Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิวัฒนาการทฤษฏีการบริหารและปัจจัยที่มีผลต่อการบริหาร - Coggle Diagram
วิวัฒนาการทฤษฏีการบริหารและปัจจัยที่มีผลต่อการบริหาร
ทฤษฏีการบริหารแบบนีโอคลาสิกหรือดั้งเดิม (Classical Theory)
ทฤษฏีการจัดการเชิงบริหาร (Administrative management)
เฮ็นรี่ ฟาโยล (Henry Fayol)
: เขาเชื่อว่าผู้บริหารจะประสบผลสำเร็จได้ หากเข้าใจหน้าที่พื้นฐานและหลักการบริหารดีพอ โดยระบุหน้าที่พื้นฐานหรือกระบวนการบริหารที่ผู้บริหารต้องปฏิบัติไว้ 5 ประการ POCCC คือ - การวางแผน (Planning) - การจัดองค์การ (Organizing) - การบังคับบัญชาและสั่งการ (commanding) - การประสานงาน (coordinating) - การควบคุม (controlling)
ลูเทอร์ กูลิคและลินดอลล์เออร์วิค (Luther Gulick and LyndallUrwick)
: ได้ใช้กระบวนการ POSDCORB มาใช้ซึ่งได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางจนถึงปัจจุบัน
ทฤษฏีการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
Henry L Gantt (เฮ็นรี่ แก๊นต์)
: ได้นำเอาเทคนิคการจัดตารางสำหรับการควบคุมการปฏิบัติงานมาใช้เพื่อปรับปรุงและยกระดับประสิทธิภาพในการทำงาน เจ้าของผลงาน Gantt's chart ที่ยังมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายซึ่งเป็นลักษณะตารางเส้นตรงที่กำหนดเวลาในอนาคตไว้ในแนวนอนและงานที่ปฏิบัติไว้ในแนวตั้ง
Frederick winslowtaylor (เฟรดเดอริควินสโลว์ เทเลอร์)
: เชื่อว่า ปัญหาที่คนทำงานไม่เต็มศักยภาพนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยการออกแบบงาน การจัดสิ่งจูงใจใหม่ๆโดยเสนอหลักที่สำคัญไว้ 4 ประการคือ
4.ใช้หลักแบ่งงานกันทำระหว่างผู้บริหารและคนงาน "การกำหนดวิธีการทำงานที่ดีที่สุด"
3.คัดเลือกคนงานที่มีความสามารถแล้วฝึกอบรมให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆร่วมกัน
2.มีการวางแผนแทนที่จะให้คนงานเลือกวิธีการเอง
1.กำหนดวิธีการทำงานทดแทนการทำแบบลองผิดลองถูก
LilianGillbreth (ลิเลียน กิลเบรธ)
: ศึกษาปริญญาเอกด้านจิตวิทยาซึ่งเป็นศาสตร์ที่จะช่วยส่งเสริมงานด้าน Motion Studies ให้ดียิ่งขึ้น
Frank Bunker Gillbreth (แฟรงค์ บังเกอร์ กิลเบรธ)
โดยสรุปให้เห็นว่า การทำงานด้วยการแบ่งงานออกตามความชำนาญเฉพาะด้านและแบ่งงานเป็นส่วนๆ จะทำได้ดียิ่งขึ้น ถ้าได้มีการวิเคราะห์งานอย่างละเอียดถี่ถ้วน ให้ทำงานต่อเนื่องกันเป็นกระบวนการตามหลักวิทยาศาสตร์
ทฤษก๊ระบบราชการ (Bureaucracy): โดย Max Weber เสนอทฤษฏีที่เป็นแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์การ ซึ่งเน้นการมีเหตุผลเป็นสำคัญ ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 7 ประการดังนี้
4.บุคลากรต่างทำหน้าที่ที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ ไม่เป็นส่วนตัว
5.การจ้างงานใช้หลักคุณสมบัติทางวิชาชีพ
3.มีการกำหนดระเบียบข้อบังคับ
6.มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ อาชีพมั่นคง
2.มีการจัดระบบตำแหน่งหน้าที่ตามสายบังคับบัญชาระดับ
7.มีอำนาจหน้าที่ตามตำแหน่ง
1.มีการแบ่งงานทำ ตามความรู้ ความชำนาญ
ทฤษฏีการบริหารยุคนีโอคลาสิก(NEO-Classical Theory)
วิลเลี่ยม กูซี่ (William G. Quchi)
:โดยให้แนวคิดว่าการบริหารจะให้ผลดีกว่า ถ้าให้ความสำคัญกับการมีส่วน
ร่วมของบุคลากรในการตัดสินใจบริหาร นั่นคือ ให้
ความสำคัญกับกลุ่มไม่ใช่ตัวบุคคล
เชสเตอร์ บาร์นาร์ด
องค์การเป็นระบบของการร่วมแรงร่วมใจ เพื่อจะทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จด้วยความร่วม
แรงร่วมใจดังกล่าว จะสามารถทำให้เกิดวัตถุประสงค์อันเดียวกันในระหว่างองค์การและสมาชิก ความเต็มใจของ
สมาชิกจะทำให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การติดต่อสื่อสาร เพื่อความเข้าใจใน
วัตถุประสงค์สู่แนวทางการปฏิบัติด้วยการโน้มน้าวจิตใจ เป็นการจูงใจทางจิตใจมากกว่าการจูงใจทางด้านวัตถุ
อับราฮัม มาสโลว์ (Abraham Maslow)
เป็นนักจิตวิทยาที่ค้นเรื่องลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ ใน
ปี ค.ศ. 1985 มนุษย์มีความต้องการอยู่ตลอดเวลาและไม่สิ้นสุด ความต้องการของมนุษย์จะเป็นไปตามลำดับขั้นจาก
ต่ำ ไปหาสูง
เฟรเดริคเฮิร์ซเบิร์ก (Frederick Herzberg)
: โดยความสำคัญกับความต้องการของมนุษย์ โดยแบ่งปัจจัยออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่
ปัจจัยจูงใจ
คือ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจให้คนทำงานอย่างมีความสุข ถือเป็นปัจจัยภายใน
ปัจจัยค้ำจุน
คือ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความพอใจในการทำงาน ถือเป็นปัจจัยภายนอก
เอลตัน เมโย (Elton Mayo)
เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ พบว่าวิธีจะเพิ่มประสิทธิภาพใน
การทำงาน สามารถทำได้โดยต้องทุ่มเทสนใจปัญหาและความต้องการของมนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
ผู้บริหารจะตระหนักว่าการให้ค่าตอบแทนเป็นเงินอย่างเดียวไม่ใช่สิ่งจูงใจที่จะทำให้เกิดการยอมรับและปฏิบัติตาม
วัตถุประสงค์ขององค์การ แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆอีก เช่น การให้อิสระแก่บุคลากรพยาบาลการจัดให้มี
สัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างเพื่อนร่วมงานการยืดหยุ่นกฎระเบียบในการทำงาน
แมคเกรเกอร์(Douglas McGregor)
เจ้าของทฤษฎีเอ็กซ์และวาย (X and Y theory)ให้ความเห็นว่าคนทุกคนจะมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามทฤษฎี ซึ่งทฤษฎีเอ็กซ์ที่ถือว่าคน
ทุกคนเกียจคร้านชอบเลี่ยงงานจึงต้องใช้วิธีบังคับข่มขู่ และควบคุมให้ทำงานตลอดเวลา
ผู้บริหารการพยาบาลที่เชื่อถือทฤษฎีเอ็กซ์ มีแนวโน้มที่จะมองผู้ใต้บังคับบัญชาในแง่ลบ คือ มองว่า
ผู้ใต้บังคับบัญชาโดยทั่วไปขี้เกียจและหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบงาน
ผู้บริหารการพยาบาลที่เชื่อตามทฤษฎีวาย มีแนวโน้มที่จะมองผู้ใต้บังคับบัญชาในแง่บวก คือมองว่า
บุคลากรที่ร่วมงานในการบริหารการพยาบาล มีความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ควบคุมตนเองได้
ทฤษฏีการบริหารสมัยใหม่(Modern Theory)
ทฤษฏี7's
:ซึ่งเป็นแนวคิดแบบจําลองของแมคคินซีย์ (Mc Kinsey) เป็นกลยุทธ์การบริหารที่ช่วยให้เกิด ความสําเร็จในองค์การสูง ชี้ให้เห็นถึงความสําคัญของคนอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของการสร้างวัฒนธรรมองค์การ
การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ
: เป็นแนวคิดการบริหารที่ ยึดคุณภาพเป็นหัวใจของทุกเรื่องเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพชนะการแข่งขัน คุณภาพในการผลิตทุกคนต้องมีส่วนร่วมซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญที่ก้าวสู่ความเป็นเลิศ
ทฤษฏีการบริหารเชิงปริมาณ (Quantitative Theory)
การบริหารศาสตร์ (management science):
เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจให้แก่ผู้บริหาร ปัจจุบันวิธีนี้แพร่หลายมากแม้ในการบริหารการพยาบาล ในการบริหารการพยาบาลจะใช้ในรูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ (operation research) ศึกษาจากสภาพความเป็นจริงที่รวบรวมอย่างมีระบบเชิงการวิจัย แล้วนำมาคำนวณตามรูปแบบที่กำหนดขึ้น ส่วนมากจะนำมาใช้สำรวจลักษณะงานและปริมาณเวลา ความต้องการในการปฏิบัติงานของพยาบาล (nursingcare time) ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งเวลาในการบริหารจัดการ (management time)
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (management information system)
การจัดการปฏิบัติการ (Operations management)
การรื้อปรับระบบ (Reengineering)
: หลักสําคัญของการรื้อระบบประกอบด้วยเน้นความสําคัญของผู้รับบริการเป็นหลัก (focus on customer) การบริการต้องมีคุณภาพ ค่าใช้จ่ายถูก รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน ให้ความสําคัญต่อกระบวนการทํางาน (organization change around process) ไม่ใช่ตัวองค์การ เปลี่ยนวิธีคิดจากที่มักวิเคราะห์สภาพปัญหาปัจจุบัน ไปสู่การพยายามเริ่มหาคําตอบหรือมองไปในอนาคต
ทฤษฏีบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory)
วรูม และเยตัน
: การเน้นการเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจของผู้นํา โดยเปิดโอกาสให้ผู้ตามมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์
โรเบิร์ต เฮาส์
: เสนอแนวความคิดผู้นำเชิงสถานการณ์ ทฤษฎีเส้นทาง-เป้าหมาย
(Path-goal Theory) เฮาส์มีความเห็นว่า ภาวะผู้นำเกี่ยวข้องกับการจูงใจ แบบของภาวะ ผู้นำขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ทฤษฎีของเฮาส์กล่าวได้ว่าใช้แรงจูงใจเป็นแรงผลักให้สู่เป้าหมายทั้งส่วนบุคคลและขององค์การ
ฟีดเลอร์
:ฟิดเลอร์เชื่อว่ารูปแบบภาวะผู้นำไม่เปลี่ยนดังนั้นต้องมีการเปลี่ยนสถานการณ์ให้เข้ากับรูปแบบภาวะผู้นำ
เฮร์เซย์และแบลนชาร์ด
: ) ทฤษฎี "วงจรชีวิต" ของเฮร์เชย์และแบลน
ชาร์ด เสนอทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (Situational Leadership Theory: SLT) แบ่งระดับความพร้อมของผู้ตามเป็น 4 ระดับ โดยเรียงลำดับต่ำสุดไปสู่สูงสุด
R2 หมายถึง ไม่มีความสามารถ แต่เต็มใจที่จะทำ ถือว่าความพร้อมปานกลาง
R3 หมายถึง มีความสามารถ แต่ไม่มีความเต็มใจที่จะทำ ถือว่าความพร้อมปานกลาง
R1 หมายถึง ไม่มีความสามารถ และไม่มีความเต็มใจที่จะทำ ถือว่าความพร้อมต่ำ
R4 หมายถึง มีความสามารถ และเต็มใจที่จะทำ ถือว่าความพร้อมสูง
องค์กรสมัยใหม่ (Modern Organization)
องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Oranization)
: เซ็งกี้ได้กล่าวความหมายว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ จะเรียนรู้เร็วกว่าคู่แข่งในการเปลี่ยนแปลงและก่อนที่จะถูกแรงกดดันให้เปลี่ยนแปลง พัฒนาเครื่องมือและวิธีการวิเคราะห์ระบบขององค์การของตนเอง โดย Peter M. Senge ได้แนะนําว่า องค์การต้องสร้างวินัย 5 ประการ (fifth discipline) ให้เกิดขึ้นแก่บุคลากร ดังต่อไปนี้ บุคลากรที่มีความรอบรู้ (personal mastery) รูปแบบความคิด (mental models) วิสัยทัศน์ร่วม (shared vision) การเรียนรู้เป็นทีม (team learning) และความคิดเป็นระบบ (system thinking)
องค์การสมรรถสูง (High Performance Organization )
: เป็นองค์การที่มีขีดความสามารถในการเปลี่ยนแปลง สามารถรับมือกับแรงกดดันต่าง ๆ
การมีค่านิยมรวมกันของบุคลากรทั่วทั้งองค์การ (Shared values)
การมุ่งเน้นที่ยุทธศาสตร์และการทําให้ทั่วทั้งองค์การดําเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน (Strategic focus and alignment)
การตั้งเป้าหมายที่ท้าทายและแสวงหาแนวทางในการบรรลุเป้าหมายนั้น (Setting ambitious targets and achieving them)
ทฤษฏีระบบ (System Theory):นักทฤษฎีแนวนี้เห็นว่าโลกประกอบด้วยระบบต่างๆ มีลำดับชั้นจากระบบเฉพาะเจาะจงไปสู่ระบบที่มีลักษณะทั่วไป องค์การยังแบ่งเป็นระบบปิด (Closed system) คือระบบที่พึ่งตนเองได้ และระบบเปิด (Open System) คือระบบที่ต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด องค์ประกอบ
ทฤษฎีระบบ(System theory) ประกอบด้วย 5 ส่วนที่สำคัญปัจจัยนำเข้า (Inputs) กระบวนการแปรสภาพ (Transformation Process) ผลผลิต (Outputs) ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) และสิ่งแวดล้อม
องค์กรยุคหลังสมัยใหม่ (Post Modern Organization)
*ทฤษฏีไร้ระเบียบ Chaos theory
ความจริงเป็นทฤษฎีทางฟิสิกส์ แขนงหนึ่งที่ ศึกษาถึงกฎเกณฑ์และคุณสมบัติของปรากฏการณ์ทางวัตถุในทางฟิสิกส์เคมี และชีววิทยา ที่มักเกิดความยุ่งเหยิง ขนาดเล็ก ๆ ขึ้น ซึ่งปรากฏการณ์นี้ไม่เป็นไปตามภาวะที่ควรจะเป็นตามปรกติทั่วไป กล่าวคือ สรรพสิ่งเคลื่อนไหวไปตามกฎทางธรรมชาติ แต่บางสภาวะก็จะมีสภาพที่ผิดธรรมชาติขึ้น กล่าวคือ ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่อยู่นอกเหนือกฎเกณฑ์ทั่วไปได้ ต้องใช้ Chaos theory *
การจัดตั้งองค์กรแบบแชมรอค :
มีรากฐานมาจากต้นแซมรอคที่ใบเป็นแฉก 3 ใบติดกันเป็นกระจุกนำมาเทียบเคียงกับการแบ่งกลุ่มงานภายในองค์กรออกเป็น 3 กลุ่มที่สำคัญคือ
1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (professional Core)
2) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานจากภายนอก (outsourcing vendors)
3) กลุ่มพนักงานการจัดองค์การแบบนี้สอดคล้องกับแนวคิดการลดขนาดองค์การ (downsizing)
จะช่วยลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานประจำขององค์การลงให้เหลือเพียงผู้ปฏิบัติงานประจำที่ถือเป็นความสามารถหลักขององค์การเท่านั้น
5s Model
:
SMART
: ฉลาดทรงภูมิปัญญาองค์การสมัยใหม่มุ่งสู่ความเฉลียวฉลาดมีความแปลกใหม่มีนวัตกรรมใหม่
SMILE
: ยิ้มแย้มเปียมน้ำใจองค์การที่มีความสุข SMOOTH: ความร่วมมือไร้ความขัดแย้งองค์การไม่มีความขัดแย้งและมีการผนึกความร่วมมือ
SIMPLIFY
: ทำเรื่องยากให้ง่ายและรวดเร็วองค์การต้องปรับปรุงให้ง่ายขึ้น
SMALL
: จิ๋วแต่แจ๋วองค์การสมัยใหม่จะมีขนาดเล็กลงแต่มีคุณภาพมากขึ้น
องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)
:องค์การเสมือนจริงจะเป็นผลสำเร็จต้องได้รับความร่วมมือจากมนุษย์ด้วยกัน (Collaborated) หัวใจหลักของ Virtual Office คือ หลักจิตวิทยา ที่เชื่อมโยงบุคลากรห่างไกลให้บรรลุเป้าหมายเดียวกันการเปลี่ยนแปลงสู่องค์การเสมือนจริงจะเป็นผลสำเร็จ ต้องได้รับความร่วมมือจากมนุษย์ด้วยกัน (Collaborated) ที่อยู่บนพื้นฐานจากความวางใจ
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหาร
เครื่องจักร (machine) ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า
เงินทุน (money) หล่อเลี้ยงให้กิจกรรมขององค์กรดำเนินไปโดยไม่ติดขัด
คน (man) ก่อให้เกิดผลสำเร็จทั้งปริมาณและคุณภาพของงาน
วัสดุสิ่งของ (material) จัดหามาเพื่อดำเนินการผลิต
สรุป!!!!!! การบริหารที่ดีนั้น ต้องนำความรู้ในทฤษฏีต่างๆมาประยุกต์ใช้ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นกับสถานการณ์ ผู้ใต้บังคับบัญชา สภาพสังคม สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดขององค์กร