Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม…
บทที่ 6 การใช้กระบวนการพยาบาลในการช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาทางจิตสังคม
6.4 ผู้ที่มีพฤติกรรมไม่เป็นมิตร(Hostility)
ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เป็นมิตร
มีพฤติกรรมการทำลาย (Destructive)บุคคล มีทัศนคติที่ถูกสะสมมาเรื่อย ๆ มีความคงทนเปลี่ยนไปได้ยากและเป็นปฏิกิริยาการตอบสนองที่รุนแรง ซับซ้อนโดยมีแต่ความเกลียดชัง อิจฉา ริษยา และมีความต้องการที่มักจับจ้องจะทำลาย
สาเหตุและกลไกทางจิต
ความไม่เป็นมิตรมักถูกปลูกฝังตั้งแต่วัยทารก ส่งผลให้บุคคลเรียนรู้ที่จะเก็บซ่อนความคิด ความรู้สึกข่มความขมขื่น หรือเก็บกดสิ่งที่ตนเองต้องการเอาไว้และเกิดความคับข้องใจของตนเอง มักจะส่งผลให้บุคคลนั้น รับรู้การมีคุณค่าในตนเองต่ำ เกิดการสะสมความคับข้องใจในตนเองมากขึ้น
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล
การประเมินปัญหาทางการพยาบาล
การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย
เช่น ความดันโลหิตสูง ชีพจรเต้นเร็ว หายใจถี่ขึ้น กล้ามเนื้อเกร็งผิวแดงคลื่นไส้อาเจียน ปากแห้ง คอแห้ง เหงื่อออกตามร่างกาย เป็นต้น
ด้านคำพูด
เช่น การพูดกระทบกระเทือน ส่อเสียด ดูถูกข่มขู่โต้แย้ง และอาจรุนแรงถึงการดุด่า พูดจาชวนทะเลาะ
ด้านพฤติกรรม
เช่น ท่าทีเฉยเมย ต่อต้าน เงียบ เชื่องช้า ไม่ยอมสบตา เดินหนีหรือกำหมัดแน่น หรือบางรายมักจะแสดงพฤติกรรมรุนแรง เช่น ทำร้ายร่างกายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ หรือบางรายอาจแสดงพฤติกรรมแอบแฝง เช่น ทำตัวอ่อนหวาน น้อมน้อมเกินไป เป็นต้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวินิจฉัยทางการพยาบาลจะมุ่งเน้น ที่การประเมินด้านร่างกาย และด้านสติปัญญา สิ่งที่ต้องพิจารณาคือปัจจัยต้น เหตุที่กระตุ้น หรือมีอิทธิพลทำให้บุคคลนั้น เกิดความรู้สึกไม่เป็นมิตร
กิจกรรมทางการพยาบาล
3.1 พยาบาลต้องเร่งดำเนินการวิเคราะห์ว่าบุคคลมีภาวะความไม่เป็นมิตรหรือไม่เพื่อจะให้การพยาบาลไดอ้ย่างทันท่วงที
3.2 การจัดการกับสิ่งแวดล้อมและบุคคลรอบข้างเพื่อป้องกันอันตราย พยาบาลสามารถทำได้ดังนี้
-อาจจัดห้องแยกให้จำกัดพฤติกรรมในกรณีที่มีพฤติกรรมรุนแรง
เตรียมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างฉุกเฉิน
ทีมสุขภาพต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะความไม่เป็นมิตร
พยาบาลต้องอยู่ในอารมณ์ที่สงบ สุขุม เยือกเย็น แต่ฉับไวให้การยอมรับพฤติกรรมของบุคคลนั้นลดสิ่งกระตุ้นยั่วยุอารมณ์ให้เกิดความไม่เป็นมิตร
3.3 เปิดโอกาสให้บุคคลนั้น ๆได้ระบายความรู้สึกคับข้องใจ ความไม่พอใจ หรือความไม่เป็นมิตร สนับสนุนให้บุคคลดังกล่าวได้พิจารณาการกระทำของตนเองและการเรียนรู้การควบคุมตนเอง
เปิดโอกาสให้บุคคลนั้น ๆได้ระบายความรู้สึกคับข้องใจ ความไม่พอใจ หรือความไม่เป็นมิตร สนับสนุนให้บุคคลดังกล่าวได้พิจารณาการกระทำของตนเองและการเรียนรู้การควบคุมตนเอง
6.5 ผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว(Aggression)
พฤติกรรมก้าวร้าวเป็นพฤติกรรมการแสดงออกจากการมีความโกรธเกิดขึ้นอาจแสดงออกทางคำพูดและจากการกระทำจากเล็กน้อยจนถึงขั้นรุนแรง ดังนั้นพยาบาลควรประเมินและให้ผู้ป่วยที่มีความโกรธได้ระบายออกมาในทางที่เหมาะสม แนะนำให้ผู้ที่มีความโกรธให้มีวิธิีการจัดการกับอารมณ์ที่เหมาะสม ในกรณีที่บุคคลนั้นมีพฤติกรรมก้าวร้าวพยาบาลควรแนะนำให้ทีมเจ้าหน้าที่ในทีมสุขภาพเข้าช่วยจับผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวเพื่อควบคุมสถานการณ์และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล ทีมสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมรอบข้างได้
อารมณ์โกรธ (Anger)
หมายถึง เป็นอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ที่เกิดจากการถูกปิดกั้นจากความต้องการ มีระดับความรุนแรงตั้งแต่ระดับความรู้สึกขุ่นเคืองใจจนถึงระดับ ที่แสดงออกถึงความเกี้ยวกราด
พฤติกรรมก้าวร้าว (Aggression)
หมายถึง พฤติกรรมการแสดงที่เกิดจากอารมณ์โกรธ วิตกกังวล รู้สึกผิด คับข้องใจ มีจุดมุ่งหมายที่จะคุกคามหรือทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บหรือสิ่งแวดล้อมได้รับความเสียหายอาจจะทั้งคำพูดหรือการกระทำ
ลักษณะของผู้ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว
1
. พฤติกรรมกา้วร้าวทางคำพูด :
ใช้คำพูดตำหนิติเตียน วิพากษ์วิจารณ์พูดในแง่ร้าย เสียง
ดังขู่ตะคอกเอะอะอาละวาด วางอำนาจ วาจาหยาบคาย
2. พฤติกรรมกา้วร้าวแสดงออกทางร่างกาย
2.1 พฤติกรรมก้าวร้าวทำลายสิ่งของได้แก่ทุบทำลายสิ่งของเครื่องใช้ทุบกระจก
จุดไฟเผา ปิดประตูเสียงดัง
2.2 พฤติกรรมก้าวร้าวทำร้ายคนอื่น หาเรื่องวิวาททำร้าย และละเมิดสิทธิผู้อื่น
โดยการกัดการตีการผลัก และการใชอ้าวธุ ทำร้ายคนอื่นใหไ้ดร้ับบาดเจ็บ
2.3 พฤติกรรมกา้วร้าวทำร้ายตนเอง เช่น การหยิกข่วนตนเองการใช้มีดกรีดข้อมือ
ตนเองการดึงผม จุดไฟเผาตนเองการฆ่าตัวตาย เป็นต้น
สาเหตุ
ปัจจัยทางด้านชีวภาพ (Biological factors)
1.1 ระดับความผิดปกติของสารเคมีในสมอง เช่น serotonin, dopamine และ norepinephrine เพิ่มหรือลดลงการได้รับอุบัติเหตุทางศีรษะและการมีเนื้องอกที่สมอง เป็นต้น
1.2 การเจ็บป่วยด้วยโรคทางร่างกาย เช่น ระดับน้ำตาลในเลือดต่า เยื่อหุ้มสมอง
อักเสบ และโรคสมองเสื่อม เป็นต้น
ปัจจัยทางด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
2.1 ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)กล่าวว่า ความก้าวร้าวเป็นสัญชาติญาณหนึ่งของมนุษย์ที่แสดงออกของความโกรธ ซึ่งถ้าหนีความโกรธเข้าสู่ตนเองจะส่งผลให้บุคคลดังกล่าวมีอารมณ์เศร้าได้
2.2 ทฤษฏีทางด้านจิตวิทยา (Psychological Theory)กล่าวว่าพฤติกรรมก้าวร้าวเกิดจากการไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน (basic needs) ส่งผลให้เกิดภาวะคุกคามต่อการมีชีวิตอยู่ของบุคคลน้ัน อาจจะเป็นสาเหตุให้บุคคลตอบสนองไปในวิธีการก้าวร้าว
2.3 ทฤษฎีทางด้านสังคมวิทยา (Sociocultural Theory) จากการศึกษาเด็กที่มีประวัติถูกทำร้ายร่างกาย (Physical abuse) ประวัติการถูกล่วงเกินทางเพศ (Sexual abuse)การถูกทอดทิ้งในวัยเด็ก และการที่พ่อแม่มีพฤติกรรมที่รุนแรง
2.4 การถือแบบอย่าง (Modelling) มีการศึกษาพบว่าเด็กจะลอกเลียนแบบการแสดง
ความโกรธจากพ่อแม่หรือบุคคลสำคัญ ในชีวิตของเขา
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล
การประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
1.1 ประวัติการมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของบุคคลน้ัน
1.2 การได้รับการวนิิจการเจ็บป่วยของบุคคลน้ัน เช่น โรคจิตเภท การติดสารเสพติด
1.3 พฤติกรรมในปัจจุบันของบุคคลน้ัน เช่น มีความก้าวร้าวมากนอ้ยในระดับใด
ด้านคำพูด
เช่น พูดจาถากถางผู้อื่น พูดคุกคามผู้อื่น พูดมาก พูดเสียงดัง ตะโกนเสียงดัง มีคำพูดแสดงถึงความกลัว เป็นต้น
ด้านพฤติกรรม
เช่น ขบกราม หน้านิ่วคิ้วขมวด จ้องมองด้วยความโกรธ หน้าแดงท่าทางระมัดระวังตัวเองสูง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงที่จะมีพฤติกรรมกา้วร้าวรุนแรงเนื่องจากมีประวตัิพฤติกรรมกา้วร้าวรุนแรง
มีพฤติกรรมทา ร้ายตนเองหรือผอู้ื่นเนื่องจากมีประวตัิพฤติกรรมกา้วร้าวรุนแรง
มีพฤติกรรมหงุดหงิดกา้วร้าวไม่เหมาะสมเนื่องจากขาดทกัษะการควบคุมอารมณ์
การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาล
3.1.1 สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดใหผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ
3.1.2 ฟังอย่างตั้งใจ(Active Listening)
3.1.3 เมื่อความโกรธลดลงให้บุคคลนั้น สำรวจถึงสาเหตุที่ทำให้รู้สึกโกรธไม่พอใจ
เพื่อให้บุคคลดังกล่าวตระหนักถึงอารมณ์ที่เกิดข้ึน
3.1.4 จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการออกแรงเพื่อปลดปล่อยพลังงานส่วนเกินที่เกิด จาก
ความกดดันความโกรธเช่น ดนตรี ออกกำลังกาย(การชกกระสอบทราย)
3.1.5 ให้คำแนะนำถึงวิธิการจัดการกับความโกรธในทางที่เหมาะสม จะสามารถ
แนะนำได้ใ้นกรณีที่บุคคลน้ันมีภาวะอารมณ์ปกติ
6.6 ผู้ที่มีพฤติกรรมรุนแรง (Violence)
พฤติกรรมรุนแรง
หมายถึง การใช้คำพูด พฤติกรรมคุกคามที่มีผลทำให้คนอื่นตกใจกลัว(Threaten) มีพฤติกรรมที่พยายามจะใช้กำลังและอาวุธทำร้ายคนอื่น (Attempt) และมีการใช้กำลังหรือ อาวุธทำร้ายคนอื่น (Actual)
วิธีการบำบัดทางการพยาบาล สำหรับผู้ทมี่ ีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
ประเมินสภาพผูท้ี่มีพฤติกรรมกา้วร้าวรุนแรง
-ประเมินอาการและการแสดงที่เป็นสัญญาณของพฤติกรรม เช่น การแสดงออก ทางสีหน้าบึ้งตึงแววตาไม่เป็นมิตรการเคลื่อนไหวกระวนกระวายอยู่นิ่งไม่ได้
-ประเมินการเปลี่ยนแปลงระดบั ความรู้สึกและอารมณ์อย่างเฉียบพลนั และการศึกษาประวัติจากญาติเกี่ยวกับพฤติกรรมในอดีตมีหรือไม่อย่างไร
พยาบาลควรมีท่าทีที่เป็นมิตร สงบ และให้เกียรติเพื่อให้เกิดความรู้สึกไวว้างใจ
2.1 พยาบาลไม่ยืนเอามือเท้าเอว เพราะอาจดูเหมือนเป็นการวางอำนาจ
2.2 พยาบาลไม่ควรยนืเอามือไขวข้างหน้า ้ เพราะอาจเป็นการแสดงออกถึงความกลัว หรือความวติกกงัวลของพยาบาล
2.3 ยืนเอามือไขว้หลัง อาจจะเป็นการแสดงวา่ พยาบาลซ่อนบางสิ่งเอาไว้ผปู้่วยอาจ มีความหวาดระแวงเพิ่มข้ึน
2.4 ควรยืนเอามือไวข้า้งๆตวั หรือาจยืนขา้งๆเกา้อ้ีและเอามือจบั เกา้อี๊ไวเ้พื่อให้เกิด
ความอุ่นใจ
2. การวางแผนและการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง
จัด
สิ่งแวดล้อมให้ปลอดภยัรวมท้งัลดสิ่งกระตุน้ จากสิ่งแวดล้อมเพื่อลดสิ่งคุกคามความรู้สึกผูป้่วย ตรวจคน้ผูป้่วยไม่ให้มีสิ่งของที่อาจใช้
เป็นอาวุธได้
ดูแลช่วยเหลือผูป้่วยขณะพฤติกรรมก้าวร้าวตามระดับความรุนแรงที่ประเมิน
พยาบาลต้องเผชิญสถานการณ์ดว้ยความมนั่ ใจ อย่างมีแผน ระมดัระวัง และมีท่าทีสงบ
ใช้คำถามปลายเปิดให้ผูป้่วยได้ระบายความไม่พอใจ
และให้วิจารณ์ได้ แม้เป็นความรู้สึกในทางลบ
ให้ยาตามแผนการรักษาและรายงานแพทย์ใน
รายที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงมากข้ึน