Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Guillain-Barré Syndrome - Coggle Diagram
Guillain-Barré Syndrome
-
การพยาบาล
- การประเมินสภาพเบื้องต้นของผู้ป่วยที่มีอาการอย่างเฉียบพลันสำคัญที่สุด พยาบาลจะต้องตรวจสอบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่ค่อยๆ ลุกลามจากส่วนล่าง (ขา) ขึ้นมายังลำตัว แผ่นหลัง ลำแขน (ascending paralysis) ตรวจสอบลักษณะการหายใจเข้าออกทุก 3-4 ชั่วโมง ร่วมกับการวิเคราะห์ผลแก๊สในหลอดเลือดแดง
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
- ควบคุมความดันโลหิตให้คงที่โดยดูแลการให้สารน้ำ
- ผู้ป่วยที่มีปัสสาวะคั่ง จำเป็นต้องสวนปัสสาวะเป็นระยะๆ มากกว่าที่จะสวนค้างไว้ ซึ่งจะก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
- ผู้ป่วยมีโอกาสจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เนื่องจากการเคลื่อนไหวลำบาก ดังนั้นพยาบาลจะต้องช่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในช่วงที่มีอาการเฉียบพลัน
สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของ Guillain-Barré syndrome แต่มีรายงานว่าผู้ป่วยหลายคนที่เป็นโรคนี้ เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ เป็นเวลาหลายวัน หรือหลายสัปดาห์ก่อนที่อาการ Guillain-Barré syndrome จะเริ่มต้นขึ้น
-
การวินิจฉัย
-
การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography) เป็นการใช้เข็มปลายแหลมจำนวนหนึ่งแทงเข้าไปยังกล้ามเนื้อ เพื่อวัดการทำงานของเส้นประสาทในกล้ามเนื้อ
การตรวจความเร็วในการนำสัญญาณประสาท (Nerve conduction) เป็นการใช้คลื่นไฟฟ้าสร้างความสั่นสะเทือนเล็กๆ บนผิวหนัง เพื่อวัดการทำงานของเส้นประสาท
การรักษา
- ช่วยการหายใจในรายที่หายใจลำบาก ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อความจุปอด ซึ่งในขณะหายใจออก มีค่า 12-15 มล./กก. หรือความอิ่มตัวทางออกซิเจนในเลือด (PaO2) น้อยกว่า 70 มม.ปรอท ด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดความดันบวก ผู้ป่วย GBS ควรได้รับการดูแลในหน่วยอภิบาลทางระบบหายใจ
- ให้การรักษาความดันโลหิตให้คงที่ เพราะว่าผู้ป่วยอาจมีทั้งความดันโลหิตสูง และความดันโลหิตตํ่า สลับไปมา ดังนั้น จึงต้องดูแลให้ได้รับสารนํ้าอย่างเพียงพอ ตรวจสอบความไม่สมดุลของอิเล็กโตรไลท์เป็นระยะๆ สังเกตอาการของ pulmonary emboli
-
- เปลี่ยนพลาสมา (plasmapheresis) เพื่อขจัดแอนติบอดี้ออกไปจากเลือด ควรทำ 5-6 ครั้ง วันเว้นวัน จะเริ่มในเวลา 2 สัปดาห์แรกที่เริ่มเป็น ถ้าช้ากว่านี้จะไม่ได้ผล การเปลี่ยนพลาสมาจะช่วยย่นระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาลให้สั้นลง และให้ 5% albumin ทดแทน มีรายงานว่าการให้อิมมูนโกลบุลินขนาด 0.4 กรัม/กก./วัน นาน 5 วัน ได้ผลดีเช่นเดียวกับการเปลี่ยนพลาสมา แต่ว่าการฉีดโกลบุลินปลอดภัยกว่า