Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเจริญเติบโตและพัฒนาการ (การส่งเสริมการเจริญเติบโต (1.2…
การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
การส่งเสริมการเจริญเติบโต
1.1 การประเมินการเจริญเติบโตและภาวะโภขนาการในเด็ก
การเจริญเติบโต
ความหมาย การเพิ่มจำนวนและขนาดของเซลล์
การประเมินการเจริญเติบโต
สูตรคำนวณน้ำหนักเทียบกับอายุ
3-12 เดือน น้ำหนัก(กก)= (อายุ(เดือน)+9 )/2
1-6 ปี = (อายุเป็นปี คูณ 2)+8 กิโลกรัม
วิธีคำนวณ เปอร์เซนไทส์น้ำหนัก
(100*น้ำหนักจริงที่ชั่งได้)/น้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐาน
การเปรียบเทียบน้ำหนัก
120% ขึ้นไป อ้วน
มากกว่า 90-110% ปกติ
75-90% ขาดสารอาหารระดับ 1
60-74% ขาดสารอาหารระดับ 2
ต่ำกว่า 60% ขาดสารอาหารระดับ 3
7-12 ปี = (อายุเป็นปี คูณ 7)-5/2 กิโลกรัม
การวัดเส้นรอบศีรษะ
มีความสัมพันธ์ค่อนข้างสูงกับขนาดของสมอง
แรกเกิดยาว HC = 35 ซม.
6 เดือน เพิ่มเดือนละ 1.5 ซม.
6 เดือนหลัง เพิ่มเดือนละ 0.5 ซม.
ขวบปีที่ 2 เพิ่มขึ้นปีละ 2-3 ซม.
ขวบปีที่ 3 เพิ่มขึ้นปีละ 0.5-2 ซม.
อายุ 3-10 ปี จะเพิ่มขึ้น 1 ซม. ทุกๆ 3 ปี
วิธีการวัด Occipito-frontal circumference.
ทาบสายวัดรอบศีรษะ ผ่านท้ายทอยของกระโหลกศีรษะ(occipital lobe)มาด้านหน้าผ่านเหนือใบหู เหนือคิ้ว ส่วนหน้าผาก
การวัดส่วนสูง
ไม่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงเหมือนน้ำหนัก
ส่วนสูงไม่เปลี่ยนแปลง เป็นการขาดสารอาหารเรื้อรั้ง
ส่วนสูงตามอายุบอกความรุนแรงของโรคขาดสารอาหาร
สูตร คำนวณส่วนสูงจากอายุ 2-12 ปี (อายุ (ปี)*6)+77
6 เดือนแรก เพิ่มเดือนละ 2.5 cm.
6 เดือนหลัง เพิ่มเดือนละ 1.5 cm.
ทารกแรกเกิด 50 ซม.
6 เดือน 65 ซม.
1 ปี 75 ซม.
2 ปี 87 ซม.
4 ปี 100 ซม.
วิธีคำนวณเปอร์เซนไทส์
(100*ส่วนสูงที่วัดได้)/ส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน
1.2 ความต้องการสารอาหารในเด็กแต่ละวัย
ทารกต้องการพลังงาน 100 Kcal/kg/day
นมแม่เป็นแหล่งพลังงานที่เพียงพอสำหรับทารกในช่วง 6 เดือนแรก
โปรตีนในนมแม่ ย่อยและดูดซึมง่าย มีภูมิคุ้มกัน ชนิด Alpha-lactabumin ทำให้ไม่เกิดโรคภูมิแพ้
ในกรณีที่ไม่กำหนด cal มาให้ ทารกควรได้รับนม 100 Kcal/kg/day
นมที่ทารกคลอดครบกำหนด 1 ออนซ์จะมี 20 cal แต่ถ้าคลอดก่อนกำหนด 1 ออนซ์จะมี 24 cal
1 ออนซ์ = 30 ml/cc.
การใช้สูตร Holiday and segar
10 กิโลกรัม = 100 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม/วัน
10 กิโลต่อมา = 50 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม/วัน
น้ำหนักที่เหลือ = 20 กิโลแคลอรี่/กิโลกรัม/วัน
วัยรุ่นต้องการ แคลเซียม ธาตุเหล็กและวิตามินเค และต้องการพลังงาน 1600-2300 Kcal/kg/day แต่ถ้าได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ จะเสี่ยเป็นโรคกระดูกพรุน (เกิดในหญิงมากกว่าชาย)
1.3 การส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก การให้นม อาหารเสริม
การให้นมในแต่ละวัน
ต้องให้ทารกดูดให้เกลี้ยงเต้า เพื่อให้ได้นมทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง (โดยดูดที่ละข้าง)
นมเปรี้ยว ไม่เหมาะกับเด็กเพราะจะทำให้ตัวเด็กติดหวาน และฟันผุ
นมวัว มี carbohydrate fat protein มากเกิน ทำให้ไม่เหมาะกับทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี และยังขาด Fe และแร่ธาตุต่างๆ
อาหารเสริม
ให้อาหารเสริมครั้งแรกเมื่ออายุ 6 เดือน 6 เดือนแรกควรให้นมแม่อย่างเดียว โดยไม่ต้องให้อาหารอื่น แม้แต่น้ำ
อาหารเสริมที่ควรให้หลัง 6 เดือน
ทารกแรกเกิด 6 เดือน กินนมแม่อย่างเดียว
อายุ 6 เดือน อาหาร 1 มื้อ ข้าวบดละเอียด ให้แต่น้อยจนครบ 3 ช้อน ไข่แดง ครึ่งฟอง ตับบด 1 ช้อน ผักสุก ครึ่งช้ออนหรือ ฟักทอง ครึ่งช้อน
อายุ 7 เดือน อาหาร 1 มื้อ ข้าว 4 ช้อน ข้าวบดละเอียด ไข่แดง ครึ่งฟอง ปลาหรือหมู 2 ช้อน ผักสุกหรือฟักทอง ช้อนครึ่ง
อายุ 8-9 เดือน อาหาร 2 มื้อ ข้าวจะใช้วิธีการต้ม ตุ๋นเละๆ หรือ บดหยาบ ไข่ 1 ฟอง ปลา หมู 2 ช้อน
อายุครบ 10-12 เดือน อาหาร 3 มิ้อ ข้าวต้มหรือข้าวสวยนุ่ม 5 ช้อน ไข่ 1 ฟอง ปลาหรือหมู 2 ช้อน หรือตับบด 1 ช้อน
ควรให้มื้อเย็น เด็กจะอิ่มและจะช่วยลดการดูดนมตอนกลางคืน
คำแนะนำ
อาหารที่ให้ครั้งแรกควรบดให้ละเอียด
ควรให้ทารกเรียนรู้การทานอาหารเสริมจากช้อน
ขณะป้อนอาหารเสริม เด็กจะห่อปากเอาลิ้นดุนอาหารออกมา (Extrusion reflex) ไม่ใช่ทารกปฏิเสธอาหาร แต่ปฎิกิริยาสะท้อนนี้จะหายไปเมื่อทารกอายุ 4-6 เดือนขึ้นไป ควรป้อนอาหารเข้าไปให้ลึกนิดหนึ่ง
1.4 ปัญหาโภชนาการในเด็กและการดูแล
โรคโลหิตจางจากการขาดเหล็ก
สาเหตุ มีเหล็กไม่เพียงพอ มีพยาธิปากขอ มีความผิดปกติในการย่อยและดูดซึมเหล็ก
อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดง ใบกระเพรา(ห้ามให้กับคนที่เป็นธาลัสซีเมีย) ยอดมะกอก ยอกกระถิน และทานวิตามินซี ช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก
โรคเหน็บชาจากการขาดวิตามินบีหนึ่ง
สาเหตุ ได้รับวิตามินบี 1 น้อย และมีสารทำร้ายวิตามิน เช่น ปลาร้า
อาการ เสียงแหบ ไม่มีเสียงเวลาร้อง หนังตาบนตก ชัก
อาหาร เนื้อหมู ถั่วเหลือง (คนที่ชอบกินปลาร้าควรต้มสุกก่อน)
โรคปากนกกระจอกจากการขาดวิตามินบี 2
สาเหตุ รับประทานวิตามินบี 2 ไม่พอ
อาหาร เนื้อสัตว์ นม ไข่ เครื่องใน ผักใบเขียว ธัญพืช
อาการ ปากมีรอยแผลแตกที่มุมปาก Angular stomatitis ลิ้นบวมแดง ผิวหนังมีคราบไขมัน
การป้องกัน รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ เน้น อาหารจำพวก ผักใบเขียว ถั่ว นม เนื้อสัตว์ ไข่แดง
โรคตาบอดแสงจากการขาดวิตามินเอ
อาหาร ไข่แดง น้ำมันตับปลา ตับ พืชผักสีเหลือง เช่นฟักทอง แครอท
อาการ ตาบอดตอนกลางคืน เยื่อกระจกตาผิดปกติ กระจกตาทะลุ
Marasmus
ขาดโปรตีนและพลังงาน
อาการ ผอมแห้ง ไขมันใต้ผิวหนังน้อย ไม่มีอาการบวม ตับไม่โต
ควรได้รับพลังงาน ขั้นต่ำหรือมากกว่า 120-150 Kcal/kg/day
Kwashiorkor
ขาดโปรตีน
อาการ บวม กดบุ๋ม ผิวหนังมันวาว บางแห้งหยาบเหมือนหนังคางคก (hyperkeratosis) มีไขมันใต้ผิวหนัง ติดเชื้อง่าย
การส่งเสริมพัฒนาการ
2.1 การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา สังคม จริยธรรมตามวัย
พัฒนาการ
หมายถึง การเพิ่มขึ้นของความสามารถหรือการทำหน้าที่
หลักของพัฒนาการ
พัฒนาตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ไม่ข้ามขั้น
อัตราพัฒนาการของเด็กไม่เท่ากัน บางคนเร็ว บางคนช้า
ทิศทางของพัฒนาการ เริ่มจากศีรษะสู่ปลายเท้า ชันคอ คว่ำหงาย นั่ง คลาน ยืน เดิน
พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ก่อนมัดเล็ก
การแบ่งอายุตามขั้นพัฒนาการ
วัยทารก Infancy แรกเกิด-12 เดือน ต้องการการดูแลใกล้ชิด
วัยหัดเดิน Toddlerhood อายุ 1-3 ปี มีความสามารถด้านการเคลื่อนไหว
วัยก่อนเรียน School age อายุ 6-12 ปี เข้าใจเหตุผล
วัยรุ่น Adolescence อายุ 12-18 ปี ต้องการอิสระ การยอมรับ และมีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจ
พัฒนาการเด็กแต่ละช่วงวัย 4 ด้าน
ด้านการเคลื่อนไหว
กล้ามเนื้อมัดใหญ่
1 เดือน เริ่มชันคอได้
2 เดือน ท่านอนคว่ำ ยกศีรษะ 45 องศา
3-4 เดือน chest up
5-6 เดือน พลิกคว่ำพลิกหงาย นั่งได้โดยใช้มือยัน
10-12 เดือน เกาะเดิน เดินได้ 2-3 ก้าว
13-15 เดือน เดินได้ ปาของ โยนบอล
16-18 เดือน ปีนป่าย
กล้ามเนื้อมัดเล็ก
3-4 เดือน คว้าวัตถุ
5-6 เดือน จับขวดนมเองได้
7-9 เดือน หยิบของ ใช้นิ้วได้
13-15 เดือน ต่อบล็อกไม้ได้ 2 ชั้น
16-18 เดือน ต่อบล็อกไม้ได้ 3 ชั้น ขีดเส้นตรง
2-3 ปี จับดินสอ วาดวงกลม ร้อยลูกปัดขนาดใหญ่
3-4 ปี ใช้กรรไกรตัดกระดาษได้
ด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม
7-9 เดือน กลัวคนแปลกหน้า
10-12 เดือน ดื่มน้ำจากแก้ว
16-18 เดือน ใช้ช้อนตักอาหาร หกบ้างเล็กน้อย
19-24 เดือน แปรงฟัง ล้องและเช็ดมือได้ ใส่กางเกงยางยืดได้
ด้านสติปัญญาและจริยธรรม
โคลเบอร์ก แบ่งเป็น 3 ระดับ
ระดับที่ 1 ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
พ่อแม่ตั้งกดเกณฑ์ เด็กวัยนี้จะเก็บกด และแสดงพฤติกรรมบางอย่างของตนเอง ยอมรับกฎเกณฑ์เพราะกลัวการลงโทษ และจะทำดีเพื่อต้องการรางวัล
เป็นจริยธรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง
ในระดับนี้ควรชม มากกว่าการให้ของเป็นรางวัลตอบแทน
ระดับที่ 2 สังคมยอมรับ
อยู่ในช่วงวัยเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา
ต้องยอมรับพฤติกรรม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดในสังคมที่ตนเองอยู่ เช่น รร. ชุมชน
ระดับที่ 3 หลักการเหนือกฎเกณฑ์ที่สังคมสร้างขึ้น
ยึดถือหลักความถูกต้อง โดยผ่านการพิจารณาไตร่ตรองอย่างดีตามความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์
ด้านภาษา
เข้าใจภาษา กับสือภาษา
1 เดือน
เข้าใจภาษา ตอบสนองเสียงดัง เช่น สะดุ้ง แสดงออก ร้อง เมื่อหิว หรือไม่สบาย
2-3 เดือน
เข้าใจภาษา สนใจเสียงพูด เคลื่นไหวเมื่อได้ยินเสียง แสดงออก ทำเสียงอ้อแอ้
5-6 เดือน
เข้าใจภาษา แยกทิศทางของเสียงได้ แสดงออก เล่นเสียง หัดเปล่งเสียง
9 เดือน
เข้าใจภาษา ทำตามคำสั่งง่ายๆ แสดงออก พูดตาม เลียนแบบเสียง
10-12 เดือน
เข้าใจภาษา เข้าใจคำพูด หันไปมา แสดงออก พูดคำที่มีความหมาย
1.6 ปี
เข้าใจภาษา ทำตามคำสั่งที่ยากขึ้นได้ แสดงออก เริ่มพูดได้ 1-2 พยางค์
2-2.6 ปี
เข้าใจภาษา เข้าใจประโยคคำถาม หรือเข้าใจคำสั่งสั้นๆ เริ่มพูดคำหรือประโยค 2-3 พยางค์ โต้ตอบได้
ทฤษฎีพัฒนาการเด็กของฟรอยด์
Id เกิดจากสัญชาตญาณซึ่งอยู่ใต้จิตสำนึก
Ego อยู่ในจิตสำนึก อยู่ในหลักความจริง และมีหน้าที่ควบคุม Id
Superego พัฒนามาจาก Ego ประกอบด้วยรู้ผิดชอบ ชั่วดีหรือมโนธรรมค่านิยม
พัฒนาการทางเพศในด้านจิตใจ (Psychosexual development)
Oral stage แรกเกิด - 1 ปี
ดูดกัด เคี้ยว การส่งเสียง
ถ้าไม่ได้รับการตอบสนองที่พอใจเด็กจะ มีจิตยึดติด ชอบทานจุกจิก นินทา
ถ้าการตอบสนองมากเกินไป จะมองทุกอย่างในด้านดี พึ่งพาคนอื่นมาก
Anal stage อายุ 1-3 ปี
มีศูนย์กลางที่ทวารหนัก
ถ้าถูกบังคับมากเกินไป จะโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ยึดติด เจ้าระเบียบ
ถ้าถูกละเลยการฝึกขับถ่าย จะโตไปเป็นผู้ใหญ่ ไม่รู้จักระบบงาน สกปรก
Phallic stage อายุ 3-6 ปี
เริ่มอยากรู้อยากเห็น
เด็กวัยนี้จะเกิด ปมอีดีปุส (Oedipus complex)
เด็กชายจะติดแม่ เด็กหญิงจะติดพ่อ
ถ้าเด็กไม่ปรับบุคลิกภาพ เด็กจะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน
Latency stage ระยะพัก อายุ 6-12 ปี
ไม่สนใจเพศตรงข้าม จะเล่นกับเพศเดียวกัน
Genital stage อายุ 12-14 ปี
พอใจเพศตรงข้าม สร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น
2.2 การคัดกรองและพิจารณาส่งต่อเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการแต่ละช่วงวัย
ประเมินโดยใช่แบบคัดกรอง พ่อ แม่ สามารถประเมินเองได้
2.3 การแก้ปัญหาพฤติกรรมผิดปกติตามวัย ดูดนิ้ว อิจฉาน้อง
อิจฉาน้อง มักมีพฤติกรรม ถดถอย
แก้ไขโดย ให้มีส่วนช่วยในการเลือกของให้น้อง และให้ช่วยในการดูแลน้อง
ดูดนิ้ว พบในระยะ Oral stage
ถ้าอายุ 2-3 ขวบ อาจมีปัญหาวิตกกังวล
แต่ถ้าระยะยาว อาจเกิดการผิดรูปของฟัน
ห้ามตำหนิ หรือดึงนิ้วออกต้องค่อยๆทำ ในขณะที่เข้าเพลินกับกิจกรรม
หากิจกรรมให้ทำเพื่อให้ลืมการดูดนิ้ว
นางสาว อรพิมล ปิ่นปี รุ่น 36/2 เลขที่ 60 รหัส 612001141
อ้างอิง
สุจิตรา สุคนธทรัพย์ และรุ่งอรุณ เขียวพุ่มพวง. (2559). หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษา. กรุงเทพ : เพิ่มทรัพย์ การพิมพ์.
กัลยา ศรีมหันต์. (2563). เอกสารประกอบการสอนวิชาการพยาบาลเด็ก บทที่ 2 การเจริญเติบโตและพัฒนาการ.
นัยนา ณีศะนันท์ จริยา ทะรักษา วีระศักดิ์ ชลไชยะ สุธาทิพย์ เอมเปรมศิลป์ และวินัดดา ปิยะศิลป์. (ม.ป.ป). คู่มือสำหรับพ่อแม่เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็ก ตอน วัยเด็กเล็ก 0-3 ปี. กรุงเทพ : ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.