Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร วิชาการบริหารการพยาบาล…
หน่วยที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร วิชาการบริหารการพยาบาล (Nursing Administration)
แนวคิดทางการบริหารสามารถแบ่งได้ตามดังนี้
การบริหารมุ่งผลงาน
(Task center)
ผู้บริหารจะให้ความสําคัญต่อปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้องและกําหนดวิธีการทํางานที่ดีที่สุดเพื่อผลลัพธ์ที่คุ้มค่าที่สุด
การบริหารโดยมุ่งตัวบุคคล
(Personal center)
ผู้บริหารจะให้ความสําคัญกับคนโดยยึดหลักว่าถ้าคนดีแล้วผลผลิตจะดีตามมาเองเป็นวิธี“ปรับงานให้เข้ากับคน”
การบริหารที่มุ่งคนและงาน
(Modern development)
เป็นแนวคิดที่จะจัดระบบการบริหารแบบ ผสมผสานระหว่างการบริหารมุ่งผลงานและหลักการบริหารโดยมุ่งตัวบุคคลเป็นการในะระบบ ความสัมพันธ์ทั้งคน องค์การ และระบบสังคม
การบริหารที่มุ่งถึงประสิทธิภาพตามสถานการณ์เป็นแนวคิดที่เน้นว่าในทางปฏิบัติจะไม่มีการบริหารใดที่ใช้ดีที่สุดแต่จะขึ้นกับสถานการณ์ในขณะนั้น
กระบวนการบริหาร
(Administrative Processes)
ได้มีการจำแนกไว้ 7 ขั้นตอนคือ POSDCoRB
P (Planning) หมายถึง การวางแผนงาน เป็นการวางโครงการกว้างๆ เป็นขั้นที่จะต้องปฏิบัติ พร้อมทั้งวัตถุประสงค์เพื่อให้แผนงานที่กําหนดสอดคล้องกัน
O (Organizing) หมายถึง การจัดโครงสร้างของการบริหารงาน โดยกําหนดหน้าที่ของหน่วยงาน
S (Staffing) หมายถึง การดําเนินการเกี่ยวกับคนในองค์กรซึ่งเรียกว่าการบริหารงานบุคคล เช่น การคัดเลือกบุคคลมาปฏิบัติงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการให้คนออกจากงาน
D (Directing) หมายถึง การอํานวยการ เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นํา การวินิจฉัยสั่งการการควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน
Co (Co-ordination) หมายถึง การติดต่อประสานงาน โดยจัดระเบียบการปฏิบัติงานของบุคลากร เพื่อไม่ให้งานซ้ำซ้อนกัน สิ่งที่จะช่วยให้เกิดการประสานงานที่ดีคือ การติดต่อสื่อสาร (Communication)
R (Reporting) หมายถึง การบันทึกรายงาน ไว้เป็นหลักฐาน เพื่อเสนอผู้บังคับบัญชาแจ้งไปยังผู้เกี่ยวข้อง และการประชาสัมพันธ์ (Public relation)
B (Budgeting) การจัดทํางบประมาณการเงิน เริ่มจากการวางแผน หรือการใช้จ่ายเงิน การบัญชี
ทฤษฎีการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์
(Scientific Management)
เฟรดเดอริควินสโลว์ เทเลอร์
(Frederick winslowtaylor)
เชื่อว่าปัญหาที่คนทํางานไม่เต็มศักยภาพนั้นสามารถแก้ไขไดด้วยการออกแบบงาน และการจัดสิ่งจูงใจใหม่ๆโดย เสนอหลักที่สําคัญไว้ 4 ประการ
2.กําหนดวิธีการทํางานทดแทนการทําแบบลองผิดลองถูก
3.มีการวางแผนแทนที่จะใหคนงานเลือกวิธีการเอง
4.คัดเลือกคนงานที่มีความสามารถแล้วฝึกอบรมให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆร่วมกัน
1.ใช้หลักแบ่งงานกันทําระหว่างผู้บริหารและคนงานคือการจัดสรรงานให้เหมาะกับความสามารถของแต่ละบุคคล
เฮนรี่ แก๊นต์(Henry L Gantt)ได้นําเอาเทคนิคการจัดตารางสําหรับการควบคุมการปฏิบัติงานมาใช เพื่อปรับปรุงและยกระดับประสิทธิภาพในการทํางาน เจ้าของผลงาน Gantt’s chart
แฟรงค์บังเกอร์ กิลเบรธ(Frank Bunker Gillbreth)
แบ่งการทำงานออกตามความชํานาญเฉพาะด้านและแบ่งงานเป็นส่วนๆ (division of work) จะทําได้ดียิ่งขึ้น ถ้าได้มีการวิเคราะห์ งานอย่างละเอียดถี่ถ้วน ให้ทํางาน ต่อเนื่องกันเป็นกระบวนการตามหลักวิทยาศาสตร์ซึ่งทําให้เกิดงานแบบประจํา(routine)
ลิเลียน กิลเบรธ(Lilian Gillbreth) ศึกษาปริญญาเอกด้านจิตวิทยาซึ่งช่วยส่งเสริมงาน ด้าน Motion Studies ให้ดียิ่งขึ้น เมื่อลิเลียนสําเร็จปริญญาเอกในปี 1915 ทั้งคู่ร่วมมือกันศึกษาการบริหารโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมที่มีการศึกษาเป็นแบบแผน
ทฤษฎีการจัดการเชิงบริหาร (administrative management)
โดยมีหลักการให้ผู้บริหารเป็นผู้ประสานกระบวนการต่างๆภายในองค์การเข้าด้วยกัน
เฮนรี่ฟาโยล (Henry Fayol)
เขาเชื่อว่าผู้บริหารโดยได้ระบุหน้าที่ที่ผู้บริหารต้องปฏิบัติไว้ 5 ประการ (POCCC)
การวางแผน (planning) ผู้บริหารต้องกำหนดเป็นแนวการปฏิบัติงานเพื่อเป็นแนวทางของการทำงานต่อไป
การจัดองค์การ (organizing) ผู้บริหารจะต้องกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างเหมาะสม
การบังคับบัญชาและสั่งการ (commanding) ผู้บริหารมีหน้าที่สั่งการโดยจะต้องมีความเข้าใจคนเข้าใจงานมีการติดต่อสื่อสารผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด
การประสานงาน (Coordinating) ผู้บริหารทำหน้าที่ประสานหรือเชื่อมโยงงานให้มีคว่มเข้าใจตรงกัน
การควบคุม (Controlling) หน้าที่ในการติดตามผลดูแลกำกับให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผน
การควบคุม (Controlling) หน้าที่ในการติดตามผลดูแลกำกับให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้
หลักการแบ่งงานกันทำตามความสามารถ
(division of work)
ความมีระเบียบวินัย (discipline)
อำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชา (authority) ควบคู่กับความรับผิดชอบ
กความเป็นเอกภาพในการบังคับบัญชา
(unity of command)
หลักความเป็นเอกภาพในทิศทาง (unity of direction) ทุกกิจกรรมต้องมุ่งบรรลุจุดหมายขององค์การ
หลักผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นรองผลประโยชน์ขององค์การเป็นหลัก (subordination of individual interest to general Interest)
ความยุติธรรมต่อทั้งนายจ้างและลูกจ้าง (remuneration)
หลักการรวมศูนย์อำนาจ (centralization) ผู้บริหารมีอำนาจในการตัดสินใจแต่ควรมีอำนาจที่เพียงพอ
หลักการมีสายบังคับบัญชา (hierarchy / scalar chain) จากบนลงล่างมีเส้นทางการติดต่อสื่อสารด้วยโดยปกติ
หลักความเป็นระเบียบแบบแผน วัสดุอุปกรณ์และผู้ปฏิบัติควรให้อยู่ในที่เหมาะสมสะดวกต่อการใช้งาน
หลักความเสมอภาค (equity) เป็นมิตรและมีความยุติธรรมต่อผู้ปฏิบัติ
หลักความมั่งคงในการทำงาน (stability of staff)
หลักความริเริ่มสร้างสรรค์ (initiative)
หลักความสามัคคีหรือความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
(spirit de corps)
การบริหารการพยาบาลหมายถึงกิจกรรมต่างๆที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมาร่วมกันดำเนินการโดยการใช้ทั้งศาสตร์และศิลปะในการนำเอาทรัพยากรการบริหารตามกระบวนการบริหารเพื่อให้บุคลากรทางการพยาบาลสามารถให้การพยาบาลโดยบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีระบบราชการ (bureaucracy)
Max Weber สร้างแนวทางการดําเนินการบริหารแบบระบบราชการโดยมีลักษณะสําคัญ 7 ประการดังนี้
การแบ่งงานกันทํา (division of work) ตามความรู้ ความชํานาญ (specialization)
มีการจัดระบบตําแหน่งหน้าที่ตามสายบังคับบัญชาระดับสูงมายังระดับต่ำ (scalar chain)
มีการกําหนดระเบียบข้อบังคับ กฎเกณฑ์ต่างๆ (rule, regulation and procedures) เพื่อควบคุมตัดสินใจ
บุคลากรต่างทําหน้าที่ที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการ (impersonal)
การจ้างงานใช้หลักคุณสมบัติทางวิชาชีพ (professional qualities)
มีความก้าวหน้าในตําแหน่งหน้าที่ (career aspects) อาชีพมั่นคง
มีอํานาจหน้าที่ (legal authority)