Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะสําลักขี้เทา Meconium aspiration syndrome: MAS (การพยาบาล…
ภาวะสําลักขี้เทา
Meconium aspiration syndrome: MAS
ความหมาย
อาการหายใจลําบากจากทารกสูดสําลักเอาขี้เทาที่อยู่ในน้ําคร่ําเข้าปอด ปกติ
ทารกในครรภ์จะมีการเคลื่อนไหวของทรวงอกตื้นๆ และไม่สม่ําเสมอตั้งแต่อายุประมาณ 24 สัปดาห์และมีความถี่ประมาณ 30-90 ครั้งต่อนาท
เมื่ออายุครรภ์ประมาณ 34 สัปดาห์ การเคลื่อนไหวของทรวงอกจะสม่ําเสมอมากขึ้น
อัตราการเคลื่อนไหวจะมีค่าประมาณ 40-60 ครั้งต่อนาที ในภาวะปกติจะไม่มีน้ําคร่ําเคลื่อนที่เข้าสู่ปอด แต่หากมีการขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์
เนื่องจากความผิดปกติของรกในการแลกเปลี่ยนก๊าซ จะกระตุ้นให้ทารกในครรภ์มีการหายใจเฮือก (gasping respiration) ทําให้น้ําคร่ําเคลื่อนที่เข้าสู่ปอดทารกได้
ใทารกที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้แก่ ทารกคลอดที่ครรภ์เกินกําหนด น้ําหนักแรกคลอดต่ํา การคลอดนานทางช่องคลอด มารดามี
ความดันเลือดสูงขณะตั้งครรภ์
ภาวะครรภ์เป็นพิษ และมารดามีน้ําหนักมากเกินกว่าปกติขณะตั้งครรภ์ เป็นต้น
สาเหตุ
ทารกสูดสําลักเอาขี้เทาที่อยู่ในน้ําครํ่ำ เข้าปอด ส่วนใหญ่เกิดจากเลือดไปเลี้ยงทารกผ่านสายสะดือน้อยลง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้เกิดภาวะนี้มีหลายสาเหตุ เช่น ในแม่ที่มีปัญหาจากการเจ็บป่วยบางอย่างที่มีผลกระทบไปยังการไหลเวียนของเลือดที่ไปที่ทารก
พยาธิสภาพ
การขาดออกซิเจนในระหว่างการคลอดทําให้ขี้เทาถูกบีบออกมาอยู่ในน้ําคร่ํา การหายใจที่เกิดขึ้นทําให้ทารกสําลักขี้เทาเข้าสู่ทางเดินหายใจ
หากขี้เทามีขนาดใหญ่จะอุดตันหลอดลมใหญ่ๆ ทําให้ขาดออกซิเจนรุนแรง
แต่หากการสําลักก้อนเล็กๆและกระจายอยู่ทั่วไปและอุดตันท่อหลอดลมเล็กๆจะเป็นการอุดตันอย่างสมบูรณ์
มีผลทําให้ถุงลมแฟบ แต่ถ้ามีกรณอีุดกั้นไม่สมบูรณ์จะทําให้เกิดภาวะ ball-valve mechanism อากาศผ่านเข้าได้แต่ออกไม่ได้
อากาศถูกกักอยู่ในถุงลม ทําให้บริเวณนั้นมีภาวะ hyperinflation เกิดภาวะ pneumothorax หรือpneumomediastinum
นอกจากนั้นขี้เทาที่กระจายอยู่ทั่วๆไปจะทําให้เกิดภาวะปอดอักเสบโดยทั่วไป อัตราการแลกเปลี่ยนก๊าซของถุงลมปอดและหลอดเลือดฝอยเสียไป
เกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ําลง มีคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น ทําให้เลือดเป็นกรดและแรงดันเลือดในปอดสูงขึ้น
อาการและการแสดง
อาการขึ้นกับความรุนแรงของปริมาณและขนาดของก้อนขี้เทาที่สําลักเข้าสู่ทางเดินหายใจ ความรุนแรง แบ่งเป็น 3 ระดับคือ
ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของเลือดเข้าสู่ภาวะปกติ อาการจะหายไปภายใน24ชั่วโมง
และ มักหายได้ภายใน 4-7 วัน หากไม่มีอาการแทรกซ้อน
อาจมีอาการเลือดขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง และไม่ดีขึ้นเมื่อให้ออกซิเจนเนื่องจากภาวะของแรงดันเลือดในปอดที่สูงมาก
รุนแรงน้อย ทารกจะมีอาการหายใจเร็วขึ้นเพื่อเพิ่ม minute ventilation ทําให้ความดันคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง
รุนแรงปานกลาง ทารกจะมีอาการของการกดการหายใจ คือ หายใจเร็ว ช่องซี่โครงยุบลงขณะหายใจ เขียวคล้ํา อาการจะค่อยๆทวีความรุนแรงและมีความรุนแรงสูงสุดภายใน 24 ชั่วโมง
รุนแรงมาก ทารกจะมีการหายใจล้มเหลวทันทีหลังคลอดหรือ 2-3 ชั่วโมงหลังคลอด อาการของ
กดการหายใจชัดเจนและฟังเสียงปอดได้ rhonchi และ crackle
การวินิจฉัยโรค
มีประวัติขี้เทาปนนํ้ำคร่ํา พบขี้เทาจากการดูดเสมหะ
หายใจลําบาก หายใจเร็วกว่า 60 ครั้งต่อนาทีหน้าอกโป่งกว่าปกติหรือ หอบจนอกบุ๋ม
ถ่ายภาพรังสีทรวงอก พบปอดท้ังสองข้างมีinfiltrates มีอากาศในปอดมากเกินไป(hyperaeration) กระบังลมจะถูกดันต่ําลง
การรักษา
เตรียมอุปกรณ์ในการดูดเสมหะและเครื่องมือในการใส่ท่อช่วยหายใจและอุปกรณ์ที่ให้ออกซิเจนให้พร้อมสําหรับทารกที่สามารถวินิจฉัยได้ว่ามีความเสี่ยงต่อการสําลักขี้เทา
ให้ใช้ลูกยางแดงดูดทางปากและจมูกเมื่อศีรษะ
ทารกพ้นจากช่องคลอด ดูดก่อนกระตุ้นให้ทารกร้อง
ในรายที่มีขี้เทาที่เหนียวและปริมาณมากจะใส่ท่อช่วยหายใจและดูดขี้เทาออกทางท่อช่วยหายใจ หลังจากดูดออกหมดแล้วหากทารกไม่หายใจควรให้แรงดันบวกผ่านทาง
ท่อช่วยหายใจ
หลังจากนั้นจะดูดขี้เทาจากกระเพาะอาหาร โดยการดูดจากสายยางให้อาหารผ่านทางจมูกหรือทางปาก (nasogastric or orogastric tube)
เพื่อป้องกันทารกสําลักเอาขี้เทาเข้าปอดอีกครั้งจากการอาเจียน
การรักษาอื่น เป็นการรักษาแบบประคับประคอง ได้แก่ ควบคุมอุณหภูมิกายให้เหมาะสม การให้สารน้ําทางหลอดเลือดดํา
รบกวนทารกน้อยที่สุด ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา การเคาะปอด ดูดเสมหะและการรกัษาด้วยออกซิเจน
การพยาบาล
ปัญหาการพยาบาล
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการหายใจ
ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง เคาะปอดเพื่อระบายเสมหะ และดูดเสมหะอย่างถูกวิธี
จัดให้นอนหงาย ใช้ผ้าหนุนคอและไหล่ เพื่อให้ทางเดินหายใจเปิดกว้าง
ดูแลให้ออกซิเจนที่มีความชื้นตามความจําเป็น
ดูแลให้ได้รับให้ยาขยายหลอดลม ยาขับเสมหะ ตามแผนการรักษา (ถ้ามี)
ดูแลให้ทารกได้รับการพักผ่อนมากท่สีุด หลีกเลี่ยงการรบกวนโดยไม่จําเป็น
มีโอกาสได้รับนํา้และสารอาหารไม่เพียงพอเนื่องจากภาวะหายใจลําบาก
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ทารกได้รับน้ําและสารอาหารเพียงพอ
เกณฑ์การประเมิน
รับนมได้ท้องไม่อืด ไม่อาเจียน น้ําหนักเพิ่ม หรือไม่ลดจากเดิม
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะได้รับสารน้ําและสารอาหารไม่เพียงพอ
ดูแลทารกให้ได้รับสารนํ้ำ สารอาหารทางหลอดเลือดดําตามแผนการรักษา
ดูแลให้นมทางสายยางให้อาหารเข้าสู่กระเพาะอย่างเพียงพอและถูกวิธี
บันทึกปริมาณสารน้ําสารอาหารเข้า-ออก
ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทําให้ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้น เช่นความไม่สุขสบายต่างๆ
เนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนเนื่องจากทางเดินหายใจอดุ กั้นจากการสูดสําลักขี้เทา
วัตถุประสงค์การพยาบาล เพื่อให้เนื้อเยื่อได้รับออหซิเจนเพียงพอ
เกณฑ์การประเมิน หายใจไม่หอบเหนื่อย อัตราการหายใจปกติ สีผิวกายแดงดี
ประเมินผล
หายใจไม่หอบเหนื่อย อัตราการหายใจปกติ สีผิวกายแดงดี
ชั่งน้ําหนักเพื่อประเมินการได้รับสารอาหารวันละครั้ง
การประเมินผล
รับนมได้ท้องไม่อืด ไม่อาเจียน น้ําหนักเพิ่ม หรือไม่ลดจากเดิม