Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฏีทางการบริหาร (ทฤษฎีการบริหารแบบนีโอคลาสิกหรือดั้งเดิม (Classical…
ทฤษฏีทางการบริหาร
ทฤษฎีการบริหารแบบนีโอคลาสิกหรือดั้งเดิม (Classical Theory)
1.ทฤษฎีการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific management)
เกิดในช่วงอุตสาหกรรมขยายตัวใช้วิธีตั้งปัญหาและหาแนวทางเพื่อไปสู่จุดหมายที่ต้องการ
1.1 เฟรดเดอริควินสโลว์เทเลอร์ (Frederick winslowtaylor)
บิดาแห่งการบริหารงานเชิงวิทยาศาสตร์
การออกแบบงานและการจัดสิ่งจูงใจใหม่ๆ แก้ปัญหาตนทำงานไม่เต็มศักยภาพ
1 กำหนดวิธีการทำงานทดแทนการทำแบบลองผิดลองถูก
2 มีการวางแผนแทนที่จะให้คนงานเลือกวิธีการเอง
3 คัดเลือกคนงานที่มีความสามารถและฝึกอบรมให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆร่วมกัน
4 ใช้หลักการแบ่งงานกันทำระหว่างผู้บริหารและคนงาน" การกำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุด" “(One Best
Way) ปัจจุบันเรียกว่า “time and motion study”
1.2 เฮนรี่ แก๊นต์ (Henry L Gantt)
ได้นำเอาเทคนิคการจัดตารางสำหรับการควบคุมการปฏิบัติงานมาใช้เพื่อปรับปรุงและยกระดับประสิทธิภาพในการทำงาน เจ้าของผลงาน Gantt's chart
Gantt's chart ลักษณะของตารางเส้นตรงที่กำหนดเวลาในอนาคตไว้ในแนวนอนและงานที่ปฏิบัติไว้ในแนวตั้ง
Gantt’s Milestone Chart เป็นแผนภูมิแสดงถึงความก้าวหน้าของงาน ประเภทเดียวกัน จากหลักหนึ่งไปยังอีกหลักหนึ่งสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างงานชัดเจน
Gantt’s Milestone Chart มาดัดแปลงเพื่อสร้างตาข่ายการปฏิบัติงาน (Network) โดยใช้เครื่องหมายลูกศรเป็นตัวเชื่อมโยง เพื่อแสดงทิศทางและเวลาหลังจากงานแรกเสร็จ ซึ่งเป็นลักษณะพื้นฐานของ PERT (Program Evaluation and Review Technique)
1.3 แฟรงค์ บังเกอร์ กิลเบรธ (Frank Bunker Gillbreth)
ศึกษาความเคลื่อนไหวความเบื่อหน่าย และผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อคนงาน สนับสนุนแนวคิดของเทเล่อร์ จัดทํา
ภาพยนตร์แสดงความเคลื่อนไหวของคนงานในการทํางาน เพื่อให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวที่สูญเปล่า
สรุปให้เห็นว่า การทํางานด้วยการแบ่งงานออกตามความชํานาญเฉพาะด้านและ
แบ่งงานเป็นส่วนๆ (division of work) จะทําได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทําให้เกิดงานแบบประจํา (routine)
1.4 ลิเลียน กิลเบรธ (Lilian Gillbreth)
ศึกษาปริญญาเอกด้านจิตวิทยาซึ่งเป็นศาสตร์ที่จะช่วยส่งเสริมงานด้าน Motion study ให้ดียิ่งขึ้น
ในปี 1915 ทั้งคู่ร่วมมือกันศึกษาการบริหารโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
อุตสาหกรรมที่มีการศึกษาเป็นแบบแผน
2.ทฤษฎีการจัดการเชิงบริหาร(administrative management)
ใช้วิธีบริหารตัวองค์การให้มี
ประสิทธิภาพ โดยมีหลักการให้ผู้บริหารเป็นผู้ประสานกระบวนการต่างๆ ภายในองค์การเข้าด้วยกัน
2.1 เฮ็นรี่ ฟาโยล(Henry Fayol)
เป็นผู้บุกเบิกแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดการเชิงบริหาร
(administrative management) ผู้บริหารจะประสบผลสําเร็จได้ หากเข้าใจหน้าที่พื้นฐานและหลักการ
บริหารดีพอ โดยกระบวนการบริหารที่ผู้บริหารต้องปฏิบัติไว้ 5 ประการ (POCCC) คือ
1) การวางแผน (planning) ต้องคาดการณ์ล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ และกำหนดแนวการปฏิบัติงานไว้เป็นแนวทาง
2) การจัดองค์การ (organizing)ต้องกําหนดอํานาจหน้าที่อย่างเหมาะสม และกำหนดวัตถุประสงค์องค์การชัดเจน
3) การบังคับบัญชาและสั่งการ (commanding) จะต้องมีหน้าที่สั่งการ โดยมีความเข้าใจคนเข้าใจงาน
4) การประสานงาน (coordinating) ทําหน้าที่ประสานหรือเชื่อมโยงงานต่างๆ ให้เข้ากันได้ และไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน
5) การควบคุม (controlling) หน้าที่ในการติดตามผล ดูแล กํากับให้การดําเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้
ฟาโยลได้พัฒนาหลักการบริหารขึ้น 14 ประการที่จะทําให้ผู้บริหารประสบผลสําเร็จ
1) หลักการแบ่งงานกันทํา (division of work) ตามความถนัด
2) หลักการเกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ในการบังคับบัญชา(authority) ควบคู่กับความรับผิดชอบ(responsibility)
3) หลักการเกี่ยวกับมีระเบียบวินัย (discipline)
4) หลักความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา(unity of command)
5) หลักความเป็นเอกภาพในทิศทาง (unity of direction) ทุกกิจกรรมต้องมุ่งบรรลุจุดหมายขององค์การ
6) หลักผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นรองผลประโยชน์ขององค์การเป็นหลัก(subordination of individual
interest to general Interest)
7) หลักความยุติธรรมต้อทั้งนายจ้างและลูกจ้าง (remuneration)
9) หลักการมีสายบังคับบัญชา (hierarchy/scalar chain) จากบนลงล่าง
10) หลักความเป็นระเบียบแบบแผน (order)
11) หลักความเสมอภาค (equity) เป็นมิตรและมีความยุติธรรม
12) หลักความมั่งคงในการทํางาน (stability of staff)
13) หลักความริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative)
14) หลักความสามัคคีหรือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (spirit de corps)
8) หลักการรวมศูนย์อํานาจ (centralization) ผู้บริหารมีอํานาจในการตัดสินใจ
2.2 ลูเทอร์ กูลิคและลินดอลล์เออร์วิค(Luther Gulick and LyndallUrwick)
ได้เพิ่มกระบวนการ บริหารที่ Fayol ให้ไว้ 5 ประการ เป็น 7 ประการซึ่งได้รับความนิยมแพร่หลายและเป็นที่รู้จักกันในนาม POSDCoRB
ทฤษฎีระบบราชการ (bureaucracy)
แมกซ์ วีเบอร์ (Max Weber)
เสนอทฤษฎีที่เป็นแนวคิดเกี่ยวกับ โครงสร้างขององค์การ ซึ่งเน้นการมีเหตุผลเป็นสําคัญ การใช้อํานาจใน สังคมทั้งในแง่เศรษฐกิจและการเมือง จากผลวิจัยสามารถสร้างแนวทางการดําเนินการบริหารแบบระบบราชการ ซึ่งมีลักษณะสําคัญ 7 ประการดังนี้
1) มีการแบ่งงานกันทํา (division of work)
2) มีการจัดระบบตําแหน่งหน้าที่ตามสายบังคับบัญชาระดับสูงมายังระดับต่ำ (scalar chain)
4) บุคลากรต่างทําหน้าที่ที่กําหนดไว้(impersonal)
5) การจ้างงานใช้หลักคุณสมบัติทางวิชาชีพ (professional qualities)
6) มีความก้าวหน้าในตําแหน่งหน้าที่ (career aspects)
7) มีอํานาจหน้าที่ (legal authority) ตามตําแหน่ง
3) มีการกําหนดระเบียบข้อบังคับ กฎเกณฑ์ต่างๆ (rule, regulation and procedures)
ทฤษฎีการบริหารยุคนีโอคลาสิก (NEO–Classical Theory)
เน้นลักษณะและผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนในองค์การ โดยใช้พฤติกรรมศาสตร์ (behavior theory)บางคน
เรียกว่า เป็นการบริหารงานตามแนวมนุษยสัมพันธ์(human relations approach)
เอลตัน เมโย (Elton Mayo)
เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ วิธีจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ทำได้โดยทุ่มเทความสนใจความต้องการของมนุษย์ในการทำงาน ความสำคัญอยู่ที่ปัจจัยด้านจิตวิทยาและปัจจัยทางสังคมของผู้ทำงาน ผู้บริหารทุกคนต้องสนใจความรู้สึกของผู้ทำงานงานจึงจะสำเร็จ
แมคเกรเกอร์ (Douglas McGregor)
เจ้าของทฤษฎีเอ็กซ์และวาย(X and Y theory)
ทฤษฎีเอ็กซ์ ถือว่าคนทุกคนเกียจคร้าน ชอบเลี่ยงงานจึงต้องใช้วิธีบังคับข่มขู่และควบคุมให้ทำงานตลอดเวลา
กฎแห่งเกมส์ คือกฎหมายและระเบียบที่ออกมาสอดคล้องกับการบริหารตามทฤษฎีเอ็กซ์
ทฤษฎีวาย มองว่าคนทุกคนเป็นคนดี ซื่อสัตย์ รักงานและพร้อมจะรับผิดชอบเสมอ ผู้บริหารการพยาบาลมี่เชื่อถือทฤษฎีวาย มีแนวโน้มที่จะมองผู้ใต้บังคับบัญชาในแง่บวก
วิลเลี่ยม กูซี่(William G. Quchi)
การบริหารจะได้ผลดีกว่าถ้าให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคคลากรในการตัดสินใจบริหาร นั่นคือ ให้ความสำคัญกับกลุ่มไม่ใช่บุคคล
แนวคิดของทฤษฎีแซดเชื่อว่า ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่ม่งแสวงหาความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างกัน การบริหารในทฤษฎีนี้มีแนวโน้มจะยินยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีส่วนร่วมคิดพิจารณาและตัดสินใจในการบริหาร
4.เชสเตอร์ บาร์นาร์ด (Chester I. Barnard.)
“บิดาแห่งการบริหารเชิงพฤติกรรมศาสตร์” (Behavioral Science)
มีแนวคิดเกี่ยวกับองค์การไว้ว่า องค์การเป็นระบบของการร่วมแรงร่วมใจ
5.อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow)
เป็นนักจิตวิทยาที่ค้นเรื่องลําดับขั้นของความต้องการของมนุษย์มนุษย์มีความต้องการอยู่ตลอดเวลาและไม่สิ้นสุดเป็นไปตามลําดับขั้นจากต่ำ ไปหาสูง
ความต้องการทางด้านร่างกาย: อาหาร น้ำ ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย
ความต้องการทางด้านความปลอดภัย: ปราศจากอุบัติเหตุ มีความมั่นคง
ความต้องการทางด้านสังคม: เป็นที่รัก และเป็นที่ยอมรับ
ความต้องการทางด้านการยกย่อง: ยกย่อง และเห็นคุณค่า มอบความรับผิดชอบ
ความต้องการทางด้านความสมหวังในชีวิต
6.เฟรเดริค เฮิร์ซเบิร์ก (Frederick Herzberg)
ให้ความสําคัญกับความต้องการของมนุษย์ แบ่งปัจจัยออกเป็น 2 ปัจจัย
1.ปัจจัยจูงใจ คือ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจให้คนทํางานอย่างมีความสุข ถือว่าเป็น “ปัจจัยภายใน” (Intrinsic)
2.ปัจจัยค้ำจุน (Hygiene Factors) คือ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความพอใจในการทํางาน ถือว่าเป็น “ปัจจัยภายนอก” (Extrinsic)
ทฤษฎีการบริหารสมัยใหม่ (Modern theory)
เชื่อว่าการบริหารงานจะประสบผลสําเร็จ ถ้าคนในหน่วยงานร่วมมือร่วมใจ สามัคคีกัน การทํางานเป็นกลุ่มหรือเป็นทีม ซึ่งงานต้องมีการทำอย่างอย่างเป็นระบบ
1.ทฤษฎีระบบ(System theory)
บิดาแห่งทฤษฎีระบบทั่วไป(General systems Theory)
ระบบปิด (Closed system) คือระบบที่พึ่งตนเอง
ระบบเปิด (Open system)คือระบบที่ต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด
องค์ประกอบของทฤษฎีระบบ(System theory)
ปัจจัยนําเข้า (Inputs)
2.กระบวนการแปรสภาพ(Transformation Process)
3.ผลผลิต (Outputs)
4.ข้อมูลย้อนกลับ(Feed Back)
1 more item...
ทฤษฎีบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory)
วิธีมุ่งเน้นให้ยอมรับว่าในทางปฏิบัติไม่มีวิธีการบริหารใดที่ดีที่สุด (no one best way) การบริหารขึ้นอยู่กับความจำเป็นของสถานการณ์
2.1 ฟีดเลอร์
พัฒนารูปแบบจําลอง “ความเป็นผู้นําตามสถานการณ์” ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Least Preferred Co-worker : LPC ในการประเมินรูปแบบผู้นําว่า
รูปแบบเน้นความสัมพันธ์หรือเน้นงาน
รูปแบบภาวะผู้นําไม่เปลี่ยน ดังนั้นต้องมีการเปลี่ยนสถานการณ์ให้เข้ากับรูปแบบภาวะผู้นํา
2.2 วรูม และ เยตัน (Victor Vroom, Phillip Yetton and Jago)
เสนอทฤษฎีความเป็นผู้นําเชิงสถานการณ์ Leader Participation Model เน้นการเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจของผู้นํา โดยเปิดโอกาสให้ผู้ตามมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์
2.3 โรเบิร์ต เฮาส์ (Robert House)
แนวความคิดผู้นำเชิงสถานการณ์ ทฤษฎีเส้นทาง -เป้าหมาย (Path-goal Theory)
ภาวะผู้นำเกี่ยวข้องกับการจูงใจ ผู้นำขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ผู้นำสามารถให้ความสำคัญทั้งคนและงานได้ในเวลาเดียวกัน โดยใช้อิทธิพลของแรงจูงใจ
2.4 เฮร์เซย์และแบลนชาร์ด ( Hersey and Blanchard )
ทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์(Situational Leadership Theory: SLT) รูปแบบผู้นำต้องเหมาะสมกับความพร้อมของผู้ตามได้พัฒนาแนวความคิด โดยเปลี่ยนระดับความพร้อมของผู้ตามเป็นความสามารถและความผูกพัน (Competence and Commitment)
แบ่งระดับความพร้อมของผู้ตามเป็น 4 ระดับ
R1 ไม่มีความสามารถ ไมีมีความเต็มใจทำ ความพร้อมต่ำ
2.R2 ไม่มีความสามารถ เต็มใจทำ ความพร้อมปานกลาง
3.R3 มีความสามารถ ไม่มีความเต็มใจทำ ความพร้อมปานกลาง
4.R4 มีความสามารถ และเต็มใจทำ ความพร้อมสูง
รูปแบบผู้นำ 4 รูปแบบ
1.S1 คือ การออกคำสั่ง (Direction)
2.S2 คือ การสอนงาน (Coaching)
3.S3 คือ การสนับสนุน (Supporting)
4.S4 คือ การมอบหมายงาน (Delegating)
แบ่งพฤติกรรมพื้นฐานของผูนำ มี 4 แบบ
1.งานสูง – สัมพันธ์ต่ำ (S1) (Telling) สั่งการ
2.งานสูง – สัมพันธ์สูง (S2) (Selling) ขายความคิด
1 more item...
ทฤษฎีการบริหารเชิงปริมาณ (quantitative theory)
ทฤษฎีการบริหารจัดการ ที่นำเทคนิคคณิตศาสตร์และวิธีการเชิงสถิติช่วยในการแก้ปัญหา เชื่อในการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ มีแนวคิดที่สำคัญ 3 แนวคิดคือ
1 การบริหารศาสตร์ (management Science) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจให้แก่ผู้บริหาร
2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (management information System: MIS) เน้นการออกแบบและการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการบริหาร (Cornputer based information System: CBISs
3 การจัดการปฏิบัติการ (operations management) เป็นทฤษฎีสมัยใหม่ที่พัฒนามาจาก
ทฤษฎีการจัดการเน้นการใช้แนวทางเชิงปริมาณเข้าช่วยในการตัดสินใจประกอบด้วยการกำหนด
ตารางการทำงาน( work scheduling) การวางแผนการผลิต (production planning) การออกแบบอาคารสถานที่ (facilities and location design) ตลอดจนการประกันคุณภาพ (Quality assurance)
ทฤษฎี 7’S ซึ่งเป็นแนวคิดแบบจําลองของแมคคินซีย์ (Mc Kinsey)
เป็นกลยุทธ์การบริหารที่ช่วยให้เกิด ความสําเร็จในองค์การสูง ให้เห็นถึงความสําคัญของคนที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของการสร้างวัฒนธรรมองค้การ
Hard Ss เป็นอุปกรณ์แห่งความสําเร็จ
1) โครงสร้าง (structure) หมายถึง การจัดระเบียบองค์ประกอบขององค์การที่เหมาะสม
2) กลยุทธ์ (strategy) หมายถึง กําหนดวัตถุประสงค์ วิธีดําเนินการที่นําไปสู่การปฏิบัติได้ทุกหน่วยงาน
3) ระบบ (system) หมายถึง วิธีการดําเนินงาน ระเบียบวิธีปฏิบัติงาน
Soft Ss เป็นส่วนเนื้อหาแห่งความสําเร็จ
1) แบบการบริหาร (style) หมายถึง พฤติกรรมของผู้บริหาร รู้งานและทํางานจริงจัง
2) บุคลากร (staff) หมายถึง บุคลากรที่มีความรู้ จำนวนเหมาะสม ได้รับการพัฒนา
3) ทักษะ (skills) หมายถึง ความเข้มงวดและผ่อนปรนอย่าง เหมาะสม
4) ค่านิยมร่วม (shared values) หมายถึง มีความเชื่อมั่นในศักยภาพขององค์การและตนเอง
การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (T.Q.M.=total quality management)
ยึดคุณภาพเป็นหัวใจของทุกเรื่อง เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพมากกว่าการแข่งขันมนุษย์ คือปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังของความสําเร็จและการมีคุณภาพได้จริง ทุกคนต้องมีส่วนร่วมซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญ
การรื้อปรับระบบ (reengineering)
การสร้างกระบวนการทํางานขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงเป็นแนวคิดทางการบริหารยุคใหม่ โดยอยู่บนพื้นฐานกรอบแนวคิด ดังนี้
1) การปรับระบบด้านการจัดการทางการพยาบาล (nursing management) จะต้องเนhนการบริหาร แบบแมตริกซ(matrix organization) มีส่วนร่วม, มีการกระจายอํานาจ, การตัดสินใจ, มีกฎระเบียบ
2) การปรับระบบด้านบริการพยาบาล (nursing service) ต้องได้รับความสะดวกรวดเร็วในการใช้บริการ, มีความพึงพอใจในบริการ, ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพอย่างต่อเนื่อง, ได้รับการคุ้มครองตัวสิทธิของผู้ป่วยที่พึงมีพึงได้
องค์การสมัยใหม่ (Modern Organization) ประกอบด้วย
7.1 องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization )
จะเป็นการเรียนรู้ได้รวดเร็วก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งจะพยายามที่จะประสานผลการดำเนินงานของบุคคลเขากับการดำเนินงานด้านการเงิน Peter M. Senge ได้แนะนำว่า องค์การต้องสร้างวินัย 5 ประการ (fifth discipline)
บุคลากรที่มีความรอบรู้ (personal mastery)
รูปแบบความคิด (mental models)
วิสัยทัศน์ร่วม (shared vision)
การเรียนรู้เป็นทีม (team learning)
1 more item...
7.2 องค์การสมรรถนะสูง (High Performance Organisation)
เป็นองค์การแห่งนวัตกรรม พนักงานและผู้บริหารทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี มีความผูกพันกัน สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธภาพ Gartner Group ได้ระบุไว้ว่าองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูงนั้น ควรจะประกอบด้วยคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
การตั้งเป้าหมายที่ท้าทายและแสวงหาแนวทางในการบรรลุเป้าหมายนั้น (Setting ambitious targets and achieving them)
2.การมีค่านิยมร่วมกันของบุคลากรทั่วทั้งองค์การ (Shared values)
3.การมุ่งเน้นที่ยุทธศาสตร์และการทำให้ทั่วทั้งองค์การดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน (Strategic focus and alignment)
8.องค์การยุคหลังสมัยใหม่ (Post Modern Organization)
แนวคิดในยุคหลังสมัยใหม่ (postmodern) จะใช้แนวคิดการสร้างเหตุผล (reasoning) และการแตกกระจาย (fragmentation) ที่มีคุณลักษณะของความเป็นปัจเจกบุคคลนิยม (individualism) ความร่วมมือระหว่างประเทศ (internationalization) การแบ่งแยกขององค์การ (organizational segregation) และการกระจายอำนาจ (decentralization) อย่างเช่น
8.1 ทฤษฎีไร้ระเบียบ หรือที่มีชื่อเรียกว่า Chaos theory
เป็นทฤษฎีทางฟิสิกส์แขนงหนึ่งที่ศึกษาปรากฏการณ์ที่อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ทั่วไปที่ไม่สามารถอธิบายได้ ต้องใช้ Chaos theory ในการอธิบาย หลังวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 เกิด “ลัทธิไร้ระเบียบ” โดยนักลัทธินี้เชิ่อว่า “สรรพสิ่งบนโลกมีเกิด มีดับ ที่เริ่มจากความระเบียบ แล้วก้าวไปสู่ความไร้ระเบียบในที่สุด หมุนเวียนอยู่เช่นนี้ สังคมก็เช่นกัน สามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็น ลัทธิฉวยโอกาสอนาธิปไตย ที่มีรูปแบบคล้ายก้าวหน้า แต่เนื้อหาถอยหลังโดยสิ้นเชิง
8.2 การจัดองค์การแบบแชมรอค(Shamrock Organization)
เป็นองค์การในอนาคตอีกรูปแบบหนึ่งที่
เสนอโดย ชาร์ลสแฮนดี(Charles Handy) ต้นแชมรอค จะมีลักษณะพิเศษที่สําคัญอยู่ที่ใบเป็นแฉก 3 ใบ ได้ถูกนํามาเทียบเคียงกับการแบ่งกลุ่มงานภายในองค์การ
ออกเป็น 3 กลุ่มที่สําคัญ
(1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ(professional core)
(2) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานจากภายนอก(outsourcing vendors)
1 more item...
8.3 5s Model
แบบ 5s ประกอบด้วย
SMALL : จิ๋วเเต่เเจ๋ว
SMART : ฉลาดทรงภูมิปัญญา
SMILE : ยิ้มเเย้มเปี่ยมน้ําใจ
SIMPLIFY : ทําเรื่องยากให้ง่ายเเละรวดเร็ว
SMOOTH : ความร่วมมือไร้ความขัดเเย้ง
8.4 องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)
หัวใจหลักของ Virtual Office คือ หลักจิตวิทยา ที่เชื่อมโยงบุคลากรห่างไกลให้บรรลุเป้าหมายเดียวกันการเปลี่ยนแปลงสู่องค์การเสมือนจริงจะเป็นผลสําเร็จ ต้องได้รับความร่วมมือจากมนุษย์ด้วยกัน(Collaborated) ที่อยู่บนพื้นฐานจากความวางใจ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหาร
คน (man) ก่อให้เกิดผลสําเร็จทั้งปริมาณและคุณภาพของงาน
เงินทุน (money) หล่อเลี้ยงให้กิจกรรมขององค์กรดําเนินไปโดยไม่ติดขัดและวัสดุสิ่งของ
เครื่องจักร (machine) ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า
(material) จัดหามาเพื่อดําเนินการผลิต
น.ส.สววรยา สาลีพัฒนผล เลขที่ 96 รหัส 603101097