Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร วิชาการบริหารการพยาบาล (Nursing…
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหาร
วิชาการบริหารการพยาบาล (Nursing Administration)
ทฤษฎีการบริหารแบบนีโอคลาสิกหรือดั้งเดิม(Classical Theory)
คือ ทฤษฎีที่เน้นการบริหารที่ตัวงานอย่างมีระเบียบแบบแผน มีกฎเกณฑ์ และเหตุผล ประกอบด้วยทฤษฎีดังต่อไปนี้
1.ทฤษฎีการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)ประกอบด้วยนักบริหาร ดังต่อไปนี้
เฟรดเดอริควินสโลว เทเลอร์ (Frederick winslowtaylor) เชื่อวาปัญหาที่คนทํางานไม่เต็มศักยภาพ สามารถแก้ไขได้ด้วยการออกแบบงาน และการจัดสิ่งจูงใจใหม่มีหลักที่สําคัญไว้ 4 ประการ
1) กําหนดวิธีการทํางานทดแทนการทําแบบลองผิดลองถูก
2) มีการวางแผนแทนที่จะให้คนงานเลือกวิธีการเอง
3) คัดเลือกคนงานที่มีความสามารถแล้วฝึกอบรมให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆร่วมกัน
4) ใช้หลักแบ่งงานกันทําระหว่างผู้บริหารและคนงาน “การกําหนดวิธีการทํางานที่ดีที่สุด” (One Best Way) จากวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งเรียกกันในปัจจุบันว่า “time and motion study
เฮนรี่ แก๊นต์ (Henry L Gantt) ได้นําเอาเทคนิคการจัดตารางสําหรับการควบคุมการปฏิบัติงานมาใช้ เพื่อปรับปรุงและยกระดับประสิทธิภาพในการทํางาน มีลักษณะตารางเส้นตรงที่กําหนดเวลาในอนาคตไว้ในแนวนอนและงานที่ปฏิบัติไว้ในแนวตั้ง ทั่วไปจะนํา Gantt’s Chart มาใช้มากในการจัดทําแผนงานและโครงการต่างๆ จะช่วยกําหนดระยะเวลาและกิจกรรมต่างๆ ในการดําเนินงาน ซึ่ง สามารถบอกทิศทางได้ว่าขณะนี้อยู่ในขั้นตอนใดจะเสร็จสิ้นเมื่อไร และทําให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
แฟรงค์ บังเกอร์ กิลเบรธ (Frank Bunker Gillbreth) สนับสนุนแนวคิดของเทเลอร์ โดยการจัดทํา ภาพยนตร์แสดงความเคลื่อนไหวของคนงานในการทํางาน เพื่อให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวที่สูญเปล่า ไม่มีผลการผลิต และการเคลื่อนไหวที่จําเป็น
ลิเลียน กิลเบรธ (Lilian Gillbreth) ศึกษาปริญญาเอกด้านจิตวิทยาซึ่งเป็นศาสตร์ที่จะช่วยส่งเสริม งานด้าน Motion Studies ให้ดียิ่งขึ้น ในปี 1915 ศึกษาการบริหารโดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมที่มีการศึกษาเป็นแบบแผน
2.ทฤษฎีการจัดการเชิงบริหาร(administrative management)
บริหารตัวองค์การให้มีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการให้ผู้บริหารเป็นผู้ประสานกระบวนการต่างๆและการบริหารของแต่ละคนจะมีทฤษฎีนักคิดทางการบริหารที่สำคัญ
เฮ็นรี่ ฟาโยล (Henry Fayol) เขาเชื่อว่าผู้บริหารจะประสบผลสําเร็จได้ต้องปฏิบัติไว้ 5 ประการ (POCCC)
1)การวางแผน (planning) ผู้บริหารจะต้องคาดการณ์ล่วงหน้า
2.)การจัดองค์การ (organizing) ผู้บริหารจะต้องกําหนดอํานาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
3)การบังคับบัญชาและสั่งการ (commanding) ผู้บริหารจะต้องมีหน้าที่สั่งการ
4) การประสานงาน (coordinating) ผู้บริหารทําหน้าที่ประสานหรือเชื่อมโยงงานต่างๆ
5) การควบคุม (controlling) หน้าที่ในการติดตามผล ดูแลและฟาโยลได้พัฒนาหลักการบริหารขึ้น 14 ประการ
เทอร์ กูลิคและลินดอลล์เออร์วิค(Luther Gulick and LyndallUrwick)ได้เพิ่มการบริหารที่ Fayol ให้ไว้ 5 ประการ เป็น 7 ประการ ที่รู้จักกันในนามPOSDCoRB บางขั้นตอนซ้ําซ้อนควรปรับปรุงให้ลดลง เช่นมารีนเนอร์(Marriner, 1997) ได้กล่าวถึงกระบวนการบริหารการพยาบาลไว้ 5 ขั้นตอนคือ การวางแผน การจัดองค์การ การจัดบุคลากรการอํานวยการและการควบคุมหรือ อานและอัคคาเบย์(Arant and Huckabay,1980) ได้กําหนดกระบวนการบริหารการพยาบาลไว้ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การจัดองค์การ การอํานวยการ และการควบคุม
3.ทฤษฎีระบบราชการ (bureaucracy)
แมกซ์วีเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยาชาวเยอรมันซึ่งเน้นการมีเหตุผลเป็นสำคัญสนใจในการวิจัยเกี่ยวกับภารกิจการ เศรษฐกิจและการเมือง จากผลวิจัยสามารถสร้างแนวทางการดำเนินการบริหารแบบระบบราชการได้ 7 ประการ
1) มีการแบ่งงานกันทำ (division of work) ตามความรู้ความชำนาญ (specialization)
2) มีการจัดระบบตำแหน่งหน้าที่ตามสายบังคับบัญชาระดับสูงมายังระดับตำ (Scalar Chain)
3) มีการกำหนดระเบียบข้อบังคับกฎเกณฑ์ต่างๆ (rule, regulation and procedures)
4) บุคลากรต่างทำหน้าที่ที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการ (impersonal)
5) การจ้างงานใช้หลักคุณสมบัติทางวิชาชีพ (professional qualities)
6) มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ (career aspects) อาชีพมั่นคง
7) มีอำนาจหน้าที่ (legal authority)
ทฤษฎีการบริหารยุคนีโอคลาสิก(NEO-Classical Theory)
เป็นทฤษฎีการบริหารแบบใหม่กว่าเดิม เน้นลักษณะและผลกระทบต่อพฤติกรรมของคนในองค์การ โดยใช้พฤติกรรศาสตร์(behavior theory)
เอลตัน เมโย (Elton Mayo) เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ พบว่าวิธีจะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สามารถทำได้โดยต้องทุ่มเทสนใจปัญหาและความต้องการของมนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน โดยการทดลองของฮอร์ธอร์น (Hawthone studies) เกี่ยวกับพฤติกรรมของคนงานทำให้ทราบว่าผลผลิตจะเพิ่มสูงได้นั้นความสำคัญอยู่ที่ปัจจัยด้านจิตวิทยาและปัจจัยทางสังคมของผู้ทำงานไม่น้อยกว่าปัจจัยตัวงานผู้บริหารทุกคน
แมคเกรเกอร์ (Douglas McGregor) เจ้าของทฤษฎีเอ็กซ์และวาย (X and Y theory) ได้วางหลักสมมติฐานเกี่ยวกับคนเป็น 2 แนวตรงกันข้ามกันดังนี้
สมมุติฐานทฤษฎีเอ็กซ์
1) คนส่วนใหญ่จะขี้เกียจไม่ชอบการทำงานมักเลี่ยงงาน
2) บุคคลโดยเฉลี่ยต้องถูกบังคับควบคุมสั่งการจึงจะทำคน
3) คนส่วนใหญ่มักไม่มีความพยายามและความรับผิดชอบคน
4) คนส่วนใหญ่ชอบให้มีการชี้นำเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดคนทั่วไป
สมมุติฐานทฤษฎีวาย
-โดยพื้นฐานของคนแล้วพร้อมที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุน
-โดยทั่วไปมีความขยันหมั่นเพียรและความรับงานผิดชอบ
-โดยพื้นฐานมีความคิดริเริ่มด้วยตัวของเขาเองถ้าได้รับการจูงใจที่ถูกต้อง
-โดยพื้นฐานจะพยายามพัฒนาตนเองและชอบมีความทะเยอทะยานน้อยวิธีการทำงานอยู่เสมอ
วิลเลี่ยมกูซี่ (William G. Quchi) ให้แนวคิดว่าการบริหารจะให้ผลดีกว่าถ้าให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการตัดสินใจบริหาร (participation of the participants in decision making) นั่นคือให้ความสำคัญกับกลุ่มไม่ใช่ตัวบุคคลแนวคิดของทฤษฎีแซด (Z) แนวคิดของทฤษฎีแซดเชื่อว่า
1) ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มุ่งแสวงหาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างกัน
2) ผู้ปฏิบัติงานจะขาดความคุ้นเคยกัน
3) ผู้ปฏิบัติงานต่างก็มีจิตสำนึกที่ดีในด้านความผูกพันทางใจ ความรัก ความสามัคคีอยู่แล้ว
4) ผู้ปฏิบัติงานสามารถไว้วางใจได้โดยทำงานไม่บกพร่องผู้บริหารเพียงแต่เอาใจใส่ดูแลสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ให้ดีเท่านั้น
เชสเตอร์ บาร์นาร์ด (Chester I. Barnard. 1938)เป็นนักคิดคนสําคัญของทฤษฎีการบริหารเชิง พฤติกรรมศาสตร์ เป็นนักธุรกิจที่มีชื่อเสียงได้รับการยกย่องว่า“เป็นบิดาแห่งการบริหารเชิงพฤติกรรมศาสตร " มีแนวคิดว่า องค์การเป็นระบบของการร่วมแรงร่วมใจ เพื่อจะทํากิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้สําเร็จด้วยความร่วมแรงร่วมใจดังกล่าวของ สมาชิกจะทําให้เกิดความสําเร็จตามวัตถุประสงค์ได้นั้น สิ่งที่สําคัญที่สุดคือ การติด
ต่อสื่อสาร
อับราฮัม มาสโลว์ (AbrahamMaslow) เป็นนักจิตวิทยาที่ค้นเรื่องลําดับขั้นของความต้องการของมนุษย์
ใน ปี ค.ศ. 1985 มนุษย์มีความต้องการอยู่ตลอดเวลาและไม่สิ้นสุด ความต้องการของมนุษย์จะเป็นไปตามลําดับขั้นจาก ต่ำ ไปหาสูง
เฟรเดริคเฮิร์ซเบิร์ก(Frederick Herzberg ให้ความสำคัญกับความต้องการของมนุษย์ แบ่งปัจจัยออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยจูงใจ คือ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจให้คนทํางานอย่างมีความสุข และมีความคิดริเริ่ม
สร้างสรรค์ปัจจัยที่เกี่ยวของกับความรู้สึก ซึ่งถือว่าเป็น (Hygiene Factors) คือ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความพอใจในการทํางาน แต่ยังไม่พอที่จะนําไปใช้ในการจูงใจ ถือว่าเป็น “ ปัจจัยภายนอก (Extrinsic) ”เป็นแนวคิดในการบริหารคน ที่ปัจจุบันผู้บริหารนํามาใช้เพื่อสร้างแรงจูงใจและขวัญ กําลังให้แก่ลูกน้องผู้ใต้บังคับบัญชา
ทฤษฎีการบริหารสมัยใหม่ (Modern theory)
นักวิชาการเชื่อว่าการบริหารงานจะประสบผลสำเร็จงานเหล่านั้นจะต้องจัดเป็นระบบ (System)
ทฤษฎีระบบ (System theory) แนวคิดเรื่องระบบทั่วไป Bertalanffy บิดาแห่งทฤษฎีระบบทั่วไป(General Systems Theory) นักทฤษฎีแนวนี้เห็นว่าโลกประกอบด้วยระบบต่างๆ มีลำดับชั้นจากระบบเฉพาะเจาะจงไปสู่ระบบที่มีลักษณะทั่วไปแบ่งเป็น
ระบบปิด (Closed system) คือระบบที่พึ่งตนเองได้
ระบบเปิด (Open System) คือระบบที่ต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่รอด
ทฤษฎีบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory) วิธีมุ่งเน้นที่จะให้ยอมรับกันว่าในทางปฏิบัติไม่มีวิธีการบริหารใดที่ดีที่สุด (no one best way) ที่จะใช้ได้ในทุกการบริหาร ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของสถานการณ์ในขณะนั้น
ฟิดเลอร์พัฒนารูปแบบจำลอง“ ความเป็นผู้นำตามสถานการณ์” เป็นรูปแบบจำลองภาวะผู้นำซึ่งชี้ให้เห็นถึงผลกระทบของสถานการณ์ที่มีต่อความเป็นผู้นำ
วรูมและเยน (Victor Vroom, Phillip Yetton and Jago) เสนอทฤษฎีความเป็นผู้นำเชิงสถานการณ์ Leader Participation Model หลักการสำคัญคือ การเน้นการเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจของผู้นํา โดยเปิดโอกาสให้ผู้ตามมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
วรูม (VROOM, 1994) เสนอแนะแบบของการให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในทฤษฎีการตัดสินใจ (decision making theory)
ทฤษฎีบริหารตามสถานการณ์ (Contingency Theory)
วิธีมุ่งเน้นที่จะให้ยอมรับกันว่าในทางปฏิบัติไม่มีวิธีการบริหารใดที่ดีที่สุด (no one best way) ที่จะใช้ได้ในทุกการบริหาร ขึ้นอยู่กับความจําเป็นของสถานการณ์ในขณะนั้น
โรเบิร์ต เฮาส์ (Robert House) เสนอแนวความคิดผู้นำเชิงสถานการณ์ ทฤษฎีเส้นทาง-เป้าหมาย
(Path-goal Theory) เฮาส์มีความเห็นว่า ภาวะผู้นำเกี่ยวข้องกับการจูงใจ แบบของภาวะ ผู้นำขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ทฤษฎีของเฮาส์กล่าวได้ว่าใช้แรงจูงใจเป็นแรงผลักให้สู่เป้าหมายทั้งส่วนบุคคลและขององค์การ
4 เฮร์เชย์และแบลนชาร์ด ( Hersey and Blanchard ) ทฤษฎี "วงจรชีวิต" ของเฮร์เชย์และแบลน
ชาร์ด เสนอทฤษฎีภาวะผู้นำตามสถานการณ์ (Situational Leadership Theory: SLT) แบ่งระดับความพร้อมของผู้ตามเป็น 4 ระดับ โดยเรียงลำดับต่ำสุดไปสู่สูงสุด
R1 หมายถึง ไม่มีความสามารถ และไม่มีความเต็มใจที่จะทำ ถือว่าความพร้อมต่ำ
R2 หมายถึง ไม่มีความสามารถ แต่เต็มใจที่จะทำ ถือว่าความพร้อมปานกลาง
R3 หมายถึง มีความสามารถ แต่ไม่มีความเต็มใจที่จะทำ ถือว่าความพร้อมปานกลาง
R4 หมายถึง มีความสามารถ และเต็มใจที่จะทำ ถือว่าความพร้อมสูง
ทฤษฎีผู้นำเชิงสถานการณ์ของ เฮอร์เชย์ และแบลนชาร์ด เชื่อว่ารูปแบบผู้นำต้องเหมาะสมกับความพร้อม เฮอร์เชย์และแบลนชาร์ด พัฒนาแนวความคิดปรับเปลี่ยนชื่อ รูปแบบผู้นำ 4 รูปแบบ เพื่อสื่อความหมายชัดเจนขึ้น(Direction)
S1 คือ การออกคำสั่ง (Direction)
S2 คือ การสอนงาน (Coaching)
S3 คือ การสนับสนุน(Supporting)
S4 คือ การมอบหมายงาน (Delegating)
แบ่งพฤติกรรมพื้นฐานของผู้นำ มี 4 แบบ
งานสูง -สัมพันธ์ต่ำ (S1) (Telling) สั่งการ
งานสูง-สัมพันธ์สูง (S2) (Selling) ขายความคิด
งานต่ำ – สัมพันธ์สูง (S3) (Participating) แบบมีส่วนร่วม
งานต่ำ - สัมพันธ์ต่ำ (S4) (Delegating) มอบอำนาจ
ทฤษฎีการบริหารเชิงปริมาณ(quantitative theory)
เป็นทฤษฎีการบริหารจัดการ ที่นำเทคนิคคณิตศาสตร์และวิธีการเชิงสถิติช่วยในการแก้ปัญหาโดยมีแนวคิดที่สำคัญ 3 แนวคิดคือ
การบริหารศาสตร์ (management science) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจให้แก่ผู้บริหารในการบริหารการพยาบาลจะใช้ในรูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการ (operation research)ส่วนมากจะนำมาใช้สำรวจลักษณะงานและปริมาณเวลา ความต้องการในการปฏิบัติงานของพยาบาล (nursingcare time) ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมทั้งเวลาในการบริหารจัดการ (management time)
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (management information system : MIS) เน้นการออกแบบและการนำเอาระบบข้อมูลสารสนเทศ โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการบริหาร(Computer based information system : CBISs)
การจัดการปฏิบัติการ (operations management) เป็นทฤษฎีสมัยใหม่ที่พัฒนามาจากทฤษฎีการจัดการ เน้นการใช้แนวทางเชิงปริมาณเข้าช่วยในการตัดสินใจ จำเป็นต้องมีข้อมูลข่าวสารมากขึ้นและข้อมูลต้องมีคุณภาพดี
ทฤษฎี 7’S
ทฤษฎี 7’S ซึ่งเป็นแนวคิดแบบจําลองของแมคคินซีย์ (Mc Kinsey) เป็นกลยุทธ์การบริหารที่ช่วยให้เกิด ความสําเร็จในองค์การสูง ชี้ให้เห็นถึงความสําคัญของคนอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของการสร้างวัฒนธรรมองค์การ
• Hard Ss เป็นอุปกรณ์แห่งความสําเร็จ
1) โครงสร้าง (structure) หมายถึง การจัดระเบียบองค์ประกอบขององค์การที่เหมาะสมจะช่วยให้องค์การนั้นประสบผลสําเร็จ
2) กลยุทธ์ (strategy) หมายถึง แผนกําหนดวิธีการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
3) ระบบ (system) หมายถึง วิธีการดําเนินงานขององค์การระเบียบวิธีปฏิบัติงาน ได้แก่ ระบบการวางแผน ระบบรายงาน การประเมินผล ระบบที่ดีเป็นระบบที่เน้นการปฏิบัติ
• Soft Ss เป็นส่วนเนื้อหาแห่งความสําเร็จ
1) แบบการบริหาร (style) หมายถึง ลักษณะพฤติกรรมของผู้บริหารในองค์การที่รู้งานและทํางานอย่าง จริงจัง
2) บุคลากร (staff) หมายถึง คุณลักษณะของบุคลากร ต้องมีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีทัศนคติและพฤติกรรมการทํางานที่ตอบสนองเป้าหมายขององค์การ จํานวนเหมาะสมกับปริมาณงานที่ได้รับ การพัฒนาความรู้
3) ทักษะ (skills ) หมายถึง ความสามารถเด่นของผู้บริหารในองค์การที่มีความเข้มงวดและผ่อนปรนอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
4) ค่านิยมร่วม (shared values) หรือเป้าหมายสูงสุด หมายถึง ผลรวมของค่านิยมส่วนบุคคล บุคลากรมีความเชื่อมั่นในศักยภาพขององค์การและตนเองร่วมกัน
การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (T.Q.M.=total quality management) เป็นแนวคิดการบริหารที่ ยึดคุณภาพเป็นหัวใจของทุกเรื่องเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพชนะการแข่งขัน คุณภาพในการผลิตทุกคนต้องมีส่วนร่วมซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญที่ก้าวสู่ความเป็นเลิศ
การรื้อปรับระบบ (reengineering) หมายถึง การสร้างกระบวนการทํางานขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับ สภาพความเปลี่ยนแปลง ประสบการณ์ ตลอดจนวิทยาการต่างๆ ในปัจจุบันเพื่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าสูงสุดแก่ลูกค้า
องค์การสมัยใหม่ (Modern Organization)
องค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization ) เซ็งกี้ได้กล่าวความหมายว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ จะเรียนรู้เร็วกว่าคู่แข่งในการเปลี่ยนแปลงและก่อนที่จะถูกแรงกดดันให้เปลี่ยนแปลง พัฒนาเครื่องมือและวิธีการวิเคราะห์ระบบขององค์การของตนเอง โดย Peter M. Senge
องค์การสมรรถนะสูง (High Performance Organisation) เป็นองค์การที่มีขีดความสามารถในการเปลี่ยนแปลง สามารถรับมือกับแรงกดดันต่าง ๆ ได้จากภายในและภายนอกองค์การได้ดี เป็นองค์การแห่งนวัตกรรม มีวัฒนธรรมองค์การเป็นตัวยึดเหนี่ยว
องค์การยุคหลังสมัยใหม่ (Post Modern Organization)
ทฤษฎีไร้ระเบียบหรือที่มี่ชื่อเรียกว่า Chaos theory ความจริงเป็นทฤษฎีทางฟิสิกส์แขนงหนึ่งที่ ศึกษาถึงกฎเกณฑ์และคุณสมบัติของปรากฏการณ์ทางวัตถุในทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ที่มักเกิดความยุ่งเหยิง ขนาดเล็ก ๆ ขึ้น
การจัดองค์การแบบแซมรอค (Shamrock Organization)
มีรากฐานมาจากต้นแซมรอคที่ใบเป็นแฉก 3 ใบติดกันเป็นกระจุกนำมาเทียบเคียงกับการแบ่งกลุ่มงานภายในองค์กรออกเป็น 3 กลุ่มที่สำคัญคือ
1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (professional Core)
2) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานจากภายนอก (outsourcing vendors)
3) กลุ่มพนักงานการจัดองค์การแบบนี้สอดคล้องกับแนวคิดการลดขนาดองค์การ (downsizing)
5s Model
SMALL: จิ๋วแต่แจ๋วองค์การสมัยใหม่จะมีขนาดเล็กลงแต่มีคุณภาพมากขึ้น
SMART: ฉลาดทรงภูมิปัญญาองค์การสมัยใหม่มุ่งสู่ความเฉลียวฉลาดมีความแปลกใหม่มีนวัตกรรมใหม่
SMILE: ยิ้มแย้มเปียมน้ำใจองค์การที่มีความสุข SMOOTH: ความร่วมมือไร้ความขัดแย้งองค์การไม่มีความขัดแย้งและมีการผนึกความร่วมมือ
SIMPLIFY: ทำเรื่องยากให้ง่ายและรวดเร็วองค์การต้องปรับปรุงให้ง่ายขึ้น
องค์การเสมือนจริง (Virtual Organization)การเปลี่ยนแปลงสู่องค์การเสมือนจริงจะเป็นผลสำเร็จ ต้องได้รับความร่วมมือจากมนุษย์ด้วยกัน (Collaborated) ที่อยู่บนพื้นฐานจากความวางใจ
9.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหาร ได้แก่
คน (man) ก่อให้เกิดผลสำเร็จทั้งปริมาณและคุณภาพของงาน
เครื่องจักร (machine) ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่า
เงินทุน (money) หล่อเลี้ยงให้กิจกรรมขององค์กรดำเนินไปโดยไม่ติดขัด
วัสดุสิ่งของ (material) จัดหามาเพื่อดำเนินการผลิต