Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บท 8 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบเลือด (Myeloid cell (ความหมาย…
บท 8 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบเลือด
ไขกระดูก สร้าง 1. Myeloid เช่น Eos. Baso. Neutro. Mono. เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด 2. Lymphoid เช่น B-cell และ T –cell
โรคกลุ่ม
Myeloid cell ปัญหาที่กลุ่มเม็ดเลือดขาว เช่น leukemia
2.Anemia ปัญหาที่เม็ดเลือดแดง ด้าน จำนวน ความสมบูรณ์ - ธาตุเหล็ก- ความพิการของเม็ดเลือดแดง
3.Bleeding disorder ปัญหาที่ Platelet และ Factor ต่างๆที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
ปัญหาสุขภาพในผู้ป่วยโรคเลือดแบ่งได้ดังนี้
เหนื่อยง่าย จาก Hb ไม่เพียงพอในการนำ O2
2.ซีด อ่อนเพลียจากจำนวน Rbc Hbc ลดลง
เลือดออกง่าย จากไขกระดูกสร้าง Platelet และ Factor ต่าง ๆได้ลดลง
4.ภูมิคุ้มกันลดลง ติดเชื้อง่าย จากสร้าง wbc ได้น้อยลง หรือสร้างได้ไม่สมบูรณ์
Anemia
ความหมาย
เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดน้อยกว่าปกติ ทำให้นำออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ เช่น เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ผิวซีดหรือผิวเหลือง เป็นต้น โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางอาจมาจากการเสียเลือด การสร้างเม็ดเลือดแดงที่ลดลง หรือเม็ดเลือดแดงถูกทำลายมากขึ้น
อาการของภาวะโลหิตจาง
รู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย แม้จะเป็นการทำกิจกรรมปกติในชีวิตประจำวัน
มีอาการตัวซีด อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น
หายใจลำบากขณะออกแรง
มึนงง วิงเวียนศีรษะ
ปวดหัว
มีอาการมือเท้าเย็น
ผิวซีดหรือผิวเหลือง
เจ็บหน้าอก ใจสั่น
ในขั้นรุนแรงอาจทำให้หัวใจทำงานหนักจนหัวใจล้มเหลว
สาเหตุของภาวะโลหิตจาง
1.การเสียเลือด เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในภาวะโลหิตจาง จากการเสียเลือดออกจากร่างกายทางใดทางหนึ่ง
ไม่ว่าจะเป็นการเสียเลือดแบบฉับพลัน เช่น อุบัติเหตุ การผ่าตัด การคลอดบุตรและการแท้งบุตร การตกเลือด ฯลฯ
หรือเป็นการเสียเลือดทีละน้อยที่เรียกว่า เสียเลือดแบบเรื้อรังจากหลายสาเหตุ เช่น เสียเลือดจากการมีประจำเดือน
เป็นโรคเรื้อรังที่ก่อให้เกิดการเสียเลือดอย่างโรคริดสีดวงทวารหรือโรคพยาธิปากขอ เป็นต้น
ซึ่งการสูญเสียเลือดแบบเรื้อรังนี้ยังก่อให้เกิดอาการขาดธาตุเหล็ก (Iron Deficiency Anemia) ตามมาภายหลังได้
2.การสร้างเม็ดเลือดแดงน้อยลง
2.1การขาดสารอาหาร เป็นผลมาจากการรับประทานอาหารที่ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 หรือกรดโฟลิก
ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่จําเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง การขาดธาตุเหล็กเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยทั่วไปในภาวะโลหิตจาง
2.2ฮอร์โมน ภายในเลือดจะมีฮอร์โมนที่ชื่อว่า อิริโธรโพอิติน (Erythropoietin) ที่ผลิตได้จากไต มีหน้าที่ในการกระตุ้นไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือดแดง
แต่เมื่อร่างกายมีฮอร์โมนชนิดนี้ต่ำกว่าปกติจะส่งผลให้เกิดภาวะเลือดจางได้
2.3.ภาวะโรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังหรือการรักษาโรคเรื้อรังบางโรคจะส่งผลกระทบต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง โดยการทำลายไขกระดูก
เช่น โรคมะเร็งบางชนิด การติดเชื้อ HIV โรคไตวายเรื้อรัง หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
2.4การตั้งครรภ์ ภาวะโลหิตจางสามารถเกิดขึ้นได้กับหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ 6 เดือนแรก เนื่องจากการขาดสารอาหารประเภทธาตุเหล็กและกรดโฟลิก
รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในเลือด
2.5โรคเกี่ยวกับไขกระดูก ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับไขกระดูก เช่น ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งในไขกระดูก หรือการติดเชื้อในไขกระดูก
จะส่งผลต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงเช่นกัน เนื่องจากไขกระดูกมีหน้าที่ในการสร้างเม็ดเลือดแดง เกร็ดเลือด และเม็ดเลือดขาว เมื่อไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดได้ จึงทำให้ปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดลดน้อยลง2.6การทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ การทำลายเม็ดเลือดแดงที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อหรือโรคในกลุ่มที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกหรือถูกทำลายไปเร็วกว่าปกติ เช่น ม้ามเกิดการขยายหรือโตขึ้น โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemias) รูปร่างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ (Sickle Cell Anemia) การขาดเอนไซม์และยาบางชนิด ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
การวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง
1.การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)
2.การตรวจวิเคราะห์ชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน (Hemoglobin Electrophoresis)
3.การตรวจนับปริมาณเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte Count)
4.การตรวจระดับธาตุเหล็กในเลือดและร่างกาย
5.การตรวจหาเลือดปนในอุจจาระ
6.การตรวจไขกระดูก
การักษา
1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและวิตามินเสริม เนื่องจากภาวะโลหิตจางบางประเภทเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารไม่เพียงพอ หรือภาวะบางอย่างจากโรค ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงและวิตามินต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินบี 12 กรดโฟลิก รวมถึงวิตามินซี ที่มีส่วนช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ประเภทเนื้อแดง เครื่องใน อาหารทะเล ผักใบเขียวเข้ม ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ไข่ นม เป็นต้น
2.รับประทานยาหรือฮอร์โมน ในบางรายแพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางรับประทานยา ฮอร์โมน หรือวิธีทางแพทย์อื่น ๆ
เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตเม็ดเลือดแดงได้มากขึ้นหรือรักษาภาวะโลหิตจางจากบางสาเหตุ
3.เปลี่ยนถ่ายเลือด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจางรุนแรงหรือมีระดับของฮีโมโกลบินต่ำกว่า 8 กรัมต่อเดซิลิตร แพทย์อาจแนะนำการรักษาด้วยวิธีการเปลี่ยนถ่ายเลือดโดยการรักษาด้วยวิธีนี้จะช่วยเพิ่มระดับของฮีโมโกลบินให้สูงขึ้น และยังช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยให้ดีขึ้นด้วย
4.ปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดและไขกระดูก โดยการนำเซลล์ต้นกำเนิดที่ปกติไปแทนเซลล์ที่มีความผิดปกติเพื่อช่วยให้การสร้างเม็ดเลือดแดงมีปริมาณมากขึ้น
5.ผ่าตัด เพื่อช่วยรักษาการเสียเลือดมากในอวัยวะนั้น ๆ จากโรคเรื้อรังบางชนิด แต่ในกรณีที่ตรวจไม่พบอาการเลือดออกจากอวัยวะอื่นแต่มีอาการซีดรุนแรงและม้ามโต แพทย์อาจพิจารณาให้ตัดม้ามออก เนื่องจากเกิดการทำลายเม็ดเลือดแดงที่ผิดปกติในม้าม ทำให้เม็ดเลือดแดงถูกทำลายในปริมาณมาก
Bleeding disorder
ความหมาย
เลือดออกผิดปกติเป็นภาวะที่มีความสำคัญ เนื่องจากอาจทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตได้ หากให้การวินิจฉัยและการรักษาไม่ถูกต้อง ภาวะเลือดออกผิดปกติ หมายถึงภาวะที่มีเลือดออกจากความผิดปกติในกลไกการห้ามเลือดของร่างกาย แพทย์ควรมีความรู้ ความเข้าใจเพื่อที่จะจัดการกับปัญหานี้
อาการและอาการแสดง
1.ประวัติเลือดออกนานผิดปกติจากการทำหัตถการ เช่น จาก การถอนฟัน การคลอด การผ่าตัดเล็กน้อย หรือบาดแผลทั่วไป
2.เลือดออกจากอวัยวะหลายตำแหน่งพร้อมกัน เช่น เลือดกำเดาไหลร่วมกับมีจ้ำเลือดตามตัว
3.ปริมาณเลือดที่ออกไม่ได้สัดส่วนกับความรุนแรง
4.ประวัติเลือดออกมากจนต้องให้เลือดทดแทน
5.ประวัติการมีเลือดออกผิดปกติของสมาชิกในครอบครัว
6.เลือดออกในข้อ (hemarthrosis)
7.เลือดออกโดยไม่มีเหตุนำ (spontaneous bleeding)
8.เลือดออกตามผิวหนัง เช่น petechiae, purpuric spot, ecchymoses
9.เลือดออกไม่หยุด หรือเลือดออกใหม่หลังจากที่เคยหยุดไปแล้ว
สาเหตุ
1.ความผิดปกติของหลอดเลือด (vascular defect) ความผิดปกติของหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุโดยตรงให้เกิดปัญหาเลือดออกผิดปกตินั้นพบน้อย เช่น ภาวะขาดวิตามินซี (scurvy) ทำให้มีความผิดปกติของชั้น collagen ของหลอดเลือดเกิดเลือดออกตามไรฟัน ถ้ารุนแรงอาจเกิดเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มกระดูก
2.กลุ่มของความผิดปกติของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดเลือดออกที่ผิวหนังที่มีลักษณะจำเพาะที่เรียกว่า petechiae และเลือดออกจากเยื่อบุ (mucosal bleeding) แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่3,4,11
2.1 เกิดจากภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia) สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ immune thrombocytopenic purpura ความผิดปกติของไขของกระดูก เช่น aplastic anemia, acute leukemia การติดเชื้อ เช่น ไข้เลือดออก
2.2 หน้าที่ของเกล็ดเลือดผิดปกติ (platelet dysfunction) สามารถแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่ความผิดปกติทางพันธุกรรม (พบไม่บ่อย) เช่น Glanzman thrombasthenia, Bernard-Soulier syndrome สาเหตุที่เกิดขึ้นภายหลัง เช่น acquired platelet dysfunction with eosinophilia (APDE) การใช้ยากลุ่ม NSAIDs เช่น aspirin
ความผิดปกติของสารแข็งตัวของเลือด (coagulation defects)
การวินิจฉัย
การซักประวัติ มีความสำคัญมากทำให้ได้ข้อมูลที่ช่วยการวินิจฉัย
1.1 อายุที่เริ่มมีอาการ เพื่อช่วยแยกภาวะเลือดออกเป็นแต่กำเนิด หรือเป็นภายหลัง
1.2 ประวัติสมาชิกในครอบครัวที่มีภาวะเลือดออกง่ายโดยเฉพาะ hemophilia ซึ่งถ่ายทอดแบบ X-linked recessive
1.3 ประวัติเลือดออกง่ายที่มีความสำคัญทางคลินิก เช่น เกิดขึ้นเองโดยไม่ได้รับการกระแทก หรือเกิดขึ้นไม่ได้สัดส่วนกับความรุนแรง เลือดออกหลายตำแหน่ง ในกรณีที่มีความผิดปกติ ของเกล็ดเลือดมักมีเลือดออกทันที มีปริมาณมากและอยู่นาน ส่วนกรณีที่เกิดจากความ ผิดปกติของปัจจัยการแข็งตัวของเลือด มักมีเลือดออกหลังจากเกิดบาดแผลแล้วระยะหนึ่ง (delayed bleeding) และเลือดออกไม่มาก
1.4 การใช้ยา ที่สำคัญได้แก่ ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านลิ่มเลือด
1.5 อาการอื่นๆ ร่วมกับอาการเลือดออกง่าย เช่น ไข้ ซีด คลำก้อนได้ ปวดกระดูกหรือปวดข้อ น้ำหนักลด
1.6 โรคพื้นฐานเดิม เช่น โรคตับ
การตรวจร่างกาย
ควรตรวจร่างกายทุกระบบอย่างละเอียด เช่น ภาวะซีด เหลือง ต่อมน้ำเหลืองโต ตับม้ามโต หลอดเลือดผิดปกติ (hemangioma) ลักษณะรอยโรคของโรคตับเรื้อรัง (chronic liver stigmata) ที่สำคัญ รวมถึงการตรวจลักษณะของเลือดที่ออก ซึ่งจะช่วยแยกพยาธิสภาพคร่าวๆ ว่าเป็น vascular defect, platelet defect หรือ coagulation defect
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 Complete blood count โดยดูค่า ความเข้มข้นเม็ดเลือดแดง จำนวนเม็ดเลือดขาว จำนวนเกล็ดเลือดรวมทั้ง การดู สเมียร์เลือดมีความสำคัญ เพื่อดูรูปร่างเม็ดเลือดแดง ตลอดถึงรูปร่างที่ผิดปกติและการติดสีของเกล็ดเลือด ผู้ป่วยที่มีเกล็ดเลือดต่ำกว่า 150,000 เซลล์/ลบ.มม. เรียกว่า ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ และสามารถประมาณจากสเมียร์เลือดที่มีคุณภาพหาจำนวนเฉลี่ยของเกล็ดเลือด ค่าปกติจะประมาณ 10-20 เซลล์ต่อหัว Oil หรือ ดูการติดสีของเกล็ดเลือดที่จางกว่าปกติ (pale stained) รวมทั้งรูปร่างและขนาดที่ผิดปกติ (bizarred shape or giant platelet) เช่น รูปร่าง platelet ที่ผิดปกติแบบ hypogranular bizarred shape platelet พบได้ใน APDE, พบ giant platelet ใน Bernard-Soulier syndrome
3.2 Bleeding timeในรายที่สงสัยว่า มีการทำงานของเกล็ดเลือดผิดปกติโดยจะมีค่า bleeding time ยาวกว่าปกติ ซึ่ง bleeding time เป็นการทดสอบกระบวนการ primary hemostasis ใช้ตรวจคัดกรองภาวะที่มีเลือดออกผิดปกติจากการทำงานของเกล็ดเลือดที่ผิดปกติ หรือความแข็งแรงของหลอดเลือด ไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำในภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
3.3 Coagulogramในรายที่สงสัยภาวะพร่องปัจจัยการแข็งตัวของเลือดในพลาสมาของผู้ป่วยโดยส่งตรวจ
Activated partial thromboplastin time (APTT) ใช้ตรวจภาวะพร่อง factor I ถึง XII ยกเว้น factor VII และ factor XIII ค่าปกติ 30-38 วินาที
Prothrombin time (PT) ใช้ตรวจภาวะพร่อง factor ในกลุ่ม prothrombin complex คือ II , V, VII, X โดย ค่าปกติจะมากกว่า 70% หรือ 11.5-14.5 วินาที หรือ international normalized ratio (INR) น้อยกว่า 1.3
Thrombin time (TT) ใช้ตรวจภาวะพร่องหรือทำหน้าที่ผิดปกติของ fibrinogen
3.4 การตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการอื่นๆ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคที่สงสัย (special hemostatic tests) เช่น วัดระดับ factor VIII, factor IX หรือประเมินการทำงานของเกล็ดเลือด โดยทดสอบ platelet aggregation ต่อสารกระตุ้นเกล็ดเลือด เช่น ristocetin, epinephrine เป็นต้น
มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ Lymphoma
Leukemia : Wbc มาก หรือน้อย กว่าปกติ ทำงานไม่ได้
Anemia : สร้าง Rbc น้อย พิการ ขนาด ปกติ ใหญ่ เล็ก
Bleeding disorder : สร้าง Platelet & Factor ได้น้อย
Lymphoma : T-cell , B-cell แบ่ง cell ผิดปกติ ทำหน้าที่ไม่ได้
Myeloid cell
ความหมาย
ภาวะที่เม็ดเลือดขาว กลายเป็นมะเร็งมีการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวอย่างมากมาย จนร่างกายของเราไม่สามารถควบคุมมันได้ เซลล์มะเร็งเหล่านี้จะไปอยู่ตามอวัยวะต่างๆทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร และมีภูมิคุ้ทกันต่ำ เนื่องเซลล์มะเร็งเหล่านี้ไม่สามารถทำงานได้เหมือนเซลล์ทั่วไป
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือด
• การได้รับรังสีเป็นจำนวนมาก เช่นระเบิดปรมณู
• การได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ยังต้องรอการศึกษายืนยัน
• ทางพันธุกรรม เช่น เด็ก Down' syndrome
• ผู้ที่ทำงานสัมผัสสารเคมีเช่น benzene
ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือด
มะเร็งสามารถเกิดจากเม็ดเลือดขาวได้ 2 ชนิด คือ lymphocyte และ myeloid และแบ่งการดำเนินของโรคเป็น acute คือเกิดเร็ว โรคดำเนินเร็ว blast cell มาก chronic โรคดำเนินช้า blast cell ไม่มากเราแบ่งเป็น
1.Acute lymphocytic leukemia [ALL] เซลล์ส่วนใหญ่เป็น lymphocyte มักพบในเด็ก
2.Acute myeloid leukemia [AML] พบมากในเด็กและผู้ใหญ่
3.Chronic lymphocytic leukemia [CLL] พบมากในอายุมากกว่า 55 ปี
4.Chronic myeloid leukemia [CML] พบในผู้ใหญ่
อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือด
1.ไข้หนาวสั่น บางครั้งเหมือนหวัด
2.อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด
3.มีการติดเชื้อบ่อย
4.บวมและเจ็บบริเวณต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม
5.เลือดออกง่ายบริเวณผิวหนัง ไรฟัน ตา
6.ปวดกระดูก
วินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาว
โดยแพทย์จะตรวจร่างกายพบตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลืองโตแพทย์จะเจาะเลือด เมื่อทราบว่าเป็นมะเร็งแพทย์จะเจาะไขกระดูก หรือเจาะไขสันหลังเพื่อตรวจเซลล์มะเร็งในน้ำไขสันหลัง
การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว
1.เคมีบำบัด Chemotherapy สามารถให้ได้ทั้งทางฉีดและการกิน มะเร็งบางชนิดอาจต้องให้เข้าไขสันหลัง
2.รังสีรักษา Radiotherapy สามารถให้ได้ 2 กรณีคือให้รังสีบริเวณที่มะเร็งอยู่ เช่นม้าม อันฑะ หรืออาจให้ฉายรังสีทั้งตัวเพื่อเตรียมการปลุกถ่ายไขกระดูก
3.การปลุกถ่ายไขกระดูก Bone marrow transplantation โดยการให้เคมีบำบัดขนาดสูงร่วมกับรังสีเพื่อทำลายเซลล์หลังจากนั้นจึงนำไขกระดูกของคนปกติฉีดเข้าไป ผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่โรงพยาบาลจนกระทั่งร่างกายสามารถสร้างเม็ดเลือดได้
4.การสร้างภูมิคุ้มกัน Biological therapy โดยการใช้ interferon กับเซลล์มะเร็งได้บางชนิด