Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิด หลักการพยาบาลในการดูแลสุขภาพครอบครัวที่มีภาวะเสี่ยง…
แนวคิด หลักการพยาบาลในการดูแลสุขภาพครอบครัวที่มีภาวะเสี่ยง และมีปัญหาสุขภาพที่
พบบ่อย
ความหมายของคำว่า " ครอบครัว "
ครอบครัวเข้มแข็ง
คน 2 คนขึ้นไป ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันอย่างมีจุดหมาย มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน พึ่งพาตัวเองได้ ปรับตัวเข้าหากันได้
ครอบครัวอบอุ่น
บุคคลที่มีความผูกพันกันทางอารมณ์และจิตใจ ในการใช้ชีวิตร่วมกัน อย่างมีจุดหมาย และความสงบสุข
ครอบครังสุขภาพดี
เป็นสุขภาพของครอบครัว หรือลักษณะของครอบครัวที่มีความเข้มแข็ง หรือครอบครัวที่มีพลัง
ปัญหาครอบครัว(Family Problems)
ภาวะที่ไม่เป็นปกติที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว ที่เกิดจากสมาชิกภายในครอบครัว
ปัญหาความยากจนและหนี้สิน : อาจเกิดจากโอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรและการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ปัญหาสุขภาพ ไม่มีทรัพย์สินและที่ดินทำกิน
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
ความรุนแรงในครอบครัว
สัมพันธภาพและการสื่อสารในครอบครัว
การอบรมเลี้ยงดู
เด็กและผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง
ปัญหาอบายมุข การพนัน บุหรี่ เหล้า สารเสพติด ในครอบครัว
ครอบครัวเสี่ยง
อาจเป็นสามีและภรรยา หรือบุคคลอื่นภายในครอบครัวคนใดคนหนึ่ง มีแนวโน้มเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงในครอบครัว เช่น การดื่มสุรา เล่นการพนัน มีปัญหาความยากจน
มุมมองต่อการพยาบาลครอบครัว
แบบที่1 ครอบครัวเป็นบริบท (Family as Context)
เป็นการมองแค่บุคคล บุคคลเดียว โดยครอบครัวเป็นผู้สนับสนุนบริบทต่อบุคคลทั้งทรัพยากรหรือความเครียดต่อภาวะสุขภาพ
แบบที่ 2 ครอบครัวเป็นผู็รับบริการ (Family as Client)
เป็นการมุ่งเน้นที่การดูแลครอบครัวเป็นศูนย์กลางโดยการประเมินสมาชิกทั้งหมดของครอบครัว สมาชิกทุกคนเป็นเบื้องหน้า
แบบที่ 3 ครอบครัวเป็นระบบ (Family as System)
เป็นการมุ่งเน้นระบบทั้งครอบครัว การมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของสมาชิกในครอบครัวในเชิงระบบ และรวมถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวด้วย
แบบที่ 4 ครอบครัว เป็นองค์ประกอบของสังคม (Family as Component Society)
เป็นการมุ่งเน้นที่มองครอบครัวว่าเป็นองค์ประกอบของสังคมซึ่งในสังคมมีหลายสถาบัน เช่น สุขภาพ การศึกษา ศาสนา หรือสถาบันทางเศรษฐกิจ ครอบครัวมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมทั้งหมดเป็นระบบใหญ่
ทฤษฏีในการดูแลสุขภาพครอบครัวที่มีภาวะเสี่ยง และมีปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย
1.ทฤษฏีโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-Functional theory) : เน้นการทำความเข้าใจกับพื้นฐานของสมาชิกแต่ละคน ในด้านการป้องกัน การสืบพันธุ์ เศรษฐกิจ
2.ทฤษฏีระบบครอบครัว (Family Systems Theory) : ได้พูดถึงว่าระบบครอบครัวว่าเป็นการมองครอบครัวเป็น ทั้งหมด the whole ไม่ใช่การรวมกันของแต่ละส่วนหรือแต่ละคน
3.ทฤษฏีพัฒนาการของครอบครัว (Family Development Theory) : เป็นการมองการเปลี่ยนแปลงแต่ละช่วงชีวิตการเป็นครอบครัว โดยแบ่งตามระยะของพัฒนาการของครอบครัว
4.ทฤษฏีวงจรชีวิตครอบครัว (Family Development Theory) : ครอบครัวมีการเจริญเติบโตและพัฒนา เริ่มต้นจากการตั้งครอบครัวและจบลงด้วยการจากไปของสมาชิก
ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น : คู่สมรสต้องเรียนรู้นิสัยใจคอกัน เริ่มสร้างฐานะ วางแผนชีวิตครอบครัว
ระยะที่ 2 ระยะเด็ก : เริ่มมีเด็กเล็กเกิดขึ้นในครอบครัว เป็นการดูแลทารก
ระยะที่ 3 ระครอบครัวที่มีเด็กวันก่อนเรียน (Family with preschool children)
ระยะที่ 4 ระยะครอบครัวที่มีเด็กวัยเรียน (Family with school children)
ระยะที่ 5 ระยะครอบครัวที่มีเด็กวันรุ่น (Family with teenagers)
ระยะที่ 6 ครอบครัววัยผู้ใหญ่ตอนต้น (Family launching young adults)
ระยะที่ 7 ครอบครัวระยะกลางจนถึงเกษียณ (Middle-aged parents)
ระยะที่ 8 ครอบครัวระยะเกษียณและวัยสูงอายุ (Family in retirement and old age )
5.ทฤษฏีนิเวศมานุษวิทยา (Human Ecology Theory) : เน้นให้ความสำคัญกับบริบทสังคมที่มีผลต่อการพัฒนามนุษย์
6.ทฤษฏีทางการพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว
แบบจำลองระบบเปิดของคิง (King' s Open Systems Model) : พยาบาลเป็นหุ้นส่วนของครอบครัว มีการตั้งเป้าหมายร่วมกัน มีการประสานงานกัน
ทฤษฏีระบบของนิวเเมน (Neuma' System Model) : ให้ความสำคัญกับภาวะเครียดและปฏิกิริยาต่อภาวะเครียด บทบาทพยาบาล คือการปรับสมดุลครอบครัว โดยป้องกัน สร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันการแทรกซ้อนหรือกลับเป็นซ้ำ
ทฤษฏีการดูแลตนเองของโอเร็ม (Dorathea Orem's Self-Care Theory) โดยให้ความสำคัญกับการช่วยบุคคลสนองตอบต่อความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด
แบบจำลองการปรับตัวของรอย (Roy' Adaptation Model) :ครอบครัวเป็นระบบของการปรับตัวต่อสิ่งกระตุ้น 4 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมกายภาพ แนวคิดเกี่ยวกับตนเอง บทบาทหน้าที่ และการพึ่งพาซึ่งกันและกัน
บทบาทของพยาบาลครอบครัว
1.ผู้ให้ความรู้ทางสุขภาพ ผู้สอนสุขศึกษา (Health Education)
2.ผู้ประสานงาน (Coordinator)
3.ผู้พิทักษ์สิทธิ์ (Advocator)
4.ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change leader)
5.ผู้แนะแนว (Counselor)
6.ที่ปรึกษา (Consultant)
7.ผู้ดุแลและนิเทศน์ในการดูแลร่างกาย (Deliver and supervisor of physical care)
8.ผู้ร่วมงาน (Collaborator)
9.ผู้ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม(Environment modifier)
ผู้วิจัย (Researcher)
11.นักระบาดวิทยา (Epidemiologist)
วิสัยทัศน์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ.2560-2564 "สถาบันครอบครัวเป็นเป้าหมายหลักของประเทศ ที่ต้องได้รับการพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง ทำหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม และสมาชิกในครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
ยุทธศาสตร์การพัฒนาครอบครัว : ที่มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อพัฒนาให้ครอบครัวในสังคมไทยมีความเข้มแข็งและอบอุ่น สู่การเป็นครอบครัวสุขภาพดี
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาศักยภาพของครอบครัว
เป้าหมาย : ครอบครัวมีศักยภาพ และสัมพันธภาพที่ดี สามารถทำบทบาทหน้าที่ได้อย่างเหมาะสม สมาชิกของครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม มีภูมิคุ้มกัน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การบริหารจัดการที่เอื้อต่อความเข้มแข็งของครอบครัว
เป้าหมาย ระบบการบริหารจัดการด้านครอบครัวที่เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายทางสังคมเพื่อพัฒนาครอบครัว
เป้าหมาย เครือข่ายทางสังคมทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินเพื่อการพัฒนาครอบครัวอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนากระบวนการสื่อสารสังคมเพื่อพัฒนาครอบครัว
เป้าหมาย มรกระบวนการสื่อสารสังคมที่มีคุณภาพและสร้างสรรค์ ครอบครัวรู้เท่าทันสื่อ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างหลักประกันความมั่นคงของครอบครัว
เป้าหมาย ครอบครัวมีหลักประกันความมั่นคงทุกด้านตามเกรฑ์ที่กำหนด