Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Levels of Anxiety (mild anxiety (การพยาบาล (ประเมินสภาพปัญหาและความรุนแรงข…
Levels of Anxiety
mild anxiety
กรณีศึกษา
จุ๊บจิ้บเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 จะจบการศึกษาในอีกไม่กี่วัน และต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัย เธอกลัวว่าจะสอบไม่ติดในคณะที่อยากเรียน มีอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด ไม่มีสมาธิอ่านหนังสือ จึงไปปรึกษารุ่นพี่ที่เรียนคณะนั้น และขอเทคนิคอ่านหนังสือสอบจากเขา หลังจากพูดคุยกับรุ่นพี่ จุ๊บจิ้บไม่มีอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิดแล้วและอ่านหนังสือได้ดีขึ้นอย่างมาก
Analysis
จุ๊บจิ้บจะเรียนจบ ม.6 ในอีกไม่ช้า มีความวิตกกังวลว่าจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยในคณะที่ตนเองชอบไม่ได้ ทำให้มีอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด ไม่มีสมาธิอ่านหนังสือ ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันจากปัจจัยการกระตุ้นดังกล่าว ซึ่งเมื่อจุ๊บจิ้บรับรู้ว่าตนเองมีความวิตกกังวล มีอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด ไม่มีสมาธิอ่านหนังสือ จึงหาทางแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น โดยการไปปรึกษารุ่นพี่ ซึ่งจากสถานการณ์และพฤติกรรมที่จุ๊บจิ้บแสดงออก เป็นอาการและอาการแสดงที่ชัดเจนว่าอยู่ในระดับ Mild anxiety สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจําวัน ซึ่งบุคคลสามารถรับรู้ปัญหา เรียนรู้และแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การพยาบาล
ประเมินสภาพปัญหาและความรุนแรงของความวิตกกังวล เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของความวิตกกังวลและเพื่อให้สามารถวางแผนและระบุกิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
เปิดโอกาสให้บุคคลได้พูดและระบายสิ่งที่วิตกกังวล และช่วยให้เขาใช้ความตื่นตัวที่เกิดจากความวิตกกังวลนี้ให้เป็นสิ่งกระตุ้นการเรียนรู้ เช่น เมื่อผู้รับบริการบอกว่า กลัวว่าจะสอบไม่ติดคณะที่ตนเองอยากเรียน พยาบาลควรรับฟังปัญหาและให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สิ่งกังวล ที่ทำให้บุคคลตื่นตัวมาเป็นตัวที่แก้ไขปัญหา อาจพูดด้วยคำพูด เช่น จะเป็นไปได้ไหม ที่คุณจะเอาสิ่งที่คุณกังวลอยู่ในตอนนี้มาเป็นแรงผลักดันให้คุณทำสิ่งนั้นได้ดีขึ้น
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีผ่อนความวิตกกังวล เช่น หากิจกรรม งานอดิเรกทำ ออกกำลังกาย ว่ายน้ำ เป็นต้น เพื่อให้บุคคลได้มีเวลาทำกิจกรรมอื่นเพื่อไม่ให้จดจ่อและวิตกกังวลกับสิ่งๆนั้นมากเกินไปและลดความตึงเครียด
moderate anxiety
Analysis
จากสถานการณ์ จุ๊บจิ้บไม่สามารถรับฟังข้อมูลอื่นจากรปภ. ๆ ได้ รับรู้เพียงว่าคอนโดของเธอถูกไฟไหม้ และเธอเอาแต่ถามรปภ. ซ้ำ ๆ และเธอมีอาการ เดินไปเดินมา ตัวสั่น หัวใจเต้นเร็ว พูดซ้ำ ๆ ว่าจะทำอย่างไรดี สมาธิและการจดจ่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งลดลง เมื่อเจ้านายชี้แนะแนวทาง เธอสามารถดึงสมาธิกลับมาได้และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้านาย ซึ่งเป็นอาการและอาการแสดงที่ชัดเจนว่าอยู่ในระดับ moderate anxiety คือ มีความวิตกกังวลในระดับที่สูงขึ้นสนามการรับรู้เริ่มแคบลง แตjก็สามารถที่จะดึงความสนใจกลับมาได้ ยังสามารถที่จะเรียนรูสิ่งใหม่ๆ และแก้ไขปัญหาได้ แต่อาจจะไม่ได้อยู่ในระดับที่ดีมากนัก
กรณีศึกษา
จุ๊บจิ้บทำงานเป็นเลขาอยู่บริษัทแห่งหนึ่ง ขณะทำงานเธอได้รับโทรศัพท์จากรปภ. โทรมาจากคอนโดที่เธอพักอาศัยอยู่ ว่าตอนนี้คอนโดของเธอถูกไฟไหม้สาเหตุอาจมาจากไฟฟ้ารัดวงจร จุ๊บจิ้บถามข้อมูลเหล่านี้ซ้ำ ๆ ว่า “เรื่องจริงหรือเปล่า แล้วแม่ฉันที่อยู่ในห้องปลอดภัยดีไหม” แต่ไม่สามารถรับฟังข้อมูลอื่น ๆ หลังจากวางสาย เธอมีอาการเดินไปเดินมา เดินไปเดินมา ตัวสั่น หัวใจเต้นเร็ว พูดซ้ำ ๆ ว่าจะทำอย่างไรดี เจ้านายสังเกตอาการของเธอ จึงบอกให้เธอใจเย็น ๆ และบอกว่า เธอรีบกลับไปที่คอนโดก่อนดีไหม วันนี้ฉันอนุญาตให้เธอลาหยุดได้ 1 วัน จุ๊บจิ้บได้ยินดังนั้น จึงรีบเก็บของและเดินทางกลับไปที่คอนโด
การพยาบาล
ประเมินสภาพปัญหาและความรุนแรงของความวิตกกังวล เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของความวิตกกังวลและเพื่อให้สามารถวางแผนและระบุกิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
กระตุ้นให้บุคคลได้พูดคุยในสิ่งที่กังวล โดยพยาบาลใช้ประโยคสั้น ๆ กระชับ ไม่ซับซ้อน และเข้าใจง่าย
ประเมินว่าบุคคลสามารถรับรู้ข้อมูลในการพูดคุยได้อย่างถูกต้องหรือไม่ หากบุคคลพูดคุยนอกประเด็นที่สนทนาอยู่พยาบาลจะต้องดึงเข้าสู่ประเด็นและสนับสนุนให้เขามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
severe anxiety
กรณีศึกษา
จุ๊บจิ้บ เป็นดารา/นางแบบหน้าใหม่ ในอีก 2 ชั่วโมงข้างหน้า เธอต้องขึ้นเดินแบบโชว์เครื่องเพชรที่มีมูลค่า 100 ล้านบาท ในเวทีระดับประเทศ เธอมีอาการวิตกกังวล พูดจาสับสน หายใจเร็ว เหงื่อออกมาก นั่งกำมือแน่น แม้ผู้จัดการส่วนตัวอยู่ข้างๆ บอกกำหนดการของงาน ช่วยแนะนำวิธีและเทคนิคต่าง ๆ ให้ แต่เธอไม่สามารถจดจ่อ รับฟังข้อมูลเหล่านั้น และ ยังไม่สามารถเอาเทคนิคและคำแนะนำมาทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้นได้
Analysis
จากสถานการณ์ จุ๊บจิ้บ ไม่สามารถจดจ่อ รับฟังข้อมูลเหล่านั้น มีอาการวิตกกังวล พูดจาสับสน หายใจเร็ว เหงื่อออกมาก นั่งกำมือแน่น และไม่สามารถนำคำแนะนำจากบุคคลอื่นมาแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งเป็นอาการและอาการแสดงที่ชัดเจนว่าอยู่ในระดับ severe anxiety คือ สนามการรับรู้แคบลงอย่างมาก บุคคลสนใจเฉพาะข้อมูลปลีกย่อยบางอย่างหรือข้อมูลที่กระจัดกระจาย ไม่ค่อยรับรู้หรือสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวแม้ว่า จะให้ข้อมูลหรือชี้ให้เห็นแล้วก็ตาม
การพยาบาล
ประเมินสภาพปัญหาและความรุนแรงของความวิตกกังวล เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของความวิตกกังวลและเพื่อให้สามารถวางแผนและระบุกิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ให้การพยาบาลตามระดับความรุนแรงของความวิตกกังวล คือ ระดับรุนแรง Severe Anxiety เป้าหมายหลัก คือ ต้องช่วยให้ความวิตกกังวลลดลงเป็นระดับปานกลางหรือระดับต่ำก่อนที่จะดําเนินการใด ๆ ในระดับนี้
อยู่เป็นเพื่อน เพราะความวิตกกังวลจะเพิ่มขึ้นหากต้องอยู่ลําพัง การพูดคุยควรใช้เสียงที่ต่ำ สงบ และนุ่มนวล แต่หากบุคคลไม่สามารถนั่งอยู่กับที่ได้การเดินไปด้วยคุยไปด้วยก็สามารถช่วยได้ หรืออาจจะบอกให้หายใจเข้าออกลึก ๆ ก็สามารถช่วยลดความวิตกกังวลได้
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา (หากจําเป็น) ซึ่งยาที่นิยมใช้จัดอยู่ในกลุ่มยาคลายวิตกกังวลการใช้ยาในผู้ที่มีความวิตกกังวลนั้น มีเป้าหมายเพื่อให้ความวิตกกังวลลดลงซึ่งจะช่วยให้บุคคลสามารถจัดการกับปัญหาที่เป็นสาเหตุของความวิตกกังวลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
panic anxiety
กรณีศึกษา
จุ๊บจิ้บ นั่งดูข่าววันใหม่ในโทรทัศน์ เนื้อหาข่าว รายงานถึงสถานการณ์โรคอุบัติใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดในสังคมปัจจุบัน ทางการแพทย์เรียกโรคดังกล่าวว่า โควิด-19 (COVID-19) ซึ่งขณะนี้ในโลกของเรามีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตแล้วเป็นจำนวนมาก หลังจากรับฟังรายงานข่าว จุ๊บจิ้บมีอาการตื่นตระหนก กระสับกระส่าย พูดเร็ว วิ่งไปทั่วห้องและรอบ ๆบ้าน พร้อมกับตะโกนว่า “ไม่ ๆ ๆ นะ ฉันต้องไม่ตาย ฉันต้องไม่ติดโรค” ทั้งยังวิ่งกลับมาเก็บข้าวของภายในบ้าน เพื่อจะหนีไปอยู่ที่อื่น แม้คนในบ้านจะห้ามและบอกให้ตั้งสติ แต่จุ๊บจิ้บก็ยังไม่หยุดพฤติกรรมดังกล่าว
Analysis
จากสถานการณ์ จุ๊บจิ้บ ไม่สามารถรับรู้สิ่งแวดล้อมหรือความเป็นจริง ไม่ตระหนักถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการกระทำ และยังไม่สามารถคิดอย่างมีเหตุผล มีอาการตื่นตระหนก กระสับกระส่าย พูดเร็ว วิ่งไปทั่วห้องและรอบ ๆบ้าน แม้คนรอบรอบข้างจะเตือนหรือแนะนำแล้วก็ยังไม่สามารถหยุดพฤติกรรมลงได้ซึ่งเป็นอาการและอาการแสดงที่ชัดเจนว่าอยู่ในระดับ panic anxiety คือ มีความวิตกกังวลในระดับรุนแรงสูงสุด ซึ่งจะพบว่ามีพฤติกรรมที่ผิดปกติอย่างชัดเจน บุคคลจะไม่สามารถรับรู้สิ่งแวดล้อมและอาจจะไม่สามารถรับรู้ความเป็นจริง และพบว่าจะมีพฤติกรรมที่แสดงออกอัตโนมัติเกิดขึ้นเพื่อลดหรือบรรเทาความวิตกกังวล
การพยาบาล
ประเมินสภาพปัญหาและความรุนแรงของความวิตกกังวล เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของความวิตกกังวลและเพื่อให้สามารถวางแผนและระบุกิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ดูแลและให้การพยาบาลเพื่อป้องกันอันตราย ให้ความปลอดภัย เช่น ป้องกันไม่ให้บุคคลวิ่งออกไปยังถนน เป็นต้น
อยูjเป็นเพื่อน พูดคุยด้วยท่าทีที่อบอุ่น แม้ว่าเขาจะไม่สามารถรับรู้หรือเข้าใจสิ่งที่พยาบาลพูดก็ตามและพยาบาลควรให้ความมั่นใจว่าบุคคลอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย
ดูแลให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมสงบ เงียบ ไม่มีสิ่งกระตุ้น หรืออยู่ในห้องที่มีขนาดเล็กเพื่อช่วยให้คลายความวิตกกังวลลงได้
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา (หากจําเป็น) ซึ่งยาที่นิยมใช้จัดอยู่ในกลุ่มยาคลายวิตกกังวลการใช้ยาในผู้ที่มีความวิตกกังวลนั้น มีเป้าหมายเพื่อให้ความวิตกกังวลลดลงซึ่งจะช่วยให้บุคคลสามารถจัดการกับปัญหาที่เป็นสาเหตุของความวิตกกังวลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-