Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Guillan Barre Syndrome แขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน (การวินิจฉัย (case (Case …
Guillan Barre Syndrome แขนขาอ่อนแรงเฉียบพลัน
พยาธิของโรค
แอนติเจน P2 มาเกาะที่ผนังเอนโดธีเลียม ของหลอดเลือดด้านนอก แล้วเคลื่อนย้ายเข้าข้างในหลอดเลือดแปลงร่างให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เส้นประสาทยังไม่ถูกทำลาย ต่อมาลิมโฟซัยต์จำนวนมากจะเคลื่อนไปยังเนื้อเยื่อรอบๆ แต่เส้นประสาท เกิดปฏิกิริยาแอนติเจนแอนติบอดี้ขึ้นโดยแอกซอนยังดีอยู่ ต่อมาเกิด mononuclear exudate โดยกลไกที่ยังไม่รู้ โรคก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จะมีเม็ดเลือดขาวมาจับกินชิ้นส่วนมัยอีลิน แอกซอนจะถูกทำลายทำให้กล้ามเนื้อ ซึ่งถูกเลี้ยงโดยแอกซอนเส้นนั้น ขาดประสาทบังคับ (ขาดตัวกระตุ้น) กล้ามเนื้อจะอ่อนแรง อัมพาตและเหี่ยวตามลำดับ
อาการและอาการแสดง
กลุ่มอาการ GBS ในระยะแรกมักเริ่มจากมีอาการเหน็บชา ตามส่วนล่างของร่างกาย เช่น หัวแม่เท้า เท้า และขา แล้วค่อย ๆ ลุกลามไปยังแขนและนิ้วมือ จากนั้นจึงเริ่มมีอาการอื่น ๆ ที่อาจสังเกตได้ ดังนี้
กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยมักเกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนล่างของร่างกาย เช่น บริเวณเท้าหรือขา แล้วลุกลามขึ้นไปยังส่วนบนของร่างกาย
เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใบหน้าและดวงตาได้ลำบาก ส่งผลให้พูด เคี้ยว และกลืนอาหารลำบากไปด้วย
เดินลำบาก ท่าเดินไม่มั่นคง มีอาการเซ หรือเดินขึ้นบันไดไม่ได้
มีอาการปวดตามร่างกายอย่างรุนแรง อาจรู้สึกเจ็บคล้ายเป็นตะคริว และอาจปวดมากขึ้นในช่วงกลางคืน
ปวดหลังช่วงล่างอย่างรุนแรง
กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่
หัวใจเต้นเร็ว
ความดันโลหิตสูงหรือต่ำกว่าปกติ
หายใจลำบาก
อัมพาต มักเกิดขึ้นกับร่างกายทั้งซีกซ้ายและซีกขวา
Case : ผู้ป่วยมาด้วย แขนขาอ่อนแรง ลิ้นเคลื่อนไหวไม่ได้ ปวดท้อง เจ็บหน้าอก เหงื่อออก มีอาการมากขึ้นเมื่อหายใจเข้า
สาเหตุ
เมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายหันมาทำลายเซลล์ประสาทของระบบประสาทรอบนอก ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางคอยแปลงสัญญาณจากสมองเพื่อส่งไปยังกล้ามเนื้อให้เคลื่อนไหวตามคำสั่ง เซลล์ประสาทจะเกิดการอักเสบและสูญเสียการทำงาน ส่งผลให้กล้ามเนื้อรับสัญญาณที่สมองส่งมาไม่ได้ สาเหตุได้แก่
การติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์เจจูไน (Campylobacter Jejuni) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียและเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่อาจก่อให้เกิดกลุ่มอาการ GBS ตามมา รวมถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารจากเชื้อโรคอื่น ๆ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV) โรคติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัส (Cytomegalovirus) โรคติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein-Barr Virus) โรคปอดอักเสบจากไมโคพลาสม่า (Mycoplasma Pneumonia)
วัคซีน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ แต่มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก
Case : มีประวัติป่วยด้วยโรคนี้มา 6 ปี ได้รับ IVIG มา 6 ปี
มีโรคประจำตัว DM
การวินิจฉัย
การเจาะน้ำไขสันหลัง (Spinal tap) : แพทย์จะแทงเข็มเข้าไปในหลังส่วนล่างเพื่อนำน้ำในไขสันหลังออกไปตรวจ
การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography) : เป็นการใช้เข็มปลายแหลมจำนวนหนึ่งแทงเข้าไปยังกล้ามเนื้อ เพื่อวัดการทำงานของเส้นประสาทในกล้ามเนื้อ
การตรวจความเร็วในการนำสัญญาณประสาท (Nerve conduction) : เป็นการใช้คลื่นไฟฟ้าสร้างความสั่นสะเทือนเล็กๆ บนผิวหนัง เพื่อวัดการทำงานของเส้นประสาท
case
Case ตรวจร่างกายพบ : ท้องผูก ท้องอืด กลั้นปัสสาวะไม่ได้ การทรงตัวไม่ดี เดินไม่ได้ ต้องได้รับการช่วยเหลือ มือแข็ง mortor powr ข้างซ้ายมากกว่าข้างขวา มีเจ็บหน้าอกตอนหายใจเข้า ไม่มีหนังตาตก ใบหน้าสมมาตรกัน แขนขาอ่อนแรงทั้งด้านบนและด้านล่าง ลิ้นแข็งเล็กน้อย
ได้รับการตรวจ Spinal tap : ผลพบว่า protein 889 mg/L
ได้รับการตรวจ Electromyography : ผลพบว่า มีปัญหาระบบประสาทเกี่ยวกับประสาทรับความรู้สึก
แพทย์วินิจฉัย : GBS
การรักษา
กลุ่มอาการ GBS ไม่มียาหรือวิธีรักษาเฉพาะ แต่ร่างกายคนเราสามารถเยียวยาตนเองให้หายได้ เพียงแต่ต้องใช้ระยะเวลา แนวทางการรักษาจึงทำโดยประคับประคองอาการไม่ให้แย่ลง เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ดังนี้
การแลกเปลี่ยนพลาสม่า (Plasmapheresis) มีจุดประสงค์เพื่อกำจัดแอนติบอดีผิดปกติในพลาสม่าที่เข้าทำลายเซลล์ประสาท โดยจะถ่ายเลือดออกจากร่างกายผู้ป่วยแล้วใช้เครื่องมือพิเศษแยกแอนติบอดีที่ผิดปกติออกจากเลือด จากนั้นจึงนำเลือดที่ปราศจากแอนติบอดีดังกล่าวกลับคืนสู่ร่างกาย
การบำบัดรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin Therapy) คือการรักษาด้วยการให้อิมมูโนโกลบูลิน ซึ่งนอกจากจะมีแอนติบอดีที่ดีต่อร่างกายเป็นองค์ประกอบแล้ว ยังมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการทำงานของแอนติบอดีที่ผิดปกติอีกด้วย อย่างไรก็ตาม วิธีรักษาด้วยการแลกเปลี่ยนพลาสม่าหรือการบำบัดด้วยอิมมูโนโกลบูลินนั้นมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน ซึ่งจะเลือกใช้วิธีใดก็ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์และความพอใจของผู้ป่วยเป็นหลัก
วิธีการรักษาอื่น ๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการทำกายภาพบำบัดในช่วงก่อนและระหว่างที่รอฟื้นตัว เพื่อสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ รวมทั้งอาจได้รับยาบรรเทาอาการปวดและป้องกันเกล็ดเลือดจับตัวเป็นลิ่มในระหว่างที่ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้
Case : IVIG 0.4 g/kg
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
พร่องกิจวัตรประจำวันเนื่องจากพยาธิสภาพของโรค
ข้อมูลสนับสนุน
DX : GBS
กลั้นปัสสาวะไม่ได้
การทรงตัวไม่ดี
เดินไม่ได้ ต้องได้รับการช่วยเหลือ
มือแข็ง แขนขาอ่อนแรง
mortor powr ข้างซ้ายมากกว่าข้างขวา
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน
ได้รับสารอาหารเพียงพอ
ร่างกายสะอาด
การพยาบาล
1.ประเมินอาการและอาการแสดงทางระบบประสาท
2.ประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย
3.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารอย่างพอเพียง ได้รับยาตามแผนการรักษา
4.ดูแลช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน ได้แก่ อาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย ดูแลสุขอนามัยต่างๆ
5.ดูแลให้ผู้ป่วยใส่สายสวนปัสสาวะ
6.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการทำกายภาพบำบัด
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการทรงตัวไม่ดีต้องมีผู้ช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน
ข้อมูลสนับสนุน
การทรงตัวไม่ดี
เดินไม่ได้ ต้องได้รับการช่วยเหลือ
มือแข็ง แขนขาอ่อนแรง
มองเห็นภาพซ้อน
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่ได้รับอุบัติเหตุ
การพยาบาล
1.ช่วยผู้ป่วยในการเคลื่อนไหว เช่น ลุกนั่ง พลิกตัว
2.ดูแลสังเหตุเฝ้าระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ไม่ให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรเพียงลำพัง ต้องมีผู้คอยช่วยเหลือ
3.อธิบายให้ญาติเข้าใจเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของผู้ป่วย เพื่อให้ญาติคอยช่วยเหลือกิจวัตรประจำวันผู้ป่วย