Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร - Coggle Diagram
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร
1.ทฤษฎีการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
เกิดช่วงที่อุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็วมีความสลับซับซ้อนใช้วิธีตั้งปัญหาและหาแนวทางเพื่อไปสู่จุดหมายที่ต้องการ
1 เฟรดเดอริควินสโลว์ เทเลอร์ (Frederick winslowtaylor)
เชื่อว่าปัญหาที่คนทำงานไม่เต็มศักยภาพสามารถแก้ไขได้ด้วยการออกแบบงานและการจัดสิ่งจูงใจใหม่ๆ
1) กำหนดวิธีการทำงานทดแทนการทำแบบลองผิดลองถูก
2) มีการวางแผนแทนที่จะให้คนงานเลือกวิธีการเอง
3) คัดเลือกคนงานที่มีความสามารถแล้วฝึกอบรมให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆร่วมกัน
4) ใช้หลักแบ่งงานกันทำระหว่างผู้บริหารและคนงาน“ การกำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุด "(One Best Way)
2.เฮนรี่ แก๊นต์ (Henry L Gantt)
นำเอาเทคนิคการจัดตารางสำหรับการควบคุมการปฏิบัติงานมาใช้เพื่อปรับปรุงและยกระดับประสิทธิภาพในการทำงานเป็นลักษณะตารางเส้นตรงที่กำหนดเวลาในอนาคตไว้ในแนวนอนและงานที่ปฏิบัติไว้ในแนวตั้ง
3.แฟรงค์ บังเกอร์ กิลเบรธ (Frank Bunker Gillbreth)
สนับสนุนแนวคิดของเทเลอร์ โดยการจัดทำภาพยนตร์แสดงความเคลื่อนไหวของคนงานในการทำงาน
สรุปได้ว่าการทำงานด้วยการแบ่งงานออกตามความชำนาญเฉพาะด้านและแบ่งงานเป็นส่วนๆ จะทำให้งานออกมาดีและถ้าได้มีการวิเคราะห์งานอย่างละเอียดถี่ถ้วนให้ทำงานต่อเนื่องกันเป็นกระบวนการตามหลักวิทยาศาสตร์
ทำให้เกิดงานแบบประจำ
4.ลิเลียน กิลเบรธ (Lilian Gillbreth)
ศึกษาการบริหารโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมที่มีการศึกษาเป็นแบบแผน
2.ทฤษฎีการจัดการเชิงบริหาร
มีหลักการคือให้ผู้บริหารเป็นผู้ประสานกระบวนการต่างๆ
1.เฮ็นรี่ ฟาโยล
เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเชิงบริหาร โดยได้ระบุหน้าที่พื้นฐานที่ผู้บริหารต้องปฏิบัติไว้ 5 ประการ(POCCC)
1.การวางแผน (Planning) ผู้บริหารจะต้องคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อเป็นแนวทางของการทำงานต่อไป
2.การจัดองค์กร (Organizing) ผู้บริหารจะต้องกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างเหมาะสม ต้องกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กร
3.การบังคับบัญชาและสั่งการ (Commanding) ผู้บริหารจะต้องสั่งงานโดยจะต้องมีความเข้าใจคน เข้าใจงาน
4.การประสานงาน (Coordinating) ผู้บริหารทำหน้าที่ประสานหรือเชื่อมโยงงานต่างๆให้เข้ากันได้
5.การควบคุม (Controlling) หน้าที่ในการติดตามผล ดูแล กำกับให้ดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้
พัฒนาหลักการบริการขึ้น 14 ประการ
1.การแบ่งกันทำงานตามความถนัด
2.การเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชาควบคู่กับความรับผิดชอบ
3.การมีระเบียบวินัย
4.ความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา
5.ความเป็นเอกภาพในทิศทาง
6.ยึดผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก
7.ความยุติธรรมทั้งต่อนายจ้างและลูกจ้าง
8.การรวมศูนย์อำนาจ
9.การมีสายบังคับบัญชา จากบนลงล่าง
10.ความเป็นระเบียบแบบแผน
11.ความเสมอภาค เป็นมิตร
12.ความมั่นคงในการทำงาน
13.ความริเริ่มสร้างสรรค์
14.ความสามัคคี
2.ลูเทอร์ กูลิคและลินดอล์เออร์วิค
เพิ่มกระบวนการบริการที่ Fayol ให้ไว้ 5 ประการ เป็น 7 ประการและเป็นที่รู้จักกันในนาม POSDCoRB ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน
ปี 1980 อานและอัคคาเบย์ ได้กำหนดกระบวนการบริหารการพยาบาลไว้ 4 ขั้นตอน
การวางแผน
การจัดองค์กร
การอำนวยการ
การควบคุม
ปี 1997 มารีนเนอร์ เห็นว่าบางขั้นตอนซ้ำซ้อนจึงปรับลดลงให้เหลือ 5 ขั้นตอน
การจัดบุคลากร
การจัดองค์กร
การวางแผน
การอำนวยการ
การควบคุม
3.ทฤษฎีระบบราชการ
แมกซ์ วีเบอร์ นักสังคมวิทยาชาวเยอรมัน เสนอทฤษฎีที่เป็นแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์กร
1.มีการแบ่งงานกันทำตามความรู้ ความสามารถ
2.มีการจัดระบบตำแหน่งหน้าที่ตามสายบังคับบัญชาจากบนลงล่าง
3.มีการกำหนดระเบียบข้อบังคับ กฎเกณฑ์ต่างๆ
4.บุคคลากรต่างทำหน้าที่ที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ
5.การจ้างงานใช้หลักคุณสมบัติทางวิชาชีพ
6.มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่
7.มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่ง