Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความสำคัญของโภชนาการต่อสุขภาพและการคำนวณปริมาณและพลังงานสารอาหาร…
ความสำคัญของโภชนาการต่อสุขภาพและการคำนวณปริมาณและพลังงานสารอาหาร
ความหมายและความสำคัญของโภชนาการต่อสุขภาพ
ความหมายของอาหารและโภชนาการ
อาหาร คือ สิ่งที่ รับเข้าสู่ร่างกายโดยวิธี การดื่ม การกิน การฉีด จำแนกอาหารออกเป็น 5 หมู่
หมู่ 1 เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง
หมู่ 2 ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก
หมู่ 3 ผักต่างๆ
หมู่ 4 ผลไม้ต่างๆ
หมู่ 5 ไขมันต่างๆ
ความหมายของสารอาหาร
จำเป็นต่อร่างกายเพื่อการเจริญเติบโตในวัยทารกและเด็ก รักษาคงสภาพและหน้าที่ของร่างกายในวัยผู้ใหญ่ สารอาหารมีทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ
ความหมายของภาวะโภชนาการ
คือสภาวะสุขภาพของบุคคลที่มีผลมาจากรับประทานอาหาร การย่อย การดูดซึม การขนส่ง การสะสม เเบ่งเป็น
ภาวะโภชนาการดี
เป็นภาวะที่ได้รับสารอาหารปริมาณเพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ
ภาวะโภชนาการไม่ดี
ภาวะ ทุพโภชนาการ คือภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอหรือได้รับพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ
ภาวะโภชนาการขาด
เป็นภาวะที่ได้รับสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดไม่เพียงพอตต่อความต้องการ
ภาวะโภชนาการเกิน
ร่างกายได้รับสารอาหารหลายชนิดเกินความต้องการ และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการ
ความสำคัญของโภชนาการกับสุขภาพ
เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต ทำให้ร่างกายทำงานได้อยย่างปกติ ตั้งแต่ทารกในครรภ์มารดาไปจนถึงวัยสูงอายุ รับประทานอาหารที่ปลอดภัย มีพัฒนาการที่สมวัย สุุขภาพร่างกายแข็งแรง
ด้านสุขภาพกาย
ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ความสูงขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและการรับประทานอาหาร ร่างกายจะสูงใหญ่ตามลักษณะทางพันธุกรรม ถ้ารับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการรูปร่างก็เจริญเติบโตไม่เต็มที่
ด้านสุขภาพจิต
ทำให้จิตใจแข็งแรง มีความมั่นคงในอารมณ์ แจ่มใสกระตือรือร้น วุฒิภาวะทางอารมณ์เจริญเร็วกว่าผู้มีภาวะโภชนาการไม่ดี
ชนิดและคุณค่าของสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
คาร์โบไฮเดรต
ทำหน้าที่ให้พลังงาน
โมโนแซคคาไรด์
เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว มีโมเลกุลเล็ก ดูดซึมผ่านผนังลำไส้โดยไม่ผ่านการย่อย
ไดแซคคาไรด์
เมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายจะย่อยเป็นโมโนแซคคาไรด์ก่อนจึงจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
โอลิโกแซคคาไรด์
ปรระกอบด้วยโมโนแซคคาไรด์ตั้งแต่ 3 -10 โมเลกุล
โพลีแซคคาไรด์
เป็นโมโนแซคคาไรด์ตั้งแต่ 10 โมเลกุลขึ้นไป
โพลีแซคคาไรด์ชนิดที่ย่อยได้
ได้แก่ แป้ง พบในพืชและไกลโคเจน
โพลีแซคคาไรด์ชนิดที่ย่อยไม่ได้
เกิดขึ้นตามผนังเซลล์พืช พบมากตามใบผัก เปลือกนอกกของผลไม้
หน้าที่และความสำคัญของคาร์โบไฮเดรต
ให้พลังงานแก่ร่างกาย สงวนคุณค่าของโปรตีนไว้ไม่ให้เผาผลาญเป็นพลังงาน ช่่วยให้การเผาผลาญไขมันในร่างกายเป็นไปตามปกติ ช่วยร่างกายทำลายสารพิษ คาร์โบไฮเดรตในรูปเส้นใยอาาหารจะช่วยอุ้มน้ำและเพิ่มมวลอุจจาระในการขับถ่ายปกติ
โปรตีน
เป็นสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้
โปรตีนสมบูรณ์
ประกอบด้วยกรดอมิโนจำเป็นแก่ร่างกาายครบทุกชนิด มีปริมาณพอเหมาะต่อความตต้องการของร่างกาย
โปรตีนไม่สมบูรณ์
ประกอบด้วยกรดอมิโนจำเป็นต่อร่างกายแต่ไม่ครบทุกชนิด โปรตีนที่พบในพืช ส่วนใหญ่เป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์
หน้าที่และความสำคัญของโปรตีน
จำเป็นต่อการเจริญเติบโต สร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ควบคุมสมดุลน้ำในร่างกาย ควบคุมการทำงาน รักษาสมดุลกรดด่างงของร่างกาย
ไขมัน
ของเหลวที่อยู่ในอุณหภูมิห้องปกติ เรียกว่า น้ำมัน (oil)
การจำแนกไขมันตามบทบาทและหน้าที่ในร่างกาย
ไตรกลีเซอไรด์
ฟอสฟอลิปิด
โคเลสเตอรอล
หน้าที่และความสำคัญของไขมัน
ไขมันในอาหารช่วยให้มีรส กลิ่น อิ่มได้นาน ช่วยในการดูดซึมวิตามิน ปกป้องและกัดความร้อนควบคุมอุณหภูมิร่างกาย
ชนิดและคุณค่าของสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
วิตามิน
เป็นสารประกอบที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว เป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย วิตามินแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ วิตามินที่ละลายในไขมัน และ วิตามินที่ละลายในน้ำ
วิตามินที่ละลายน้ำในไขมัน
วิตามินเอ
ช่วยในการมองเห็น
วิิตามินดี
ป้องกันนโรคกระดูกอ่อน มีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม
วิตามินอี
เป็นสารต้านอนุมูลอิิสระ
วิตามินเค
ทำหน้าที่่เกี่ยวกับกระบวนกาารแข็งตัวของเลือด
วิตามินที่ละลายในน้ำ
วิตามิินบี 1
ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในกระบวนการย่อยออาาหาร
วิตามินบี 2
ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต
ไนอาซิน
กรดนิโคตินิก หรือ
วิตามินบี 3
ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์เกี่ยวกับระบบเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและไขมัน
กรดแพนโทเทนิก
หรือ
วิตามินบี 5
ทำหน้าที่เป็นโคเอนไซม์ในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน
วิตามินบี 6
เผาผลาญโปรตีน ทำหน้าที่สร้างฮีโมโกลบิน สร้างภูมิคุ้มกัน
ไบโอติน
หรือ
วิตามินบี 7
ทำหน้าที่สังเคราะห์ไขมันและกรดอมิิโน
โฟเลต
หรือ
โฟลิก
หรือ
วิตามินบี 9
ช่วยสังเคราะห์กรดนิวคลีอิก และสร้างเม็ดเลือด
วิตามินบี 12
มีส่วนสร้างเซลล์โดยเฉพาะไขกระดูก และระบบประสาทส่วนกลาง และระบบทางเดินอาหาร
วิิตามินซี
ร่างกายต้องการเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
เกลือแร่
เป็นสารที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย เกลือแร่แบ่ง 2 ประเภท คือ เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการจำนวนมาก และ เกลืออแร่ที่ร่างกายต้องการจำนวนน้อย
เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการจำนวนมาก
แคลเซียม
พบมากในร่างกาย เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน
ฟอสฟอรัส
เป็นเกลือแร่อันดับ 2 ในร่างกาย อยู่ที่กระดูกและฟัน
โพแทสเซียม
ช่วยรักษาสมดุลกรดด่าง ควบคุมสมดุลของน้ำ กระตุ้นการหดตัวของกล้าามเนื้อ ทำให้หัวใจเต้นปกติ
โซเดียม
รักษาสมดุลกกรดด่าง ทำหน้าที่ร่วมกับโพแทสเซียมในการควบคุมสมดุลน้ำ
เเมกนีเซียม
ทำงานร่าวมกับแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินดีในการสร้างกระดูก
กำมะถัน
มีกลิ่นเฉพาะตัว เป็นเกลือแร่แห่งความงาม มมีส่วนช่วยในการรักษาผิวให้ดี กระจ่างใส
เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการจำนวนน้อย
เหล็ก
แร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง
ไอโอดีน
ช่วยในการทำงานของต่อมไทรอยด์ ควบคุมอัตราการเผาผลาญของร่างกาย
ซีลีเนียม
เป็นเกลือแร่ที่เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ในระบบต้านอนุมูลอิสระ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย ควบคุมสุขภาพสายตา ผิวหนัง เส้นผม
แมงกานีส
มีีความสำคัญต่อการเผาผลาญสารอาหาร ช่วยในการสังเคราะห์กรดไขมันและโคเลสเตอรอล ช่วยในการทำงานของอินซูลิน ควบคุมการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
โครเมียม
มีความสำคัญในกระบวนการเผาผลาญกลูโคส กระตุ้นการสังเคราะห์กรดไขมัน
ทองแดง
เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญโปรตีนและผลิตกรดไรโบนิวคลีอิก ช่วยในการสร้างเนื้อหนังขึ้นใหม่
สังกะสี
ควบคุมให้กระบวนการต่างๆของร่างกายดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยบำรุงซ่อมแซมเอนไซม์และเซลล์ต่างๆ
น้ำ
เป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่ร่างกายขาดไม่ได้
หน้าที่และความสำคัยของน้ำ
ช่วยในการทำงานของเซลล์ และช่วยกระจายและนำพาสารอาหารไปส่วนต่างๆของร่างกาย เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างเซลล์ ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย และเป็นสารหล่อลื่นในร่างกายป้องกันการเสียดสีของอวัยวะภายใน
ความต้องการน้ำของร่างกาย
แต่ละวันร่างกายสูญเสียน้ำประมาณ 1,450-2,800 มิลลิลิตร ร่างกายจะได้รับน้ำปกติจากการเผาผลาญประมาณวันละ 200-300 มิลลิลิตร ได้รับน้ำจากการดื่มประมาณ 500-1,500 มิลลิิลิตร น้ำในอาหารที่รับประทาน 700-1,000 มิลลิลิตร จึงจะสมดุล
ปริมาณพลัังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน
ร่างกายควรได้รับจากการบริโภคออาหารตต่ออวันสำหรับคนทั่วไปที่ทำงานหนักปานกลาง คือ ประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี