Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร วิชาการบริหารการพยาบาล…
หน่วยที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร วิชาการบริหารการพยาบาล (Nursing Administration)
ทฤษฎีการบริหารยุคนีโอคลาสิก
(NEO-Cassical Theory)
เป็นการบริหารงานตามแนวมนุษย์สัมพันธ์(human relations approach)
เอลตันเมโย (Elton Mayo) เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์พบว่าวิธีจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสามารถทำได้โดยต้องทุ่มเทสนใจปัญหาและความต้องการของมนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานโดยการทดลองของฮอร์ธอร์น (Hawthone studies) เกี่ยวกับพฤติกรรมของคนงานทำให้ทราบว่างานที่มีประสิธิภาพความสำคัญอยู่ที่ปัจจัยด้านจิตวิทยาและปัจจัยทางสังคมของผู้ทำงานฉะนั้นผู้บริหารทุกคนจึงต้องสนใจความรู้สึกของผู้ทำงานด้วยงานจึงจะสำเร็จได้
แมคเกรเกอร์(Douglas McGregor) เจ้าของทฤษฎีเอ็กซ์และวาย (X and Y theory)ได้วางหลักสมมติฐานเกี่ยวกับคนเป็น 2 แนว ตรงกันข้ามกันเช่น ทฤษฎีเอ็กซ์คือคนทุกคนเกียจคร้านชอบเลี่ยงงานจึงต้องใช้วิธีบังคับข่มขู่และควบคุมให้ทำงานตลอดเวลาส่วนทฤษฎีวายคือคนทุกคนเป็นคนดีซื่อสัตย์รักงาน
วิลเลี่ยมกูซี่ (William G. Quchi) แนวคิดบริหารแบบญี่ปุ่นแต่อเมริกานํามาประยุกต์เป็นรูปแบบ วิธีการทํางานแบบกลุ่มคุณภาพ โดยให้แนวคิดวาการบริหารจะให้ผลดีกว่า นั่นคือ การให้ความสําคัญกับกลุ่มไม่ใช่ตัวบุคคล แนวคิดของทฤษฎีแซด(Z) เชื่อว่า
1) ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มุ่งแสวงหาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างกัน
2) ผู้ปฏิบัติงานจะขาดความคุ้นเคยกัน เพราะสภาพแวดล้อมของงานที่จัดไว้ ทําให้เกิดช่องว่าง
3) ผู้ปฏิบัติงานต่างก็มีจิตสํานึกที่ดีในด้านความผูกพันทางใจความรัก ความสามัคคี
4) ผู้ปฏิบัติงานสามารถไว้วางใจได้โดยทํางานไม่บกพร่อง ผู้บริหารเพียงแต่เอาใจใส่ดูแลสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ให้ดีเท่านั้น
เชสเตอร์ บาร์นาร์ด (Chester I. Barnard. 1938) เป็นบิดาแห่งการบริหารเชิงพฤติกรรมศาสตร์(Behavioral Science)ได้นำเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรมความร่วมมือ(theory of cooperative behavior)มีเกี่ยวกับองค์ว่าองค์การเป็นระบบของการร่วมแรงร่วมใจจะทำกิจกรรมให้สำเร็จสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการติดต่อสื่อสารเพื่อความเข้าใจในวัตถุประสงค์สู่แนวทางการปฏิบัติ
อับราฮัมมาสโลว์ (AbrahamMaslow)เรื่องลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์มีความต้องการอยู่ตลอดเวลาและไม่สิ้นสุดความต้องการของมนุษย์จะเป็นไปตามลำดับขั้นจากต่ำไปหาสูง
เฟรเดริคเฮิร์ซเบิร์ก (Frederick Herzberg)เน้นเรื่องความต้องการของมนุษย์โดยแบ่งปัจจัยออกเป็น 2 ปัจจัยได้แก่
ปัจจัยจูงใจคือปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจให้คนทำงานอย่างมีความสุขและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ปัจจัยค้ำจุน (Hygiene Factors) คือปัจจัยที่ทำให้เกิดความพอใจในการทำงานแต่ยังไม่พอที่จะนำไปใช้ในการจูงใจ
ทฤษฎีการบริหารสมัยใหม่ (Modern theory)
เชื่อว่าการบริหารงานจะประสบผลสำเร็จ
ถ้าคนในหน่วยงานร่วมมือร่วมใจสามัคคีกันมุ่งไปสู่วัตถุประสงค์เดียวกัน เรียกว่าการทำงานเป็นกลุ่มหรือเป็นทีม (team) และงานเหล่านั้นจะต้องจัดเป็นระบบ (sytem)
ทฤษฎีระบบ(System theory)
Bertalanffyบิดาแห่งทฤษฎีระบบทั่วไปแบ่งเป็นระบบปิด(Closed system)คือระบบที่พึ่งตนเองได้และระบบเปิด(Open system)คือระบบที่ต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอดองค์ประกอบของทฤษฎีระบบ(System theory)ประกอบด้วย 5
ปัจจัยนำเข้า(Input)
กระบวนการแปรสภาพ(Transformation Process)
ผลผลิต (Outputs)
ข้อมูลย้อนกลับ(Feed Back)
สิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีบริหารตามสถานการณ์(Contingency Theory)เน้นทให้ยอมรับว่าในทางปฏิบัติไม่มีวิธีการบริหารใดที่ดีที่สุดที่จะใช้ได้ในทุกการบริหารขึ้นอยู่กับความจำเป็นของสถานการณ์ในขณะนั้น
โรเบิร์ตเฮาส์ (Robert House) เสนอแนวความคิดผู้นำเชิงสถานการณ์ทฤษฎีเส้นทาง-เป้าหมาย (Path-goal Theory)คือ ภาวะผู้นำขึ้นอยู่กับสถานการณ์คือความคลุมเครือของงานและความพอใจในงานที่ทำให้สามารถให้ความสำคัญทั้งคนและงานในเวลาเดียวกัน เฮาส์กล่าวว่าแรงจูงใจเป็นแรงผลักให้สู่เป้าหมายทั้งส่วนบุคคลและขององค์การ
เฮรเ์ซและแบลนชารด์ (Hersey and Blanchard) ทฤษฎี"วงจรชวีติ "เชื่อรูปแบบผู้นําต้องเหมาะสมกับความพร้อมของผู้ตาม พัฒนาแนวคิดโดยเปลี่ยนจากระดับความพร้อมเป็นความสามารถและความผูกพันธ์
(Competence and Commitment)
การเปลี่ยนชื่อรูปแบบผู้นำเพื่อความหมายที่ชัดเจน
S4 คือ การมอบหมายงาน (Delegating)
S2 คือ การสอนงาน (Coaching)
S3 คือ การสนับสนุน (Supporting)
S1 คือ การออกคำสั่ง (Direction)
การแบ่งระดับความรู้ของผู้นำ
R1 หมายถึง ไม่มีความสามารถ และไม่มีความเต็มใจที่จะทำ
R2 หมายถึง ไม่มีความสามารถ แต่เต็มใจที่จะทำ
R3 หมายถึง มีความสามารถ แต่ไม่มีความเต็มใจที่จะทำ
R4 หมายถึง มีความสามารถ และเต็มใจที่จะทำ
ทฤษฎีการบริหารเชิงปริมาณ
(quantitativetheory)
ใช่เทคนิคทางคณิตศาสตร์และวีธีการเชิงสถิติ
การบริหารศาสตร์ (management science)ส่วนมากจะนำมาใช้สำรวจสักษณะงานและปริมาณเวลาความต้องการในการปฏิบัติงานของพยาบาลรวมทั้งเวลาในการบริหาจัดการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
(management information system: MIS)เน้นการออกแบบและการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศผู้บริหารจะต้องมีความเข้าใจที่จะสร้างสารสนเทศทางการพยาบาลต่อไปต้องมีวิธีกรวบรวมประมวลและวิคราะห์ข้อมูลแล้วจึงนำไปสู่การปฏิบัติ
การจัดการปฏิบัติการ(operatis mangement)
เน้นการใช้แนวทางเชิงปริมาณช่วยในการตัดสินใจซึ่งมีความจำเป็นต้องมีข้อมูลข่าวสารมากขึ้นและข้อมูลต้องมีคุณภาพดี
ทฤษฎี 7’S ซึ่งเป็นแนวคิดแบบจำลองของ แมคคินชีย์ (Mc Kinsey)
Hard Ss เป็นอุปกรณ์แห่งความสำเร็จซึ่งจะประกอบด้วย
1) โครงสร้าง (structure) หมายถึงการจัดระเบียบองค์ประกอบขององค์การที่เหมาะสม
2)กลยุทธ์ (strategy)หมายถึงแผนกำหนดวิธีการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
3) ระบบ (system) หมายถึงวิธีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
Soft Ss เป็นส่วนเนื้อหาแห่งความสำเร็จ
1) แบบการบริหาร หมายถึงลักษณะพฤติกรรมของผู้บริหารในองค์กร
2)บุคลากร(staff) หมายถึงบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถมีทัศนคติและพฤติกรรมการทำงานที่ตอบสนองเป้าหมายขององค์การ
3)ทักษะ(Skills) หมายถึงความสามารถเด่นของผู้บริหารในองค์การ
4)ค่านิยมร่วมหมายถึเป้าหมายรวมของบุคลากรที่มีร่วมกัน
5) การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ เป็นแนวคิดการบริหารที่ยึดคุณภาพเป็นหัวใจของทุกเรื่อง เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ
6)การรื้อปรับระบบ (reengineering) หมายถึง ปรับระบบเป็นแนวคิดทางการบริหารยุคใหม่ที่องค์การต้องนำมาประยุกต์ใช้เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในการบริหาร