Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การจัดระบบสารสนเทศภายในสถานศึกษาเพื่อการบริหารและการประกันคุณภาพ …
บทที่ 5 การจัดระบบสารสนเทศภายในสถานศึกษาเพื่อการบริหารและการประกันคุณภาพ
การศึกษาของสถานศึกษา
ความสำคัญของการบริหารสถานศึกษา
กิจกรรมทั้งมวลที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาและ
ดำเนินการภายในสถานศึกษาเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของสถานศึกษา
การบริหารสถานศึกษา
เป็นภารกิจหลักของสถานศึกษาที่จะต้องกำหนดแบบแผน วิธีการ
หลักการบริหารสถานศึกษา
1) ยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจ (School-Based Decision) เป็นแนวคิดที่มุ่ง
ให้โรงเรียนมีอิสระในการตัดสินใจด้วยตนเองโดยยึดประโยชน์ที่จะเกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ
2) การมีส่วนร่วม (Participation) กำหนดให้บุคคลหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการร่วมแสดงความ
คิดเห็นหรือร่วมกำกับ ติดตามดูแล
3) การกระจายอำนาจ (Decentralization) เป็นการกระจายอำนาจด้านการบริหาร
จัดการ ด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารบุคคลและการบริหารทั่วไป ให้คณะกรรมการ
เขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ
4) ความรับผิดชอบตรวจสอบได้ (Accountability) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
และภารกิจของผู้รับผิดชอบเพื่อเป็นหลักประกันคุณภาพการศึกษาให้เกิดขึ้น
5) ธรรมาภิบาล (Good Governance) เป็นหลักคิดสำหรับการบริหารจัดการที่ดีเพื่อ
ประกันว่าในองค์การจะไม่มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่ด้อยประสิทธิภาพ
6) ความเป็นนิติบุคคล (A juristic person) เป็นการให้สิทธิและอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้
เป็นของตนเองตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กระทรวงศึกษาธิการ
การบริหารสถานศึกษา
3.1 หน้าที่ในการบริหารสถานศึกษา
1) การวางแผน (Planning) หมายถึง การตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะดำเนินการ
อย่างไรให้บรรลุและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ต่อองค์การมาก
ที่สุด
2) การจัดองค์กร (Organizing) หมายถึง กระบวนการจัดการทรัพยากรต่างๆ
3) การนำ (Leading) หมายถึง การอำนวยการและการประสานงาน เพื่อให้
บุคลากรปฏิบัติงานบรรลุเป้าหมายขององค์การ
4) การควบคุม (Controlling) หมายถึง การกำกับให้การดำเนินงานและกิจกรรม
ต่างๆ ที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามเป้าหมายและแผนขององค์การที่ได้กำหนดไว้
3.2ภารกิจในการบริหารสถานศึกษา
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 39
ให้กระทรวง
กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
โดยตรง
กระบวนการการบริหารคุณภาพภายในสถานศึกษา
1) กระบวนการ (PDCA)
การวางแผนและระบบการปฏิบัติงาน (Plan)
การ
ดำเนินการตามแผนและระบบการปฏิบัติงาน (Do)
การตรวจสอบและประเมินผล (Check)
การปรับปรุงและพัฒนา (Action)
2) กระบวนการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)
3) กระบวนการบริหารอื่น ๆ ที่โรงเรียนนำมาใช้ตามความแตกต่างของโรงเรียน
TQM
RMB
PMQA
การจัดโครงสร้างระบบบริหารงานที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ
ภายในของสถานศึกษา
5.1 ภารกิจในการบริหารสถานศึกษา
สถานศึกษาต้องทบทวน
การจัดระบบบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ว่ามีความเหมาะสมกับองค์กร ภาระงาน ความจำเป็นของ
สถานศึกษาเอื้อต่อการดำเนินงาน
5.2 ความสัมพันธ์ระหว่างระบบบริหารและสารสนเทศกับระบบการประกัน
คุณภาพภายในของสถานศึกษา
การจัดระบบบริหารและสารสนเทศของสถานศึกษานับว่ามีความสำคัญและ
จำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา
จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายใน
การพัฒนาคุณภาพ เป็นไปตามมาตรฐานที่ต้องการ
ครอบคลุมภารกิจด้านการบริหาร
จัดการของสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
ระบบสารสนเทศในสถานศึกษา
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ ซึ่งอาจแสดงเป็นตัวเลข ตัวหนังสือ หรือ
สัญลักษณ์
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือการวิเคราะห์
ด้วยวิธีการต่างๆ จนอยู่ในรูปแบบที่มีความหมาย
ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล
การประมวลผลให้อยู่ในรูปสารสนเทศที่เป็นประโยชน์สูงสุดและการจัดเก็บรักษาอย่างมีระบบ
เพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้
การจัดระบบสารสนเทศ จะมีขั้นตอนการดำเนินงานหลักๆ 5 ขั้นตอน
การรวบรวมข้อมูล จะต้องกำหนด
รายการข้อมูลที่ต้องการ กำหนดวิธีการจัดเก็บ สร้างหรือจัดหาเครื่องมือในการจัดเก็บให้
สอดคล้องกับลักษณะของข้อมูลและแหล่งข้อมูล
การตรวจสอบข้อมูล ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้ก่อนที่จะนำไปประมวลผล ควรมี
การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อน
การประมวลผลข้อมูล ขั้นนี้เป็นการนำข้อมูลมาประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ หรือ
เป็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่นำไปใช้ประโยชน์ได้
การนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลหรือจัดทำเป็น
สารสนเทศที่มีความหมายชัดเจน มีความกะทัดรัด ตรงกับความต้องการ
การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ เป็นการจัดเก็บทั้งส่วนที่เป็นข้อมูลและส่วนที่
เป็นสารสนเทศไว้ในสื่อต่างๆ อย่างมีระบบ สะดวกต่อการค้นหาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์การจัดเก็บอาจจัดเก็บเป็นแฟ้มเอกสารหรือแฟ้มอิเล็กทรอนิกส์ตามศักยภาพของสถานศึกษา
องค์ประกอบของระบบบริหารภายในสถานศึกษา
ระบบย่อยภายในสถานศึกษามีองค์ประกอบ
สำคัญ 5 ด้าน
ปัจจัยนำเข้า (Input) เป็นทรัพยากรหรือสิ่งที่จำเป็นเพื่อนำไปสู่ระบบ
กระบวนการ (Process) เป็นการทำหน้าที่แปรสภาพทรัพยากรหรือประมวลผลให้
เป็นผลผลิต
ผลผลิต (Output) เป็นสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของระบบ
ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) เป็นส่วนที่ใช้ควบคุมการทำงานของระบบให้เป็นไป
ตามวัตถุประสงค์รวมถึงชี้ให้เห็นข้อดีดีและข้อบกพร่องของปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และ
ผลผลิต
สภาพแวดล้อม (Environment) เป็นสภาพทั่วไปของบริบทที่อยู่ล้อมรอบระบบ
หรือองค์การ ได้แก่ ที่ตั้ง ชุมชน ผู้ปกครอง บรรยากาศขององค์การ
การกำหนดผู้รับผิดชอบและจัดระบบสารสนเทศ
8.1 การจัดระบบบริหารและสารสนเทศที่เอื้อต่อการพัฒนาระบบการประกัน
คุณภาพภายในของสถานศึกษา
จำเป็นต้องมีการกำหนดผู้รับผิดชอบและจัดระบบ
สารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ ครอบคลุม เป็นปัจจุบันสะดวกต่อการเข้าถึงและการให้บริการ
9.2 การจัดระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่
รูปแบบที่ 1 จัดระบบตามลักษณะข้อมูล
1) ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา
2) ข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร
สถานศึกษา
3) ข้อมูลสารสนเทศที่เกิดจากการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ
ประจำปี
รูปแบบที่ 2 จัดระบบเพื่อเตรียมพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
1) ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษา
2) ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี
ติดต่อกัน
3) ผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาย้อนหลังอย่างน้อย 3 ปี
ติดต่อกัน
รูปแบบที่ 3 จัดระบบตามลักษณะข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นเพื่อการพัฒนา
คุณภาพการศึกษา
1) ข้อมูลสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา
2) ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน
3) ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ
4) ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
4) ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
รูปแบบที่ 4 จัดระบบตามภารกิจการบริหารและการจัดการศึกษาของ
สถานศึกษาและบุคลากร
1) งานวิชาการ ข้อมูลที่ส าคัญ ได้แก่ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมด้านวิชาการ
การพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา
2) งานบุคลากรข้อมูลสำคัญ ได้แก่ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมด้านบุคลากร
ข้อมูลทุกด้านของครู
3) งานงบประมาณ ข้อมูลที่สำคัญได้แก่ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ด้านแผนและงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ
4) งานบริหารทั่วไป ข้อมูลที่ส าคัญ ได้แก่ แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ด้านงานบริหารทั่วไป ระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
การนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้ประโยชน์
9.1 การใช้ประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีในการจัดการระบบสารสนเทศใน
สถานศึกษาในรูปของโปรแกรมประยุกต์
9.2 การใช้ประโยชน์จากระบบข้อมูลสารสนเทศทั่วไป