Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acquired Heart Disease AHD D8CA95CE-15AC-4B8B-A3E8-FA061B6225FB …
Acquired Heart Disease
AHD
ไข้รูห์มาติค Rheumatic Fever
ความหมาย
โรคที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อ ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเช่นหัวใจเนื้อเยื่อของข้อสมองเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและผิวหนัง เป็นผลจาก autoimmune reaction มักเกิดตามหลังคออักเสบจากการติดเชื้อ ทำให้การทำงานของลิ้นหัวใจผิดปกติเกิดเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค
สาเหตุ
ไข้รูห์มาติคเป็นโรคที่มักเกิดตามหลังการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น คออักเสบหรือต่อมทอลซิลอักเสบ จากเชื้อ B-hemolytic streptococcus group A
พยาธิสรีรวิทยา
เมื่อเกิดการติดเชื้อ B-hemolytic streptococcus group A ในร่างกายเช่นการติดเชื้อที่หูการติดเชื้อที่ต่อมทอนซิลโดยเฉพาะการติดเชื้อที่ลำคอซึ่งมักพบได้บ่อย ประมาณ 1-5 สัปดาห์ ผู้ป่วยจึงแสดงอาการ สำหรับกลไกการเกิดโรคเชื่อว่าเมื่อเชื้อโรคเข้าไปสู่ร่างกายร่างกายจะมีปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค (antigen-antibody reaction)โดยจะสร้างแอนติบอดี้จำเพาะต่อเชื้อโรค แต่เนื่องจากส่วนต่างๆของเชื้อโรคมีความคล้ายคลึงกันระบบคุมคุ้มกันกับเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆในร่างกาย แอนติบอดี้จำเพาะต่อเชื้อโรคดังกล่าวก็จะมีปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆด้วยจึงทำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้ถูกทำลาย เช่นหัวใจ เนื้อเยื่อข้อสมองเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง และผิวหนัง โดยทำให้อวัยวะต่างๆมีการอักเสบเกิดขึ้น
ลักษณะอาการทางคลีนิค
อาการหลัก major criteria
1.Carditis เป็นการอักเสบของหัวใจ
2.Polyarthritis การอักเสบของ synovial membrane ทำให้ข้อ เนื้อเยื่อที่ข้อและรอบๆข้อจะบวม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อ
3.Chorea หรือ sydenham’s chorea มีการอักเสบของเนื้อเยื่อสมอง
4.Subcutaneous nodules มีการอักเสบของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
5.Erythema marginatum มีการอักเสบของผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นเป็นวงแดงที่ผิวหนัง
อาการรอง minor criteria
Fever,ESR,Arthralgia,long PR interval
เกณฑ์การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคไข้รูห์มาติคโดยอาศัย Jone’s criteria ได้แก่
1.มี 2 major criteria
2.มี 1 major และ 2 minor criteria
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 1 มีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจเนื่องจากมีการติดเชื้อ B-hemolytic streptococcus group A
1.ดูแลให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา และอธิบายให้ผู้ป่วยและบิดามารดาให้เข้าใจถึงเหตุผลของการให้ยา
2.ดูแลให้พักผ่อนอย่างเต็มที่และจำกัดกิจกรรมต่างๆที่ต้องออกแรงเพื่อลดการทำงานของหัวใจ
3.ดูแลให้ยาแอสไพริน ตามแผนการรักษาเพื่อลดการอักเสบของหัวใจและลดไข้
4.ดูแลให้ยาเพนนิโซโลน ในรายที่ severe carditis หรือมีภาวะหัวใจวายร่วมด้วย จะช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ
5.ทำ tepid sponge ในรายที่ไข้สูง 38.5 องศาเซลเซียส เพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย
6.สังเกตและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมงและชีพจรขณะหลับ
7.ติดตามฟังเสียงฟู่ของหัวใจและการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดจนผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 2 มีการอักเสบของข้อเนื่องจากมีการติดเชื้อ B-hemolytic streptococcus group A
1.ดูแลให้ยาแอสไพริน ตามแผนการรักษาเพื่อลดการอักเสบของข้อ
2.ดูแลให้ผู้ป่วยได้พักข้อที่มีการอักเสบและอยู่ในท่าที่ผ่อนคลายมากที่สุด
3.ช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรมเนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกจากอาการปวดข้อ
4.ระมัดระวังอุบัติเหตุซึ่งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากมีความจำกัดในการเคลื่อนไหว
5.สังเกตและบันทึกอาการอักเสบของข้อเช่น บวม แดง ร้อน ปวด หรือกดเจ็บ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 3 อาจเกิดการกลับมาเป็นซ้ำ Rheumatic fever จากเชื้อ B-hemolytic streptococcus grroup A
1.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ B-hemolytic streptococcus group A
2.แนะนำบิดามารดาและผู้ป่วยแนะนำบิดามารดาและผู้ป่วยให้เข้าใจความจำเป็นของการให้ยาปฏิชีวนะจนถึงวัยผู้ใหญ่ให้เข้าใจความจำเป็นของการให้ยาปฏิชีวนะ
3.แนะนำให้ผู้ป่วยดูแลรักษาความสะอาดปากฟันเพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคภายในช่องปากซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบหายใจส่วนต้นได้
4.ดูแลให้ผู้ป่วยมีสุขวิทยาส่วนบุคคลเพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรงลดโอกาสการเป็นหวัดหรือการติดเชื้อในร่างกาย
5.แนะนำให้จำกัดกิจกรรมเพื่อออกแรงมากโดยเฉพาะในรายที่สงสัยว่ามีการทำลายหัวใจ
6.แนะนำให้ แนะนำให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการติดเชื้อเช่นมีไข้ เจ็บคอ คอแดง
7.แนะนำให้บิดามารดาสังเกตอาการผิดปกติเช่น มีไข้ หอบ ปวดข้อ หรือเจ็บคอ
8.ควรแจ้ง ควรแจ้งทันตแพทย์เกี่ยวกับประวัติไข้รูห์มาติคเพื่อให้ได้รับยาปฏิชีวนะก่อนทำฟัน
โรคหัวใจรูห์มาติค Rheumatic heart disease : RHD
ความหมาย
โรคหัวใจในเด็กที่เกิดภายหลังไข้รูห์มาติคทำให้มีการอักเสบของหัวใจทุกชั้น รวมทั้งเยื่อบุหัวใจ และลิ้นหัวใจ อาจเกิดลิ้นหัวใจรั่ว หรือลิ้นหัวใจตีบ
อุบัติการณ์
พบมากในเด็กพบมากในเด็กอายุระหว่าง 5-15 ปีโดยเฉพาะในประเทศไทยที่กำลังพัฒนา
สาเหตุ
โรคหัวใจรูห์มาติคเป็นผลหรือภาวะแทรกซ้อนของไข้รูห์มาติคเนื่องจากร่างกายได้รับเชื้อ B-hemolytic streptococcus group A ประมาณ 1-5 สัปดาห์ แล้วไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องหรือทันท่วงทีจึงทำให้เกิดหัวใจอักเสบ และมีการทำลายลิ้นหัวใจ
พยาธิสรีรวิทยา
ภายหลังที่เด็กเป็นไข้รูห์มาติค จะมีการอักเสบของหัวใจทุกชั้น รวมถึงลิ้นหัวใจด้วย ซึ่งประกอบด้วยแผ่นลิ้นเนื้อเยื่อเอ็นยึดลิ้นและกล้ามเนื้อ ในรายที่เป็นไข้รูห์มาติคซ้ำๆหลายครั้งจากส่งผลให้ลิ้นหัวใจถูกทำลายมากขึ้นโดยมีการหดตัวหรือแข็งตัว ทำให้เกิดความผิดปกติของลิ้นหัวใจอาจเป็นการรั่วหรือการตีบ
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 1.เสี่ยงต่อการติดเชื้อ B-hemolytic streptococcus group A ซ้ำและมีการติดเชื้อเยื่อบุหัวใจจากการเป็นโรค หัวใจรูห์มาติคมาก่อน
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 2.เสี่ยงต่อเนื้อเยื่อของร่างกายขาดออกซิเจนเนื่องจากมีภาวะหัวใจวายเพราะมีการอักเสบของหัวใจและพยาธิสภาพของลิ้นหัวใจ
-ดูแลให้ผู้ป่วยได้ ได้รับยาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจเช่น เพนนิโซโลน (5mg.)และ ASA (gr.V) โดยให้รับประทานหลังอาหารทันทีหรือหลังดื่มนมเพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อเยี่อบุกระเพาะอาหาร
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 3.วิตกกังวลจากการถูกจำกัดกิจกรรมบนเตียงเลออยู่โรงพยาบาลเป็นระยะเวลานาน
1.สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและไว้วางใจ
2.เปิดโอกาสให้ซักถามข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วยหรือกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่ได้รับ
3.อธิบายให้ผู้ป่วยและบิดามารดาให้เห็นถึงความจำเป็นของการต้องถูกจำกัดกิจกรรม
4.สนับสนุนให้บิดามารดาได้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกอบอุ่นใจ
5.แนะนำผู้ป่วยข้างเตียงให้พูดคุยกัน สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนข้างเตียง
6.จัดกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับวัยเช่น อ่านการ์ตูน ระบายสี วาดภาพ ต่อภาพ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 4.บิดามารดาขาด/พร่องความรู้ในการดูแลบุตรที่บ้าน
1.การพักผ่อนอย่างเพียงพอและทำกิจกรรมที่ออกกำลังกายแขนขาเบาๆ
2.ให้รับประทานอาหารรสจืด เป็นอาหารที่มีแคลอรี่และโปรตีนสูง
3.การป้องกันการเป็นไข้รูห์มาติคซ้ำ เช่น การแปรงฟันหลังมื้ออาหาร ต้องแจ้งทางทันตแพทย์ทุกครั้งว่าบุตรเป็นโรคหัวใจ เพื่อจะได้พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะก่อนทำฟัน เพื่อป้องกันการเกิดเยื่อบุหัวใจอักเสบ
4.การพาบุตรมาตรวจตามนัดทุกครั้ง และสังเกตอาการผิดปกติที่ควรรีบมาพบแพทย์เช่น มีไข้ เจ็บคอ หัวใจเต้นแรงเร็ว หายใจเร็ว หอบ เขียวเป็นต้น
ภาวะหัวใจวาย Heart failure
ความหมาย
ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกายได้เพียงพอกับความต้องการ
อุบัตการณ์
ร้อยละ 90 ของเด็กโรคหัวใจวาย มักพบในช่วง 6 เดือนแรก สาเหตุจากโรคหัวใจแต่กำเนิด
สาเหตุ
1.ความผิดปกติของหัวใจที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้นเนื่องจากมีปริมาณเลือดในหัวใจเพิ่มขึ้นมาก เกิดจากการมีการรั่วไหลของเลือด ทำให้มีปริมาณเลือดในเวนติเคิลมากขึ้นส่งผลให้เวนติเคิลต้องบีบเลือดในปริมาณที่สูงขึ้นหรือมีความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจทำให้มีปริมาณเลือดไปปอดมากขึ้น ส่งผลทำให้หัวใจต้องทำงานเพิ่มขึ้นเรียกภาวะนี้ว่า preload หรือ Volume overload
แบ่งได้ 3 กลุ่มได้แก่
1.1 กลุ่มที่มีเลือดไหลลัดจากหัวใจซีกซ้ายไปซีกขวา เช่น VSD,ASD และ PDA
1.2กลุ่มที่มีการรั่วของลิ้นหัวใจ มักพบในโรคหัวใจรูห์มาติค
1.3 กลุ่มที่มีเลือดไปปอดมากขึ้น มักพบในโรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดเขียว DORV,TGA
2.ความผิดปกติของหัวใจที่ทำงานมากขึ้นเนื่องจากมีความดันในเวนติเคิลสูงกว่าปกติ เกิดจากการอุดกั้นของทางออกของเวนติเคิล ทำให้มีเลือดไหลออกจากเวนติเคิลได้ยากขึ้นเรียกภาวะนี้ว่า afterload หรือ pressure overload
แบ่งได้ 2 กลุ่มได้แก่
2.1 กลุ่มที่มีการอุดกั้นของการไหลเวียนเลือดจากเวนติเคิล เช่น AS,PS และ CoA
2.2 กลุ่มที่มีแรงต้านทานการไหลเวียนเลือดของเลือดออกจากเวนติเคิลมากขึ้น
3.ความผิดปกติของเนื้อหัวใจ myocardial factor ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจลดลงเนื่องจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจลดลง
4.จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ส่งผลให้ปริมาณเลือดไหลออกจากหัวใจลดลง
พยาธิสรีรวิทยา
เมื่อมีความผิดปกติในระบบหัวใจและหลอดเลือด จะส่งผลให้ปริมาณเลือดที่ไหลออกไปเลี้ยงร่างกายต่อนาทีลดลงอวัยวะและเนื้อเยื่อของร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นจึงมีการปรับตัวเพื่อคงปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอดังนี้
1.การกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเธติค ทำให้มีการหลั่งของ catecholamine ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วและกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวแรงขึ้นและมีการหดตัวของหลอดเลือดดำ ทำให้เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจมากขึ้น
2.เลือดไปเลี้ยงไตลดลง ไตจะตอบสนองโดยการกระตุ้น rennin-angiotensin-angiotensin-aldosterone system ทำงานมากขึ้น และมีการหลั่งของ antidiuretic hormone (ADH) เพิ่มขึ้น ทำให้มีการดูดกลับของน้ำที่ไตเพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณเลือดในระบบไหลเวียนเพิ่มขึ้น
3.มีการเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อชดเชยการทำงานของหัวใจ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้หัวใจโตขึ้น ผนังหนาขึ้น เพื่อให้หัวใจสามารถบีบตัวได้แรงกว่าปกติ
4.การขยายตัวของหัวใจ โดยผนังกล้ามเนื้อของเวนติเคิลจะยืดขยายออกเพื่อรับปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความดันในเวนติเคิลสูงขึ้น
ลักษณะอาการทางคลีนิค
1.อาการของหัวใจซีกซ้ายวาย ได้แก่ หายใจเร็ว ปีกจมูกบาน หายใจลำบาก หน้าอกบุ๋ม และมีการหดตัวของกล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ นอนราบไม่ได้ มีอาการเหนื่อยหอบในช่วงกลางคืน มีเสมหะเป็นฟองหรือมีเลือดปนและฟังเสียง Crepitation เนื่องจากมี pulmonary congestion
2.อาการของหัวใจซีกขวาวาย ได้แก่ หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง หน้าบวม ตาบวม ตับโต บางรายอาจมีม้ามโต คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้องแน่นอึดอัดท้อง แขนขาเย็น บวม
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 1 ปริมาณเลือดออกจากหัวใจต่อนาทีลดลง/ปริมาณเลือดไปเลี้ยงร่างกายลดลงเนื่องจากความผิดปกติของหัวใจหรือหลอดเลือด
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 2 มีภาวะน้ำเกินเนื่องจากมีการเสียสมดุลของปริมาณน้ำในร่างกายจากหัวใจล้มเหลว
1.จำกัดกิจกรรมของผู้ป่วยดูแลให้พักผ่อนเต็มที่ให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวลและรวดเร็วเพื่อลดความต้องการใช้ออกซิเจนของร่างกาย
2.จัดให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูงประมาณ 30 - 45 องศาเพื่อช่วยให้ปอดขยายตัวอย่างเต็มที่ ลดปริมาณเลือดดำที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจ
3.ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาเพื่อประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจรวมทั้งสังเกตและบันทึกอาการข้างเคียงของยาและรายงานแพทย์หากพบอาการผิดปกติ
4.ดู ดูแลให้ออกซิเจนตามแผนการรักษาในรายที่เหนื่อยหอบเพื่อเพิ่มออกซิเจนในกระแสเลือด
5.บันทึกสัญญาณชีพ ความดันเลือดตามแผนการรักษา
6.ดูแลให้อาหารรสจืดเพื่อลดการสะสมของน้ำและโซเดียมภายในร่างกาย
7.บันทึกปริมาณน้ำและปัสสาวะ ชั่งน้ำหนักทุกวันเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของสมดุลน้ำ
โรคติดเชื้อที่ลิ้นและผนังภายในหัวใจ
Infective Endocarditis : IE
ความหมาย
โรคติดเชื้อที่หัวใจ ที่มีการอักเสบของลิ้นหัวใจ ผนังหัวใจ หลอดเลือดและเนื้อเยื่อข้างเคียง
สาเหตุ
ติดเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ รา ไวรัส หรือเชื้อโรคอื่น มักเกิดในเด็กโรคหัวใจแต่กำเนิดเนื่องจากมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของหัวใจและหลอดเลือด
พยาธิสรีรวิทยา
เมื่อมีการติดเชื้อในร่างกาย ทำให้มีการไหลเวียนเลือดที่ผิดปกติในห้องหัวใจหรือหลอดเลือดจะถูกทำลาย ทำให้มีบางส่วนหลุดออกมาอยู่ในกระแสเลือด เกล็ดเลือดมาเกาะแล้วเกิดเป็นก้อนลิ่มเลือดขึ้นเมื่อร่างกายมีการติดเชื้อโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียซึ่งมีความสามารถสูงในการเกาะติดจะมารวมกับตัวลิ่มเลือด ก้อนลิ่มเลือดที่มีเชื้อโรคจะปล่อยสารพิษเข้าทำลายเนื้อเยื่อของหัวใจทำให้ฉีกขาดโดยเฉพาะที่มีความบอบบางเช่นลิ้นหัวใจเยี่อบุหัวใจหากลิ่มเลือดหลุดไปอุดในหลอดเลือดของอวัยวะใดก็จะเกิดอันตรายต่ออวัยวะนั้น
ลักษณะอาการทางคลีนิค
1.อาการเฉียบพลัน กลุ่มนี้จะมีอาการช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดหรือปอดบวม ซึ่งมักพบในเด็กเล็กและทารกแรกเกิด พบมีไข้สูง ร่วมกับหายใจหอบเหนื่อย
2.อาการดำเนินอย่างช้าๆ เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน อาการในกลุ่มนี้ที่พบบ่อยได้แก่
-ในเด็กเล็กมีไข้ต่ำประมาณ 1-2 สัปดาห์ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เหนื่อยง่าย อาจมีปวดข้อ ข้ออักเสบบริเวณข้อใหญ่ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน
-เด็กโตอาจบอกว่ารู้สึกเจ็บหน้าอก
อาการร่วมอาการร่วมได้แก่หัวใจวาย แขนขาอ่อนแรง มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง เช่น หนังตาและตาขาวมีเลือดออกเป็นเส้นคล้ายเสี้ยนตำที่ใต้เล็บมือเล็บเท้า อาจพบนิ้วปุ้มแต่ไม่เขียวที่ปลายนิ้วมือหรืออาจพบก้อนแดงกดเจ็บ หรือพบรอยแดงเล็กที่ฝ่ามือฝ่าเท้าเมื่อกดแล้วมีสีซีดลง
การพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 1.เนื้อเยื่อร่างกายมีภาวะพร่องออกซิเจนจากการทำงานของเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจผิดปกติเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 2.ไข้ ปวดศีรษะ ปวดข้อและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรียที่เยื่อบุหัวใจ
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 3.วิตกกังวลเนื่องจากการพรากจาก/การเจ็บป่วย/การมีภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปและกลัวตาย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 4.การเจริญเติบโตและพัฒนาการช้า
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 5.ขาดความรู้ ขาดความรู้ในการปฏิบัติตนและการดูแลที่บ้าน
การรักษา
1.การรักษาเฉพาะคือให้ยาปฏิชีวนะ เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาโดยให้ยาตามเชื้อที่ตรวจพบ ยาที่ให้ต้องมีระดับความเข้มข้นสูงจึงจะทำลายเชื้อได้ ดังนั้นจึงต้องให้ยาทางหลอดเลือดดำแล้วต้องให้ยาในระยะเวลานานพอที่จะกำจัดเชื้อให้หมดไปทั่วไปการให้ยาปฏิชีวนะนาน 4-8 สัปดาห์หลังให้ยาอาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วันไข้ลดลงและหายภายใน 1 สัปดาห์หลังการรักษาแม้ว่าเชื้อโรคจะยังไม่หมดไป
2.การรักษาทั่วไป ได้แก่ การให้เด็กนอนพัก และดูแลให้ได้รับสารอาหารเพียงพอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคซึ่งในรายที่เป็นมานานมากมีภาวะขาดสารอาหารร่วมด้วย นอกจากนี้ให้การรักษาภาวะแทรกซ้อนตามอาการ
3.การรักษาโดยการผ่าตัด ในรายที่มีลิ้นหัวใจรั่วและมีอาการหัวใจวายที่รุนแรง จำเป็นต้องรักษาด้วยการทำผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
นางสาววนิดา สิงหาเทพ รหัส 61122230029 เลขที่ 26
นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2