Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่9การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบหายใจ (Pleural effusion (การวินิจฉัย…
บทที่9การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบหายใจ
Pulmonary embolism
เป็น ภาวะ ลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดปอด
การพยาบาล
1.การดูแลการได้รับยาละลายลิ่มเลือด
2.การ Monitor EKG สังเกต VF VT นำไปสู่ Cardiac arrest
การจำกัดกิจกรรมเพื่อป้องกันลิ่มเลือดเคลื่อนตำแหน่งจากที่เดิม
Pleural effusion
เป็นภาวะที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด อาจเกิดจากการอักเสบ
ภาวะน้ำเกิน มีโอกาสพัฒนาไปเป็น Empyema thoracis จากการเปลี่ยนแปลงของน้ำ มีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้น
อาการ
หอบ หายใจถี่ หายใจลำบากเมื่อนอนราบ หรือหายใจเข้าลึก ๆ ลำบาก เนื่องจากของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอดไปกดทับปอด ทำให้ปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่
ไอแห้งและมีไข้ เนื่องจากปอดติดเชื้อ
สะอึกอย่างต่อเนื่อง
เจ็บหน้าอก
สาเหตุ
ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะที่ส่งผลให้เกิดความดันต้านกลับในหลอดเลือดดำ มักทำให้เกิดอาการบวมจากของเหลวบริเวณขาและอาจมีภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย
โรคตับแข็ง โรคที่เนื้อเยื่อตับปกติค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วยพังผืดแผลเป็น (Scar Tissue) จากการอักเสบ โดยพังผืดนี้จะไปขัดขวางการทำงานของตับในการกรองของเสียหรือขับสารพิษ รวมถึงการผลิตสารอาหาร ฮอร์โมน และโปรตีนในเลือด ซึ่งระดับโปรตีนในเลือดที่ต่ำนั้นจะส่งผลให้มีของเหลวซึมออกมานอกหลอดเลือดและอาจทำให้เกิดภาวะ Pleural Effusion ตามมา
โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด เกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดจากอวัยวะต่าง ๆ (ส่วนใหญ่มักมาจากบริเวณขา) ไหลมาอุดกั้นหลอดเลือดแดงที่นำเลือดเข้าสู่ปอด (Pulmonary Artery) ทำให้รู้สึกเจ็บหน้าอก ไอ หายใจถี่ บางครั้งมีภาวะ Pleural Effusion และอาจรุนแรงถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งนอกจากภาวะนี้จะก่อให้เกิดของเหลวแบบใสแล้ว ยังก่อให้เกิดของเหลวแบบขุ่นได้เช่นกัน
หลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด หลังการเปิดช่องอกเพื่อผ่าตัดกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หรือหลอดเลือดแดงภายในหัวใจ ผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะหัวใจตายเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ ระบบทางเดินหายใจหรือไตล้มเหลว เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีภาวะ Pleural Effusion
การวินิจฉัย
การสอบถามประวัติทางการแพทย์และการตรวจร่างกาย ผู้ที่เคยมีภาวะหัวใจล้มเหลว หรือเคยเป็นโรคตับแข็ง ร่วมกับมีอาการบ่งชี้ เช่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ไอแห้ง หรือตรวจร่างกายแล้วพบความผิดปกติที่ระบบหายใจ อาจคาดการณ์ได้ว่ามีภาวะ Pleural Effusion
การเอกซเรย์ เป็นวิธีวินิจฉัยที่ให้ผลการตรวจชัดเจน เนื่องจากจะช่วยให้เห็นลักษณะปอด รวมถึงของเหลวภายในช่องเยื่อหุ้มปอดได้
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography: CT Scan) อาจนำมาใช้ตรวจเพื่อหาสาเหตุของภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดที่เป็นไปได้เพิ่มเติม
อัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงแสดงภาพอวัยวะภายในร่างกาย ซึ่งจะแสดงภาพส่วนของเนื้อเยื่ออ่อน (Soft Tissue) ทารกที่อยู่ในครรภ์ ภาวะเส้นเลือดอุดตัน การอัลตราซาวด์อกจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีวินิจฉัยภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด
การวิเคราะห์ของเหลวภายในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural Fluid Analysis) สามารถทำได้หลายวิธี แต่ส่วนใหญ่แพทย์มักใช้การเจาะโพรงเยื่อหุ้มปอดหรือสอดท่อขนาดเล็กเข้าไปในปอดเพื่อระบายของเหลวออกมา แล้วนำของเหลวดังกล่าวไปตรวจสอบ
การรักษา
การระบายของเหลวออกจากช่องเยื่อหุ้มปอด แพทย์จะเปิดรอยแผลขนาดเล็กและสอดท่อเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด เพื่อระบายของเหลวออกภายนอกร่างกาย ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจต้องรับการรักษาซ้ำ หากพบว่ามีปริมาณของเหลวเพิ่มขึ้นอีก
Pleurodesis คือวิธีการรักษาโดยใช้สารบางชนิดเชื่อมเยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้มช่องอกให้ติดกัน ซึ่งจะทำหลังจากระบายของเหลวออกนอกร่างกายเรียบร้อยแล้ว เพื่อลดช่องว่างและป้องกันการสะสมของของเหลวภายในปอด ส่วนใหญ่วิธีนี้มักนำมาใช้กับผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะ Pleural Effusion ร่วมด้วย
การผ่าตัด วิธีนี้มักใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยแพทย์จะสอดท่อเข้าไปในช่องอกเพื่อบังคับทิศทางให้ของเหลวไหลจากบริเวณปอดออกสู่ช่องท้อง ซึ่งเป็นจุดที่ร่างกายระบายของเหลวได้ง่ายกว่า หรือในกรณีที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจตัดเยื่อหุ้มปอดบางส่วนทิ้ง วิธีนี้เรียกว่า Pleurectomy
Pneumo Thorax
เป็น ภาวะ ที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
อาการ
แน่นหน้าอก
หายใจถี่หรือหายใจหอบเหนื่อย
ผิวหนังบางบริเวณเขียวคล้ำเนื่องจากขาดออกซิเจน
เหงื่อออกมากผิดปกติ
อ่อนเพลียง่าย
วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม
อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นผิดปกติ
เกิดภาวะช็อก
สาเหตุ
การบาดเจ็บบริเวณหน้าอกเนื่องจากอุบัติเหตุ เช่น ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างแรงบริเวณหน้าอก เป็นต้น
การถูกอาวุธหรือของมีคม การถูกยิงหรือถูกแทงบริเวณปอด
การรักษาทางการแพทย์ อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างปอดรั่ว เช่น การผ่าตัด การส่องกล้อง การใส่ท่อระบายของเหลวในทรวงอก
โรคเกี่ยวกับปอด ผู้ป่วยโรคปอดที่มีเนื้อเยื่อปอดเสียหายเสี่ยงเกิดภาวะนี้ได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) ปอดบวม การติดเชื้อที่ปอด โรคมะเร็งปอด โรคหืด และโรคไอกรน
การดำน้ำลึกหรือการขึ้นที่สูง เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่พบได้ เนื่องจากในน้ำลึกและบนที่สูงนั้นมีแรงดันอากาศเพิ่มขึ้นกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะนี้ตามมา
การวินิจฉัย
ฟังเสียงการหายใจ หากปอดบริเวณใดมีอากาศแทรกจะส่งผลให้ได้ยินเสียงหายใจไม่ชัดเจนหรือไม่มีเสียงเลย หรืออาจตรวจด้วยการคลำปอดเพื่อดูว่าขณะหายใจเข้าและออกนั้น ปอดมีการขยายออกเท่ากันทั้ง 2 ข้าง
การตรวจเลือดเพื่อวัดระดับออกซิเจนในเลือด การมีระดับออกซิเจนในเลือดน้อยและมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าปกติอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติภายในปอด
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจหาความผิดปกติของปอดที่อาจส่งผลต่อหัวใจ
การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือการทำอัลตราซาวด์ เป็นการตรวจเพื่อแยกโรคที่ไม่ใช่สาเหตุ รวมทั้งตรวจดูความผิดปกติของเนื้อปอดและอวัยวะข้างเคียงเพื่อประเมินความรุนแรงของโรค ช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และในบางกรณีอาจใช้ในการระบุสาเหตุของภาวะนี้ได้
การรักษา
การสอดท่อหรือเข็มเข้าไปในช่องปอด หากมีอากาศแทรกเข้าไปในปอดเป็นบริเวณกว้าง แพทย์จะใช้วิธีสอดท่อหรือเข็มเข้าไปในช่องปอดเพื่อระบายอากาศส่วนเกิน โดยจะพิจารณาเลือกวิธีการระบายอากาศตามความรุนแรงและสถานการณ์ของผู้ป่วย วิธีนี้เป็นการรักษาที่ปลอดภัยและไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ผู้ป่วยอาจต้องสอดท่อทิ้งไว้ในร่างกายติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่งเพื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง
การเชื่อมเยื่อหุ้มปอด เป็นอีกหนึ่งวิธีในการรักษาภาวะ Pneumothorax ทำได้โดยการฉีดสารบางชนิดเพื่อช่วยให้เยื่อหุ้มรอบปอดทั้ง 2 ชั้นเชื่อมเข้าหากัน ทำให้อากาศหรือของเหลวที่คั่งอยู่ระหว่างเยื่อหุ้มปอดหมดไป ปอดจึงกลับมาทำงานได้ตามปกติ แต่วิธีนี้มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยกลับมาเป็นซ้ำ
การผ่าตัด ในกรณีที่การรักษาด้วยวิธีข้างต้นไม่ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจหรือมีการกลับมาเป็นซ้ำหลายรอบ แพทย์อาจใช้การผ่าตัดโดยสอดกล้องเข้าไปภายในปอดเพื่อดูความเสียหาย หากอยู่ในระดับที่ซ่อมแซมได้ แพทย์อาจเย็บเยื่อหุ้มปอดเข้าด้วยกันเพื่อปิดรอยรั่วหรือทำให้เยื่อหุ้มปอดทั้ง 2 ชั้นเชื่อมกันสนิทเพื่อกำจัดอากาศ แต่ในกรณีที่รุนแรง แพทย์อาจต้องตัดกลีบปอดที่มีปัญหาทิ้ง
Asthma
อาการ
มีปัญหาเรื่องการหายใจ ผู้ป่วยหายใจสั้น หายใจลำบาก หรือหายใจไม่อิ่ม หรือหายใจแล้วมีเสียงวี้ด ซึ่งสร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
มีอาการเจ็บหน้าอก หรือมีอาการแน่นหน้าอก มักจะมาพร้อมกับอาการเหนื่อยหอบ
มีอาการไอ
มีปัญหาในการนอนหลับ โดยปัญหามาจากการหายใจลำบาก หรือการหายใจติดขัด ส่งผลให้หลับไม่สนิท หรือหลับไม่เต็มอิ่ม
สาเหตุ
พันธุกรรม - มีประวัติการเป็นหอบหืดของคนในครอบครัว
โรคภูมิแพ้ - สารก่อภูมิแพ้ที่สำคัญ เช่น ขนสัตว์เลี้ยง ไรฝุ่นบ้าน แมลงสาบ สปอร์เชื้อรา เกสรดอกไม้
สารเคมี - สารเคมีที่ใช้ในบ้านอาจกระตุ้นให้เกิดอาการมากขึ้น เช่น กลิ่นสี ยาฆ่าแมลง สเปรย์แต่งผม รวมไปถึงควันบุหรี่
การออกกำลังกาย - บางคนเกิดอาการเมื่อต้องออกแรงในการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึง ออกกำลังกาย โดยเฉพาะในที่ที่มีอากาศเย็น
ภาวะทางอารมณ์ - มักเกิดขึ้นในผู้ที่มีความเครียด ส่งผลให้หายใจผิดปกติโดยไม่รู้ตัว ทำให้หายใจแบบลึกบ้างตื้นบ้างสลับกันไปมา
สารในกลุ่มซัลไฟต์ (Sulfites) และสารกันบูด สารที่เจือปนในอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิด เช่น ผลไม้แห้ง เบียร์ ไวน์
โรคกรดไหลย้อน - ภาวะที่มีกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการแสบร้อนในอก กรดไหลย้อนทำให้ผู้ป่วยที่เป็นหอบหืด มีอาการบ่อยขึ้น และรุนแรงขึ้นได้
ไวรัสทางเดินหายใจ
ไซนัสอักเสบเรื้อรัง
การพยาบาล
1.ยาพ่นขยายหลอดลม แบบเป็น Puff ให้พ่นเอง มีแบบผสม steroid ต้องดูแลให้บ้วนปากหลังพ่นยา เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราในช่องปาก
ทำให้ร่างกายอบอุ่นตลอดเวลา
ไม่สัมผัสกับสิ่งกระตุ้นให้อาการกำเริบ
Flail Chest
เป็น ภาวะ ที่มีกระดูกซี่โครงหัก 3 ซี่ ขึ้นไป ทำให้การเคลื่อนไหวของทรวงอกผิดปกติ เรียกว่า “ อกรวน “ มีอาการเจ็บปวด พร่องออกซิเจนได้ ซี่โครงทิ่มปอด มีลม และเลือดออกได้ หัวใจถูกกดเบียด เกิด Low cardiac output
PE : ทรวงอกผิดรูป
การรักษา : ใส่ ICD ให้ยาบรรเทาปวด ให้ออกซิเจน
การพยาบาล : ดูแล ICD บริหารปอด
Bronchitis
เป็น ภาวะหลอดลมฝอยอักเสบ จากเชื้อโรค
อาการ : ไข้ ไอเรื้อรัง เจ็บคอ
การรักษา : พ่นยา ยาปฏิชีวนะ Steroid
COPD
สาเหตุ
การสูบบุหรี่ สาเหตุอื่นๆ ที่มีบทบาทบ้างแต่น้อยกว่าการสูบบุหรี่ได้แก่ มลพิษทางอากาศ และ พันธุกรรม
อาการแสดง
เสมหะ เหนื่อย และไอ อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นเวลานาน และโดยมากจะแย่ลงเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า COPD มีหลายประเภทหรือไม่ทั้งนี้ในอดีตมีการแบ่งประเภทออกเป็น โรคถุงลมโป่งพอง
Pneumonia
อาการ
มีไข้ ไอ เจ็บหน้าอก และหอบเหนื่อย
อาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ปวดท้อง เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
สาเหตุ
ปอดอักเสบชุมชน (Community-Acquired Pneumonia )
ติดเชื้อจากแบคทีเรีย โดยส่วนใหญ่ปอดบวมที่มาจากแบคทีเรียจะมาจากเชื้อ สเตรปโตค็อกคัส นิวโมเนียอี
ติดเชื้อจากเชื้อรา โดยส่วนมากจะเกิดในผู้ป่วยที่มีสุขภาพร่างกายย่ำแย่ มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือเป็นโรคเรื้อรังเช่น โรคเบาหวาน โรคไตวาย
ปอดอักเสบในโรงพยาบาล (Nosocomial Pneumonia หรือ Hospital-Acquired Pneumonia)
ปอดอักเสบที่เกิดขึ้นในผู้ป่วย หลังจากรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลตั้งแต่ 48 ชั่วโมงขึ้นไป ผู้ป่วยประเภทนี้จะมีอาการที่รุนแรง
การวินิจฉัย
ตรวจเลือด เพื่อหาว่าผู้ป่วยได้รับเชื้อชนิดใดมา ซึ่งวิธีนี้อาจยังระบุได้ไม่แน่ชัด
เอกซเรย์หน้าอก วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์ระบุตำแหน่งของการติดเชื้อ
วัดออกซิเจนในเลือดและชีพจร เพื่อวัดระดับออกซิเจนในกระแสเลือด ซึ่งช่วยให้สามารถบ่งชี้ระดับการทำงานของปอดได้
ตรวจเสมหะ ในผู้ป่วยที่มีอาการไอมาก วิธีนี้จะช่วยให้แพทย์วิเคราะห์ และระบุสาเหตุการติดเชื้อได้ โดยการใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องตรวจเสมหะหรือทำการเพาะเชื้อ
การรักษา
การรักษาตามอาการทั่วไป การให้ยาลดไข้ ให้สารน้ำทางหลอดเลือด ให้ออกซิเจน ตามอาการของผู้ป่วย
การรักษาปอดบวมที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย การให้ยาปฏิชีวนะ มักใช้ในผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง และไม่มีอาการแทรกซ้อน อาจให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ด้วยยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน เช่น ยาอะม็อกซี่ซิลลิน เป็นต้น
การรักษาปอดบวมที่เกิดจากเชื้อไวรัส โดยส่วนใหญ่โรคปอดบวมจากเชื้อไวรัสมักหายได้เองภายใน 1-3 สัปดาห์ แต่หากอาการไม่ดีขึ้น อาจมีอาการรุนแรงหรือรุนแรงมาก เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดและได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
ARDS
เป็น ภาวะ ที่มีน้ำ ซากเม็กเลือดขาวอยู่ในหลอดเลือดที่ถุงลมเป็นจำนวนมาก เกิดขึ้นหลังการติดเชื้อรุนแรง หรือ ได้รับควัน สารพิษ
อาการ
หายใจลำบาก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่างกายอ่อนแรง
ผิวหนังหรือเล็บเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือสีเขียว เนื่องจากภาวะขาดออกซิเจน
ไอแห้ง ๆ
มีไข้ ปวดศีรษะ
ความดันโลหิตต่ำ
ชีพจรเต้นเร็ว
สับสน รู้สึกเหนื่อยล้าอย่างรุนแรง
สาเหตุ
ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) เป็นภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดที่รุนแรง และเป็นสาเหตุที่พบว่าทำให้เกิด ARDS บ่อยที่สุด
ปอดบวมอย่างรุนแรง ในรายที่มีอาการปอดบวมรุนแรงมาก มักส่งผลกระทบต่อกลีบปอดทั้ง 5 กลีบ และเป็นสาเหตุทำให้เกิด ARDS ได้
การสูดดมสารพิษที่เป็นอันตราย การสูดหายใจเอาควันหรือสารเคมีที่มีความเข้มข้นสูงเข้าไปอาจทำให้เกิดภาวะ ARDS ได้
อุบัติเหตุกระทบกระเทือน อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บอย่างรุนแรงบริเวณศีรษะและหน้าอก โดยสามารถสร้างความเสียหายกับปอดโดยตรง หรืออาจส่งผลกระทบต่อสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ
สาเหตุอื่น ๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบ ถ่ายเลือดในปริมาณมาก มีประวัติติดสุราเรื้อรัง ใช้ยาเสพติดในปริมาณมาก อยู่ในภาวะใกล้จมน้ำเสียชีวิต หรือไฟไหม้
การวินิจฉัย
การเอกซเรย์ทรวงอก เป็นการตรวจสอบว่าของเหลวในปอดส่วนต่าง ๆ มีปริมาณเพียงใด และหัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือไม่ รวมถึงอาจใช้การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน (CT Scan) ด้วย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ แพทย์จะนำตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยไปตรวจระดับออกซิเจน หรืออาจตรวจสอบการติดเชื้อและตรวจหาภาวะโลหิตจาง หากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อที่ปอด อาจตรวจสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจเพิ่มเติม เพื่อดูสาเหตุของการติดเชื้อนั้น
การตรวจหัวใจ อาการของ ARDS จะคล้ายกับอาการของโรคหัวใจบางชนิด แพทย์จึงจำเป็นต้องตรวจการทำงานของหัวใจเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจน เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เป็นต้น
การรักษา
ยาป้องกันภาวะมีเลือดออกและการเกิดลิ่มเลือด หรือให้ยาที่ช่วยให้ผู้ป่วยสงบและสบายขึ้น เป็นต้น โดยการรักษาผู้ป่วย ARDS จะเป็นการรักษาในโรงพยาบาล และอาจต้องรักษาในหอผู้ป่วยหนักหรือห้องไอซียู เพราะเป็นกลุ่มอาการที่รุนแรง หากผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาได้ดีก็อาจกลับสู่สภาวะปกติได้ในเวลาไม่นาน
Respiratory Failure
Hypoventilation ขยายทางออก โดยพ่นยา ลดบวม
Diffusion ลดการบวม โดย steroid ลดน้ำโดยยา
Shunting รักษาการไหลลัด
V/Q mismatch เติมออกซิเจน กับ ให้เลือดเพิ่ม Hb
Hemo thorax
เป็น ภาวะ มีเลือดออกในช่องเยื่อหุ้มปอด
PE : เคาะได้เสียงทึบ ไม่กังวาน การสั่นสะเทือนลดลง
การรักษา : ใส่ ICD
การพยาบาล : ดูแล ICD บริหารปอด
ขวดICD