Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 27 ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง การเทียบโอน การทดสอบ…
บทที่ 27 ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา
เรื่อง การเทียบโอน การทดสอบ และการฝึกอบรม เพื่อรับรองความรู้วิชาชีพ
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๓ แห่งข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย การรับรองความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมติคณะกรรมการคุรุสภาในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๐ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ คณะกรรมการคุรุสภา จึงออกประกาศคุรุสภา เรื่อง การเทียบโอน การทดสอบ และการฝึกอบรม เพื่อรับรองความรู้วิชาชีพ ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ ๑
การเทียบโอน
ข้อ ๑ การเทียบโอน เป็นการเทียบโอนรายวิชาที่ศึกษาตามหลักสูตร หรือ สาระความรู้จากการฝึกอบรม กับสาระความรู้ตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา
การเทียบโอนรายวิชาที่ศึกษาตามหลักสูตร มีเกณฑ์ดังนี้
๑.๑ ผู้ประสงค์ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาวิชาที่นำมาเทียบโอน
๑.๑.๑ เป็นรายวิชาในหลักสูตรไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับทราบหรือให้ความเห็นชอบ หรือเทียบคุณวุฒิให้หรือสำนักงาน ก.พ. ให้การรับรองคุณวุฒิ
๑.๑.๒ เป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาสาระเทียบเคียงกันได้ ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของสาระความรู้ในมาตรฐานความรู้ที่ขอเทียบโอน
๑.๑.๓ เป็นรายวิชาที่สอบได้ค่าระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ หรือเทียบเท่า
๑.๒ ผู้ประสงค์ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์
๑.๒.๑ เป็นรายวิชาในหลักสูตรไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) รับทราบหรือให้ความเห็นชอบ หรือเทียบคุณวุฒิให้หรือสำนักงาน ก.พ. ให้การรับรองคุณวุฒิ
๑.๒.๒ เป็นรายวิชาที่มีเนื้อหาสาระเทียบเคียงกันได้ ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของสาระความรู้ในมาตรฐานความรู้ที่ขอเทียบโอน
๑.๒.๓ เป็นรายวิชาที่สอบได้ค่าระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ หรือเทียบเท่าการเทียบโอนสาระความรู้จากการฝึกอบรม มีเกณฑ์ดังนี้
(๑) เป็นการฝึกอบรมในสถาบันที่คุรุสภาให้การรับรอง
(๒) สาระความรู้ที่นำมาเทียบโอนต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าสาระความรู้ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๘ และประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง มาตรฐานความรู้ มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ สาระความรู้ สมรรถนะและมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์
ข้อ ๒ ผู้ที่ประสงค์ขอเทียบโอน ให้ยื่นคำขอต่อเลขาธิการคุรุสภา ตามแบบที่กำหนดพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(๒) สำเนาปริญญาบัตร หรือ วุฒิบัตรการฝึกอบรม
(๓) ใบแสดงผลการศึกษา หรือ ใบรายงานผลการศึกษา
(๔) คำอธิบายรายวิชาที่ขอเทียบโอนตามหลักสูตรที่สำเร็จการศึกษา หรือตามหลักสูตรที่ฝึกอบรม
ข้อ ๓ ค่าธรรมเนียมการขอเทียบโอน
ส่วนที่ ๒
การทดสอบ
ข้อ ๔ การทดสอบ เป็นการทดสอบความรู้ ตามประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ และประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง มาตรฐานความรู้ มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ สาระความรู้ สมรรถนะ และมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์
ข้อ ๕ เกณฑ์การตัดสินผลการทดสอบ
มาตรฐานความรู้ที่ผ่านเกณฑ์ แต่ละมาตรฐานต้องสอบได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐
ข้อ ๖ ผู้ที่ประสงค์ขอทดสอบความรู้ ให้ยื่นคำขอต่อเลขาธิการคุรุสภาตามแบบที่กำหนดพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาทะเบียนบ้าน หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(๒) สำเนาปริญญาบัตร และใบแสดงผลการเรียน
(๓) รูปถ่ายหน้าตรงครึ่งตัว ไม่สวมแว่นตาดำ ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกินหกเดือนขนาด ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป
ข้อ ๗ ค่าธรรมเนียมการทดสอบ
ผู้ประสงค์ขอรับการทดสอบความรู้ต้องชำระค่าธรรมเนียมการทดสอบรายมาตรฐานความรู้ละไม่เกิน ๕๐๐ บาท ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการคุรุสภา
ส่วนที่ ๓
การฝึกอบรม
ข้อ ๘ การฝึกอบรม เป็นการฝึกอบรมความรู้ ตามประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ และประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง มาตรฐานความรู้ มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ สาระความรู้ สมรรถนะ และมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์
ข้อ ๙ หลักสูตร รูปแบบและวิธีการฝึกอบรม
(๑) หลักสูตรเน้นการอบรมโดยใช้สมรรถนะเป็นฐาน สัดส่วนของภาคทฤษฎี : ภาคปฏิบัติเป็น ๖๐ : ๔๐ ระยะเวลาการฝึกอบรม ดำเนินการฝึกอบรมตามหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๖๐ ชั่วโมงในแต่ละรายมาตรฐานความรู้
(๒) รูปแบบการฝึกอบรม ให้มีการเรียนรู้จากปัญหาและการปฏิบัติงานในสถานศึกษาเป็นฐานในการฝึกอบรม
(๓) วิธีการฝึกอบรม ให้ใช้วิธีการที่หลากหลายตามความเหมาะสม เช่น การบรรยาย การอภิปราย การประชุมเชิงปฏิบัติการ การระดมสมอง การฝึกปฏิบัติงาน และการศึกษา ดูงาน เป็นต้น
(๔) การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม ให้ใช้วิธีการที่หลากหลายตามความเหมาะสม เช่นการสังเกต การรายงาน การนำเสนอผลงาน และการสอบ เป็นต้น
ข้อ ๑๐ เกณฑ์การประเมินผลการฝึกอบรม
(๑) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องมีระยะเวลาการเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๘๐ ของระยะเวลาการฝึกอบรมทั้งหมด
(๒) ผู้เข้ารับการอบรมต้องผ่านเกณฑ์การประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ทั้งนี้ ต้องนำผลการประเมินการปฏิบัติงานมาร่วมประเมินด้วย
ข้อ ๑๑ ผู้ดำเนินการฝึกอบรม
ดำเนินการโดยหน่วยจัดฝึกอบรมที่ได้รับการรับรองหลักสูตรจากคุรุสภา
ข้อ ๑๒ มาตรฐานของหน่วยฝึกอบรม
หน่วยจัดฝึกอบรมต้องดำเนินการ ดังนี้
(๑) หลักสูตรการฝึกอบรมที่เสนอเพื่อให้คุรุสภารับรอง ประกอบด้วย สาระความรู้และสมรรถนะตามที่กำหนดในมาตรฐานความรู้ของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ พร้อมรายชื่อ ประวัติวิทยากรการอบรม รายการเอกสาร และสื่อประกอบการฝึกอบรม
(๒) มีวิทยากรที่มีความรู้ ประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
(๓) มีห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่เหมาะสม และมีวัสดุ ครุภัณฑ์ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
(๔) มีการจัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมฝึกปฏิบัติงาน หรือศึกษาดูงานในสถานศึกษา
ประกาศ ณ วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์
ประธานกรรมการคุรุสภา
นางสาวอาดีลาฮ โตะเหม กลุ่ม 21
รหัส 62201604547 เลขที่ 21