแห้ง
ใช้น้ำและสบู่และทำความสะอาดหลังขับถ่ายหรือทำความสะอาดร่างกาย
ห้ามสวนล้างช่องคลอดหรือใช้นิ้วสอดเข้าไปทำความสะอาดอวัยวะภายใน
หลีกเลี่ยงการใส่ชุดชั้นในที่คับ (ควรใช้ผ้าฝ้าย)
ถ้าคุณแม่มีอาการคันหรือมีสิ่งผิดปกติที่แสดงว่าอาจติดเชื้อ ตกขาวมีสีและกลิ่นเปลี่ยนไป เช่น ตกขาวเป็นสีเหลืองปนเขียว มีลักษณะขุ่น ข้น เป็นก้อนคล้ายนมบูดและมีกลิ่นเหม็น ควรรีบพาคุณแม่ไปรักษาที่โรงพยาบาลโดยเร็ว
สาเหตุ
การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนที่กระตุ้นการสร้างมูกที่บริเวณ Cervix
เกิดจากการติดเชื้อ เช่น หนองใน เชื้อรา Bacterial vaginosis
ไตรมาสที่ 3
อาการปัสสาวะบ่อย
สาเหตุ
ขนาดของทารกในครรภ์ที่โตขึ้นและส่วนหัวของทารกจะเริ่มเข้าสู่อุ้งเชิงกราน และเบียดกระเพาะปัสสาวะ
ทารกกลับหัวลงมาอยู่ในตำแหน่งของอุ้งเชิงกรานเพื่อรอการคลอด
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่อย่ากลั้นปัสสาวะไว้นาน ๆ
ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีสารกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เพราะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
สังเกตอาการดังต่อไปนี้ ได้แก่ มีปัสสาวะแสบขัด มีไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดหลัง ถ้าคุณแม่มีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์
อย่าสวมใส่ชุดชั้นใน กางเกง ที่รัดรูปมากเกินไป
อาการ
คุณแม่จะเริ่มรู้สึกปัสสาวะบ่อยขึ้นอีก
เส้นเลือดขอด (Vericose Veins)
สาเหตุ
การเพิ่มของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือดทำงานได้ไม่ดี มีผลทำให้การไหลเวียนของเลือดส่วนล่างของร่างกายไม่ดี
ขนาดของมดลูกที่โตขึ้น ซึ่งจะไปกดทับเส้นเลือดดำที่ผ่านจากอุ้งเชิงกรานมาสู่ช่องท้อง เมื่อถูกกดทับนาน ๆ ความดันโลหิตสูงขึ้น ก็จะดันให้เส้นเลือดเล็ก ๆ พองตัว ทำให้เลือดคั่งเส้นเลือด
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่นอนในท่าที่สบายที่สุดและยกเท้าขึ้นสูงประมาณ 5-10 นาที
เปลี่ยนท่าทางบ้าง เช่น การเดินไปมา ไม่ยืนอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ หรือนอนตะแคงเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
นวดเพื่อลดอาการปวดเมื่อย ด้วยการนั่งบนเก้าอี้และยกขาข้างหนึ่งขึ้นมาพาดบนเข่าอีกข้าง แล้วใช้มือจับบีบที่น่องไปเรื่อย ๆ
พันผ้ายืดจากข้อเท้าขึ้นมาถึงใต้เข่าหรือโคนขา เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อกระชับและลดอาการปวด แต่ระวังอย่าพันจนแน่นเกินไปเพราะจะทำให้รู้สึกชาได้, ใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ ใส่กางเกงพยุงครรภ์
, รับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่และอาหารที่มีวิตามินซีมาก ๆ
แนะนำให้ออกกำลังกายเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปที่ขา
อาการ
พบได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์
ส่วนใหญ่มักพบบริเวณตาตุ่ม น่อง ข้อพับ ขึ้นมาจนถึงโคนขา
เลือดคั่งเส้นเลือดเป็นสีน้ำเงินม่วงที่ขอด ๆ ขดไปมาคล้ายตัวหนอน ทำให้คุณแม่มีอาการปวดและบวมที่ขา
อาการเจ็บที่กระดูกใต้อก (Rib pain)
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่ซื้อบราที่ได้ขนาดพอดีกับทรวงอกที่ขยายขึ้น
ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้กระดูกใต้อกมีเนื้อที่มากขึ้นหรือนั่งกับพื้นชูแขนขึ้นเหนือศีรษะ แล้วขอให้คุณพ่อช่วยดึงแขนแต่ละข้างขึ้นอย่างช้า ๆ อย่างเบามือ
สาเหตุ
การขยายตัวใหญ่ขึ้นของมดลูกไปกดทับกระดูก
อาการ
มีอาการเจ็บแปลบ ๆ ใต้อกข้างใดข้างหนึ่ง
โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal tunnel syndrome)
อาการ
มือ เท้าจะมีอาการชา เจ็บยิบ ๆ หรือรู้สึกเจ็บฝ่ามือ
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่นวดฝ่ามือ ขยับนิ้วมือขึ้นลง กางนิ้วมือทั้ง 5 ออกกว้าง ๆ ประมาณ 2-3 วินาทีแล้วหุบมือ
ตอนกลางคืนให้นอนห้อยมือลงมาข้างเตียง
สาเหตุ
ระบบประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ
ปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน (Pelvic pain)
อาการ
เจ็บแบบแปลบ ๆ
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่ปัสสาวะบ่อย ๆ เพื่อระบายกระเพาะปัสสาวะให้ว่าง
ถ้าเตียงแข็งเกินไปให้หาผ้าห่มหรือถุงนอนมาปูใต้ผ้าปูที่นอน แล้วให้คุณแม่นอนตะแคงด้านข้าง กอดหมอนข้างหรือวางหมอนระหว่างเข่าและใต้ท้องของคุณแม่
เวลาก้าวขึ้นเตียงนอนให้งอเข่าก้าวขึ้นเตียงแล้วค่อย ๆ เอนกลิ้งลงนอนอย่างช้า ๆ
สาเหตุ
เกิดจากข้อต่อกระดูกซึ่งหย่อนตัวลง เตรียมพร้อมสำหรับการคลอด
ทารกดิ้นไปชนกระเพาะปัสสาวะที่เต็มอยู่ของคุณแม่
เจ็บครรภ์จริง
สาเหตุ
มดลูกหดรัดตัวเป็นจังหวะ มีความรุนแรงสม่ำเสมอและถี่มากขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะแรกมดลูกจะหดรัดตัวนานครั้งละ 30-60 วินาที และทิ้งช่วงเวลาห่างกันประมาณครั้งละ 5-20 นาที
การพยาบาล
ดูแลให้มารดาอยู่ในท่าที่สุขสบายและเหมาะสม
ส่งเริมให้มีการผ่อนคลาย เช่น การหายใจ -หายใจแบบช้า(slow-deep)
ดูแลจัดท่าให้นอนตะแคง
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
อาการ
อาการแข็งตัวของมดลูกเพิ่มขึ้น เจ็บนานขึ้นและถี่ขึ้น แม้ว่าจะเปลี่ยนอิริยาบถ หรือนอนพักอาการปวดก็ไม่ดีขึ้น
อาการเจ็บจะเริ่มที่หลังแล้วปวดร้าวมาถึงด้านหน้าบริเวณหัวหน่าวและท้อง น้อย บางครั้งจะปวดร้าวลงขา และอาจมีอาการปวดท้องอยากถ่ายอุจจาระและถ่ายบ่อย
มีมูกเลือดปนออกมาเป็นเลือดสด สีจะแดงสด
มีถุงน้ำแตก
อาการปวดหลัง (Back pain)
สาเหตุ
การเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้อง (การเดิน การยกของหนัก การก้มเก็บของ การยืนหรือเดินนาน ๆ ในท่าที่ไม่ถูกต้อง)
มดลูกมีขนาดโตขึ้น ทำให้น้ำหนักถ่วงมาด้านหน้า จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเลื่อนข้างหน้า ทำให้คุณแม่ต้องแอ่นหลังหรือเกร็งกล้ามเนื้อด้านหลังมากกว่าปกติ
การยืดขยายของเส้นเอ็นที่ข้อต่อต่าง ๆ ของกระดูกเชิงกรานเพื่อเตรียมสำหรับการคลอด
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก การนั่งพับเข่า ให้ยืนหรือนั่งในท่าหลังตรง พักผ่อนในท่านอนตะแคง
ใส่รองเท้าส้นเตี้ย ออกกำลังกายยืน เดิน ในท่าที่สบาย เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
หากมีอาการปวดมากขึ้นให้พบแพทย์ (ห้ามซื้อยาแก้ปวดมากินเอง)
อาการ
พบได้มากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์
รู้สึกปวดตรงกลางหลังส่วนล่าง (ตรงบริเวณกระเบนเหน็บ) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นทีละน้อย อาการปวดอาจเป็นอยู่ตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะในท่าบางท่า การไอ จาม หรือบิดตัว เอี้ยวตัวอาจทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น
โรคปวดร้าวลงขา (Sciatica)
สาเหตุ
ทารกในท้องกดทับเส้นประสาท
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่นั่งพักและหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหว เพราะจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บแปลบอีก
ให้คุณแม่ลองบีบนวดอย่างเบา ๆ แล้วปล่อยมือ แล้วบีบนวดใหม่ที่ก้น หรือเอามือจับพนักเก้าอี้แล้วแกว่งขาไปมาด้านข้างหลาย ๆ ครั้งทุกวัน ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการปวดมากขึ้นควรรีบไปพบแพทย์
อาการ
ปวดสะโพก ร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง อาการปวดขาอาจลามไปจนถึงเท้า และอาจมีอาการแขน ขาอ่อนแรง
อาการบวมที่เท้าและข้อเท้า (Swelling of the feet, Swelling Ankles)
สาเหตุ
น้ำคั่งในเนื้อเยื่อของร่างกายที่เกิดจากอิทธิพลของฮอร์โมนระหว่างการตั้งครรภ์
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่ยกขาขึ้นบ่อย ๆ หรือยกเท้าให้สูงเท่าที่จะทำให้
ลดอาหารเค็ม
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
นอนตะแคงข้างเพื่อลดการกดทับของเส้นเลือด
หลีกเลี่ยงการใส่ถุงเท้าหรือถุงน่องรัด ๆ ใส่รองเท้าสบาย ๆ และถ้ามีอาการบวมมากและอาการบวมไม่ลดลงควรไปพบแพทย์
อาการ
รู้สึกตึงที่อวัยวะนั้น เมื่อกดแล้วปล่อยจะมีรอยบุ๋มค้างอยู่นาน ถ้ามือบวมมักจะรู้สึกในช่วงเช้า พอสายอาการบวมจะลดลง อย่าพยายามฝืนกำมือแรง ๆ ในขณะที่บวม เพราะจะทำให้ข้อนิ้วมืออักเสบได้
ส่วนขานั้นมักจะบวมมากในช่วงบ่ายและเย็น พอตื่นเช้าอาการบวมจะลดลง ในคนที่นั่งหรือยืนนาน ๆ มักจะเป็นมากกว่าคนที่เดินเคลื่อนไหวบ่อย ๆ
อาการตะคริว (Cramp)
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่รับประทานให้ครบห้าหมู่ ดื่มนมให้มากขึ้น
เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่เย็นจัดและการใช้กำลังมากเกินไป
ถ้าเกิดอาการตะคริวให้ใช้มือนวดกล้ามเนื้อส่วนนั้น ถ้าเป็นที่ต้นขาให้เหยียดขาตรง ยกเท้าให้พ้นจากพื้นเล็กน้อย แล้วกระดกปลายเท้าลงล่าง ถ้าเป็นที่น่องให้เหยียดขาให้ตรงแล้วกระดกปลายเท้าให้มากที่สุด แต่ถ้าเป็นตะคริวจากการนอน ให้ยกขาสูง ใช้หมอนรอง 2 ใบ
อาการ
พบได้มากในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์
ต้น คุณแม่จะรู้สึกปวดส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ต้นขา น่อง จะมีการแข็งตัวและปวดมาก ถ้าคลำดูจะรู้สึกแข็งเป็นก้อน ๆ ถ้าขยับกล้ามเนื้อส่วนนั้นก็จะยิ่งทำให้ปวดและแข็งมากขึ้น
สาเหตุ
การหมุนเวียนของเลือดมีประสิทธิภาพลดลง
เกิดจากความล้าของกล้ามเนื้อและการรับประทานอาหารที่ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เช่น ขาดแคลเซียม ขาดวิตามินบีรวม หรือเกลือ
เกิดจากการเสียสมดุลระหว่างแคลเซียมและฟอสฟอรัส จนทำให้แคลเซียมในเลือดน้อย
การดูดแคลเซียมลดลง
อาการคันและผื่นแดง (Itching and Rashes)
สาเหตุ
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ผิวหนังแห้ง การยืดตัวของผิวหนังในระยะสุดท้ายของการตั้งครรภ์
ความร้อนในร่างกาย
การแพ้อาหารบางชนิด สบู่ หรือแม้แต่ผงซักฟอก
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่ดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ
ดูแลตนเองในเรื่องการทำความสะอาดร่างกาย โดยใช้แชมพูอาบน้ำแทนสบู่ที่ทำให้ผิวแห้ง ใช้ครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของวิตามินอี หรือเบบี้โลชั่นที่เย็น ๆ
สวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากคอตตอน ไม่ควรเกาบริเวณที่คัน เพราะจะทำให้ผิวหนังถลอกและอักเสบ หากรู้สึกว่าเป็นมากจนผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์
อาการ
มีอาการคันตามเนื้อตัว
สีผิวเปลี่ยน เส้นคล้ำที่หน้าท้อง (Stretchmarks)
อาการ
มีรอยดำคล้ำในบางแห่ง โดยเฉพาะบริเวณหัวนม ลานหัวนม เส้นกลางท้อง คอ รักแร้ ขาหนีบ ใบหน้า บางคนมีผิวแห้ง แต่บางคนหน้ามันขึ้น เส้นคล้ำ ๆ หรือรอยดำ ๆ
การพยาบาล
แนะนำให้คุณแม่เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวอย่างสม่ำเสมอ ด้วยการทาออยล์หรือครีมบำรุง
ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้นมากจนเกินไป
สาเหตุ
ผิวหนังเกิดการตึง
ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน
ความยืดหยุ่นของผิวหนัง
การที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างกะทันหัน ทำให้มีอาการผิวแตกลายที่หน้าท้อง
มีอาการคันหน้าท้อง ซึ่งเกิดจากหน้าท้องขยายเร็วและความอ้วน
อาการปวดศีรษะ (Headaches)
อาการ
ปวดตุ๊บ ปวดแน่นๆ อาการปวดศีรษะคล้ายปวดศีรษะไมเกรน
การพยาบาล
นั่งพักผ่อน หรือนอนพักผ่อนในห้องที่มีแสงน้อย ปิดตาและพยายามผ่อนคลายหลัง ลำคอ และหัวไหล่
ดื่มน้ำบ่อย ๆ ในระหว่างอาหารแต่ละมื้อ และพยายามรับประทานอาหารอย่างสม่ำเสมอให้ครบทุกมื้อ
แนะนำให้นวดต้นคอด้านข้าง โดยเริ่มจากฐานของกะโหลกศีรษะ หรือขอให้คุณพ่อนวดใบหน้า ลำคอ และไหล่
สาเหตุ
ท่าทางในการยืนหรือการนั่งที่ไม่เหมาะสม
ความตึงของกล้ามเนื้อจากการแบกรับน้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มมากขึ้น
ภาวะความดันโลหิตสูงหรือภาวะครรภ์เป็นพิษ
หายใจไม่สะดวก (Breathlessness)
การพยาบาล
หายใจไม่สะดวก
นั่งหลังตรง การนั่งหลังตรงให้อกผายไหล่ผึ่งจะช่วยให้ปอดขยายและมีความจุอากาศภายในปอดมากขึ้น
ใช้ชีวิตให้ช้าลง การใช้ชีวิตให้ช้าลง ไม่เร่งรีบทำกิจกรรมต่าง ๆ และทำอะไรอย่างค่อยเป็นค่อยไปจะช่วยบรรเทาอาการหายใจไม่อิ่มขณะตั้งครรภ์ได้
อาการ
หายใจไม่สะดวก
รู้สึกอึดอัด
สาเหตุ
มดลูกที่ขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้กระบังลมถูกดันสูงขึ้น
เจ็บครรภ์เตือน
อาการ
จะเกิดขึ้นแบบไม่สม่ำเสมอ ส่วนความแรงของการหดรัดตัวจะคงที่ ไม่เจ็บเพิ่มขึ้น
จะเจ็บบริเวณท้องน้อย ไม่ปวดร้าวไปด้านหลัง
อาการเจ็บจะดีขึ้นเมื่อเดินรอบหรือเปลี่ยนอิริยาบถ
ลักษณะมูกจะออกเป็นเลือดเก่าคือสีจะเข้ม ไม่เป็นสีชมพูสด หรือแดงสด
การดิ้นของทารกจะแรงขึ้น
การพยาบาล
ควรลดกิจกรรมที่ต้องออกแรงหรือการเปลี่ยนท่าเพื่อลดอาการเจ็บท้องเตือน
นอนพักตะแคงซ้าย
ดื่มน้ำสักแก้ว (การขาดน้ำจะทำให้การเจ็บท้องเตือนเป็นถี่ขึ้น)
ปัสสาวะบ่อย ๆ (การอั้นปัสสาวะจะกระตุ้นให้เจ็บท้องเตือนได้บ่อยขึ้น)
หายใจเข้าออกยาว ๆ ลึก ๆ อย่างช้า ๆ ซึ่งจะช่วยลดอาการเจ็บท้องเตือนได้
สาเหตุ
การยกของหนัก
การสัมผัสที่ท้อง
การมีเพศสัมพันธ์
การเคลื่อนไหวของทารก
การขาดน้ำ