Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Brochopulmonary dysplasia (BPD) โรคปอดเรื้อรัง (การพยาบาล (3…
Brochopulmonary dysplasia (BPD)
โรคปอดเรื้อรัง
สาเหตุ
1.พิษของออกซิเจน (oxygen toxicity) ขึ้นอยู่กับควมเข้มข้นของออกวซิเจนที่ได้รับ ระยะเวลาที่ทางเดินหายใจสัมผัสกับออกซิเจน พิษของออกซิเจนส่วนใหญ่จะเกิดกับเยื่อบุหลอดลม ทำให้ส่วนที่เรียกว่า cilia ทำงานไม่ไม่ดี
2.บาดแผลจากแรงดัน (Barotrauma) มีผลต่อเนื้อปอดโดยเฉพาะปอดที่แข็งหรือไม่ยืดหยุ่น ส่งผลให้ปอดขยายตัวมากกว่าปกติและถุงลมแตก
ความหมาย
ภาวะโรคปอดเรื้อรังที่เกิดจากเนื้อเยื่อปอดถูกทำลายจากออกซิเจนและแรงดันบวกสูงเป็นระยะเวลานาน มากกว่า 30 วัน
การพยาบาล
3.ดูแลให้ทารกได้รับออกซิเจนตามแผนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย
4.ดูแลจัดการให้ทารกนอนศีรษะสูง
2.ปฏิบัติการพยาบาลทุกอย่างด้วยความนุ่มนวล ในเวลาเดียวกันเพื่อลลดการใช้ออกซิเจน
5.ดูดเสมหะเมื่อจำเป็น
1.ประเมินอาการเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เช่น หายใจลำบาก มีภาวะซีด ริมฝีปาก มือและเท้าคล้ำ
6.ดูแลให้ทารกได้ยาขับปัสสาวะตามแผนการรักษา
7.ดูแลให้ทารกได้รับยาขยายหลอดลมตามแผนการรักษา
การวินิจฉัย
สามารถวินิจฉัยได้เมื่อหายจากโรคปอดชนิดเฉียบพลันแล้ว แต่ไม่สามารถยกเลิกการใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยต้องใช้ออกซิเจนต่อเนื่องเป็นเวลานานไม่น้อยกว่า 30 วัน
การรักษา
4.การให้อาหารเเละการจำกัดน้ำ
5.ป้องกันการติดเชื้อ
2.การใส่เครื่องช่วยหายใจ การใส่ท่อหลอดลมที่คอทำให้ดูดเสมหะได้ง่ายขึ้น ทารกใช้แรงหายใจลดลง ช่วยให้หลอดลมไม่ตีบ
6.รักษาภาวะแทรกซ้อนที่พบร่วมด้วย
3.การรักษาด้วยยา
ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ออกฤทธิ์ลดการอักเสบของปอดที่เกิดจากเครื่องช่วยหายใจหรือพิษจากออกซิเจน
ขาขับปัสสาวะ ทำให้อาการทางปอดดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ปริมาณน้ำในปอดลดลง
1.การให้ออกซิเจน ออกซิเจนเป็นปัจจัยการเกิด BPD แต่ก็จำเป็นในการรักษา BPD เนื่องจากหลอดเลือดฝอย arterioles ของปอดจะตีบตัวหากมีภาวะขาดออกซิเจน มีผลทำให้หัวใจด้านขวาทำงานมากขึ้น จึงต้องให้ทารกได้รับออกซิเจนความเข้มข้นต่ำสุด แต่ได้รับเพียงพอคงระดับแรงดันออกซิเจนในเลือดแดงไว้ที่ 50-60 มิลลิเมตรปรอท
พยาธิสภาพ
การทำลายเนื้อเยื่อปอดจากความดันบวกและออกซิเจนความเข้มข้นสูง
ระยะที่ 2 พบใน 3-4 วันต่อมา มีการตายของเซลล์เยื่อบุถุงลม (alveolar epithelium cell) ร่วมกับเซลล์กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลมฝอย กลายเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ (bronchiolar smooth muscle metaplasia) ทำให้มีการระบายอากาศของปอดลดลง
ระยะที่ 3 เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ bronchioles อย่างต่อเนื่อง มีพังผืดบริเวณระหว่างเซลล์ (interstitial fibrosis) พบตุ่มพองลมในเนื้อเยื่อปอด (emphysematous bullae)
ระยะที่ 1 Exudative phase พบในระยะแรกของโรคประมาณวันที่ 1 หรือ 2 จะมีการสร้าง Hyaline membrane ขึ้นมารอบๆถุงลม
ระยะที่ 4 พบใน 1 เดือน ระยะนี้จะเกิดภาวะ fibrosis ของถุงลมปอดสลับกับตุ่มพองลมเป็นจำนวนมาก ทำให้แรงดันบวกที่ปอดสูงมากขึ้น การระบายอากาศและการแลกเปลี่ยนก๊าซเป็นไปด้วยความลำบากมากขึ้น
อาการเเละอาการเเสดง
หายใจแรงขึ้น
หายใจเร็วขึ้นและระยะเวลาของการหายใจออกยาวขึ้น
หายใจลำบาก
ฟังปอดอาจได้ยินเสียง rhonchi หากมีเสมหะจะได้ยินเสียง crakle