Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความร้อน แสงสว่าง เสียงและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง (หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำมาต…
ความร้อน แสงสว่าง เสียงและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง 2559
ข้อ 1
(1) ภายในอาคาร WBGT = 0.7 NWB + 0.3 GT
(2) ภายนอกอาคาร WBGT = 0.7 NWB + 0.2 GT + 0.1 DB
“ระดับความร้อน” หมายความว่า อุณหภูมิ WBGT ในบริเวณที่ลูกจ้างทํางานตรวจวัด โดยค่าเฉลี่ยในช่วงเวลา2ชม.
“สภาวะการทํางาน” หมายความว่า สภาวะแวดล้อมซึ่งปรากฏอยู่ในบริเวณที่ทํางานของลูกจ้าง ซึ่งรวมถึงสภาพต่าง ๆ ในบริเวณที่ทํางาน เครื่องจักร อาคาร สถานที่ การระบายอากาศ ความร้อน แสงสว่าง เสียง ตลอดจนสภาพและลักษณะการทํางานของลูกจ้างด้วย
“งานเบา” หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงน้อยหรือใช้กําลังงานที่ทําให้เกิดการเผาผลาญอาหาร ในร่างกายไม่เกิน 200 Kcal/hr เช่น งานเขียนหนังสือ งานพิมพ์ดีด งานบันทึกข้อมูล งานเย็บจักร งานนั่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์ งานประกอบชิ้นงานขนาดเล็ก งานบังคับเครื่องจักรด้วยเท้า การยืนคุมงาน
“งานปานกลาง” หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงปานกลางหรือใช้กําลังงานที่ทําให้เกิด การเผาผลาญอาหารในร่างกายเกิน 200 - 350 Kcal/hr เช่น งานยก ลาก ดัน หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของด้วยแรงปานกลาง งานตอกตะปู งานตะไบ งานขับรถบรรทุก งานขับรถแทรกเตอร์
“งานหนัก” หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงมากหรือใช้กําลังงานที่ทําให้เกิดการเผาผลาญอาหาร ในร่างกายเกิน 350 Kcal/hr เช่น งานที่ใช้พลั่วตักหรือเครื่องมือลักษณะคล้ายกัน งานขุด งานเลื่อยไม้ งานเจาะไม้เนื้อแข็ง งานทุบโดยใช้ค้อนขนาดใหญ่ งานยก หรือเคลื่อนย้ายของหนัก ขึ้นที่สูงหรือที่ลาดชัน
หมวด 1 ความร้อน
ข้อที่ 2 ให้นายจ้างควบคุมและรักษาระดับความร้อนภายในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง ทํางานอยู่มิให้เกินมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
งานปานกลาง
ไม่เกิน 32 ํC :fire:
งานหนัก
ไม่เกิน 30 ํC :fire:
งานเบา
ไม่เกิน 34 ํC :fire:
ข้อ 3 ในกรณีที่ภายในสถานประกอบกิจการมีแหล่งความร้อนที่อาจเป็นอันตราย ให้นายจ้างติดป้ายหรือประกาศเตือนอันตรายในบริเวณดังกล่าว โดยให้ลูกจ้างสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ในกรณีที่บริเวณการทํางานตามวรรคหนึ่งมีระดับความร้อนเกินมาตรฐานที่กําหนดในข้อ 2 ให้นายจ้าง
ดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสภาวะการทํางานทางด้านวิศวกรรม เพื่อควบคุมระดับความร้อน ให้เป็นไปตามมาตรฐาน
จัดให้มีการปิดประกาศและเอกสารหรือหลักฐานในการดําเนินการปรับปรุง หรือแก้ไขดังกล่าวไว้ เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้
ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการให้เป็นไปตามวรรคสองได้ ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการควบคุม หรือลดภาระงาน และต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่PPEที่กําหนดไว้ ในหมวด 4 ตลอดเวลาที่ทํางาน
หมวด 2 แสงสว่าง
ข้อ 4 นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ํากว่ามาตรฐาน ที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ 5 นายจ้างต้องใช้หรือจัดให้มีฉาก แผ่นฟิล์มกรองแสง หรือมาตรการอื่นที่เหมาะสม และเพียงพอเพื่อป้องกันมิให้แสงตรงหรือแสงสะท้อนจากแหล่งกําเนิดแสงหรือดวงอาทิตย์ที่มีแสงจ้า ส่องเขาน้ ัยน์ตาลูกจ้างโดยตรงในขณะทํางาน ในกรณีที่ไม่อาจป้องกันได้ ต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กําหนดไว้ในหมวด 4 ตลอดเวลาที่ทํางาน
ข้อ 6 ในกรณีที่ลูกจ้างต้องทํางานในสถานที่มืด ทึบ และคับแคบ เช่น ในถ้ํา อุโมงค์ หรือในที่ที่มีลักษณะเช่นว่าน้ัน นายจ้างต้องจัดให้มีอุปกรณ์ส่องแสงสว่างที่เหมาะสมแก่สภาพและ ลักษณะงาน โดยอาจเป็นชนิดที่ติดอยู่ในพื้นที่ทํางานหรือติดที่ตัวบุคคลได้ หากไม่สามารถจัดหา หรือดําเนินการได้ ต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กําหนดไว้ใน หมวด 4 ตลอดเวลาที่ทํางาน
หมวด 3 เสียง
ข้อ 7 นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงไม่ให้ลูกจ้างได้รับสัมผัสเสียง ที่มีระดับเสียงสูงสุด (peak sound pressure level) ของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก (impact or impulse noise) เกิน 140 dB(A) หรือได้รับสัมผัสเสียงที่มีระดับเสียงดังต่อเนื่องแบบคงที่ (continuous steady noise) เกินกว่า 115 dB(A)
ห้ามทำงานในที่มีเสียงกระแทกเกิน 140 dB(A)
ข้อ 8 นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดเวลาการทํางานในแต่ละวัน (Time Weighted Average-TWA) มิให้เกินมาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ระดับเสียงเฉลี่ย 8 ชั่วโมง ดัง 90 dB(A)
ข้อ 9 ภายในสถานประกอบกิจการที่สภาวะการทํางานมีระดับเสียงเกินมาตรฐาน ที่กําหนดในข้อ 7 หรือมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเกินมาตรฐานที่กําหนดในข้อ 8 นายจ้างต้อง....
ให้ลูกจ้างหยุดทํางานจนกว่าจะได้ปรับปรุงหรือแก้ไขให้ระดับเสียงเป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนด
ดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขทางด้านวิศวกรรม โดยการควบคุมที่ต้นกําเนิดของเสียงหรือทางผ่านของเสียง หรือบริหารจัดการเพื่อควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างจะได้รับ
จัดให้มี การปิดประกาศในการดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขดังกล่าวไว้ เพื่อให้พนักงาน ตรวจความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้
กรณีที่ไม่สามารถดําเนินการได้ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่ PPE ที่กําหนดไว้ในหมวด 4 ตลอดเวลาที่ทํางาน
เพื่อลดระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่PPEแล้ว โดยให้อยู่ในระดับที่ไม่เกินมาตรฐานตามที่กําหนดไว้ในข้อ 7และ 8
คํานวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ตามวรรคสองให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ 11 ในกรณีที่สภาวะการทํางานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ย ตลอดระยะเวลาการทํางานแปดชั่วโมงตั้งแต่ 85 dB(A)ขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการอนุรักษ์ การได้ยินในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ 10 ในบริเวณที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานที่กําหนดในข้อ 7 หรือข้อ 8 นายจ้างต้อง จัดให้มีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลติดไว้ให้ลูกจ้างเห็นได้โดยชัดเจน
หมวด 4 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
ข้อ 12 นายจ้างต้องจัดให้มีและดูแลให้ลูกจ้างใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ตามความเหมาะสมกับลักษณะงานตลอดเวลาที่ทํางาน ดังต่อไปนี้
(1) งานที่มีระดับความร้อนเกินมาตรฐานที่กําหนด ให้สวมใส่ชุดแต่งกาย รองเท้า และถุงมือ สําหรับป้องกันความร้อน
(2) งานที่มีแสงตรงหรือแสงสะท้อนจากแหล่งกําเนิดแสงหรือดวงอาทิตย์ที่มีแสงจ้า ส่องเข้านัยน์ตาโดยตรง ให้สวมใส่แว่นตาลดแสงหรือกระบังหน้าลดแสง
(3) งานที่ทําในสถานที่มืด ทึบ และคับแคบ ให้สวมใส่หมวกนิรภัยที่มีอุปกรณ์ส่องแสงสว่าง
(4) งานที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานที่กําหนด ให้สวมใส่ปลั๊กลดเสียงหรือที่ครอบหูลดเสียง
ข้อ 13 ให้นายจ้างบํารุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้อยู่ในสภาพ ที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งจัดให้ลูกจ้างได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีการใช้และบํารุงรักษา อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และเก็บหลักฐานการฝึกอบรมไว้ ณ สถานประกอบกิจการ เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้
หมวด 5 การตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางาน และการรายงานผล
ข้อ 14 นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับ ความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการ
หากนายจ้างไม่สามารถตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานตามวรรคหนึ่งได้ ต้องให้ ผู้ที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 เพื่อเป็นผู้ให้บริการ ในการตรวจวัดและวิเคราะห์ เป็นผู้ดําเนินการแทน
ให้นายจ้างเก็บผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานดังกล่าวไว้ ณ สถานประกอบกิจการ เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้
หลักเกณฑ์ วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามที่อธิบดี ประกาศกําหนด
ข้อ 15 ให้นายจ้างจัดทํารายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานตามแบบ ที่อธิบดีประกาศกําหนด พร้อมทั้งส่งรายงานผลดังกล่าวต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน30วัน นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการตรวจวัด และเก็บรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานดังกล่าวไว้ ณ สถานประกอบกิจการ เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้
หมวด 6 การตรวจสุขภาพและการรายงานผล
ข้อ 16 ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทํางานในสภาวะการทํางานที่อาจได้รับ อันตรายจากความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง และรายงานผล รวมทั้งดําเนินการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสุขภาพ ของลูกจ้างตามพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554
หลักเกณฑ์ วิธีดำเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการ ระยะเวลา และประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ 2550
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 14 วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หมวด 1 บททั่วไป
ข้อ ๒ ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง ภายในสถานประกอบกิจการในสภาวะที่เป็นจริงของสภาพการทํางานอย่างน้อย ปีละหนึ่งครั้ง
กรณีที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรอุปกรณ์ กระบวนการผลิต วิธีการทํางาน หรือการดําเนินการใด ๆ ที่อาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง
ให้นายจ้างดําเนินการตามวรรคหนึ่งเพิ่มเติมโดยตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานบริเวณพื้นที่ หรือบุคคลที่อาจได้รับผลกระทบภายใน90วันนับจากวันที่มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง
หมวด 2 การตรวจวัดระดับความร้อนและประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการ
ข้อ 3 ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจวัดระดับความร้อนบริเวณที่มีลูกจ้างปฏิบัติงานอยู่ในสภาพทํางานปกติ และต้องตรวจวัดในช่วงระยะเวลาที่ลูกจ้างอาจได้รับอันตรายจากความร้อนสูงสุด
ข้อ 4 ประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการตรวจวัด ได้แก่ การผลิตน้ําตาลและทําให้บริสุทธิ์ การปั่นทอที่มีการฟอกหรือย้อมสี การผลิตเยื่อกระดาษหรือกระดาษ การผลิตยางรถยนต์หรือหล่อดอกยาง การผลิตกระจก เครื่องแก้วหรือหลอดไฟ การผลิตซีเมนต์หรือปูนขาว การถลุง หล่อหลอมหรือรีดโลหะ หรือกิจกรการที่มีแหล่งกําเนิดความร้อน หรือมีการทํางานที่อาจทําให้ลูกจ้าง ได้รับอันตรายเนื่องจากความร้อน
ข้อ 5 อุปกรณ์การตรวจวัดระดับความร้อน ประกอบด้วย
(1) เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะแห้ง เป็นชนิดปรอทหรือแอลกอฮอล์ที่มีความละเอียดของสเกล 0.5 ํC และมีความแม่นยําบวกหรือลบ 0.5 ํC มีการกําบังป้องกันเทอร์โมมิเตอร์ จากแสงอาทิตย์ หรือแหล่งที่แผ่รังสีความร้อน โดยไม่รบกวนการไหลเวียนอากาศ
(2) เทอร์โมมิเตอร์กระเปาะเปียกตามธรรมชาติ มีความละเอียดของสเกล 0.5 ํC ที่มีความแม่นยําบวกหรือลบ 0.5 ํC มีผ้าฝ้ายชั้นเดียวที่สะอาดห่อหุ้มกระเปาะ หยดน้ํากลั่น ลงบนผ้าฝ้ายที่หุ้มกระเปาะให้เปียกชุ่มและให้ปลายอีกด้านหนึ่งของผ้าจุ่มอยู่ในน้ํากลั่นเพื่อให้ผ้าส่วนที่หุ้ม กระเปาะเทอร์โมมิเตอร์เปียกอยู่ตลอดเวลา
(3) โกลบเทอร์โมมิเตอร์ มีช่วงการวัดตั้งแต่ลบ 5 ํC ถึง 0.5 ํC ที่ปลายกระเปาะเทอร์โมมิเตอร์เสียบอยู่กึ่งกลางทรงกลมกลวงที่ทําด้วยทองแดงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง สิบห้าเซนติเมตร ภายนอกทาด้วยสีดําด้านที่สามารถดูดกลืนรังสีความร้อนได้ดี
อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวัดระดับความร้อนตามวรรคหนึ่งต้องทําการปรับเทียบความถูกต้อง (Calibration) อย่างน้อยปีละครั้ง
กรณีที่ไม่ใช้อุปกรณ์ตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้เครื่องวัดระดับความร้อนชนิดอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถอ่านและคํานวณค่า (WBGT) ได้ตามมาตรฐาน ISO 7243 ขององค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Organization for Standardization) หรือเทียบเท่า และให้ทําการปรับเทียบความถูกต้อง (Calibration) ก่อนใช้งานทุกครั้ง
ข้อ 6 วิธีการตรวจวัดระดับความร้อนให้ติดตั้งอุปกรณ์หรือเครื่องวัดตามข้อ 5 ในตําแหน่ง สูงจากพื้นระดับหน้าอกของลูกจ้าง ใช้อุปกรณ์ข้อ 5 วรรคหนึ่ง
ก่อนเริ่มอ่านค่าต้องตั้งอุปกรณ์ให้ทํางานไว้อย่างน้อยสามสิบนาที และให้บันทึกค่าตรวจวัดในช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม
อุณหภูมิที่อ่านค่าเป็นองศาเซลเซียส ให้คํานวณหาค่าอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (WBGT) ตามวิธีการที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง
ให้หาค่าระดับความร้อนจากค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (WBGT) ที่คํานวณได้ในช่วง เวลาทํางานสองชั่วโมงที่ร้อนที่สุด ได้จากสูตร ดังต่อไปนี้
WBGT(เฉลี่ย) = WBGT1 x t1 + WBGT2 x t2 + .......……+ WBGTn x tn / t1+ t2 + …………+ tn
WBGT1 หมายถึง WBGT(°C) ในเวลา t1 (นาที)
WBGT2 หมายถึง WBGT(°C) ในเวลา t2 (นาที)
WBGTn หมายถึง WBGT(°C) ในเวลา tn (นาที)
t1+ t2 + …….…+ tn = 120 นาที ที่มีอุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ (WBGT) สูงสุด
ในกรณีที่ไม่สามารถระบุได้ว่าลักษณะงานที่ลูกจ้างทําในช่วงเวลาทํางานสองชั่วโมงที่ร้อนที่สุด ตามวรรคสาม เป็นงานเบา งานปานกลาง หรืองานหนักตามที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง ให้คํานวณ ภาระงาน (Work-Load Assessment) เพื่อกําหนดลักษณะงานตามแนวทางของ OSHA Technical Manual (U.S. Department of Labor, Occupational Safety and Health Administration) หรือเทียบเท่า เช่น ISO 8996
หมวด ๓ การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างและประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการ
ข้อ 7 ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างในสถานประกอบกิจการ ทุกประเภทกิจการโดยให้ตรวจวัดบริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ และบริเวณที่ลูกจ้างต้องทํางานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทํางาน ในสภาพการทํางานปกติและในช่วงเวลาที่มีแสงสว่างตามธรรมชาติน้อยที่สุด
ข้อ 8 การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ต้องใช้เครื่องวัดแสงที่ได้มาตรฐาน CIE 1931 ของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยความส่องสว่าง (International Commission on Illumination) หรือ ISO/CIE 10527 หรือเทียบเท่า เช่น JIS และก่อนเริ่มการตรวจวัดต้องปรับ ให้เครื่องวัดแสงอ่านค่าที่ศูนย์ (Photometer Zeroing)
ข้อ 9 การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างบริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายใน สถานประกอบกิจการใหตรวจวัดในแนวระนาบสูงจากพื้น75cm.
ให้หาค่าเฉลี่ยความเข้มของแสงสว่าง โดยวัดค่าความเข้มของแสงสว่างทุกๆ 2 x 2 ตารางเมตร แต่หากมีการติดหลอดไฟที่มีลักษณะที่แน่นอนซ้ําๆ กันสามารถวัดแสงในจุดที่เป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีแสง ตกกระทบในลักษณะเดียวกันได้ ตามวิธีการวัดแสงและการคํานวณค่าเฉลี่ยตาม IES Lighting Handbook (1981 Reference Volume หรือเทียบเท่า) ของสมาคมวิศวกรรมด้านความส่องสว่าง แห่งอเมริกาเหนือ (Illuminating Engineering Society of North America) หรือเทียบเท่า
สําหรับการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างบริเวณพื้นที่ทั่วไปที่มีการสัญจรในภาวะฉุกเฉิน ให้ตรวจวัดตามเส้นทางสัญจรในภาวะฉุกเฉินในแนวระนาบที่พื้นผิวทางเดิน แล้วนํามาคํานวณค่าเฉลี่ย ตามวิธีการวัดแสงและการคํานวณค่าเฉลี่ยตามมาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้า ป้ายทางออกฉุกเฉิน ภาคผนวก ก การวัดความส่องสว่างในระบบแสงสว่างฉุกเฉินของวิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ Compliance Document for New Zealand Building Code Clause F6 Visibility in Escape Routes Third Edition
ข้อ 10 การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างบริเวณที่ลูกจ้างต้องทํางานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุด หรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทํางาน ให้ตรวจวัดในจุดที่สายตาตกกระทบชิ้นงานหรือจุดที่ทํางาน ของลูกจ้าง (Workstation)
หมวด 4 การตรวจวัดระดับเสียงและประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการ
ข้อ 11 ประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการตรวจวัดระดับเสียง ได้แก่ การระเบิด ย่อย โม่หรือบดหิน การผลิตน้ําตาลหรือทําให้บริสุทธิ์ การผลิตน้ําแข็ง การปั่น ทอโดยใช้เครื่องจักร การผลิตเครื่องเรือน เครื่องใช้จากไม้ การผลิตเยื่อกระดาษหรือกระดาษ กิจการที่มีการปั้มหรือเจียรโลหะ กิจการที่มีแหล่งกําเนิดเสียง หรือสภาพการทํางานที่อาจทําให้ลูกจ้างได้รับอันตรายเนื่องจากเสียง
ข้อ 12 การตรวจวัดระดับเสียง ต้องใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานของคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศ ว่าด้วยเทคนิคไฟฟ้า (International Electrotechnical Commission) หรือเทียบเท่า ดังนี้
(1) เครื่องวัดเสียง ต้องได้มาตรฐาน IEC 61672 หรือ IEC 651 Type 2
(2) เครื่องวัดปรมาณเสียงสะสม (Noise Dosimeter) ต้องได้มาตรฐาน IEC 61252
(3) เครื่องวัดเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก ต้องได้มาตรฐาน IEC 61672 หรือ IEC 60804
อุปกรณ์ที่ใช้ตรวจวัดระดับเสียงตามวรรคหนึ่ง ต้องทําการปรับเทียบความถูกต้อง (Calibration) ด้วยอุปกรณ์ตรวจสอบความถูกต้อง (Noise Calibrator) ที่ได้มาตรฐาน IEC 60942 หรือเทียบเท่า
ตามวิธีการที่ระบุในคู่มือการใช้งานของผู้ผลิตก่อนการใช้งานทุกครั้งและให้จัดให้มีการปรับเทียบความถูกต้อง ของเครื่องมือกับหน่วยปรับเทียบมาตรฐานปีละหนึ่งครั้ง
ให้ปรับเทียบความถูกต้องของเครื่องมือกับหน่วยปรับเทียบมาตรฐานทุก ๆ 2ปี
ข้อ 13 วิธีการตรวจวัดระดับเสียง ให้ตรวจวัดบริเวณที่มีลูกจ้างปฏิบัติงานอยู่ในสภาพการทํางานปกติ โดยตั้งค่าเครื่องวัดเสียงที่สเกลเอ (Scale A) การตอบสนองแบบช้า (Slow) และตรวจวัดที่ระดับหู ของลูกจ้างที่กําลังปฏิบัติงาน ณ จุดนั้นรัศมีไม่เกิน30 cm.
กรณีใช้เครื่องวัดปริมาณเสียงสะสม (Noise Dosimeter) ต้องตั้งค่าให้เครื่องคํานวณปริมาณ เสียงสะสม Threshold Level ที่ระดับ85dB(A) Criteria Level ที่ระดับ85dB(A) Energy Exchange rate ที่สาม ส่วนการใช้เครื่องวัดเสียงกระทบหรือเสียงกระแทกให้ตั้งค่าตามที่ระบุ ในคู่มือการใช้งานของผู้ผลิต
ข้อ 14 กรณีบริเวณที่ลูกจ้างปฏิบัติงานมีระดับเสียงดังไม่สมำ่เสมอ หรือลูกจ้างต้องย้าย การทํางานไปยังจุดต่าง ๆ ที่มีระดับเสียงดังแตกต่างกัน ให้ใช้สูตรในการคํานวณหาระดับเสียงเฉลี่ย ตลอดเวลาการทํางานในแต่ละวัน ดังนี้
D = { (C1/T1) + (C2/T2) + ...+ (Cn/Tn) } x 100 _1
และ TWA (8) = 10.00 x log (D/100) + 85 _2
เมื่อ D = ปริมาณเสียงสะสมที่ผู้ปฏิบัติงานได้รับหน่วยเป็นร้อยละ
C = ระยะเวลาที่สัมผัสเสียง
T = ระยะเวลาที่อนุญาตให้สัมผัสระดับเสียงนั้น ๆ (ตามตารางในประกาศกรม)
TWA (8) = ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทํางาน 8 ชั่วโมง/วัน ค่า TWA (8) ที่คํานวณได้ต้องไม่เกิน85dB(A)
หมวด 5 คุณสมบัติผู้ตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางาน
ข้อ 15 ผู้ที่ดําเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานในสถานประกอบกิจการต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพของสถาน ประกอบกิจการกับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สามารถดําเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะ การทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง ภายในสถานประกอบกิจการของตนเอง
(2) เป็นบุคคลที่ผู้สําเร็จการศึกษาไม่ตำ่กว่าปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า ที่ขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานของสถานประกอบกิจการกับกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน สามารถดําเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง ภายในสถานประกอบกิจการของตนเอง
(3) เป็นบุคคลหรือนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี
ข้อ 16 ผู้ตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานต้องลงลายมือชื่อรับรองในแบบรายงานผล การตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถาน ประกอบกิจการตามข้อ 15 ที่กําหนดในกฎกระทรวง
หมวด 6 การวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง และเสียง
ข้อ 17 ให้นายจ้างทําการวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงที่ลูกจ้างได้รับ
กรณีผลการตรวจวัดมีค่าเกินหรือต่ํากว่ามาตรฐานที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวงหรือประกาศกรม แล้วแต่กรณี ต้องระบุสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอาคารสถานที่ การระบายอากาศ เครื่องจักร การบํารุงรักษา จํานวนลูกจ้างที่สัมผัสหรือ เกี่ยวข้องกับอันตราย สภาพและลักษณะ การทํางานของลูกจ้าง รวมถึงวิธีการหรือมาตรการในการปรับปรุงแก้ไขและระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง
“ความเข้มของแสงสว่าง” หมายความว่า ปริมาณแสงที่ตกกระทบต่อหนึ่งหน่วยตารางเมตร ซึ่งในประกาศนี้ใช้หน่วยความเข้มของแสงสว่างเป็นลักซ์ (lux)
ข้อ 4 นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ตำ่กว่ามาตรฐานที่กําหนดไว้ตามตาราง แนบท้ายประกาศนี้
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 11 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อนแสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้
ข้อ 2 ให้นายจ้างจัดทํามาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการเป็นลายลักษณ์อักษร ในกรณีที่สภาวะการทํางานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลา การทํางานแปดชั่วโมงตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับรายการ ดังนี้
(1) นโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน
(2) การเฝ้าระวังเสียงดัง (Noise Monitoring)
(3) การเฝ้าระวังการได้ยิน (Hearing Monitoring)
(4) หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ให้นายจ้างประกาศมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการให้ลูกจ้างทราบ
ข้อ 3 ให้นายจ้างจัดให้มีการเฝ้าระวังเสียงดัง โดยการสํารวจและตรวจวัดระดับเสียง การศึกษาระยะเวลาสัมผัสเสียงดัง และการประเมินการสัมผัสเสียงดังของลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ แล้วแจ้งผลให้ลูกจ้างทราบ
ข้อ 4 ให้นายจ้างจัดให้มีการเฝ้าระวังการได้ยินโดยให้ดําเนินการ ดังนี้
(1) ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometric sting) แก่ลูกจ้างที่สัมผัสเสียงดังที่ได้รับ เฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางาน8ชั่วโมงตั้งแต่ 85dB(A) ขึ้นไป และให้ทดสอบสมรรถภาพ การได้ยินของลูกจ้างครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(2) แจ้งผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินให้ลูกจ้างทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่นายจ้าง ทราบผลการทดสอบ
(3) ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างซ้ําอีกครั้งภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายจ้าง ทราบผลการทดสอบ กรณีพบว่าลูกจ้างมีสมรรถภาพการได้ยินเป็นไปตามข้อ 6
ข้อ ๕ เกณฑ์การพิจารณาผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินให้เป็นไป ดังนี้
(1) ใช้ผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินครั้งแรกของลูกจ้างที่ความถี่ 500 1000 2000 3000 4000 และ 6000 เฮิรตซ์ ของหูทั้ง 2 ข้างเป็นข้อมูลพื้นฐาน (Baseline Audiogram)
(2) นําผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินครั้งต่อไปเปรียบเทียบกับผลการทดสอบสมรรถภาพ การได้ยินที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทุกครั้ง
ข้อ 6 หากผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน พบว่าลูกจ้างสูญเสียการได้ยินที่หูข้างใดข้างหนึ่ง ตั้งแต่ 15dB(A) ขึ้นไปที่ความถี่ใดความถี่หนึ่ง ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการป้องกันอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใด แก่ลูกจ้าง ดังนี้
จัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่สามารถลดระดับเสียง ที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางาน 8 ชั่วโมงน้อยกว่า 85dB(A)
เปลี่ยนงานให้ลูกจ้าง หรือหมุนเวียนสลับหน้าที่ระหว่างลูกจ้างด้วยกันเพื่อให้ระดับเสียง ที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางาน 8 ชั่วโมงน้อยกว่า 85dB(A)
ข้อ 7 ให้นายจ้างจัดทําและติดแผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map) ในแต่ละพื้นที่ เกี่ยวกับผลการตรวจวัดระดับเสียง ติดป้ายบอกระดับเสียงและเตือนให้ระวังอันตรายจากเสียงดัง รวมถึงจัดให้มีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลในแต่ละพื้นที่ที่มีความเสี่ยง จากเสียงดังและทุกพื้นที่ที่มีระดับเสียงดังตั้งแต่ 85dB(A)ขึ้นไป โดยรูปแบบและขนาดของ แผนผังแสดงระดับเสียง ป้ายบอกระดับเสียงและเตือนให้ระวังอันตรายจากเสียงดัง และเครื่องหมายเตือน ให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ให้เป็นไปตามแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ 8 ให้นายจ้างอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์การได้ยินความสําคัญ ของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน อันตรายของเสียงดัง การควบคุม ป้องกัน และการใช้อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลแก่ลูกจ้างที่ทํางานในบริเวณที่มีระดับเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลา การทํางาน 8 ชั่วโมงตั้งแต่ 85dB(A) ขึ้นไป และลูกจ้างที่เกี่ยวข้องในสถานประกอบกิจการ
ข้อ 9 ให้นายจ้างประเมินผลและทบทวนการจัดการมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถาน ประกอบกิจการไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง
ข้อ 10 ให้นายจ้างบันทึกข้อมูลและจัดทําเอกสารการดําเนินการตามข้อ 3 ถึงข้อ 10 เก็บไว้ในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่า 5 ปี พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดแบบรายงานผลการตรวจวัดและ วิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียงภายในสถานประกอบกิจการ
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 15 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 2 แบบรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียงภายในสถานประกอบกิจการ ให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้
แบบรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงาน :pen:
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การคํานวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อ สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 9 วรรคสาม แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับ ความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 3 การคํานวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการลดเสียงของผู้ผลิตอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
(1) การคํานวณโดยใช้ค่า Noise Reduction Rating (NRR) ที่ระบุไว้บนผลิตภัณฑ์ กับค่าตรวจวัดระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางาน โดยใช้สูตรคํานวณ ดังนี้
สุตร Protected dBA = Sound Level dBC – NRRadj หรือ Protected dBA = Sound Level dBA – [NRRadj – 7]
Protected dBA หมายถึง ระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยในสเกลเอ(Scale A)หรือเดซิเบลเอ
Sound Level dBC หมายถึง ระดับเสียงที่ได้จากการตรวจวัดเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางาน ๘ ชั่วโมงในสเกลซี(Scale C)หรือเดซิเบลซี
Sound Level dBA หมายถึง ระดับเสียงที่ได้จากการตรวจวัดเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางาน ๘ ชั่วโมง ในสเกลเอ (Scale A) หรือ เดซิเบลเอ
NRRadj หมายถึง ค่าการลดเสียงที่ระบุไว้บนฉลากหรืออุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลโดยกําหนดให้มีการปรับค่าตามลักษณะและชนิดของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ดังนี้
(ก) กรณีเป็นที่ครอบหูลดเสียง ให้ปรับลดเสียงลงร้อยละ 25 ของค่าการลดเสียง ที่ระบุไว้บนฉลากหรือผลิตภัณฑ์
(ข) กรณีเป็นปลั๊กลดเสียงชนิดโฟม ให้ปรับลดเสียงลงร้อยละ 50 ของค่าการลดเสียง ที่ระบุไว้บนฉลากหรือผลิตภัณฑ์
(ค) กรณีเป็นปลั๊กลดเสียงชนิดอื่น ให้ปรับลดเสียงลงร้อยละ 70 ของค่าการลดเสียง ที่ระบุไว้บนฉลากหรือผลิตภัณฑ์
(2) การคํานวณโดยใช้ค่า Single Number Rating (SNR) ที่ระบุไว้บนผลิตภัณฑ์กับค่า ตรวจวัดระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางาน โดยใช้สูตรคํานวณดังนี้
LAX = (LC – SNRx) + 4
LAX หมายถึง ระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ในสเกลเอ (Scale A) หรือ เดซิเบลเอ
LC หมายถึง ระดับเสียงที่ได้จากการตรวจวัดเฉลี่ยตลอดระยะการทํางาน 8 ชั่วโมงในสเกลซี (Scale C) หรือ เดซิเบลซี
SNRx หมายถึง ค่าการลดเสียงที่ระบุไว้บนฉลาก/ผลิตภัณฑ์ของอุปกรณ์คุ้มครอง ความปลอดภัยส่วนบุคคล
(3) การคํานวณระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล นอกเหนือจาก (1) และ (2) ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4456 (พ.ศ. 2555) ออกตามความพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กําหนดมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมข้อแนะนําในการเลือก การใช้ การดูแล และการบํารุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครอง ความปลอดภัยส่วนบุคคล เล่ม 1 อุปกรณ์การปกป้องการได้ยิน ข้อ 4 หลักเกณฑ์การเลือกอุปกรณ์ ปกป้องการได้ยิน ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555
ข้อ 4 การดําเนินการตามข้อ 3 กรณีที่ฉลากหรืออุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล มีการระบุค่าการลดเสียงมากกว่า 1 ค่า ให้นายจ้างใช้ค่าที่ลดเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครอง ความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้จากการคํานวณน้อยที่สุดเป็นหลักในการพิจารณาลดระดับความดังเสียง จากสภาพแวดล้อมในการทํางาน
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานในแต่ละวัน
อาศัยอํานาจตามความในข้อ 8 แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 3 นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางาน ในแต่ละวัน (Time Weighted Average-TWA) มิให้เกินมาตรฐานตามตารางแนบท้ายประกาศ โดยหน่วยวัดระดับเสียงดังที่ใช้ในประกาศนี้ใช้หน่วยเป็น dB(A)