Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Guillan Barre Syndrome (อาการ (ผู้ป่วย (กล้ามเนื้ออ่อนแรง, ปวดท้อง,…
Guillan Barre Syndrome
พยาธิสภาพ
เกิดจากปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นภายหลังติดเชื้อไวรัส จะกระตุ้นปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบเฉพาะเจาะจงทั้งการสร้างแอนติบอดี (antibody) และทีลิมโฟไซต์ (T-lymphocyte) มาทำลายเชื้อโรคที่เป็นสิ่งแปลกปลอม แอนติบอดีที่สร้างขึ้น นอกจากจะมีผลทำลายเชื้อโรคแล้วยังมีผลทำลายปลอกหรือเยื่อหุ้มมัยอิลิน (Myelin sheath) ที่อยู่รอบๆ เส้นประสาท เมื่อเยื่อหุ้มมัยอิลินถูกทำลายจะกระตุ้นให้มีการสะสมของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ รวมทั้งทีลิมโฟไซต์และแมกโครฟาจ (Macrophage) ในบริเวณนั้นก่อให้เกิดการบวมและการอักเสบเฉียบพลันของเส้นประสาท ได้แก่ ประสาทส่วนปลาย (Peripheral nerves) รากประสาท (Nerve roots) ปมประสาท (Root ganglia) ประสาทสมองและไขสันหลัง ในขณะเดียวกันทีลิมโฟไซต์ที่เข้ามาทำลายเชื้อโรค จะมีผลทำลายเยื่อหุ้มมัยอิลินอย่างมากก็ยิ่งมีโอกาสให้แอดซอนถูกทำลายได้มากขึ้น และอาจลุกลามไปยังรากประสาทไขสันหลังและทำให้เส้นประสาทอักเสบเฉียบพลัน การมีเยื่อหุ้มมัยอิเลินหุ้มอยู่รอบเส้นประสาทเป็นช่วงๆ จะทำให้สัญญาณประสาทถูกนำส่งได้อย่างรวดเร็ว
-
สาเหตุ
การติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อแคมไพโลแบคเตอร์เจจูไน (Campylobacter Jejuni) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียและเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักที่อาจก่อให้เกิดกลุ่มอาการ GBS ตามมา รวมถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารจากเชื้อโรคอื่น ๆ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อเอชไอวี (HIV) โรคติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัส (Cytomegalovirus) โรคติดเชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein-Barr Virus) โรคปอดอักเสบจากไมโคพลาสม่า (Mycoplasma Pneumonia)
-
อาการ
ระยะแรกมักเริ่มจากมีอาการเหน็บชา ตามส่วนล่างของร่างกาย เช่น หัวแม่เท้า เท้า และขา แล้วค่อย ๆ ลุกลามไปยังแขนและนิ้วมือ
กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยมักเกิดขึ้นกับอวัยวะส่วนล่างของร่างกาย เช่น บริเวณเท้าหรือขา แล้วลุกลามขึ้นไปยังส่วนบนของร่างกาย
-
เดินลำบาก ท่าเดินไม่มั่นคง มีอาการเซ หรือเดินขึ้นบันไดไม่ได้
มีอาการปวดตามร่างกายอย่างรุนแรง อาจรู้สึกเจ็บคล้ายเป็นตะคริว และอาจปวดมากขึ้นในช่วงกลางคืน
-
-
-
-
การรักษา
การแลกเปลี่ยนพลาสม่า (Plasmapheresis) มีจุดประสงค์เพื่อกำจัดแอนติบอดีผิดปกติในพลาสม่าที่เข้าทำลายเซลล์ประสาท โดยจะถ่ายเลือดออกจากร่างกายผู้ป่วยแล้วใช้เครื่องมือพิเศษแยกแอนติบอดีที่ผิดปกติออกจากเลือด จากนั้นจึงนำเลือดที่ปราศจากแอนติบอดีดังกล่าวกลับคืนสู่ร่างกาย
การบำบัดรักษาด้วยอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin Therapy) คือการรักษาด้วยการให้อิมมูโนโกลบูลิน ซึ่งนอกจากจะมีแอนติบอดีที่ดีต่อร่างกายเป็นองค์ประกอบแล้ว ยังมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการทำงานของแอนติบอดีที่ผิดปกติอีกด้วย อย่างไรก็ตาม วิธีรักษาด้วยการแลกเปลี่ยนพลาสม่าหรือการบำบัดด้วยอิมมูโนโกลบูลินนั้นมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน ซึ่งจะเลือกใช้วิธีใดก็ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์และความพอใจของผู้ป่วยเป็นหลัก
วิธีการรักษาอื่น ๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จำเป็นต้องได้รับการทำกายภาพบำบัดในช่วงก่อนและระหว่างที่รอฟื้นตัว เพื่อสร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ รวมทั้งอาจได้รับยาบรรเทาอาการปวดและป้องกันเกล็ดเลือดจับตัวเป็นลิ่มในระหว่างที่ผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้
-
การวินิจฉัย
การเจาะน้ำไขสันหลัง (Spinal Tap หรือ Lmbar Puncture) คือการเจาะไขสันหลังช่วงล่างเพื่อนำของเหลวที่เรียกว่าน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังมาตรวจวัดระดับโปรตีน เนื่องจากผู้ป่วย GBS มักมีระดับโปรตีนในของเหลวชนิดนี้สูงกว่าปกติ
การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (Electromyography: EMG) คือการตรวจวัดสัญญาณไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อ เพื่อวินิจฉัยว่าอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นมีสาเหตุมาจากความเสียหายของระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อกันแน่
การตรวจการชักนำประสาท (Nerve Conduction Tests) คือการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กทดสอบการตอบสนองของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ
-
การพยาบาล
-
-
ประเมินอาการปวดของกล้ามเนื้อหดเกร็งการทำหน้าที่ของหัวใจรวมทั้งภาวะความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่าประเมินการหายใจเพื่อดูภาวะการหายใจลดลงประเมินประสาทโดยเฉพาะประสาทสมองคู่ที่ 9