Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร วิชาการบริหารการพยาบาล (Nursing…
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร
วิชาการบริหารการพยาบาล
(Nursing Administration)
ความหมาย
การบริหาร
บุคคล 2 คนขึ้นไปร่วมกันทํากิจกรรมต่างๆ โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมอย่างมีศิลปะ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหาร(Administration) ใช้ในการบริหารระดับสูง โดยเน้นที่การกําหนดนโยบายที่สําคัญและการกําหนดแผนของผู้บริหาร
การจัดการ(Management) การจัดการและดําเนินการตามนโยบายที่กำหนดไว้ เป็นการนํานโยบายไปปฏิบัติ
การบริหารการพยาบาล
การนําเอาศิลปะและวิชาการมาใช้ในการปฏิบัติงานหรือทํากิจกรรม
ร่วมกันของบุคลากรทางการพยาบาลและบุคลากรอื่นๆ โดยใช้ทรัพยากรที่จําเป็นในการรักษาพยาบาล เพื่อให้การบริการที่ดีแก่ผู้ป่วยและประชาชน ตามนโยบายและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ความสําคัญของการบริหาร
การบริหารเป็นศิลป์ (art) เป็นการประยุกต์ ความรู้ หลักการ และทฤษฎีทางการบริหารไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ ทักษะ ความรู้ ความสามารถพิเศษและบุคลิกเฉพาะตัวไปประยุกต์ใช้
การบริหารเป็นศาสตร์ (Science) ที่แสวงหาความเข้าใจอย่างมีระบบว่าทําอย่างไรให้คนสามารถทํางานร่วมกันอย่างมีระบบจนสําเร็จตามเป้าหมาย
การบริหารการพยาบาล ช่วยให้บุคลากรทางการพยาบาลร่วมมือกันทํางาน และสามารถทราบว่าองค์กรพยาบาลจะเป็นไปในทิศทางใด ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพของการบริหาร
แนวคิดทางการบริหาร
การบริหารที่มุ่งคนและงาน (Modern development) เป็นแนวคิดที่จะจัดระบบการบริหารแบบผสมผสานระหว่างการบริหารมุ่งผลงานและหลักการบริหารโดยมุ่งตัวบุคคล
การบริหารมุ่งผลงาน (Task center) ผู้บริหารจะให้ความสําคัญต่อปัจจัยการผลิตที่เกี่ยวข้อง มีวิธี “ปรับคนให้เข้ากับงาน” ผลงาน และผลกําไรเป็นสิ่งสําคัญ
การบริหารที่มุ่งถึงประสิทธิภาพตามสถานการณ์ เป็นแนวคิดที่เน้นว่าในทางปฏิบัติจะไม่มีวิธีการบริหารใดที่ใช้ดีที่สุด ขึ้นกับสถานการณ์ในขณะนั้น
การบริหารโดยมุ่งตัวบุคคล (Personal center) ผู้บริหารจะให้ความสําคัญกับคน โดยยึดหลักว่า ถ้าคนดีแล้วผลผลิตจะดีตามมาเองเป็นวิธี “ปรับงานให้เข้ากับคน”
องค์ประกอบของการบริหาร
กระบวนการบริหาร
D (Directing)
การอํานวยการ เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นํา การวินิจฉัยสั่งการ การควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน การนิเทศงาน และการติดตามผลการปฏิบัติงาน การบริหารงานจะบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยหลักมนุษยสัมพันธ์ และการจูงใจ เป็นเครื่องมือในการอํานวยการด้วย
O (Organizing)
การจัดโครงสร้างของการบริหารงาน ซึ่งพิจารณาตามการควบคุมหรือตามหน่วยงาน
P (Planning)
การวางแผนงาน เป็นการวางโครงการเป็นลําดับขั้นที่จะต้องปฏิบัติพร้อมทั้งวัตถุประสงค์ โดยคํานึงถึงนโยบาย เพื่อให้แผนงานที่กําหนดสอดคล้องกัน
S (Staffing)
การดําเนินการเกี่ยวกับคนในองค์กร ซึ่งเรียกว่า การบริหารงานบุคคล
Co (Coordinating)
การประสานงาน โดยการจัดวางระเบียบการปฏิบัติงานของบุคลากร
เพื่อไม่ให้งานซ้ําซ้อน ขัดแย้ง หรือเหลื่อมล้ํากัน
R (Reporting)
การบันทึกรายงาน ไว้เป็นหลักฐาน เพื่อเสนอผู้บังคับบัญชา
B (Budgeting)
การจัดทํางบประมาณการเงิน เริ่มจากการวางแผน หรือโครงการใช้จ่ายเงิน การบัญชีและการควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงิน
ทรัพยากรการบริหาร 3M'S >> 4M'S
เงิน หรือ งบประมาณ (Money) เงินเป็นปัจจัยนําเข้าที่เพียงพอแก่การ
ดําเนินการ ผู้บริหารต้องวางแผนการใช้เงินอย่างเหมาะสมคุ้มค่า
วัสดุอุปกรณ์ (Materials) ผู้บริหารต้องจัดหาให้พอกับความต้องการ
และให้การพยาบาลเกิดคุณภาพที่แท้จริง
คน หรือ บุคลากร (Man) ต้องเป็นคนที่มีความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม และมีพฤติกรรมเหมาะสม ที่จะเป็นผู้นําด้านสุขภาพ
การจัดการ(Management)
วัตถุประสงค์ของการบริหารงาน 3E'S
เกิดความประหยัด (Economic)
ผลงานมีประสิทธิภาพ (Effectiveness)
ผลงานมีประสิทธิผล (Efficiency)