Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Guillain-Barre Syndrome: GBS (อาการและอาการแสดง (ตามผู้ป่วย (เจ็บท้อง…
Guillain-Barre Syndrome: GBS
อาการและอาการแสดง
อาการด้านการเคลื่อนไหว (Motor) ผู้ป่วยที่เป็น GBS ปกติมาด้วยอาการอ่อนแรงหรือรู้สึกซ่าๆที่ขา เป็นอาการเริ่มต้น จะมีอาการอ่อนแรงแบบอ่อนปวกเปียก (Flaccid motor paralysis) ของกล้ามเนื้อทั้งสองข้างสมดุลกัน
2.อาการด้านการรับความรู้สึก (Sensation) โดยเริ่มมีอาการเหน็บชา(Tingling) เจ็บและปวดโดยเฉพาะปลายแขนและขา หลังจากนั้น 1-4 วัน จะมีอาการปวดกล้ามเนื้อและกดเจ็บโดยเฉพาะบริเวณไหล่ สะโพกและโคนขา อาการปวดอาจเริ่มด้วยอาการคล้ายเป็นตะคริวที่ส่วนปลายต่อมามีอาการอ่อนแรง ชา สูญเสียความรู้สึกต่อสัมผัสเบาๆ และสูญเสีย Reflex
3.อาการของเส้นประสาทสมอง โดยเฉพาะส่วนใบหน้า ประสาทสมองคู่ที่7 (Facial nerve) พบความผิดปกติบ่อยที่สุดมีความผิดปกติเส้นประสาทคู่ที่9 (Glossopharyngeal nerve) และเส้นประสาทคู่ที 10 (Vagus nerve)
อาการลุกลามของประสาทอัตโนมัติ ส่วน Medulla oblongata ที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่สำคัญและเส้นประสาท Vagus เกิดความผิดปกติร่วมด้วยจะเกิดอาการผิดปกติในระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งถือเป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วย GBS ได้แก่ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตไม่คงที่ หัวใจเต้นช้าหรือเร็ว หน้าแดง เหงื่อออก ปัสสาวะคั่งและท้องอืดจาก Paralytic ileus โรคนี้ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนเปลงของระดับความรู้สึกตัวหรือด้านความคิด ดังนั้นผู้ป่วยจะรู้ตัวดีและการรับรู้ดีตลอดเวลาที่เป็นโรค
ตามผู้ป่วย
เจ็บท้อง แขนขาอ่นแรง หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก
การวินิจฉัยโรค
การชักประวัติ ประวัติที่สำคัญคือ มีประวัติการติดเชื้อในทางเดินหายใจหรือทางเดินปัสสาวะในช่วง 1-4 สัปดาห์ก่อนเกิดอาการ
2.การตรวจร่างกาย จะพบความผิดปกติตามลักษณะของ GBS
การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ โดยการตรวจน้ำไขสันหลังเพี่อตรวจแยกโรค จะพบโปรตีน albumino-cytological dissociationสูง
ตรวจ EMG พบว่าความเร็วในการนำกระแสประสาทลดลง
ตามผู้ป่วย
การรักษาด้วยยา
การให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดหลังและขา ได้แก่ ยา Carbamazepine
การประเมิน สิ่งที่พยาบาลจำเป็นต้องประเมิน ได้แก่ การประเมินอาการปวดของกล้ามเนี้อที่หดเกร็ง การทำหน้าที่ของหัวใจ รวมทั้งภาวะความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่า (orthostatic hypotension) ประเมินการหายใจเพื่อดูภาวะการหายใจที่ลดลง ประเมินประสาทสมอง โดยเฉพาะประสาทสมองคู่ที่ 9 สำหรับ gag reflex
หลักการพยาบาล
ระยะก่อนถึงโรงพยาบาล*
และในหน่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยต้องการการดูแลเฝ้าระวังเกี่ยวกับ การดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง ลักษณะการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด การให้ออกซิเจน และการช่วยในการระบายอากาศซึ่งอาจมีความจำเป็นต้องใหัสารน้ำเพี่อเตรียมพร้อมในการช่วยหลือ โดยบุคลากรทางการแพทย์ควรเฝ้าติดตามความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ และต้องรีบส่งต่ออย่างเร่งด่วน
เมื่อถึงโรงพยาบาล ในหน่วยฉุกเฉินจำเป็นต้องติดตามการปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ การหายใจ ถ้ามีข้อบ่งชี้ว่าอาจมีการหายใจล้มหลว จำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจ โดยมีข้อบ่งชี้ที่เป็นอาการระเมินได้ ดังนี้ 1. ภาวะออกชิเจนในเลือดต่ำ 2. ลักษณะการหายใจลดลงอย่างรวดเร็ว 3. ไม่สามารถไอได้ 4. สงสัยว่ามีสาลัก
ข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน ว่ามีภาวะการหายใจล้มเหลว ได้เเก่ ค่า forced vital capacity (FVC) น้อยกว่า 15 m/Kg ความดันโลหิตลดลง มีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ จำเป็นต้องเฝ้าระวังอาการในหน่วย ICU เพื่อเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิดอย่างต่อเนื่อง
พยาบาลต้องตรวจวัดVital capacity ,Tidal volume หรือ Minute volume, ดูแลไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการจำกัดการเคลื่อนไหว,การดูแลปัญหาการขาดสารอาหาร
สาเหตุ
เชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิด enteritis ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิด GBS ได้เเก่ เชื้อ Campylobacter Jejuni (C. Jejuni)
เชื้อไวรัสที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิด GBS ได้เก่ Cytomegalovirus-(CMV), Epstein-Barr virus (EBV), HIV virus, Dengue virus และ Chikunggunya virus การได้รับวัคซีน Swine flu วัคซีนไข้หวัดใหญ่ influenza, type b diphtheria toxoid- conjugate ผู้ป่วย GBS จะมีระดับของ Tumor Necrotic Factors(TNF) ในซีรั่มสูงขึ้น และตรวจพบ antibodies ของ Anti-ganglioside
การวางแผนการจำหน่าย
ผู้ป่วยและญาติต้องการการเตรียมตัวในสิ่งต่างๆดังนี้ ต้องการได้รับความรู้เกี่ยวกับการดำเนินของโรค การบริหารจัดการเกี่ยวกับการหายใจ เช่น การดูแลแผลเจาะคอ การดูดเสมหะด้วยเครื่อง เป็นต้น การฝึกการจัดท่า การยกตัวและการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การฝึกการออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวข้อในทิศทางต่างๆ (ROM) การบริหารจัดการเกี่ยวกับอาหารและภาวะโภชนาการ การขับถ่าย การดูแลผิวหนัง การใช้อุปกรณ์ช่วยในการทำกิจกรรมต่างๆ
การประเมินความเสี่ยงขณะอยูที่บ้าน และแหล่งที่สามารถให้การช่วยเหลือเมื่อกลับไปอยู่บ้าน การส่งต่อกับพยาบาลเยี่ยมบ้านและสถานฟื้นฟูสภาพ ตลอดจนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นช่วยในการฟื้นฟูสภาพร่างกาย เช่น การนวดด้วยน้ำมันหอมระเหย เพื่อบรรเทาอาการปวด และใช้กระตุ้นการไหลเวียนและการทำงานของกล้ามเนี้อเป็นส่วนสำคัญของการฟื้นฟูสภาพในกลุ่มผู้ป่วย GBS
การดูแลด้านร่างกาย สิ่งแวดล้อม และแหล่งประโยชน์แล้ว การดูแลด้านจิตใจเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง พยาบาลจะต้องเข้าใจ ให้กำลังใจและต้องเสริมสร้างกำลังอำนาจให้กับผู้ป่วยและญาติ เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติเกิดกำลังใจในการดูแลตนเอง เพื่อการฟื้นหายต่อไป ซึ่งทั้งหมดนี้เพื่อให้ผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด