Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่1 ความรู้เบี้ยงต้นเกี่ยวกับการบริหารการพยาบาล - Coggle Diagram
บทที่1 ความรู้เบี้ยงต้นเกี่ยวกับการบริหารการพยาบาล
ทฤษฎีการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
เฟรดเดอริค วินสโลว์ เทเลอร์ (Frederick winslow taylor) บิดาแห่งการบริหารงานเชิงวิทยาศาสตร์ เชื่อว่าปัญหาที่คนทำงานไม่เต็มศักยภาพนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการออกแบบงาน เสนอหลักที่สําคัญไว้ 4 ประการ
มีการวางแผนแทนที่จะให้คนงานเลือกวิธีการเอง
คัดเลือกคนงานที่มีความสามารถแล้วฝึกอบรมให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆร่วมกัน
กําหนดวิธีการทํางานทดแทนการทําแบบลองผิดลองถูก
ใช้หลักแบ่งงานกันทําระหว่างผู้บริหารและคนงาน “time and motion study”
เฮนรี่ แกนต์ (Henry L Gantt) ได้นําเอาเทคนิคการจัดตารางสําหรับการควบคุมการปฏิบัติงานมาใช้เพื่อปรับปรุงและยกระดับประสิทธิภาพในการทํางาน
-Gantt’s chart เป็นแผนภูมิกำหนดเวลาในอนาคตไว้ในแนวนอนและงานที่ปฏิบัติไว้ในแนวตั้ง
-Gantt’s Milestone Chart เป็นแผนภูมิแสดงถึงความก้าวหน้าของงานประเภทเดียวกัน แต่ไม่สามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างงานชัดเจน
-PERT (Program Evaluation and Review Technique) นำ Gantt’s Milestone chart ดัดแปลงเป็น PERT เพื่อสร้างตาข่ายการปฏิบัติงาน (Network) โดยใช้เครื่องหมายลูกศรเป็นตัวเชื่อมโยง เพื่อแสดงทิศทางและเวลาหลังจากงานแรกเสร็จ
แฟรงค์ บังเกอร์ กิลเบรธ (Frank Bunker Gillbreth) การทำงานด้วยการแบ่งงานออกตามความชำนาญเฉพาะด้านและแบ่งงานเป็นส่วนๆ (division of work) จะทำได้ดียิ่งขึ้นถ้าได้มีการวิเคราะห์งานอย่างละเอียดถี่ถ้วน ให้ทำงานต่อเนื่องกันเป็นกระบวนการตามหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งทำให้เกิดงานแบบประจำ (routine)
ลิเลียน กิลเบรธ (LilianGillbreth) ใช้หลักวิทยาศาสตร์ร่วมกับด้านจิตวิทยาที่จะช่วยส่งเสริมงานด้าน Motion Studies ให้ดียิ่งขึ้นซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมที่มีการศึกษาที่มีการบริหารโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์
ทฤษฎีระบบราชการ (bureaucracy)
เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน สามารถสร้างแนวทางการดำเนินการบริหารแบบระบบราชการขึ้นมาได้ ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 7 ประการดังนี้
มีการแบ่งงานกันทำ (division of work) ตามความรู้ ความชำนาญ (specialization)
มีการจัดระบบตำแหน่งหน้าที่ตามสายบังคับบัญชาระดับสูงมายังระดับต่ำ (scalar chain)
มีการกำหนดระเบียบข้อบังคับ กฎเกณฑ์ต่างๆ (rule, regulation and procedures) เพื่อควบคุมตัดสินใจ
บุคลากรต่างทำหน้าที่ที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ (impersonal) ไม่เป็นส่วนตัวต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบ
หารจ้างงานใช้หลักคุณสมบัติทางวิชาชีพ (professional qualities)
มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ (career aspects) อาชีพมั่นคง
มีอำนาจหน้าที่ (legal authority) ตามตำแหน่ง โดยมีระเบียบรองรับ
6.ทฤษฎีบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory)
วิธีมุ่งเน้นที่จะยอมรับกันว่าในทางปฏิบัติไม่มีวิธีการบริหารได้ที่ดีที่สุด (no one best way) วิธีการบริหารจะไม่ตายตัวแต่จะเริ่มด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์และจบด้วยการคิดหาทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาการประเมินทางเลือกที่ดีที่สุด โดยคำนึงถึงความมีอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอกด้วย
ฟิดเลอร์ จำลอง “ความเป็นผู้นำตามสถานการณ์” ซึ่งอำนาจหน้าที่ การยอมรับมีผลต่อความเป็นผู้นำ
วรูมและเยตัน เสนอทฤษฎีมีหลักการคือ เน้นการเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจของผู้นำ โดยให้ผู้ตามมีส่วนร่วม
เฮอร์เซย์ และแบลนซาร์ด เชื่อว่ารูปแบบผู้นำต้องเหมาะสมกับความพร้อมของผู้ตาม มีรูปแบบผู้นำ 4 รูปแบบ การออกคำสั่ง(Direction) การสอนงาน (Coaching) การสนับสนุน (Supporting) และการมอบหมายงาน (Delegating)
โรเบิร์ต เฮาส์ ( Robert House )เสนอแนวความคิดผู้นำเชิงสถานการณ์ทฤษฎีเส้นทาง – เป้าหมาย ( Path-goal Theory ) ทฤษฎีของเฮ้าส์กล่าวได้ว่าใช้แรงจูงใจเป็นแรงผลักให้สู่เป้าหมายทางส่วนบุคคลและขององค์การ
เฮร์เซย์และแบลนซาร์ด ( Hersey and Blanchard ) ทฤษฎี “ วงจรชีวิต “ แบ่งระดับความพร้อมของผู้ตามเป็น 4 ระบบ
R1 หมายถึงไม่มีความสามารถและไม่มีความเต็มใจที่จะทำถือว่าความพร้อมต่ำ
R2 หมายถึงไม่มีความสามารถแต่เต็มใจที่จะทำถือว่าความพร้อมปานกลาง
R3 หมายถึงมีความสามารถแต่ไม่มีความเต็มใจที่จะทำถือว่าความพร้อมปานกลาง
R4 หมายถึงมีความสามารถและเต็มใจที่จะทำถือว่ามีความพร้อมสูง
ทฤษฎีผู้นําเชิงสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และแบลนชาร์ด เชื่อว่ารูปแบบผู้นำต้องเหมาะสมกับความพร้อมของผู้ตาม พัฒนาแนวความคิดโดยเปลี่ยนระดับความพร้อมของผู้ตามเป็นความสามารถและความผูกพันและปรับเปลี่ยนชื่อ รูปแบบผู้นำ 4 รูปแบบ เพื่อสื่อความหมายชัดเจนขึ้นได้แก่ s1 คือ ออกคำสั่ง S2 คือ การสอนงาน S3 คือ การสนับสนุน S4 คือ การมอบหมายงาน
9.องค์การสมัยใหม่ (Modern Organization)
องค์การแห่งการเรียนรู้(Learning Organization ) คือ องค์การแห่งการเรียนรู้ จะเรียนรู้เร็วกว่าคู่แข่งในการเปลี่ยนแปลงและก่อนที่จะถูกแรงกดดันให้เปลี่ยนแปลง จะพัฒนาเครื่องมือและวิธีการในการวิเคราะห์ระบบขององค์การของตนเองด้วย Peter M. Senge แนะนำว่า องค์การต้องสร้างวินัย 5 ประการ (fifth discipline) ดังต่อไปนี้
1) บุคลากรที่มีความรอบรู้ (personal mastery)
2) รูปแบบความคิด (mental models)
3) วิสัยทัศน์ร่วม (shared vision)
4) การเรียนรู้เป็นทีม(team learning)
5) ความคิดเป็นระบบ (system thinking)
องค์การสมรรถนะสูง (High Performance Organisation) เป็นองค์การที่สามารถรับมือกับแรงกดดันต่าง ๆ ได้จากภายในและภายนอกองค์การได้ดี เป็นองค์การแห่งนวัตกรรม มีวัฒนธรรมองค์การเป็นตัวยึดเหนี่ยว ทำให้พนักงาน มีค่านิยมร่วมกัน ทำงานร่วมกันได้ดี ผูกพันกัน มีเป้าหมายเดียวกัน และมีความมุ่งมั่นต่อความสำเร็จสูง สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ Gartner Group ได้ระบุไว้ว่าองค์การที่มีสมรรถนะสูง จะประกอบด้วยคุณลักษณะ ดังนี้
1) การตั้งเป้าหมายที่ท้าทายและแสวงหาแนวทางในการบรรลุเป้าหมายนั้น (Setting ambitious targets and achieving them)
2) การมีค่านิยมร่วมกันของบุคลากรทั่วทั้งองค์การ (Shared values)
3) การมุ่งเน้นที่ยุทธศาสตร์ และการทำให้ทั่วทั้งองค์การดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน (Strategic focus and alignment)
8.แนวคิด 7S
ทฤษฎีที่ได้รับการคิดค้นขึ้นโดย Mc Kinsey เพื่อการวางแผนธุรกิจและการประเมินประสิทธิภาพของธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ
1.Structure (โครงสร้าง) : การจัดระเบียบองค์ประกอบขององค์กรที่เหมาะสม
2.Strategy (กลยุทธ์) : แผนกำหนดวิธีการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
3.System (ระบบ) : วิธีการดำเนินงาน ระเบียบขององค์กร
4.Style (รูปแบบ) ลักษณะพฤติกรรมของผู้บริหารในองค์ การทำงานอย่างจริงจัง
5.Staff (พนักงาน) : ความสามารถทั่วไปของพนักงานในองค์กรและความพร้อมในการพัฒนาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร
6.Skill (ทักษะ) : ทักษะ และความสามารถของพนักงานที่ทำให้กับองค์กร
7.Shared Value (ค่านิยมร่วมกัน) : เป้าหมายที่จะบรรลุผลสำเร็จ
การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (T.Q.M.=total quality management) คือ การบริหารจัดการขององค์การที่มุ่งเน้นคุณภาพทั้งองค์การ โดยนำศาสตร์ต่างๆมาใช้ปฏิบัติงานเพื่อสร้างความเชื่อถือและคุณค่าที่ลูกค้าพึงได้รับ รวมถึงวิธีการจัดการปรับปรุงประสิทธิภาพ ความคล่องตัวและความสามารถในการแข่งขันของทั้งองค์การ
การรื้อปรับระบบ (reengineering) คือ การสร้างกระบวนการทำงานขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลง ประสบการณ์และวิทยาการต่างๆ ในปัจจุบันเพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าสูงสุดแก่ลูกค้า ทั้งนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ผลการทำงานขึ้นในหลายๆ ด้าน เช่น ต้นทุน คุณภาพ การบริหาร และความรวดเร็ว เป็นต้น และการรื้อระบบสามารถนำไป ปฏิบัติได้ในทุกหน่วยงาน โดยอยู่บนพื้นฐานกรอบแนวคิด ดังนี้
การปรับระบบด้านบริการพยาบาล (nursing service) ต้องได้รับความสะดวก รวดเร็วในการใช้บริการ มีความพึงพอใจในบริการ ไดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
การปรับระบบด้านการจัดการทางการพยาบาล (nursing management) เน้นการบริหาร แบบแมตริกซ์ (matrix organization) ที่เน้นรูปแบบการมีส่วนร่วมของหน่วยงานในองค์การ
10.องค์การยุคหลังสมัยใหม่ (Post Modern Organization)
จะตรงข้ามสังคมยุคสมัยใหม่ (modern) คือ แนวคิดในยุคหลังสมัยใหม่ (postmodern) จะใช้แนวคิดการสร้างเหตุผล (reasoning) และการแตกกระจาย(fragmentation) ที่มีคุณลักษณะของความเป็นปัจเจกบุคคลนิยม (individualism) ความร่วมมือระหว่างประเทศ(internationalization) การแบ่งแยกขององค์การ(organizational segregation) และการกระจายอำนาจ (decentralization) เช่น
ทฤษฎีไร้ระเบียบ (Chaos theory) เป็นทฤษฎีทางฟิสิกส์แขนงหนึ่ง ที่ศึกษากฎเกณฑ์ และปรากฏการวัตถุต่างๆ ซึ่งปรากฏการณ์นี้ควรจะเป็นไปตามธรรมชาติ แต่กลับผิดธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถอธิบายรากฎการณ์ที่อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ได้ มีผู้นำ Chaos theory และ Quantum physics ที่มีลักษณะเฉพาะเหล่านี้ เอามาประกอบกันใช้เป็น ทฤษฎีทั่วไปทางสังคม เรียกว่า “ลัทธิไร้ระเบียบ” เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น ลัทธิฉวยโอกาสอนาธิปไตยชนิดหนึ่ง
การจัดองค์การแบบแชมรอค (Shamrock Organization) เป็นองค์กรมีรากฐานมาจากชื่อต้นคือต้นแชมรอค จะมีลักษณะพิเศษคือใบเป็นแฉก 3 ใบที่อยู่ติดกันเป็นกระจุก ถูกนำมาเทียบเคียงกับการแบ่งกลุ่มงานภายในองค์การออกเป็น 3 กลุ่มที่สำคัญ คือ 1.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (professional core) 2. กลุ่มผู้ปฏิบัติงานจากภายนอก (outsourcing vendors) และ 3. กลุ่มพนักงาน การจัดองค์การแบบนี้สอดคล้องกับแนวคิดการลดขนาดองค์การ (downsizing) เพราะองค์การแบบแชมรอค ช่วยลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานประจำขององค์การลง จะเหลือเฉพาะผู้ปฏิบัติงานประจำที่ถือเป็นความสามารถหลักขององค์การเท่านั้น ผู้ปฏิบัติงานอีกสองไม่ถือเป็นผู้ปฏิบัติงานประจำขององค์การ
5s Model ปัจจุบันสภาพเเวดล้อมได้เปลี่ยนเเปลงไปอย่างรวดเร็วเเละสลับซับซ้อนมากขึ้น องค์การต้องเพิ่มขีดความสามารถในทุก ๆด้าน กระบวนทัศน์ทางการบริหารที่ควรนำมาใช้ ได้เเก่ การปกครองที่ดีไม่มีระบบอุปถัมภ์ การบริหารเน้นประสิทธิภาพ ประสิทธิผล การให้บริการตรงตามความต้องการเเบบพิเศษ ปรับกลยุทธ์ให้เป็นเลิศ ปฏิบัติงานด้วยวิธีที่ดีที่สุดซึ่งตัวแบบ 5sประกอบด้วย
-SMALL : องค์การสมัยใหม่จะมีขนาดเล็กลงเเต่มีคุณภาพมากขึ้น
-SMART : องค์การสมัยใหม่มุ่งสู่ความเฉลียวฉลาด มีความเเปลกใหม่ มีนวัตกรรมใหม่
-SMILE : องค์การที่มีความสุข
-SMOOTH : องค์การไม่มีความขัดเเย้งเเละมีการผนึก ความร่วมมือและ
-SIMPLIFY : ทำเรื่องยากให้ง่ายเเละรวดเร็ว
องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization) องค์การเสมือนจริงเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากในต่างประเทศ หัวใจหลักของ Virtual Office คือหลักจิตวิทยา ที่เชื่อมโยงบุคลากรห่างไกลให้บรรลุเป้าหมายเดี่ยวกันการเปลี่ยนแปลงจะสำเร็จ ต้องได้รับความร่วมมือจากมนุษย์ด้วยกัน (Collaborated) มีความไว้ใจ ทำงานรวดเร็ว คล่องตัว ความรับผิดชอบต่อหน้าที่มีลักษณะที่สำคัญ 7 ประการดังนี้
1.มีการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมสังคมกับชุมชนเครือข่าย
2.มีการร่วมมือและพึ่งพากัน
3.มีความยืดหยุ่น (Flexibility)
มีความไว้วางใจ (Trust)
การบริหารตนเอง (Self- Organization)
ขอบเขตขององค์การไม่ชัดเจน
ไม่มีสถานที่ตั้งองค์การ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหาร ได้แก่
คน (man) ก่อให้เกิดผลสำเร็จทั้งปริมาณและคุณภาพของงาน
เครื่องจักร (machine) ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าเงินทุน
วัสดุสิ่งของ (material) จัดหามาเพื่อดำเนินการผลิต
ทฤษฎีการบริหารยุคนีโอคลาสิก (NEO-Classical Theory)
เน้นลักษณะและผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนในองค์กร โดยใช้พฤติกรรมศาสตร์ (behavior theory) ซึ่งมีแนวคิดจากนักวิชาการ ดังนี้
เอลตัน เมโย (Elton Mayo) เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ พบว่า ผลผลิตจะเพิ่มสูงได้นั้นความสำคัญอยู่ที่ปัจจัยด้านจิตวิทยาและปัจจัยทางสังคมของผู้ทำงานไม่น้อยกว่าปัจจัยตัวงาน ผู้บริหารทุกคนจึงต้องสนใจความรู้สึกของผู้ทำงานด้วย งานจึงจะสำเร็จได้
แมคเกรเกอร์ (Douglas McGregor) เจ้าของทฤษฎีเอ็กซ์และวาย (X and Y theory) ได้วางหลักสมมติฐานเกี่ยวกับคนเป็น 2 แนวตรงกันข้ามกัน
วิลเลี่ยมกูซี่ (wiiam G. Quchi) ให้แนวคิดว่าการบริหารจะให้ผลดีกว่า ถ้าให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการตัดสินใจบริหาร (participation of the participants in decision making) นั้นคือ ให้ความสำคัญกับกลุ่มไม่ใช่ตัวบุคคล แนวคิดของทฤษฎีแซดเชื่อว่า
1) ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มุ่งแสวงหาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างกัน
2) ผู้ปฏิบัติงานจะขาดความคุ้นเคยกัน เพราะ สภาพแวดล้อมของงานที่จัดไว้ ทำให้เกิดช่องว่างของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกโดยไม่จำเป็น
3) ผู้ปฏิบัติงานต่างก็มีจิตสำนึกที่ดีในด้านความผูกพันทางใจ ความรัก ความสามัคคีอยู่แล้ว
4) ผู้ปฏิบัติงานสามารถไว้วางใจได้ โดยทำงานไม่บกพร่อง ผู้บริหารเพียงแต่เอาใจใส่ ดูแลสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ให้ดีเท่านั้น
เชสเตอร์ บาร์นาร์ด เป็นนักคิดของทฤษฎีการบริหารเชิงพฤติกรรมศาสตร์ ได้รับการยกย่องว่า“เป็นบิดาแห่งการบริหารเชิงพฤติกรรมศาสตร์” (Behavioral Science) ได้เขียนหนังสือหน้าที่ของนักบริหาร (Function of the Executive) ในปี ค.ศ. 1938 ถือว่าเป็นหนังสือเล่มแรกที่ได้รับการนำเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรมความร่วมมือ (theory of cooperative behavior) บาร์นาร์ด มีแนวคิดเกี่ยวกับองค์การไว้ว่า องค์การเป็นระบบของการร่วมแรงร่วมใจ เพื่อทำให้กิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การติดต่อสื่อสาร เพื่อความเข้าใจในวัตถุประสงค์สู่แนวทางการปฏิบัติ
อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow) เป็นนักจิตวิทยาคิดค้นแนวคิดเรื่องลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ โดยมนุษย์มีความต้องการอยู่ตลอดเวลาและไม่สิ้นสุด ความต้องการของมนุษย์จะเป็นไปตามลำดับขั้นจากต่ำไปหาสูง ดังนี้
ขั้นที่1 ความต้องการด้านร่างกายหรือด้านกายภาพ (Physiological Needs) ปัจจัย 4 ได้แก่ อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
ขั้นที่2 ความต้องการด้านความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs) การมีชีวิตอยู่รอดและปลอดภัย เขาจึงต้องการครอบครัวที่อบอุ่น ต้องการการงานที่มั่นคง
ขั้นที่3 ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Belongingness and Love Need) เป็นที่รักและเป็นที่ยอมรับในสังคม ครอบครัว
ขั้นที่4 ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียงและความภาคภูมิใจ (Self- Esteem Need) การได้รับการยกย่องชมเชย ให้รางวัล เชิดชูจากบุคคลอื่นรอบข้าง
ขั้นที่5 ความต้องการความสมบูรณ์ของชีวิต (Self-Actualization Needs) ต้องการอำนาจ วาสนา ความสมหวังในชีวิต
เฟรเดริค เฮิร์ซเบิร์ก (Frederick Herzberg) ให้ความสำคัญกับความต้องการของมนุษย์ โดยแบ่งปัจจัยออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยจูงใจ หรือ ปัจจัยภายใน (Intrinsic) คือ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจให้คนทำงานอย่างมีความสุข และ ปัจจัยค้ำจุน (Hygiene Factors) หรือ ปัจจัยภายนอก (Extrinsic) คือ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความพอใจในการทำงาน แต่ไม่นำไปใช้ในการจูงใจ ซึ่งเป็นแนวคิดในการบริหารคนที่ปัจจุบันผู้บริหารนำมาใช้เพื่อสร้างแรงจูงใจและขวัญกำลังให้แก่องค์กร
7.ทฤษฎีการบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative theory)
การบริหารศาสตร์ (Management science) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจให้แก่ผู้บริหาร ปัจจุบันใช้วิธีนี้อย่างแพร่หลายมากแม้ในการบริหารการพยาบาล เนื่องจากความก้าวหน้าด้านคอมพิวเตอร์ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างซับซ้อนมากขึ้น ในการบริหารการพยาบาลจะใช้ในรูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ (operation research) ศึกษาจากสภาพความเป็นจริงที่รวบรวมอย่างมีระบบเชิงการวิจัย แล้วนํามาคํานวณตามรูปแบบที่กำหนดขึ้น
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management information system : MIS) เน้นการออกแบบ และการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศ โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการบริหารจะผลิตข้อมูลและสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารทุกระดับอย่างกว้างขวาง และหลากหลาย โดยเฉพาะในการบริหารการพยาบาล หอผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางข้อมูลที่สำคัญของโรงพยาบาลซึ่งมีความเกี่ยวพันกับแผนกต่างๆ ในโรงพยาบาลมากมายข้อมูลทางการพยาบาลก็มีหลายชนิด เช่น การเบิกยา อาหาร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีจำนวนมาก มีผลโดยตรงต่อการบริหารจัดการของโรงพยาบาล
การจัดการปฏิบัติการ (Operations management) เป็นทฤษฎีสมัยใหม่ที่พัฒนามาจากทฤษฎีการจัดการ เน้นการใช้แนวทางเชิงปริมาณเข้าช่วยในการตัดสินใจ ทั้งนี้เพราะฝ่ายจัดการซึ่งมีความจำเป็นต้องมีข้อมูล ข่าวสารมากขึ้นและข้อมูลต้องมีคุณภาพดี ให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตและการให้บริการองค์การให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดตารางการทำงาน (work scheduling) การวางแผนการผลิต (production planning) การออกแบบอาคารสถานที่ (facilities and location design) ตลอดจนการประกัน คุณภาพ (quality assurance) โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ ในการบริหารงาน ในการบริหารการพยาบาลที่นำมาใช้ได้บ่อยคือ การวิเคราะห์รายการ โดยนำข้อมูล ผ่านกระบวนการวิเคราะห์หรือแปลงข้อมูลให้อยู่ในโครงสร้างมาตรฐานที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้
2.ทฤษฎีการจัดการเชิงบริหาร (administrative management)
เฮ็นรี่ ฟาโยล(Henry Fayol) ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการเชิงบริหาร (administrative management) โดยได้ระบุหน้าที่พื้นฐานหรือกระบวนการบริหารที่ผู้บริหารต้องปฏิบัติไว้ 5 ประการ (POCCC)
1) การวางแผน (planning) ผู้บริหารจะต้องคาดการณ์ล่วงหน้า ถึงเหตุการณ์ที่จะกระทบต่อองค์การและกำหนดเป็นแนวการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางของการทำงานต่อไป
2) การจัดองค์การ (organizing) ผู้บริหารจะต้องกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ อย่างเหมาะสมจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การไวอย่างชัดแจ้ง
3)การบังคับบัญชาและสั่งการ (commanding) ผู้บริหารจะต้องมีหน้าที่สั่งการ โดยจะต้องมีความเข้าใจคน เข้าใจงาน มีการติดต่อสื่อสารผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด
4) การประสานงาน (coordinating) ผู้บริหารทำหน้าที่ประสานหรือเชื่อมโยงงานต่างๆ ให้เข้ากัน
5) การควบคุม (controlling) หน้าที่ในการติดตามผล ดูแล กำกับให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้
ลูเทอร์กูลิคและลินดอลล์เออร์วิค(Luther Gulick and LyndallUrwick) ได้เพิ่มกระบวนการบริหารที่ Fayol ให้้ไว้ 5 ประการเป็น 7 ประการ เรียกว่า POSDCoRB ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ในด้านการบริหารการพยาบาลนักวิชาการบางกลุ่มเห็นว่าบางขั้นตอนซ้ำซ้อนควรปรับปรุงให้ลดลง เช่น มารีนเนอร์(Marriner, 1997)ได้กล่าวถึงกระบวนการบริหารการ พยาบาลไว้5 ขั้นตอนคือ การวางแผน การจัดองค์การ การจัดบุคลากร การอำนวยการและการควบคุมหรือ อานและอัคคาเบย์(Arant and Huckabay,1980) ไดกำหนดกระบวนการบริหารการพยาบาลไว้ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การจัดองค์การ การอำนวยการ และการควบคุม
5.ทฤษฎีระบบ (System theory)
Bertalanffy บิดาแห่งทฤษฎีระบบทั่วไป เห็นว่าโลกประกอบด้วยระบบต่างๆมีลำดับชั้น จากเฉพาะเจาะจง ไปสู่ระบบทั่วไป (System theory) ประกอบด้วย 5 ส่วนที่สำคัญ ปัจจัยนำเข้า (Inputs) กระบวนการแปรสภาพ (Transformation Process ) ผลผลิต (Outputs) ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back)และสิ่งแวดล้อม(Environment) ระบบปิด (Closed system)มีความสมบูรณ์ภายในตัวเอง ไม่ผูกพันกับระบบอื่นระบบเปิด (open system) อาศัยการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคล องค์การหรือหน่วยงานอื่นๆ หากมีสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงมีผลทำให้ระบบเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน