Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การสร้างภูมิคุ้มกันโรค (วัคซีนต่างๆ (วัคซีนโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน…
บทที่ 3 การสร้างภูมิคุ้มกันโรค
3.1 แบบแผนการให้ภูมิคุ้มกันโรคตามการสร้างภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ.2563
การสร้างภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1.การสร้างภูมิคุ้มกันโรคทางตรง Active immunization
กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง โดยการให้ antigen หรือวัคซีน ให้ร่างกายสร้าง antibodyขึ้นภายหลัง
สามารถป้องกันโรคได้เป็นปีหรือบางชนิดอยู่ได้ตลอดไป
ยกตัวอย่างเช่น
ไทฟอยด์อยู่ได้ 3 ปี
หัดเยอรมัน หัด
คางทูม
แบ่งออกเป็ฯ 3 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ท๊อกซอยด์ (toxoid) ป้องกันโรคที่เกิดจากพิษหรือท๊อกซินของแบคทีเรีย
โรคคอตีบ (Diptheria)
โรคบาดทะยัก (Tetanus)
กลุ่มที่ 2 วัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิต (inactivated หรือ killed vaccine) ทำมาจากแบคทีเรียหรือไวรัสที่ตายแล้ว (whole cell vaccine)
โรคไอกรน (Pertussis)
วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ/JE ชนิดไม่มีชีวิต
กลุ่มที่ 3 วัคซีนชนิดมีเชื้อ (Live attenuated vaccine)
ทำมาจาดเชื้อที่มีชีวิตแต่ฤทธิ์อ่อนลงแล้ว ส่วนใหญ่เป็นวัคซีนไวรัส
วัคซีนแบคทีเรียที่ใช้แพร่หลาย ได้แก่
วัคซีนวัณโรค (BCG)
วัคซีนโรคโปลิโอชนิดกิน (OPV)
วัคซีน MMR
วัคซีนโรคสุกใส
วัคซีน Rota virus
วัคซีนไข้สมองอักเสบ
เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะยังไม่ออกฤทธิ์ ต้องใช้เวลา ดังตัวอย่างต่อไปนี้
วัคซีนโรคหัด (Measle) มีไข้ประมาณวันที่ 5-12 หลังฉีด
ถ้าผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าปกติ หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกันอาจเกิดอันตรายได้
2.การสร้างภูมิคุ้มกันโรคทางอ้อมหรือด้วยการรับเอา Passive immunization
การให้สาร Antibody ที่มีอยู่แล้ว เข้าในร่างกายโดยตรงและสามารถป้องกันโรคได้ทันที
แต่จะอยู่ได้ไม่นานประมาณ 3-4 สัปดาห์ก็หมดไป
วิธีการให้วัคซีน แบ่งเป็น 4 แบบดังนี้
1.การกิน (oral route)
ใช้เมื่อต้องการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเฉพาะที่
เกิดภูมิคุ้มกันในลำไส้ มักเป็นวัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต
วัคซีนโปลิโอ
วัคซีนโรคไข้ไทฟอยด์ชนิดกิน
2.การฉีดเข้าในหนัง (intradermal/inuracutaneous route)
ต้องการลดจำนวน antigenให้น้อยลง ฉีดเข้าไปทางท่อน้ำเหลือง กระตุ้นภูมิคุ้มกันชิดเซลล์
3.การฉีดเข้าใต้หนัง (subcutaneous route)
มักใช้เมื่อไม่ต้องการให้ดูดซึมเร็วเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรง
วัคซีนไข้ไทฟอยด์
วัคซีนไข้สมองอักเสบ
4.การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (intramuscular route)
ต้องการให้ดูดซึมดี ควรฉีดบริเวณต้นแขน (deltoid) รองลงมาคือ บริเวณกึ่งกลางต้นขาด้านหน้าค่อนไปด้านนอก (midanterolateral thigh) มักใช้ในเด็ก
วัคซีนที่มี adjuvant ควรฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
วัคซีน DTP
วัคซีนตับอักเสบบี
วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า
หลักการทั่วไปในการให้วัคซีน
1.วัคซีนหลายชนิดให้พร้อมกันในวันเดียวได้
2.การให้วัคซีนห่างกันเกินกว่ากำหนดไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันเกิดน้อยลง
เด็กที่ไม่ได้ฉีดตามนัด สามารถฉีดเข็มต่อไปได้เลย โดยไม่ต้องเริ่มใหม่
3.ผู้ที่เจ็บป่วยเล็กน้อย เช่น ไข้ต่ำๆ สามารถให้วัคซีนได้
4.ผู้ที่ได้รับอิมมูโนโกลบุลิน พลาสม่า หรือเลือดไม่เกิน 3 เดือน ไม่ควรให้วัคซีนที่มีชีวิต
วัคซีน MMR
5.เด็กที่เคยได้รับวัคซีนDTPแล้วมีไข้สูงเกิน 40.5องศาเซลเซียส ภายใน 48 ชั่วโมงหลังฉีด
ควรให้วัคซีนรวมป้องกันเฉพาะโรคคอตีบ บาดทะยักเท่านั้น
6.เด็กที่เคยแพ้ไข้ คือมีอาการปากบวม ลมพิษขึ้น
ให้วัคซีนรวม MMR ชนิดที่มาจากเซลล์เพาะเชื้อจากไข่
7.ทารกที่คลอดก่อนกำหนด ควรให้วัคซีนเหมือนเด็กที่เกินครบกำหนด
แต่ถ้าเด็กอยู่ใน nursery ไม่ควรให้ OPV
8.เด็กที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ
เด็กที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน (steroid) ยารักษาโรคมะเร็ง ต้องงดให้วัคซีนเชื้อมีชีวิต
9.เด็กที่ให้ยากดภูมิคุ้มกันสามารถให้ท๊อกซอยด์ และวัคซีนชนิดเชื้อไม่มีชีวิตได้
วัคซีนที่ทำจากไวรัสมีชีวิตไม่ควรให้ จนกว่าจะหยุดยากดภูมิคุ้มกันอย่างน้อย 3 เดือน
10.เด็กที่ได้รับวัคซีนโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน แล้วชักภายใน 3 เดือน ไม่ควรให้วัคซีนโรคไอกรนชนิด whole cell ในครั้งต่อไป
11.เด็กที่มีโรคทางระบบประสาทควบคุมไม่ได้ ไม่ควรได้รับวัคซีนไอกรนชนิด whole cell
12.เด็กที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคลมชัก สามารถให้วัคซีนได้
ถ้าให้วัคซีนโรคหัดต้องพิจารณาให้ยาลดไข้ตั้งแต่วันที่ 5 หลังฉีดยา และให้ต่อไปอีก 5-7 วัน
13.การฉีดวัคซีนที่ที่มี adjuvant ควรเข้ากล้ามเนื้อเท่านั้น อาจำเกิดการระคายเคืองอักเสบเป็นก้อนหรือเกิดเนื้อตายบริเวณที่ฉีด
14.ตำแหน่งของการฉีดวัคซีนควรฉีดในตำแหน่งที่เกิดอันตรายน้อยที่สุดต่อหลอดเลือด เส้นประสาท และเนื้อเยื่อ
ส่วนผู้ใหญ่หรือเด็กโต ฉีดบริเวณ deltoid
15.เด็กที่ติดเชื้อ HIV สามารถให้วัคซีนได้ทุกชนิดเหมือนเด็กปกติ
16.เด็กที่ได้รับยา steroid เกิน 2 สัปดาห์ต้องหยุดยา 1 เดือนก่อนให้วัคซีน แต่ถ้าไม่เกิน 2 สัปดาห์สามารถให้วัคซีนเชื้อมีชีวิตได้เลยหลังหยุดยา
17.ผู้ที่ได้รับยาสเตอรอยด์ชนิดทาหรือฉีดเฉพาะที่ ถ้าได้รับยาขนาดต่ำสามารถให้วัคซีนได้ แต่ถ้าได้รับขนาดสูงต้องหยุดยาแล้ว 1 เดือน
ทารกจะได้รับภูมิคุ้มกันผ่านทางรก สามารถป้องกันโรคบางชนิดได้ หลังคลอดภูมิคุ้มกันจะลดลงโดยเฉพาะกับแบคทีเรีย จะหมดไปประมาณ 2-3 เดือนหลังคลอด
ภูมิคุ้มกันเชื่อไวรัสอยู่ได้นานกว่า 6 เดือนหลังคลอด
เด็กอายุ 2 เดือน, 4 เดือน, 6 เดือน ฉีดวัคซีน DTP-HB-Hib
บริเวณที่ฉีดDTP-HB2-Hib2 มีอาการปวด บวม แดง ร้อน ถ้าอาการมากใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบแล้วทานยาแก้ปวด จะหายใน 7 วัน
3.2 การให้คำแนะในการให้ภูมิคุ้มกันโรคและวัคซีนเผื่อเลือก
วัคซีนทางเลือก (optional vaccine) ไม่อยู่ในตารางวัคซีนปกติ
วัคซีนอีสุกอีใส
ผลิตจากเชื้อไวรัสมีชีวิต คือ Varicella Zoster Virus : VZV ถูกทำให้ฤทธิ์อ่อนลงไม่สามารถก่อโรคได้ เข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและป้องกันการเกิด
แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม ตามที่กำหนด
ต้องระวังในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ อายุเกิน 12 ปี ฉีด 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์
แนะนำให้ฉีดตั้งแต่อายุ 1 ปีขึ้นไป เข็ฒแรกอายุ 12-18 เดือน และฉีดกระตุ้นอีกครั้งอายุ 4-6 ปี
เด็กอายุ 13 ปีขึ้นไปที่ไม่เคยฉีด ควรฉีดจำนวน 2 เข็ม เข็มแรกและเข็มที่สองห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน
ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนอีสุกอีใส
มักมีอาการหลังฉีดเข็มที่แรกมากกว่าเข็มที่สอง
มีอาการปวด บวม แดง คัน มีไข้ต่ำ หรือเกิดผื่นขึ้น
3.3การบริหารและการจัดเก็บวัคซีน
ทั่วไปเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส ห้ามเก็บที่ผาประตูตู้เย็น และต้องใส่ในกล่องพลาสติก เพื่อป้องกันการสูญเสียความเย็น
OPV เก็บที่ช่องแช่แข็ง (Freezer)
MMR/MR ,BCG และJE ผงแห้ง เก็บที่อุณหภูมิ+2 ถึง +8 องศาเซลเซียส
กรณีชั้นที่ 1 ไม่พอสามารถเก็บที่ชั้นที่ 2 (ห้ามเก็บในถาดรองใต้ช่องแช่แข็ง ป้องกันกล่องวัคซีนเปียกน้ำหรือฉลากหลุด)
วัคซีนต่างๆ
วัคซีน HPV (Human Papilloma Virus) ป้องกันมะเร็งปากมดลูก
จะมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อฉีดในวัยที่ไม่มีเพศสัมพันธ์มาก่อน ช่วงอายุ 9-26 ปี แต่จะเน้นช่วงอายุ 11-12 ปี
สามารถป้องกันมะเร็งช่องคลอดและหูดอวัยวะเพศ ได้ทั้งหญิงและชาย
การสร้างภูมิคุ้มกัน ฉีดให้เด็กผู้หญิง ชั้นป.5 จำนวน 2 เข็ม HPV1,HPV2 โดยเข็ม 1 กับเข็ม 2 ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน
วัคซีนโรต้า (Rota virus) ป้องกันการติดเชื้อทางเดินอาหารที่รุนแรงในเด็ก
ปัจจุบันเป็นชนิดหยอดทางปาก
ให้ทั้งหมด 3 ครั้ง ในช่วงอายุ 2 4 6 เดือน ครั้งแรกอายุไม่เกิน 15 สัปดาห์ และครั้งที่ 2 กับ3 เด็กต้องอายุไม่เกิน 32 สัปดาห์
ต้องระวังในทารกที่ครอบครัวมีภูมิต้านทานต่ำ
วัคซีน HIB (Haemophilus influenza type B)
ให้ครั้งละ 3 ครั้ง ตอนเด็กอายุ 2 4 6 เดือน
เข็มเดียวป้องกันได้ 5 โรค คือ คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เป็นเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดโรคตั้งแต่อายุ 5 ปี จะพบเชื้อที่บริเวณลำคอ
ปอดบวม
กล่องเสียงอักเสบ
ผิวหนังอักเสบ
ข้ออักเสบ
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ เจอี (Japanese Encephalitis)
ฉีด 2 ครั้ง พร้อม MMR
ครั้งที่ 1 เมื่ออายุ 9-12 เดือน ครั้งที่ 2 ตอนอายุ 2-2.1/2ปี
ขนาดวัคซีน 1 dose คือ 0.5 ml.
วัคซีนโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูม (Mump Measles Rubellar Vaccine)
ให้ในเด็กครั้งแรกอายุ 6-12 เดือน และครั้งที่ 2 อายุ 4-6 ปี
แนะนำให้ฉีดตอนอายุ 12 เดือน
สามารถให้พร้อมกับวัคซีนอีสุกอีใส แต่ถ้าไม่ให้พร้อมกันต้องห่างกัน 1 เดือน
วัคซีนโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (Diptheria Tetanus Pertussive Vaccine :DTP)
แบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
1.DTwP วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน แบบทั้งเซลล์ whole cell Pertussis vaccine
2.DTaP วัคซันคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน แบบไร้เซลล์ Acellular pertussis vaccine
ให้ฝนช่วงอายุ 2 4 6 เดือน และฉีดกระตุ้นอีก 2 เข็มคือ 1ปีครึ่ง และ 4-6 ปี โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
ปฏิกิริยาภายหลังฉีด
มีไข้เป็นส่วนใหญ่
ระบมบริเวณที่ฉีด
ปวด บวม แดง ร้อน
ข้อควรระวัง
1.ห้ามให้ DTP ในเด็กอายุเกิน 6 ปี
2.ไม่ควรฉีดในเด็กที่เคยชัก หรือเป็นโรคระบบประสาท
ไม่ฉีดในระยะที่โปลิโอระบาด/ เด็กป่วยมีไข้
วัคซีนวัณโรค (Bacille Calmette Guerin : BCG)
ต้องฉีดเข้าในผิวหนังครั้งละ 0.1 cc ในชั้นผิวหนังที่ไหล่ซ้าย
หลังฉีดจะเกิดตุ่มสีขาวซีดต่อมาจะเป็นรอยแดงๆและโตขึ้นกลายเป็นฝี
ข้อห้ามในการฉีด
1.มีแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลติดเชื้อ
2.ผู้ป่วยติดเชื้อ HIV มีอาการ
3.มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด/ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
วัคซีนโปลิโอ (Poliomyelitis Vaccine)
มีทั้งชนิดกิน (OPV)และชนิดฉีด(IPV)
ให้ครั้งแรกอายุ 2 4 6 เดือน กระตุ้น หนึ่งปีครึ่ง และ 4-6 ปี
สามารถให้พร้อมกับวัคซีนอื่นได้ ยกเว้นวัคซีนที่มีชีวิตด้วยกัน
นางสาวพรภัสส์ษา ภัทรวิกรัยกุล เลขที่ 1 รุ่น 36/2 รหัสนักศึกษา 612001081