Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Learning disorder (ความบกพร่องในการเรียนรู้ ) (การดูแลรักษา…
Learning disorder (ความบกพร่องในการเรียนรู้ )
ความหมาย
Learning disability หมายถึงกลุ่มอาการที่มีปัญหาหรือขาดทักษะด้านการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยความบกพร่องในการอ่าน เขียน และคณิตศาสตร์ประเทศส่วนใหญ่ใช้ค านี้ในความหมายเดียวกับ learningdisorder แต่ในบางประเทศเช่นประเทศอังกฤษ ค านี้จะครอบคลุมไปถึงกลุ่มที่มีสติปัญญาบกพร่องด้วย
LD แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1.ความบกพร่องด้านการอ่าน ความบกพร่องด้านการอ่านเป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดของเด็ก LD ทั้งหมด เด็กมีความบกพร่องในการจดจำ พยัญชนะ สระ และขาดทักษะในการสะกดคำ จึงอ่านหนังสือไม่ออกหรืออ่านช้า อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้ อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้ ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความสามารถในการอ่านหนังสือต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
ความบกพร่องด้านการเขียนสะกดคำ
ความบกพร่องด้านนี้ส่วนใหญ่จะพบร่วมกับความบกพร่องด้านการอ่าน เด็กมีความบกพร่องในการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง บางครั้งเรียงลำดับอักษรผิด จึงเขียนหนังสือและสะกดคำผิด ทำให้ไม่สามารถแสดงออก ผ่านการเขียนได้ตามระดับชั้นเรียน เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการเขียนสะกดคำต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
ความบกพร่องด้านคณิตศาสตร์
เด็กขาดทักษะและความเข้าใจค่าของตัวเลข การนับจำนวน การจำสูตรคูณ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ จึงไม่สามารถคำนวณคำตอบจากการบวก ลบ คูณ หาร ตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการคิดคำนวณ ต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
การดูแลรักษา
อธิบายเด็กและผู้ปกครองในเข้าใจถึงความผิดปกติที่ส่งผลต่อการเรียนของเด็ก แพทย์ควรเขียน จดหมายถึงครูเพื่ออธิบายถึงข้อบกพร่องและจุดแข็งของเด็กที่ได้จากการประเมินเพื่อการดูแล รักษาร่วมกัน
แนะนำถึงสิทธิที่เด็กจะได้รับตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ พ.ศ. 2551 ซึ่ง ให้สิทธิทางการศึกษาที่สำคัญ ได้แก่การได้รับสื่อและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ หรือการจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) แก่เด็ก
ดูแลรักษาโรคร่วมที่พบได้ เช่น การให้ยาหากพบว่ามีโรคซนสมาธิสั้น หรือการปรึกษาจิตแพทย์ เด็กและวัยรุ่นหากมีปัญหาด้านอารมณ์หรือการปรับตัวร่วมด้วย
ส่งเสริมทักษะที่เด็กถนัดนอกเหนือจากการเรียนเช่นกีฬา ดนตรีหรือศิลปะ ซึ่งทำให้เด็กมีความ นับถือตนเองมากขึ้นเนื่องจากมีความสามารถที่เป็นที่ยอมรับ และมีประโยชน์ในการประกอบ อาชีพในอนาคต
ให้เวลาเด็กในการท างานที่ต้องใช้ทักษะที่เด็กบกพร่องนานขึ้น ประเมินผลโดยคำนึงถึงความ บกพร่องของเด็ก
การดูแลรักษาเฉพาะด้าน เนื่องจากความผิดปกติในการเรียนรู้มีความแตกต่างกันในแต่ละด้าน ซึ่งมีการดูแลรักษาเฉพาะด้านตามตารางที่ 3 ซึ่งประกอบด้วยสองส่วนได้แก่(
6.1 การำบัดรักษา(Intervention) คือการฟื้นฟูทักษะที่จำเพาะในด้านที่บกพร่อง
6.2 การช่วยเหลือ(Accommodation) คือการดูแลช่วยเหลือให้เด็กสามารถเรียนร่วมกับ เพื่อนได้ ทำงานหรือประกอบอาชีพได้แม้ยังมีความบกพร่องในการเรียนรู้อยู่ โดย วิธีการหรือเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก (assistive technology)
เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM-5 ของความบกพร่องในการเรียนรู้
เด็กต้องมีความยากลำบากในการเรียนรู้อย่างน้อย 1 ข้อตามเกณฑ์ต่อไปนี้ โดยอาการดังกล่าวต้องปรากฏอยู่นานอย่างน้อย 6 เดือนขณะได้รับการบำบัดรักษาที่จำเพาะแล้ว:
1.1 อ่านไม่ถูกต้อง อ่านช้า และยากล าบากในการอ่าน
1.2 ยากล าบากในการท าความเข้าใจเรื่องที่อ่าน
1.3 ยากล าบากในการสะกดค า
1.4 ยากล าบากในการเขียน
1.5 ยากล าบากในการใช้จ านวน หลักทางคณิตศาสตร์ หรือการค านวณ
1.6 ยากล าบากในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร
มีผลกระทบต่อทำให้มีทักษะการเรียนต่ำกว่าวัย และรบกวน การเรียน การท างานกิจกรรมและ ชีวิตประจำวัน ยืนยันโดยผลการวัดความสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาตรฐาน และการประเมินทางคลินิกอย่าง ละเอียด สำหรับเด็กอายุมากกว่า 17 ปี สามารถใช้ประวัติผลการเรียนในอดีตแทนผลการวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนมาตรฐานได้
ความยากลำบากนี้เกิดขึ้นช่วงวัยเรียนแต่อาจไม่แสดงอาการเต็มที่จนกว่าจะมีความต้องการที่จะใช้ทักษะที่ เด็กมีความยากลำบากนั้น
ความยากลำบากในการเรียนนี้ต้องไม่สามารถอธิบายได้จาก สติปัญญาบกพร่อง การรับรู้ที่ผิดปกติที่ยัง ไม่ได้แก้ไข ความผิดปกติทางจิตใจและระบบประสาท ปัญหาทางจิตสังคม บกพร่องในภาษาตามหลักสูตร หรือ การเรียนการสอนที่ไม่เพียงพอ
สาเหตุ
ปัจจัยทางพันธุกรรม
ปัจจัยทางจิตสังคม เช่น ขาดการยอมรับจากสังคมหรือถูกเพื่อนต่อต้านท่าให้แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
ขาดความรักความอบอุ่น ขาดการยอมรับทางสังคมและครอบครัวมีความขัดแย้งในครอบครัว
การอบรมเลี้ยงดูในครอบครัว มีการลงโทษที่รุนแรง เจ้าระเบียบ บิดามารดาติดสุราเรื้อรังแนวทางการช่วยเหลือ
แบบประเมินที่ใช้
KUSSI Rating Scales : ADHD/LD/Autism(PDDs)
ใช้คัดกรองนักเรียนชั้น ป.1-6
อายุระหว่าง 6-13 ปี 11 เดือน
แบบคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (ของ สพฐ.) เป็นแบบจำแนกทางการศึกษา เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุระหว่าง 5 – 9 ปี ผู้ทำการคัดกรองเบื้องต้น คือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กมากที่สุด
แบบคัดกรองบุคคลที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ แบบคัดกรองฉบับนี้แยกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ส่วนที่ 1 มี 3 ข้อ ต้องตอบว่าใช่ครบ 3 ข้อ จึงจะทำต่อส่วนที่ 2 ส่วนที่ 2 แบ่งออกเป็น 3 ความบกพร่อง
นางสาวผาณิตา ตาสาย เลขที่ 38 ห้อง 1 ปี 3