Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 แผนพัฒนาการจัดการศึกษา (บทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจ…
บทที่ 4
แผนพัฒนาการจัดการศึกษา
บทนำ
กรอบทิศทางในการกำหนดมาตรฐานของสถานศึกษาของตนเองมีทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัย
ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของการจัดการศึกษา
มาตรฐานการศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อการกำกับ ติดตาม ดูแล ตรวจสอบ และประกันคุณภาพของสถานศึกษา
แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
ให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
แผนพัฒนาการจัดการศึกษาจะเป็นเครื่องมือใน
การสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้เรียน กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ได้รับรู้และเข้าใจใน การบริหารและจัดการคุณภาพที่มีการแสดงเป้าหมาย ทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจน
การวิเคราะห์บริบทของสถานศึกษา (SWOT Analysis)
SWOT Analysis
เป็นกระบวนการวิเคราะห์บริบทของสถานศึกษา เพื่อให้ได้ผลสรุปสำหรับกำหนดวิสัยทัศน์และกลยุทธ์
เพื่อพัฒนาสถานศึกษาที่มีความชัดเจน
Strengths
คือ จุดแข็งหรือจุดเด่น หมายถึง การดำเนินงานภายในสถานศึกษาที่บรรลุวัตถุประสงค์
Weaknesses
คือ จุดอ่อนหรือจุดที่ควรพัฒนา หมายถึง
การดำเนินงานภายในสถานศึกษาที่ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์
Opportunities
คือ โอกาส หมายถึง ปัจจัยหรือสภาพแวดล้อมภายนอกที่ เอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินการของสถานศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์
Threats
คือ อุปสรรค หมายถึง ปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่ทำให้งานไม่บรรลุวัตถุประสงค์
วงจรการบริหารงานเชิงระบบ (PDCA)
วงจรเดมมิ่ง (Deming Cycle)
เป็นกระบวนการดำเนินงานเชิงระบบ
รูปแบบหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย PDCA มาจากคำว่า Plan (วางแผน) Do (ปฏิบัติ) Check (ตรวจสอบ) และ Act (ปรับปรุงและพัฒนา)
การตรวจสอบมาดำเนินการ 2 กรณี
กรณีที่ 1 ถ้ามีผลการปฏิบัติงานที่ดี
ให้นำกระบวนการปฏิบัตินั้นมาจัดทำเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษา
กรณีที่ 2 ถ้าผลงานยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์
ต้องนำผลการประเมินมาพิจารณาว่าควรดำเนินการอย่างไรต่อไป เพื่อให้บรรลุผลตามที่กำหนดไว้
เมื่อนำวงจรเดมมิ่งมาใช้ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง จะทำให้การทำงานมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องไม่หยุดนิ่ง
บทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
1. บุคลากรภายในสถานศึกษา
1.1 ผู้อำนวยการโรงเรียน
มีบทบาทวิเคราะห์ ศึกษานโยบาย ยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาของชาติ กระทรวง กรม จังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา และสภาพความต้องการของท้องถิ่นชุมชน สภาพการจัดการศึกษา สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นอย่างเป็นระบบ
นำมากำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และความสำเร็จของสถานศึกษา
1.2 รองผู้อำนวยการโรงเรียน/หัวหน้ากลุ่ม/หัวหน้างาน/หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้/ครู มีบทบาทหน้าที่
สรุปข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของสถานศึกษา ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน ผลงานดีเด่นของผู้เรียน ศักยภาพของครู สภาพการจัดการเรียนการสอน
2. บุคลากรอื่นที่เกี่ยวกับสถานศึกษา
2.1 คณะกรรมการสถานศึกษา
มีบทบาทหน้าที่ให้ข้อมูลและ
ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับชุมชน สภาพปัญหาและ
ความต้องการของผู้ปกครอง ท้องถิ่น ชุมชน ความต้องการของชุมชน แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา วิทยากรท้องถิ่น การสนับสนุน
จากชุมชน คุณภาพผู้เรียน และการศึกษาต่อ
2.2 ผู้ปกครอง ผู้เรียน
มีบทบาทหน้าที่ให้ข้อมูลและร่วมวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับชุมชน สภาพปัญหาและความต้องการของผู้ปกครองและผู้เรียน การช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียน การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการศึกษาต่อ
2.3 หน่วยงาน องค์กรปกครองท้องถิ่น องค์กรเอกชน และชุมชน
มีบทบาทหน้าที่
ร่วมจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐาน
การศึกษาของสถานศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปี
นางสาวมณฑิตา ดีรัตน์ รหัสนิสิต 60206644