Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บาดแผลไหม้ (Burns) (ประเมินโดยใช้ความกว้างหรือขนาด
ของแผลไหม้ (Extent of…
บาดแผลไหม้ (Burns)
-
1 First degree burn (1O burn) มีการท้าลายเฉพาะชั้นหนังก้าพร้า ผิวหนงับริเวณนั้น จะมสีีชมพหูรือสี แดง มีความนุ่ม ไม่มีตุ่มพอง มี อาการปวดแสบ แผลหายได้เองภายใน 3-5 วัน
การพยาบาล
โดยล้างแผลด้วยน้ำเกลือที่ปราศจากเชื้อ และถ้ามีคราบเขม่าติดแน่น อาจใช้สบู่ช่วยล้างออกถ้าผนังของถุงน้ำ ยังไม่แตก ให้ใช้เข็มที่ปราศจากเชื้อเจาะและดูดเอาน้ำออก และเก็บผนังของถุงน้ำทิ้งไว้เป็น biologic dressing ห้ามถูแผลแรงๆ เพราะจะทำให้มีการบาดเจ็บ เพิ่มขึ้น หลังจากล้างแผลแล้ว ใช้ผ้าที่ปราศจากเชื้อซับน้ำให้แห้ง ให้ยาปฏิชีวนะชนิดทาและให้ยากันบาดทะยัก
- Second degree burn (2O burn) โดยจะแบง่เป็น 2 ระดับ
-Superficial partial thickness จะมีการทำลายชั้นหนังกำพร้าทั้งหมดและบางส่วนของ หนังแท้ ผิวจะมสีแดง มีตุ่มพอง ปวดแสบมาก ระยะ เวลาในการหายของแผล ประมาณ 7-14 วัน มีแผลเป็น
-Deep partial thickness มีการท้าลาย ของชั้นหนังก้าพร้าทั้งหมด ส่วนมากของหนังแท้จะ ถูกท้าลาย แต่ ยังคงมีเหลืออยู่บ้างทงี่อกขึ้นมาทดแทน กลบัคืนเป็นผิวหนงัได้ สีผิวจะเป็นสีขาว ซีด ตุ่มพองมีน้อยหรือแฟบ ความรู้สึกปวดแสบลดลง ระยะเวลาในการหายของแผลประมาณ 14-28 วัน จะเป็นแผลเป็นมาก
การพยาบาล
แผล Second degree burn ขนาดกว้างมากกว่า 3% หรือแผล Third degree burn ควรทาแผลด้วย topical chemotherapeutic agent แล้วปิดทับด้วย non adherent dressing และ ผ้าก๊อซหลายๆ ชั้น และควรเปิดแผลดูและเปลี่ยน dressing หลังจากนั้น 24-48 ชั่วโมง ถ้าแผลไม่มีอาการ ติดเชื้อก็ทิ้งไว้นาน 2-3 วัน จึงเปลี่ยนแผลอีกครั้ง ถ้าแผลไม่หายเองภายใน 3 อาทิตย์และมีขนาดใหญ่ควรทำ skin graft
แผล Second degree burn ขนาดไม่กว้าง หลังจากล้างแผลแล้ว ทายาลงบนแผล และปิดทับด้วย non adherent dressing หรือปิดแผลด้วย biologic dressing เลย แล้วใช้ผ้าก๊อซหลายๆ ชั้นปิดทับอีกครั้ง
มื่อแผลหายดีแล้วต้องระวังไม่ให้ถูกแสงแดด 3-6 เดือน และใช้น้ำมันมะกอก (olive oil) ทาที่ผิวหนัง เพื่อลดอาการแห้งและคัน สำหรับแผลที่หาย โดยใช้เวลามากกว่า 3 อาทิตย์ หรือแผลที่หายหลังจากทำ skin graft แนะนำให้ใช้ pressure garment เพื่อป้องกัน hypertrophic scar
- Third degree burn (3O burn) หรือ Full thickness ผิวหนังถูกทำลายทกุชั้น ทั้ง ชั้นหนังกำพร้า หนังแท้ โดยอาจลึกถึงชั้นกล้ามเนื้อ หรือกระดูก แผลไหม้จะมีลกัษณะขาว ซีด เหลือง ดำ หนาแข็ง ไม่มีอาการเจ็บปวด การหายของแผล ต้องใช้เวลานาน และต้องท้า skin graft ร่วมด้วย จะมีการดึงรั้งของแผลทำให้ข้อยึดติด เมื่อหาย แล้ว จะเป็นแผลเป็น
การยาบาล
การดูแลในช่วงแรกรับที่ห้องฉุกเฉิน
ต้องแน่ใจว่าคนไข้มีทางเดินหายใจโล่งสะดวกดี ให้อ็อกซิเจนแก่คนไข้โดยใช้ humidified Oxygen 40% ถ้าคนไข้ได้รับบาดแผลไฟไหม้ในห้องที่ปิดทึบ มีการระบายอากาศไม่ให้ประเมินว่าคนไข้มี inhalation injury หรือไม่ ถ้ามีหรือสงสัยให้พิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจ (endotracheal tube)แต่ควรเลี่ยงการทำ Tracheostomy ให้มากที่สุด
แทงหลอดเลือดดำเพื่อให้น้ำเกลือด้วยเข็ม plastic ขนาดเบอร์ 18 หรือขนาดใหญ่กว่านี้ ควรเลือกผิวหนังส่วนที่ปกติ ถ้าหาหลอดเลือดดำไม่ได้ ควรแทง percutaneous central venous catheter ซึ่งถ้าจำเป็นก็สามารถแทงผ่านบริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลไฟไหม้ได้ ไม่ควรทำ venesection เพราะพบว่ามีโอกาสติดเชื้อที่แผลผ่าตัดได้ง่าย
ให้สารละลาย Ringer lactate solution โดยในชั่วโมงแรกเริ่มที่อัตรา 4 มล. ต่อน้ำหนักของคนไข้ (กิโลกรัม) ต่อเปอร์เซนต์ของบาดแผลไฟไหม้ ใส่สายสวนปัสสาวะ เพื่อตรวจและวัดปริมาณปัสสาวะ ถ้าคนไข้ได้รับ fluid เพียงพอ ควรจะมีปัสสาวะประมาณ 0.5-1 มล. ต่อน้ำหนักของคนไข้ (กิโลกรัม) ในระยะเวลา 1 ชั่วโมง
ถ้าคนไข้มีบาดแผลไฟไหม้มากกว่า 20% ของพื้นผิวหนังทั้งหมดของร่างกาย ให้ใส่สาย nasogastric ไว้ด้วย เพื่อ decompress กระเพาะอาหารและใช้สำหรับให้อาหารในเวลาต่อมา
ถ้าคนไข้มีอาการปวดแผลมาก สามารถให้ Narcotics ได้ในขนาดน้อยๆ ทางหลอดเลือดดำ
ถ้ามีบาดแผลไฟไหม้ลึกรอบแขนหรือขา จะต้องตรวจดูบริเวณปลายนิ้วว่ามีเลือดไปเลี้ยงเพียงพอหรือไม่ อาจต้องพิจารณาทำ Escharotomy ถ้าพบว่ามีการบวมและขาดเลือดไปเลี้ยงของปลายนิ้ว ซึ่งต้องทำก่อนจะทำการย้ายคนไข้ไปยังโรงพยาบาลอื่น บาดแผลไฟไหม้ที่ลึก บริเวณรอบทรวงอก จะทำให้การขยายตัวของทรวงอกลดลง ซึ่งจะต้องทำ Escharotomy เพื่อให้คนไข้หายใจได้สะดวก
-