Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities (แนวทางการดูแลรักษา (3)…
ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
(Intellectual Disabilities
คำจำกัดความของภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
ตามเกณฑ์ของ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fourth Edition, Text Revision (DSM- IV-TR) โดย American Psychiatric Association (APA) หมายถึง ภาวะที่มี
1.ระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เกณฑ์ภาวะบกพร่องทางสติปัญญาด้านเชาวน์ปัญญา คือการมีระดับเชาวน์ปัญญาต่ำกว่า 70
2.พฤติกรรมการปรับตนบกพร่องตั้งแต่ 2 ด้านขึ้นไป จากทั้งหมด 10 ด้าน
หมายถึง การปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นความสามารถของบุคคลนั้นที่จะสามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตนเองในสังคม ประกอบด้วย
การสื่อความหมาย (Communication)
การดูแลตนเอง (Self-care)
การดำรงชีวิตภายในบ้าน (Home living)
การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม (Social and Interpersonal Skills)
การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน (Use of Community Resources)
การควบคุมตนเอง (Self- direction)
การนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน (Functional Academic Skills)
การใช้เวลาว่าง (Leisure)
การทำงาน (Work)
การมีสุขอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น (Health and Safety)
3.อาการแสดงก่อนอายุ 18 ปี
ปัญญาอ่อน (Mental Retardation) การพยาบาลเด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อน เป็นความบกพร่องของสติปัญญาที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (IQ ≤ 70) และมีความบกพร่องของพฤติกรรมการปรับตัว ทักษะทาง
สังคม ระดับของปัญญาอ่อน แบ่งตาม IQ เป็น4 ระดับ
สาเหตุ ส่วนใหญ่ไม่สามารถระบุหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ (ร้อยละ 30-50) มักเกิดจากหลายสาเหตุเป็นปัจจัยร่วมกัน ทั้งปัจจัยทางชีวภาพ และปัจจัยทางจิตสังคม
ปัจจัยทางชีวภาพ เป็นสาเหตุได้ตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด มักพบมีความผิดปกติอื่นร่วมด้วย สาเหตุได้แก่
โรคทางพันธุกรรม
การติดเชื้อ
การได้รับสารพิษ
การขาดออกซิเจน
การขาดสารอาหาร
· การเกิดอุบัติเหตุต่างๆ
ปัจจัยทางจิตสังคม
ขาดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ถูกทอดทิ้ง ครอบครัวแตกแยก ฐานะยากจน อยู่ในภาวะแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ขาดความกระตือรือร้น ขาดแรงจูงใจที่ดี
ระดับความรุนแรง
ความบกพร่องทางสติปัญญามีระดับความรุนแรงแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ตามระดับเชาวน์ปัญญา และระดับความสามารถที่วัดได้
1.ระดับน้อย (Mild Mental Retardation)
มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 50-69 อาจไม่แสดงอาการล่าช้าจนกระทั่งวัยเข้าเรียน (แต่ถ้าสังเกตอย่างละเอียดแล้ว จะพบว่าเด็กเหล่านี้มีความสามารถต่ำกว่าเกณฑ์อย่างเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่วัยอนุบาล) มักไม่มีอาการแสดงทางร่างกาย ทางบุคลิกภาพ หรือทางพฤติกรรมใดโดยเฉพาะ ที่บ่งบอกถึงความบกพร่องทางสติปัญญา
2.ระดับปานกลาง (Moderate Mental Retardation)
มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 35-49 ในช่วงขวบปีแรก มักจะมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวปกติ แต่พัฒนาการด้านภาษาและด้านการพูดจะล่าช้า ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในช่วงวัยเตาะแตะ การศึกษาหลังจากระดับชั้นประถมต้น มักไม่ค่อยพัฒนา
3.ระดับรุนแรง (Severe Mental Retardation)
มีระดับไอคิวอยู่ในช่วง 20-34 มักจะพบทักษะทางการเคลื่อนไหวล่าช้าอย่างชัดเจน ด้านภาษาพัฒนาเล็กน้อย ทักษะการสื่อความหมายมีเพียงเล็กน้อยหรือไม่มี พอจะฝึกฝนทักษะการดูแล ตนเองเบื้องต้นได้บ้างแต่น้อย ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมภายใต้การควบคุมดูแลอย่างเต็มที่
4.ระดับรุนแรงมาก (Profound Mental Retardation)
มีระดับไอคิวต่ำกว่า 20 มีพัฒนาการล่าช้าอย่างชัดเจนในทุกๆ ด้าน มักมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว และฝึกการช่วยเหลือตนเองได้บ้าง มีขีดจำกัดในการเข้าใจและการใช้ภาษาอย่างมาก ต้องการความช่วยเหลือ ดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา
แนวทางการดูแลรักษา
1) การส่งเสริมศักยภาพครอบครัว
ครอบครัวเข้มแข็ง คือพลังแห่งความสำเร็จ ครอบครัวควรมีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการดูแล เห็นความสำคัญของการฝึกฝนทักษะต่างๆอย่างต่อเนื่อง ให้คำปรึกษาสำหรับครอบครัว เพื่อ ลดความเครียดของครอบครัว ให้ข้อมูลและทางเลือกต่างๆ ในการตัดสินใจ และให้กำลังใจ
2) การส่งเสริมพัฒนาการ (Early Intervention)
ควรจัดโปรแกรมการฝึกทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ ส่งเสริมพัฒนาการทุกๆด้าน ทำอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่พัฒนาการที่เหมาะสมตามวัยในทุกๆด้าน เด็กที่ได้รับการฝึกแต่เยาว์วัย จะสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่าการฝึกเมื่อโตแล้ว
3) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
มักมีความต้องการแตกต่างกันตามสภาพปัญหา และความจำเป็นของเด็กแต่ละคนที่แตกต่างกัน โดยมีแนวทางช่วยเหลือเฉพาะทาง ในพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
กายภาพบำบัด (Physical Therapy) เน้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่ การเคลื่อนไหว แก้ไขการเดิน และลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy) เน้นพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก การหยิบจับ สมาธิ และการรับรู้สัมผัส
แก้ไขการพูด (Speech Therapy) เน้นพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร
ฝึกทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training) เน้นพัฒนาการด้านสังคม และการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน
4) การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการศึกษา
ส่งเสริมการจัดการเรียนร่วมให้มากที่สุด โดยทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP - Individualized Educational Program) การจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล จำเป็นต้องออกแบบการสอนให้เหมาะสมกับจุดเด่น จุดด้อย และความสนใจของเด็กแต่ละคน
5) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
คือการส่งเสริมให้เด็กสามารถใช้ชีวิตในสังคม และชุมชนได้ปกติตามศักยภาพ โดยการเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างเท่าเทียม เพื่อลดความรู้สึกแปลกแยกจากสังคม สามารถดำรงชีวิตตามปกติในสังคมได้ มีความนับถือตนเองสูงขึ้น และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทักษะด้านอื่นต่อไป
6) การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพ
การเตรียมพร้อมด้านอาชีพ ได้แก่ การฝึกทักษะพื้นฐานทางอาชีพเฉพาะด้าน และฝึกลักษณะนิสัยในการทำงานที่เหมาะสม เช่น การตรงต่อเวลา รู้จักรับคำสั่ง สามารถปฏิบัติตนต่อผู้ร่วมงานอย่างเหมาะสม และเข้าใจมารยาททางสังคม
7) การใช้ยา
การใช้ยา ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อทำให้ความบกพร่องทางสติปัญญาหายไป หรือช่วยให้สมองดีขึ้น แต่ใช้เพื่อบรรเทาความรุนแรงของปัญหา หรืออาการที่เกิดร่วมด้วย เช่น ลมชัก พฤติกรรมรุนแรง ปัญหาด้านอารมณ์ ปัญหาด้านสมาธิ เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
ปัญหาพัฒนาการ การวินิจฉัยปัญญาอ่อนได้ตั้งแต่เด็กอายุน้อย (early diagnosis) ในเด็กที่มีสาเหตุขณะมารดาตั้งครรภ์หรือตั้งแต่เกิด มักมีปัญหาด้านภาษา ความสน ใจต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่สนใจของเล่น ปล่อยของเล่นโดยไม่สนใจ ไม่มองหา หรือพยายามหยิบ เอื้อม หรือเคลื่อนไหวมากโดยไม่มีจุดหมาย (aimless over-activity)
ลักษณะอื่นๆ ได้แก่ - static delay เช่น cognitive delay without regression มักมีสาเหตุจากสมอง ได้แก่chromosome abnormality, intrauterine infection
neurodegenerative disease จาก inborn error of metabolism เช่น mucopolysaccharidoses
neurodegenerative disease without known abnormal biological markers ได้แก่ Rette syndrome
ปัญหาการเรียน การเรียนรู้ทันเพื่อนจําเป็นต้องใช้กระบวนการที่สําคัญ เช่น ความจํา การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การแปลผล ประสบการณ์ การเชื่อมโยงประสบการณ์ และการแสดงออกซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้สติปัญญา ในเด็กที่มีปัญหาด้านสติปัญญามักมี ปัญหาการเ รียนเป็นภาพรวมเกือบทุกด้าน เกือบทุกวิชา
แบบประเมิน
แบบประเมินแบบทดสอบเชาวน์ปัญญาที่นิยมใช้เป็นมาตรฐานในประเทศไทย ได้แก่
Stanford-Binet Intelligence Scale แบบทดสอบชุดนี้ใช้วัดพฤติกรรมต่าง ๆ ดังนี้1.การทํางานประสานกันระหว่างตากับมือ (Eye – Hand Coordination) 2.การบอกรายละเอียดของวัตถุ (Observation and Identification of Common Objects) 3.ความจํา (Memory Tests)
แบบทดสอบสติปญญาของเวคสเลอร์เบลวิว (Wechsler Bellevue Intelligence Scale :
WAIS)แบบทดสอบนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบด้วยแบบทดสอบทั้งหมด 11 ฉบับ แบบทดสอบที่ใช้ภาษา 6 ฉบับ ได้แก่แบบทดสอบ ความรู้ทั่วไป ความเข้าใจภาษา เลขคณิต ความคล้ายคลึงการจําตัวเลขและคําศัพท์เป็นแบบ ทดสอบที่ใช้การปฏิบัติ 5 ฉบับ ได้แก่แบบทดสอบการจําสัญลักษณ์การหาส่วนที่หายจากภาพ การ จุดลั กบาศก์ การเรียงลําดับภาพ และการประกอบภาพให้สมบูรณ์
เครื่องมือวัดพฤติกรรมการปรับตนที่ใช้ ได้แก่
Vineland Adaptive Behavior Scales VABS ประกอบด้วยพฤติกรรมการปรับตัวจำนวน 261 ข้อ แบ่งเป็น 4 ด้าน (Domains) แต่ละด้านแบ่งเป็นด้านย่อย
ด้านการติดต่อสื่อสาร (Communication domain)
ด้านกิจวัตรประจำวัน (Daily living skills domain)
ด้านการเข้าสังคม (Socialization domain)
ด้านทักษะการเคลื่อนไหว (Molor skills domain)
นางสาว ผาณิตา ตาสาย ปี 3 เลขที่ 38