Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร (ลักษณะที่ดีของภาษี (หลักความเป็นธรรม…
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร
ลักษณะที่ดีของภาษี
หลักความแน่นอน
ประชาชนผู้อยู่ในข่ายต้องเสียภาษียอมต้องการที่จะทราบเพื่อความมั่นใจในระดับหนึ่งว่าต้องเสียภาษีจำนวนเท่าใด เมื่อใด และวิธีใด
หลักความเป็นธรรม มี2แบบคือ
หลักความเป็นธรรมสมบูรณ์
นั่นคือเอาค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐหารด้วยจำนวนประชากร ระบบแบบนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อประชาชนมีฐานะเท่ากันทุกคน
หลักความเป็นธรรมสัมพันธ์ คือ
ถือหลักว่าจำนวนภาษีที่ต้องเสียให้รัฐบาลเทียบจากประโยชน์ที่จะได้จากรัฐ หรือ เปรียบเทียบกับความสามารถในการเสียภาษีของผู้เสียภาษีอากรแต่ละรายซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม
1.หลักผลประโยชน์
2.หลักความสามารถในการเสียภาษี
หลักความเป็นกลาง
ระบบภาษีอากรจะต้องไม่เปลี่ยนแปลงหรือกระทบต่อรูปแบบการบริโภค การออม การแข่งขัน
หลักอำนวยรายได้
ระบบภาษีอากรที่อำนวยรายได้สูงให้แก่รัฐบาลมีลักษณะดังนี้
1.ภาษีอากรที่มีฐานกว้าง
2.ภาษีอากรที่มีอัตราความก้าวหน้า
หลักความยืดหยุ่น
จะต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม เช่น ในภาวะเงินเฟ้อภาษีอากรควรมีโครงสร้างที่ส่งผลให้เก็บภาษีมากขึ้นเพื่อลดการใช่จ่ายของเอกชน
หลักประสิทธิภาพในการบริหาร
ระบบภาษีอากร ควรเป็นระบบที่เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บที่น้อยที่สุด ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บของรัฐบาลอาจจะออกมาในรูปแบบของเงินเดือน ค่าจ้างผู้จัดเก็บ ค่าอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ค่าใช้จ่ายขิงผู้เสียภาษี
วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากร
เพื่อควบคุมหรือส่งเสริมพฤติกรรมทางเศรษฐกิจ
เพื่อหารายได้มาใช้จ่ายในกิจการของรัฐ
เพื่อกระจายรายได้และทรัพย์สินให้เป็นธรรม
เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษกิจ
ความหมายของภาษีอากร
สิ่งที่เรียกเก็บจากบุคคล ทรัพย์สิน หรือธุรกิจ เพื่อสนับสนุนรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น
รายได้หรือทรัพยากรที่ได้มีการเคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาลและไม่ก่อให้เกิดการชำระคืนแก่รัฐบาล
สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎรโดยไม่ได้มีสิ่งตอบแทนแก่ผู้เสียภาษีโดยตรง
การโอนย้ายทรัพยากรใดๆ อันมีลักษณะบังคับแต่มิได้เป็นการลงโทษจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า
โครงสร้างของภาษีอากร
ภาระภาษี
ภาระภาษีจะพิจารณาเป็น2นัยคือ
1.ภาระภาษีทางกฎหมาย เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.ภาระภาษีทางเศรษฐกิจ คือ ภาระภาษีที่ตกอยู่กับบุคคลในขั้นสุดท้าย
ฐานภาษี
เป็นสิ่งที่เป็นมูลเหตุขั้นต้นที่ทำให้บุคคลต้องเสียภาษีอากร ซึ่งฐานภาษีเงืนได้บุคคลธรรมดา คือ เงินได้ ฐานภาษีที่สำคัญได้แก่ ฐานรายได้ ฐานการบริโภค ฐานทรัพย์สิน ฐานสิทธิพิเศษในการประกอบการ
อัตราภาษี
อัตราคงที่ คือ มีค่าคงที่ไม่ว่าฐานภาษีจะเล็กหรือใหญ่
อัตราก้าวหน้า คือ เก็บในอัตราที่เพิ่มขึ้นเมื่อฐานภาษีมีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อัตราถอยหลัง คือ เก็บภาษีลดลงเมื่อฐานภาษีมีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น อัตราภาษีบำรุงท้องที่
การชำระภาษี มี 3 วิธี
การชำระภาษีโดยการประเมินตนเอง
การชำระภาษีโดยการประเมินของเจ้าพนักงาน
การชำระภาษีโดยหัก ณ ที่จ่าย
การจำแนกประเภทภาษี
1.การจำแนกประเภทภาษีอากรตามระดับรัฐบาลผู้จัดเก็บ
1.1ภาษีระดับประเทศ
1.2ภาษีท้องถิ่น
2.การจำแนกประเภทภาษีอากรตามหลักการภาระภาษี
2.1ภาษีทางตรง
2.2ภาษีทางอ้อม
5.การจำแนกภาษีตามความถาวรของกฎหมายภาษีอากร
5.1ภาษีถาวรหรือภาษีปกติ
5.2ภาษีชั่วคราว
3.การจำแนกภาษีอากรตามวิธีการประเมินภาษี
3.1ภาษีตามราคาหรือมูลค่า
3.2ภาษีตามปริมาณหรือว่าสภาพ
4.การจำแนกภาษีอากรตามลักษณะการนำเงินภาษีไปใช้
4.1ภาษีเพื่อกิจการทั่วไป
4.2ภาษีเพื่อกิจการเฉพาะอย่าง
การหลบภาษีอากรและการเลี่ยงภาษี
การหลบภาษีอากรหมายถึง การไม่เสียภาษีอากร หรือ การที่เสียภาษีอากรน้อยกว่าที่ควรจะเสียตามกำหนด ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะมีโทษทางกฎหมาย
การเลี่ยงภาษีหมายถึง การที่ผู้เสียภาษีอากรอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายหรือความคลุมเครือของกฎหมาย หรือทำให้เสียภาษีน้องลงโดยมิได้กระทำผิดกฎหมาย