Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
cancer (Leukemia (ปัญหาและการพยาบาล (เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากภูมิต้าน…
cancer
Leukemia
ความหมาย
โรคมะเร็งของระบบโลหิต ซึ่งมีการแบ่งตัวของเม็ดเลือดขาวผิดปกติ ทำให้เกิดมีจำนวนเม็ดเลือดขาวมาก ลักษณะของเม็ดเลือดขาวส่วนใหญ่เป็นเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนซึ่งไม่เจริญเต็มที่ เซลล์มะเร็งเหล่านี้จะไปอยู่ตามอวัยวะต่างๆทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร และมีภูมิคุ้มกันต่ำ เนื่องจากเซลล์ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเซลล์ทั่วไป
สาเหตุ
การได้รับรังสีเป็นจำนวนมาก
การได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ยังต้องรอการศึกษายืนยัน ทางพันธุกรรม เช่น เด็ก Down' syndrome
พยาธิสรีรวิทยา
เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวก่อกำเนิดมาจากเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) ในไขกระดูก เมื่อเม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นตัวอ่อน (Blast cell) เกิดขึ้นก็จะถูกส่งออกไปสู่กระแสเลือดไปสะสมอยู่ในอวัยวะหรือเนื้อเยื่อของร่างกาย ผลจากการที่มีการสร้างเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวจำนวนมากนี้ จะส่งผลให้การทำงานของไขกระดูกผิดปกติไปคือ มีการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง สร้างเกล็ดเลือดลดลงและสร้างเม็ดเลือดขาวที่ปกติลดลง จะส่งผลให้เกิดภาวะซีดเนื่องจากเม็ดเลือดแดงต่ำ มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย
ลักษณะอาการทางคลินิก
1.ซีด อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว
2.มีจุดเลือด จ้ำเลือดบริเวณผิวหนัง เลือดกำเดาไหล ปวดท้อง ถ่ายเป็นสีดำ
3.มีไข้ หรือแผลติดเชื้อ
4.ตับโต ม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต และปวดกระดูก
5.ปวดศีรษะ อาเจียนพุ่ง
การวินิจฉัย
ประวัติการได้รับยา รังสี หรือสารเคมีต่างๆ และประวัติการเป็นมะเร็งในครอบครัว
การตรวจร่างกาย ตรวจพบมีไข้ ซีด มีจุดเลือดออก และคลำได้ก้อน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการได้แก่CBC,WBC,RBC,PLT,lymphocytes สูงตามระยะของโรค bone marrow aspiration:blast cell >5% lp:WBC liver,renal:SGOT,LDH,BUN,Uric,Cr CXR:mediastinal mass
การรักษา
1.การรักษาจำเพาะ -Induction of Remission ทำลายเซลล์มะเร็งให้มากที่สุด -Intensive treatment ทำลายเซลล์มะเร็งที่ยังเหลืออยู่ -CNS prophylaxis ทำลายเซลล์มะเร็งในระบบประสาทส่วนกลาง - Maintenance therapy ใช้ยาต้านมะเร็งหลายชนิด
การรักษาแบบประคับประคอง -ปัญหาเลือดออก -ปัญหาการติดเชื้อ -การแก้ภาวะกรดยูริค ฟอสเฟต โปแตสเซียมในเลือดสูง
การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก -Graft rejection,GVHD
ปัญหาและการพยาบาล
เสี่ยงต่อการติดเชื้อเนื่องจากภูมิต้านทานของร่างกายลดลงจากไขกระดูกถูกกดการทำงาน
การพยาบาล
1.ประเมิน และติดตามบันทึกภาวะการติดเชื้อโดยวัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
2.ดูแลความสะอาดร่างกายของเด็กป่วยอยู่เสมอ โดยเฉพาะปาก ฟัน ผิวหนัง และอวัยวะสืบพันธุ์
3.ดูแลให้ได้รับสารน้ำ อาหาร และพักผ่อนอย่างเพียงพอ
4.ดูแลสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ที่ใช้กับเด็กป่วยให้สะอาดและปราศจากเชื้อเพื่อลดการติดเชื้อ
Lymphoma
ความหมาย
เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของเซลล์มะเร็งที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Haut, 2005) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซัยท์ ซึ่งเพิ่มจำนวนและเจริญเติบโตผิดปกติ ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตเร็วมาก โดยไม่มีอาการเจ็บปวด
พยาธิสรีรวิทยา
HL: เป็นเนื้องอกของ Lymphoid Tissue เกิดจากเซลล์ที่เรียกว่า Reed-Sternberg Cell ซึ่งมีลักษณะเป็นเซลล์ขนาดใหญ่ มีนิวเคลียสหลายอัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคมะเร็งชนิดนี้ การเกิดโรคอาจจะเกิดที่ Lymphoid Tissue ในต่อมน้ำเหลือง
NHL: เกิดจากความผิดปกติของการแบ่งตัวของทั้ง B-Lymphocyte และ T-Lymphocyte ทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้น อาจเกิดจากการกระตุ้นการทำงานของ Oncogenes หรือลดการทำงานของ Tumor suppressor genes มะเร็งชนิดนี้มีลักษณะเฉพาะคือ โรคมักจะแพร่แบบกระจาย
ลักษณะอาการทางคลินิก
HL: มักมาด้วยอาการต่อมน้ำเหลืองที่คอโตมาเป็นปีลักษณะต่อมน้ำเหลืองที่โตแข็งเหมือนยางลบ กดไม่เจ็บ และเคลื่อนได้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ตับ ม้ามโต มีไข้ เหงื่อออกมาก
NHL: มักมาด้วยเริ่มมีก้อนโตที่บริเวณช่องท้องอย่างรวดเร็วอาการจะคล้ายกับ HL แต่เนื่องจากโรคนี้มีการดำเนินของโรคเร็ว
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติ เช่น การติดเชื้อไวรัสบางชนิด การได้รับรังสีตั้งแต่อยู่ในครรภ์ การได้รับยาหรือสารเคมีที่กดภูมิคุ้มกัน
2.อาการและอาการแสดง เช่น มีไข้สูง > 38º C ลักษณะไข้ไม่สม่ำเสมอ เหงื่อออกมากตอนกลางคืน อาการหนาวสั่น คันตามผิวหนัง ม้ามโต เบื่ออาหาร
3.ตัดชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองที่โตไปตรวจดูชนิดของเซลล์ โรค HL พบ Reed-Sternberg Cell
4.เจาะไขกระดูกตรวจ (bone marrow)
การรักษา
HL : นิยมใช้รังสีรักษาหรือเคมีบำบัด
HL : นิยมใช้รังสีรักษาหรือเคมีบำบัด
ปัญหาและการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะขาดสารน้ำสารอาหารเนื่องจากผลข้างเคียงของการรักษาด้วยเคมีบำบัด
การพยาบาล
1.ดูแลความสะอาดปากฟันก่อนการรับประทานอาหาร
2.ส่งเสริมให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ลักษณะอาหารควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย รสไม่จัด มีคุณค่าทางโภชนาการสูง
3.จัดให้เด็กรับประทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง
4.ติดตามอาการและสอนให้เด็กป่วยสังเกตเกี่ยวกับอาการผิดปกติที่แสดงถึงความไม่สมดุลของอิเล็กทรอไลท์ เช่น เวียนศีรษะ หน้ามือ กระสับกระส่าย
Nephroblastoma
ความหมาย
มะเร็งของเนื้อเยื่อเริ่มแรกของไตที่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ พบว่ามีความผิดปกติของโครโมโซมในเซลล์มะเร็งและพบร่วมกับความผิดปกติแต่กำเนิดหลายชนิดสามารถรักษาหาย
พยาธิสรีรวิทยา
มะเร็งที่ไตหรือเนื้องอกที่ไตเป็นเนื้องอกที่มีขนาดใหญ่มีเปลือกหุ้มชัดเจน การเกิดอาจเกิดตรงกลางของไตแล้วลุกลามออกไปทั่วไตหรือออกไปนอกไตได้ ถ้าหากลุกลามออกมานอกไตเข้าไปในส่วนของอุ้งเชิงกรานอาจกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หลอดเลือดดำที่ไตหรือหลอดเลือดดำเวนนาคาวา ตลอดจนอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด การเกิดมะเร็งที่ไตพบได้ทั้งเป็นที่ไตข้างเดียวหรือเป็นทั้งสองข้าง
ลักษณะอาการทางคลินิก
มีก้อนในช่องท้อง มีขอบเขตชัดเจน ลักษณะก้อนเรียบ
ปัสสาวะเป็นเลือดสด (microscopic hematuria) หรือตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ
ความดันโลหิตสูง
อาการซีดซึ่งเกิดภายหลังจากที่มีเลือดออกในก้อนมะเร็ง
ปวดท้อง เบื่ออาหาร ซึม อ่อนเพลีย มีไข้ น้ำหนักลด
การวินิจฉัยโรค
1.ประวัติ การมีก้อนในท้อง ประวัติการถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด ปวดในท้อง น้ำหนักลด
2.อาการและอาการแสดง เช่น มีไข้ ซีด อ่อนเพลีย ปวดในท้อง ความดันโลหิตสูง
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจพบเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ ทำ IVP จะพบความผิดปกติ อัลตราซาวด์ คอมพิวเตอร์ หรือ MRI บริเวณช่องท้อง
การรักษา
1.การรักษาโดยการผ่าตัด ต้องทำในผู้ป่วยทุกรายโดยการตัดไตข้างที่เป็นออก
2.การรักษาด้วยรังสี ควรใช้ด้วยความระมัดระวังควรหลีกเลี่ยงบริเวณเนื้อไตปกติ
3.การรักษาด้วยยาเคมีบำบัด การรักษาด้วยวิธีนี้ใช้ในผู้ป่วยมะเร็งที่ไตทุกราย
ปัญหาและกาารพยาบาล
เสี่ยงต่อการมีเลือดออกในร่างกายได้เนื่องจากการรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัด
การพยาบาล
1.บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง ถ้าพบชีพจรเร็ว หายใจเร็ว ความดันโลหิตต่ำกว่าปกติควรรายงานแพทย์
2.ให้ผู้ป่วยพักผ่อนบนเตียงเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจทำให้มีเลือดออกได้
3.จัดกิจกรรมการเล่นให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ
4.หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน (aspirin)
5.ให้รับประทานอาหารอ่อน รสไม่จัด
Neuroblastoma
ความหมาย
เนื้องอกชนิดร้ายแรงในช่องท้อง ที่เจริญมาจากเซลล์ของระบบประสาทซิมพาเธติกแกงเกลีย (sympathetic ganglia) โดยมีเซลล์ต้นกำเนิดมาจาก neuroblast cell เป็นเนื้องอกที่มีความรุนแรง เพราะมีการกระจายไปที่อวัยวะอื่นได้มาก
พยาธิสรีรวิทยา
การที่มะเร็งเนื้อเยื่อประสาท เกิดขึ้นใน Neural Crest ซึ่งจะกลายไปเป็นต่อมอดรีนอลเมดดัล
ลา ประสาทซิมพาเธติก ดังนั้นจึงพบว่าผู้ป่วยมักจะมาด้วยก้อนเนื้องอกที่ต่อม อดรีนอล พบก้อนในท้อง หรือพบก้อนในบริเวณส่วนกลางของลำตัว ก้อนที่เกิดขึ้นอาจกดประสาท ไขสันหลังเกิดเป็นอัมพาต นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสรีรภาพยังขึ้นอยู่กับตำแหน่งของก้อนเนื้องอกของเนื้อเยื่อประสาท
ลักษณะอาการทางคลินิก
1.มีก้อนในท้อง
2.ก้อนกดไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อนำปัสสาวะ ก็ทำให้เกิดปัสสาวะบ่อยหรือเกิดการคั่งของปัสสาวะ
3.เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย
4.หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง
การวินิจฉัย
1.ซักประวัติการเกิดก้อนหรือประวัติการเกิดอาการที่ผิดปกติต่างๆ
2.ตรวจร่างกายพบอาการซีด หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง หรืออาจพบก้อนตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจไขกระดูก เอกซเรย์ทรวงอก Ultrasound หรือ MRI ในช่องอก ช่องท้อง การเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง หาค่า VMA
การรักษา
1.การผ่าตัดจะทำได้ในระยะที่ 1-2 ถ้าผ่าตัดได้หมด
2.รังสีรักษาเนื้องอกชนิดนี้ไวต่ออาการรักษาด้วยรังสียกเว้นผู้ป่วยในระยะที่ 1 ซึ่งสามารถผ่าตัดออกได้หมด
3.เคมีบำบัด มักจะใช้รักษาร่วมกับการผ่าตัดหรือรังสีรักษา
4.การรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก
ปัญหาและการพยาบาล
ความทนต่อการทำกิจกรรมลดลงเนื่องจากผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด รังสีรักษา
การพยาบาล
1.ให้เด็กป่วยนอนพักผ่อนบนเตียง เพื่อลดการใช้ออกซิเจน จัดสิ่งแวดล้อมให้เงียบสงบ ลดแสงและเสียงรบกวน
2.จัดหาของเล่นที่เหมาะสมกับวัยและภาวะการเจ็บป่วย โดยให้มีความปลอดภัย
3.บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เช่น อาการเหนื่อย หายใจหอบ ชีพจรเร็ว
4.ประเมินความทนทานต่อกิจกรรมต่างๆ เพื่อช่วยให้ใช้พลังงานเท่าที่ทนได้ไม่เหนื่อยเกินไป
5.แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กมาก
Brain tumor
ความหมาย
ภาวะที่มีก้อนเนื้องอกซึ่งมีเซลที่ผิดปกติเกิดขึ้นในกะโหลกศีรษะ อาจเกิดจากเซลในระบบประสาทที่แบ่งตัวผิดปกติ (Primary brain tumor) หรืออาจเกิดจากเซลมะเร็งนอกระบบประสาทกระจายมาสู่ระบบประสาท (Metastasis brain tumor)
พยาธิสรีรวิทยา
เนื้อที่เกิดจากการเจริญเติบโตอย่างผิดปกติของเซลล์ในสมองหรือบริเวณเนื้อเยื่อและต่อมต่างๆบริเวณใกล้เคียงกับสมองซึ่งอาจรบกวนระบบประสาทและการทำงานของสมองจนทำให้มีอาการต่างๆตามมา
ลักษณะอาการทางคลินิก
อาการชัก
ปวดศีรษะ
คลื่นไส้หรืออาเจียน
ค่อย ๆ สูญเสียความรู้สึกหรือการเคลื่อนไหวแขนหรือขา ชา อัมพาตบางส่วน
ปัญหาในการทรงตัวหรือเดิน
สับสน สูญเสียความทรงจำหรือบุคลิกภาพเปลี่ยนไป
หูอื้อ วิงเวียน
ความบกพร่องทางการพูด ความล าบากในการเข้าใจและแสดงออกทางภาษา
กล้ามเนื้อใบหน้าชาหรือเป็นเหน็บ
การวินิจฉัย
การซักประวัติอาการทางระบบประสาท ช่วยบอกตำแหน่งของพยาธิสภาพได้ส่วนการซักระยะเวลาการดำเนินโรคและ review of systems ช่วยบอกชนิดของโรคได้
การตรวจร่างกายแบ่งซึ่งเป็น 3 ชนิด คือ -มีรอยโรคเพียงจุดเดียวในระบบประสาท,รอยโรคมากกว่าหนึ่งตำแหน่งในระบบประสาท,รอยโรคนอกระบบประสาทร่วมด้วย
การตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม ของโรคเนื้องอกสมองที่สำคัญเช่นCT scan,MRI,CT or MRI with contrast media,EEGเป็นต้น
การรักษา
การรักษาภาวะความดันในกะโหลกศีรษะที่สูงจากภาวะน้ำในสมองอุดตันฉับพลัน
การผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกออก
การผ่าตัดเพื่อตัดชิ้นเนื้องอกมาตรวจบางส่วน (tumor biopsy)
การผ่าตัดเพื่อการกำจัดปริมาณเนื้องอกให้มากที่สุด
การฉายแสง
การให้ยาต้านเนื้องอก ได้แก่
• ยาเคมีบำบัด
• ยาต้านการเจริญเติบโตของเส้นเลือด
• immunotherapy
การให้ยากันชักในผู้ป่วยเนื้องอกสมอง
ปัญหาและการพยาบาล
เด็กป่วยและบิดามารดามีความวิตกกังวล เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ จากการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา
การพยาบาล
1.อธิบายให้เด็กและครอบครัวทราบว่าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการฉายรังสีรักษาอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ เช่น อาจเกิดผมร่วง ผิวหนังสีเข้ม ใบหน้ากลม
2.ให้กำลังใจเด็กป่วยและบิดามารดา ให้ตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายไม่ได้ทำให้คุณค่าหรือความสามารถของเด็กป่วยในเรื่องอื่นๆ ลดลง
3.ในรายที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงจะต้องช่วยโดยการนวดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกาย หรือส่งต่อฝ่ายกายภาพบำบัด ซึ่งอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นหลังหยุดยา
4.ส่งเสริมให้เด็กได้มีการทำกิจกรรมร่วมกับเด็กป่วยอื่นๆ ที่มีปัญหาภาพลักษณ์เช่นเดียวกัน เพื่อให้เด็กป่วยรับรู้ว่ายังมีคนอื่นๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน
5.แนะนำให้เด็กป่วยทำกิจกรรมที่สนใจ เช่น ให้เล่นกับเพื่อนๆ อ่านหนังสือ หรือเล่นเกมต่างๆ
นางสาว สิรามล มนต์ช่วย 61122230025 เลขที่22
นางสาว นฤมล พลสว่าง 61122230032 เลขที่29