Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการและทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหาร - Coggle Diagram
วิวัฒนาการและทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหาร
ทฤษฎีการบริหารยุคนีโอคลาสิก (NEO-Classical Theory)
เน้นลักษณะและผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนในองค์การ โดยใช้พฤติกรรมศาสตร์ (behavior theory) บางคนเรียกว่า เป็นการบริหารงานตามแนวมนุษย์สัมพันธ์ (human relations approach) ซึ่งมีแนวคิดจากนักวิชาการ ดังนี้
เอลตัน เมโย (Elton Mayo)
เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ พบว่าว่าผลผลิตจะเพิ่มสูงได้นั้น ความสำคัญอยู่ที่ปัจจัยด้านจิตวิทยาและปัจจัยทางสังคม ผู้บริหารทุกคนจึงต้องสนใจความรู้สึกของผู้ทำงานด้วยงานจึงจะสำเร็จได้ การปฏิบัติต่อบุคลากรโดยเข้าใจในค่านิยม ความเชื่อ อารมณ์ ความรู้สึกของบุคคล ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการให้การพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น
แมคเกรเกอร์ (Douglas McGregor)
เจ้าของทฤษฎีเอ็กซ์และวาย (X and Y theory) ได้วางหลักสมมติฐานเกี่ยวกับคนเป็น 2 แนวตรงกันข้ามกัน คือ ขยันกับเกียจคร้าน แต่การที่เขาจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่ที่ตัวผู้บังคับบัญชาจะมีความเชื่อและปฏิบัติต่อเขาภายใต้ทฤษฎีใด
ทฤษฎีเอ็กซ์
คือคนประเภทเกียจคร้าน ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับ มีระเบียบกฎเกณฑ์คอยกำกับ มีการควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด และมีการลงโทษเป็นหลัก
ทฤษฎีวาย
คือคนประเภทขยัน ควรมีการกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม ท้าทายความสามารถ สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก และควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน
วิลเลี่ยม กูซี่ (William G. Quchi)
เป็นแนวคิดให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการตัดสินใจบริหาร (participation of the participants in decision making)
1) ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มุ่งแสวงหาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างกัน โดยอยู่ในกรอบของปรัชญาขององค์การที่ระบุไว้
2) ผู้ปฏิบัติงานจะขาดความคุ้นเคยกัน เพราะสภาพแวดล้อมของงานที่จัดไว้ ทำให้เกิดช่องว่างของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกโดยไม่จำเป็น
3) ผู้ปฏิบัติงานต่างก็มีจิตสำนึกที่ดีในด้านความผูกพันทางใจ ความรัก ความสามัคคีอยู่แล้ว
4) ผู้ปฏิบัติงานสามารถไว้วางใจได้ โดยทำงานไม่บกพร่อง ผู้บริหารเพียงแต่เอาใจใส่ ดูแลสวัสดิภาพ และความเป็นอยู่ได้ดีเท่านั้น
ทฤษฎีการบริหารสมัยใหม่
ทฤษฎีระบบ(System theory)
Bertalanffyบิดาแห่งทฤษฎีระบบทั่วไป นักทฤษฎีแนวนี้ เห็นว่าโลกประกอบด้วยระบบต่างๆ มีลำดับชั้น เจาะจง ไปสู่ระบบที่มีลักษณะทั่วไป แบ่งเป็น
ระบบปิด (Closed system)
คือระบบที่พึ่งตนเองได้ มีความสมบูรณ์ภายในตัวเองไม่พยายามผูกพันกับระบบอื่น
ระบบเปิด (Open system)
คือระบบที่ต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด อาศัยการติดต่อสัมพันธ์กับบุคคล องค์การหรือหน่วยงานอื่นๆ แลกเปลี่ยนผลประโยชน์อย่างสมดุลกัน
องค์ประกอบของทฤษฎีระบบ(System theory)
ประกอบด้วย5 ส่วน 1.ปัจจัยนำเข้า (Inputs) 2.กระบวนการแปรสภาพ (Transformation Process) 3. ผลผลิต (Outputs) 4.ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) 5. สิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory)
วิธีมุ่งเน้นที่จะให้ยอมรับกันว่าในทางปฏิบัติไม่มีวิธีการบริหารใดที่ดีที่สุด (no one best way) การพยาบาลที่ยึดถือตามทฤษฎีต้องสามารถวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะ ของแต่ละสถานการณ์นั้น เพื่อกำหนดแนวทางให้เหมาะสมกับโครงสร้างขององค์การ ทรัพยากร เป้าหมาย และผู้ปฏิบัติงาน
1.ฟีดเลอร์พัฒนารูปแบบจำลอง
เสนอว่าตัวแปรผันสถานการณ์ที่สำคัญที่มีผลต่อแบบของผู้นำ ได้แก่ อำนาจหน้าที่ตามตำแหน่ง การยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชา
2.Victor Vroom, Phillip Yetton and Jago
เสนอทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงสถานการณ์ Leader Participation Model หลักการสำคัญคือ การเน้นการเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจของผู้นำ โดยเปิดโอกาสให้ผู้ตามมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
3.Robert House
เสนอแนวความคิดผู้นำเชิงสถานการณ์ ทฤษฎีเส้นทาง-เป้าหมาย(Path-goal Theory) ผู้นำสามารถให้ความสำคัญทั้งคนและงานในเวลาเดียวกันโดยใช้อิทธิพลของแรงจูงใจ
4.Hersey and Blanchard
ทฤษฎี “วงจรชีวิต” เสนอทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (Situational Leadership Theory: SLT) แบ่งระดับ
ความพร้อมของผู้ตามเป็น 4 ระดับ
โดยเรียงลำดับต่ำสุดไปสู่สูงสุด
R1 หมายถึงไม่มีความสามารถและไม่มีความเต็มใจที่จะทำถือว่าความพร้อม
R2 หมายถึงไม่มีความสามารถ แต่เต็มใจที่จะทำถือว่าความพร้อมปานกลาง
R3 หมายถึงมีความสามารถ แต่ไม่มีความเต็มใจที่จะทำถือว่าความพร้อมปานกลาง
R4 หมายถึงมีความสามารถและเต็มใจที่จะทำถือว่าความพร้อมสูง
รูปแบบผู้นำ 4 รูปแบบ
เพื่อสื่อความหมายชัดเจนขึ้น ได้แก่ S1 คือการออกคำสั่ง (Direction) S2 คือการสอนงาน (Coaching) S3 คือการสนับสนุน (Supporting) S4 คือการมอบหมายงาน (Delegating)
แบ่งพฤติกรรมพื้นฐานของผู้นำมี 4 แบบ
งานสูง S1(Telling) สังการงานสูงสัมพันธ์สูง (2)(Selling) ขายความคิดงานต่ำ-สัมพันธ์สูง(3)(participating) แบบมีส่วนร่วมงานต่ำ – สัมพันธ์ต่ำ (4)(delegating) มอบอำนาจ
แบ่งผู้นำตามลักษณะความพร้อมด้านวุฒิภาวะ ตามความพร้อมของผู้ใต้บังคับบัญชา
มี 2 ประการคือ ความสามารถและความเต็มใจ
ทฤษฎีการบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative theory)
1.การบริหารศาสตร์ (Management science)
เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจให้แก่ผู้บริหาร ปัจจุบันใช้วิธีนี้อย่างแพร่หลายมากแม้ในการบริหารการพยาบาล เนื่องจากความก้าวหน้าด้านคอมพิวเตอร์ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างซับซ้อนมากขึ้น ในการบริหารการพยาบาลจะใช้ในรูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ (operation research) ศึกษาจากสภาพความเป็นจริงที่รวบรวมอย่างมีระบบเชิงการวิจัย แล้วนํามาคํานวณตามรูปแบบที่กำหนดขึ้น
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management information system : MIS)
เน้นการออกแบบ และการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศ โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการบริหารจะผลิตข้อมูลและสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารทุกระดับอย่างกว้างขวาง และหลากหลาย โดยเฉพาะในการบริหารการพยาบาล หอผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางข้อมูลที่สำคัญของโรงพยาบาลซึ่งมีความเกี่ยวพันกับแผนกต่างๆ ในโรงพยาบาลมากมาย เช่น ฝ่ายเภสัชกรรม หน่วยจ่ายกลาง แผนกอาหาร องค์กร แพทย์ แผนกกายภาพบำบัด แผนกการเงิน แผนกทะเบียน แผนกประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ข้อมูลทางการพยาบาลก็มีหลายชนิด เช่น การเบิกยา อาหาร วัสดุการแพทย์ แบบบันทึกต่างๆทางการพยาบาล ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีจำนวนมาก มีผลโดยตรงต่อการบริหารจัดการของโรงพยาบาล
3.การจัดการปฏิบัติการ (Operations management)
พัฒนามาจากทฤษฎีการจัดการ เน้นการใช้แนวทางเชิงปริมาณเข้าช่วยในการตัดสินใจ ทั้งนี้เพราะฝ่ายจัดการซึ่งมีความจำเป็นต้องมีข้อมูล ข่าวสารมากขึ้นและข้อมูลต้องมีคุณภาพดี ให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตและการให้บริการองค์การให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดตารางการทำงาน (work scheduling) การวางแผนการผลิต (production planning) การออกแบบอาคารสถานที่ (facilities and location design) ตลอดจนการประกัน คุณภาพ (quality assurance) โดยอาศัยเครื่องมือต่างๆ ในการบริหารงาน ในการบริหารการพยาบาลที่นำมาใช้ได้บ่อยคือ การวิเคราะห์รายการ โดยนำข้อมูล ผ่านกระบวนการวิเคราะห์หรือแปลงข้อมูลให้อยู่ในโครงสร้างมาตรฐานที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้
ทฤษฎี 7's
ซึ่งเป็นแนวคิดแบบจำลองของแมคคินซีย์ (Mc Kinsey) เป็นกลยุทธ์การบริหารที่ช่วยให้เกิดความสำเร็จในองค์การสูงที่ให้เห็นถึงความสำคัญของคนอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของการสร้างวัดวัฒนธรรมองค์ ประกอบด้วย
1.Hard Ss
เป็นอุปกรณ์แห่งความสำเร็จ 1. โครงสร้าง(Structure) 2. กลยุทธ์(Stratrgy) 3. ระบบ (System)
2.Soft Ss
เป็นส่วนเนื้อหาแห่งความสำเร็จ 1. แบบการบริหาร(Style) 2. บุคลากร (staff) 3. ทักษะ(Skill) 4. ค่านิยมร่วม(shared values) หรือเป้าหมายสูงสุด
การบริการคุณภาพทั้งองค์การ ( T.Q.M = total quality management)
เป็นแนวคิดการบริหารที่ยึดคุณภาพเป็นหัวใจของทุกเรื่อง เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพชนะการแข่งขัน โดยทรัพยากรมนุษย์เป็นตัวสร้างคุณภาพบริการและคุณภาพในการผลิต
การรื้อปรับระบบ (reengineering)
หมายถึงการสร้างกระบวนการทำงานขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลง ประสบการณ์ ตลอดจนวิทยาการต่างๆ ในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าสูงสุดแก่ลูกค้า โดยอยู่บนพื้นฐานกรอบแนวคิด ดังนี้
1.การปรับระบบด้านการจัดการทางการพยาบาล (nursing management)
เน้นการบริหารแบบแมตทริกซ์ (matrix organization) พี่เน้นรูปแบบการมีส่วนร่วมของหน่วยงานในองค์การ เน้นผู้รับบริการมากกว่ากิจกรรม
2. การปรับระบบด้านบริการพยาบาล (nursing Service)
ได้รับความสะดวก รวดเร็ว และมีความพึงพอใจในการบริการ