Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจพิเศษ(ประเมินสุขภาพทารกภายในครรภ์) (3.อัลตราซาวด์(Untrasond)…
การตรวจพิเศษ(ประเมินสุขภาพทารกภายในครรภ์)
์Non stress Test (์NST)
ความหมาย
เป็นการตรวจดูการตอบสนองของ FHR เมื่อทารกเคลื่อนไหว บ่งบอกถึงความสมบูรณ์ทางกายภาพ การทำงานของระบบประสาทส่วนกลางระบบหัวใจและหลอดเลือดของทารกจึงเป็นการตรวจของภาวะทารกในครรภ์โดยตรง โดยอาศัยการรับรู้จากมารดาหรือบันทึกการเคลื่่อนไหวของทากรกโดยใช้เครื่องมือ Droppler
ข้อบ่งชี้ในการทำ NST
โรคความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์
โรคความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
ภาวะซีด
โรคเบาหวาน
โรคหัวใจ
และมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่นทารกน้ำคร่ำน้อย ทารกโตช้าในครรภ์
ทารกดิ้นน้อยลง ทารกเกินกำหนด ครรภ์เกินกำหนด ถุงน้ำแตกก่อน เป็นต้น
ควรเริ่มตรวจ NST เมื่อ GA > 32 wks
แต่ถ้าผิดปกติก่อนเริ่มตรวจเร็วกว่านั้นได้ และ การตรวจ
NST ได้ผลปกติก็ควรตรวจซ้ำทุกสัปดาห์
ถ้าเจอ IUGR , Postterrm , PIH , DM และ Rh isoimmunization ควรตรวจถี่่ขึ้น เป็นสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
การแปลผล NST
Reactive
มีการเพิ่มขึ้นของ FHR > 15 ครั้ง/นาที และคงอยู่นานอย่างน้อย 15 วินาที พบอย่างน้อย 2 ครั้ง ภายใน 20 นาที และ Besiline FHR ระหว่าง 110-160 ครั้ง/นาที
ผล reactive ให้ตรวจติดตามสุขภาพทารกตามความเสี่ยงเดิม
์Non reactive
การเพิ่มขึ้นของ FHR ไม่เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่มีการเพิ่มขึ้นของ FHR เลยในการตรวจนาน 40 นาที
ผล non eractive ให้ตรวจยืนยันด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม เช่น
contraction stress test (CST) หรือ biophysical profile (BPP) หรือ Droppler ultrasound เป็นต้น ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวน์ ประเมินความผิดปกติของทารกในครรภ์ ปริมาณน้ำคร่ำร่วมด้วย
Suspicious
มีการเพิ่มของ FHR < 2 ครั้งหรืออัตราเพิ่มขึ้น< 15
ครั้ง/นาที และอยู่สั้นกว่า 15 วินาที ควรทำ NST ซ้ำๆภายใน 24-48 ชั่วโมง หรือตรวจวิธีอื่นโดยเร็ว
๊Uninterpretable
ผลการบันทึก FHR มีคุณภาพไม่ดี อ่านผลไม่ได้ ควรตรวจซ้ำภายใน 24 ชั่วโมงหรือตรวจวิธีอื่นโดยเร็ว
การพยาบาลขณะทำ NST
1.อธิบายขั้นตอนการทำ NST อย่างคร่าวๆ
จัดหญิงตั้งครรภ์ให้อยู่ในท่า semi fowler
บันทึกความดันโลหิตก่อนทำ เพื่อตรวจสอบภาวะ suprine hypotention
ใช้ tocodynamometer ของ external monitor คาดหน้าท้องมารดาเพื่อบรรทึกการหดรัดตัวของมดลูก ที่เกิดเอง หรือเด็กดิ้น
.ใช้ Doppler FHR transducer
ให้หญิงตั้งคครรภ์กด mask ทุกครั้งเมื่อเด็กดิ้น
เมื่อครบ 20 ครั้ง อ่านผลได้และปลด tocodynamometer และ Doppler FHR transducer ออกจากหน้าท้องมารดา
Contraction stess test (CST)
ความหมาย
เป็นการประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์ โดยดูจากความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเต้นของหัวใจทารกกับการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งอาจเกิดขึ้นเอง หรือกระตุ้นโดยให้ oxytocin ทางหลอดเลือดดำ ให้มีการหดรัดตัวของมดลูก 3 ครั้งใน 10 นาที
วัตถุประสงค์
เพื่อตรวจสอบสภาวะสุขภาพทารกในครรภ์
เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์
ข้อบ่งชี้ในการทำ CST
ข้อบ่งชี้ในการทำ CST เหมือนกับ NST ควรเริ่มเมื่อ GA 32 wks ตรวจซ้ำได้ทุกสัปดาห์ อาจเพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ถ้ามารดาเป็นโรคเบาหวาน ที่ควบคุมไม่ได้ ความดันโลหิตสูง Sickle cell ในระยะวิกฤติ หัวใจวาย หรือหอบหืดมากขึ้น ทารกดิ้นน้อยลง
ข้อบ่งห้ามในการทำ CST
เคยได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
มีประวัติเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
3.ปากมดลูกหย่อนสมรรถภาพ
ต้้งครรภ์แฝดหรือครรภ์แฝดน้ำ
มีเลือดออกขณะตั้งครรภ์
Premature Rupture Of Membranes
การพยาบาลขณะทำ CST
เมื่อมดลูกมีการหดรัดตัวเองหรือกระตุ้นด้วย Oxytocin ให้มดลูกหดรัดตัว 3 ครั้งใน 10 วินาที duration 40-60 วินาที แต่ต้องหยุดให้ Oxytocin เมื่อพบว่ามี Fetal distress และมดลูกหดรัดตัวแบบไม่คลาย
เมื่อครบ 20 ครั้ง อ่านผลได้ และปลด tocodynamometer และ droppler FHR transducer ออกจากหน้าท้องมารดา
ให้หญิงตั้งครรภ์ กด mask ทุกครั้งเมื่อเด็กดิ้น
ใช้ droppler FHR transducer คาดกับหน้าท้องหญิงตั้งครรภ์เพื่อบรรทุก FHR ตลอดเวลาทำการ
1 จัดหญิงตั้งครรภ์ให้อยู่ในท่า semi fowler .
บันทึกความดันโลกิตก่อนทำ เพื่อตรวจสอบภาวะ suprine hypotention
ใช้ tocodynamometer ของ external monitor คาดหน้าท้องมารดา เพื่อบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก ที่เกิดเองหรือเด็กดิ้น
การแปลผล CST
negative
ผลปกติทารกอยู่ในสภาวะปกติหมายถึง ไม่มี late deceleration เกิดขึ้นเลย แนะนำการนับลูกดิ้นและมาตรวจซ้ำใน 1 สัปดาห์
positive
ผลผิดปกติเป็นการทำนายว่าทารกอยู่ในภาวะผิดปกติ เช่น ทารก อยู่
ในภาวะพร่องออกซิเจน หมายถึง การมี late deceleration มากกว่า
ร้อยละ 50 เมื่อมดลูกหดรัดตัว
Equivocal CST
suspicious
มดลูกหดรัดตัวจะพบ late deceleraatoin มากกว่าร้อยละ 50
hyperstimualtion
เกิด late deceleration ตามหลังการหดรัดตัวที่มากเกิน 90 วินาที หรือ เกิด contraction มากกว่าทุก 2 นาที
หยุดให้ oxytocin ก่อน
Unsatifactory
ไม่สามารถอ่านผล FHR ได้หรือการหดรัดรัวของมดลูกไม่พอเพียง คือ น้อยกว่า 3 ครั้งใน 10 นาที
คือผลทั้งหมดนี้ให้ข้อมูลที่ไม่อาจแปลผลเป็นประโยชน์ทางคลีนิค จะต้องทำการทดสอบซ้ำใน 24 ชั่วโมง
3.อัลตราซาวด์(Untrasond)
แปลผลอัลตราซาวด์ในไตรมาสต่างๆ
ไตรมาสที่ 1 ทำการตรวจอัลตราซาวด์ในช่วงอายุครรภ์ 11-13+6 wks เป็นการตรวจเพื่อยืนยันอายุครรภ์ โดยการวัดความยาวตั้งแต่ศีรษะถึงกระดูกก้นกบ ทำให้ทราบกำหนดวันคลอดที่แน่นอนในมารดาที่ประจำเดือนไม่มาและยังสามารถใช้ตรวจคัดกรองทารกกลุ่มอาการดาวน์ โดยการวัดความหนาของต้นคอทารก และกระดูกจมูกของทารกร่วมกับการตรวจสารชีวเคมีในเลือดมารดาทำให้เพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยทารกกลุ่มอาการดาวน์ได้อีกด้วย
ไตรมาส 2 ตรวจตั้งแต่อายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ เพื่อยืนยันอายุครรภ์ในมารดาที่มาฝากครรภ์ช้าและไม่ได้รับการตรวจตั้งแต่ในไตรมาสแรกสามารถตรวจอวัยวะต่างๆ สมอง กระดูกสันหลัง หัวใจ ตับ ไต ตรวจดูตำแหน่งรกและปริมาณน้ำคร่ำ อีกทั้งยังสามารถตรวจการไหลเวียนโลหิตของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงมดลูกซึ่งเชื่อมต่อไปยังทารก ซึ่งหากพบความผิดปกติ ก็สามารถทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หรือครรภ์เป็นพิษและภาวะที่ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ได้
ไตรมาส 3 ทำในช่วงอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์เพื่อตรวจดูพัฒนาการของทารกในครรภ์ที่สำคัญสามารถตรวจดูอัตราการเจริญเติบโตของทารก โดยปกติภาวะทารกเติบโตช้าจะเกิดช่วงนี้ ถ้าสามารถให้การรักษาและวินิจฉัยได้ทันท่วงทีก็จะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของทารก และยังช่วยลดโอกาสการเป็นเบาหวานและโรคหัวใจ และความดันสูงของทารกหลังคลอดได้อีกด้วย
วิธีการตรวจ
ตรวจหน้าท้อง
จัดท่าให้มารดานอนหงายราบในกรณีตรวจทางหน้าท้องหรือนอนหงายราบชันเข่าในกรณีตรวจทางช่องคลอด
ผู้ตรวจ เคลื่อนไหวหัวตรวจ (Transducer) ไปตามผนังหน้าท้องที่ทาด้วยสารหล่อลื่นใช้เวลาตรวจประมาณ 5-10 นาที
จอรับภาพจะแสดงผลให้เห็นในเวลาที่ตรวจ
ตรวจทางช่องคลอด
ให้ปัสสาวะทิ้งก่อนตรวจ
ให้เตรียม position ท่า lithotomy และถุงยางอนามัยปราศจากเชื้อไว้สำหรับสวม vaginal probe และหลังจากตรวจเสร็จดูแลให้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ด้วย
ชนิดอัลตราซาวด์
Transvaginal Scan เป็น ultrasound ที่ออกแบบสำหรับสอดเข้าช่องคลอดเพื่อตรวจ โดยทั่วไปเหมาะสำหรับการตรวจตอนตั้งครรภ์ในระยะแรก
Stand Ultrasound เป็น ultrasound มาตราฐานที่ตรวจทางหน้าท้อง
Advance Ultrasound เป็น ultrasound ที่ออกแบบสำหรับปัญหาที่ซับซ้อน
Doppler Ultrasound เป็น untrasound ที่ใช้สำหรับวัดการไหลเวียนของเม็ดเลือด
3-D Untrasound เป็น untrasound ที่ออกแบบมาเพื่อสร้างภาพ 3 มิติ เพื่อการพัฒนาของทารก
4-D or Dynamic 3-D Untrasound เป็น ultrasound เพื่อดูหน้าและการเคลื่อนไหวของอวัยวะ
Fetal Echocardiography เป็น ultrasound เพื่อไว้ตรวจหัวใจเด็ก
ประเภทการตรวจอัลตราซาวด์
ตรวจทางหน้าท้อง
ใช้ในการตรวจครรภ์ในระยะไตรมาสที่ 2-3 เพื่อที่จะได้เห็นภาพของทารกและรกที่ชัดเจนมากขึ้น
ตรวจทางช่องคลอด
ใช้ตรวจครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก เพื่อที่ได้เห็นภาพของปากมดลูก มดลูก ถุงน้ำคร่ำ ตัวอ่อน และโครงสร้างลึกๆของอุ้งเชิงกราน
ความถี่ในการตรวจอัลตราซาวด์
ทำการตรวจทุกครั้งที่ไปตรวจตามกำหนดเวลา หรือทำการตรวจ 2-3 ครั้งตามความจำเป็น
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
การอัลตราซาวด์มีประโยชน์ ต่อการตรวจครรภ์หลายอย่าง ในระยะแรกอาจใช้เพื่อคำนวณวันคลอด ดูว่าเป็นลูกแฝดหรือไม่ รวมถึงการตรวจดูการตั้งครรภ์นอกมดลูก ช่วยตรวจปัญหาขณะตั้งครรภ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ความพิการแต่กำเนิดของทารก ความผิดปกติของรก ทารกไม่กลับหัว เป็นต้น นอกจากนี้ พ่อแม่หลายคนที่ต้องการทราบเพศลูกว่าเป็นหญิงหรือชาย การตรวจอัลตราซาวด์สามารถช่วยบอกได้ ส่วนภาวะคลอดก่อนกำหนด แพทย์สามารภใช้เครื่องมือนี้ประเมินน้ำหนักทารกได้ด้วย
การพยาบาล
1.อธิบายวัตถุประสงค์ของการตรวจ วิธีการตรวจและปฏิบัติตนขณะตรวจให้หญิงตั้งครรภ์และสามีเข้าใจเพื่อลดความกังวล
2.หญิงตั้งครรภ์ไตรมาศที่ 1 แนะนำให้ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว และกลั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะตรวจเสร็จเพื่อให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม เพื่อให้มองเห็นตำแหน่งมดลูกส่วนล่างได้ชัดเจน
3.จัด position ให้หญิงตั้งครรภ์นอนหงายศีรษะสูงเล็กน้อยหลังมีหมอนรองใต้เข่าและป้ายเจลบริเวณหน้าท้องเพื่อเป็นตัวนำคลื่นเสียงจาก transducer
ภายหลังแพทย์ตรวจเช็ดเจลที่หน้าท้องให้สะอาด และให้หญิงตั้งครรภ์ตะแคงก่อนลุกจากเตียงช้าๆ เพื่อป้องกัน suprine hypotention
ให้อธิบายผลการตรวจ
Fetal Biophysical Profile (BPP)
การดูแลรักษาแปลผลของBPP
คะแนน 8-10 คะแนน แสดงว่า โดยที่ปริมาณน้ำคร่ำปกติ ทารกปกติดีไม่จำเป็นต้องรีบให้คลอด โอกาสเกิด asphysia ใน 1 wk น้อยกว่า 1 ใน 1000 ปกติ และควรตรวจซ้ำใน 1 wk
คะแนน 6-8 คะแนน แสดงว่า ให้พิจารณาตามปริมาณน้ำคร่ำ ถ้าน้ำคร่ำปกติ มิโอกาสเกิด asphyxia น้อย แต่ต้องตรวจ BPP ซ้ำใน 24 ชม แต่ถ้าน้ำค่ำน้อยโอกาสเกิด asphyxia สูงขึ้น
คะแนน 0-4 คะแนน แสดงว่า ทารกอยู่ในภาวะคับขัน ควรรีบให้คลอด
ความถี่ของการตรวจขึ้นกับภาวะของความเสี่ยง อาจจะสัปดาห์ละครัั้ง ถึงสองครั้ง หรือบ่อยกว่านั้นจนกระทั่งคลอด
วิธีการให้คะแนน Biophysiacl Profile
ปริมาณน้ำคร่ำ
ปกติ 2 คะแนน
ในแนวดิ่งเห็นน้ำคร่ำอย่างน้อย 1 ช่อง มีขนาดไม่น้อยกว่า 2 ลูกบาศก์เซนติเมตร
ผิดปกติ 0 คะแนน
ไม่เห็นน้ำคร่ำเลยหรือมีขนาด น้อยกว่า 2 ลูกบาศก์เซนติเมตรในแนวดิ่ง
การนับ FHR
ปกติ 2 คะแนน
ในเวลา 20 นาที มีการเคลื่อนไหวของทารกและมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็ว ขึ้นมากกว่า 15 ครั้ง/นาที นาน 15 วินาที เห็นอย่างน้อย 2 ครั้ง
ผิดปกติ 0 คะแนน
ในเวลา 20-40 นาที มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นไม่ถึง 15 ครั้ง/นาที และ เห็นน้อยกว่า 2 ครั้ง
การเกร็งตัว
ปกติ 2 คะแนน
เห็นแขนขาหรือลำตัวเหยียดออกและหดเข้าหรือบิดไปมาแล้วคืนสภาพหรือเห็นมือแบออกแล้วกำ
ผิดปกติ 0 คะแนน
ไม่เห็นทารกเคลื่อนไหวหรือ เคลื่อนไหวตัวแขนขาเหยียดเข้า ออก ช้าๆ และไม่เข้ารูปเดิม
การเคลื่อนไหวของลำตัวและแขนขา
ปกติ 2 คะแนน
ใน 30 นาทีเห็นหมุนตัวหรือแขน ขา เคลื่อนไหวไปมาอย่างน้อย 3 ครั้ง (เคลื่อนไหวไปมาจนหยุดนับเป็น 1 ครั้ง)
ผิดปกติ 0 คะแนน
ใน 30 นาที เห็นลำตัวหรือแขน ขา เคลื่อนไหว 2 ครั้ง หรือน้อยกว่า
1.การเคลื่อนไหวที่แสดงถึงการ หายใจ
ปกติ 2 คะแนน
ใน 30 นาที เห็นการเคลื่อนไหว แสดงการหายใจนาน 30 วินาที อย่างน้อย 1 ครั้ง
ผิดปกติ 0 คะแนน
ใน 30 นาที ไม่มีการเคลื่อนไหวหรือมีการเคลื่อนไหวแสดง การหายใจ นานไม่ถึง 30 วินาที
การพยาบาลขณะทำ BPP
เตรียมหญิงตั้งครรภ์ในท่านอน semi fowler ตะแคงซ้ายเล็กน้อย
ใช้ ultrasound ตรวจวัดข้อมูล 5 ตัวแปล ที่ต้องการหายใจ การเคลื่อนไหว แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจทารก ร่วมกับการวัดปริมาณน้ำคร่ำ
กำหนดค่าคะแนนของแต่ละข้อม ข้อละ 2 คะแนน เมื่อพบว่าปกติให้ 2 คะแนน และเมื่อผิดปกติให้ 0 คะแนน
ข้อบ่งชี้
จะตรวจในทารกที่มีอายุครรภ์มากกว่า 32 wk
ตั้งครรภ์แฝด
คนท้องที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูง โรคเลือด โรค SLE โรคไต โรคหัวใจ โรคไต โรคไทรอยด์
อายุครรภ์เกินกำหนดคลอด
เคยมีประวัติทารกเสียชีวิต
ทารกเคลื่อนไหวน้อยกว่าปกติหรือการเจริญเติบโตน้อยกว่าปกติ
มีปัญหาเรื่องกรุ๊ปเลือด Rh
มีปัญหาในการตรวจชนิดอื่น
ปริมาณน้ำคร่ำน้อยหรือมากกว่าปกติ
วัตถุประสงค์
เพื่อประเมินภาวะขาดออกซิเจนของทารกในครรภ์
ความหมาย
การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่างๆ ของทารกที่ถูกกระตุ้น และควบคุมด้วยระบบประสาทส่วนกลาง (Biophysical activity) 4 ตัวแปร (การหายใจ การเคลื่อนไหว แรงตึงตัวของกล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจทารก) ร่วมกับการวัดปริมาณน้ำคร่ำอีก 1 ตัวแปร
การตรวจคัดกรองและวินิจฉัยภาวะดาวน์ซินโดรม
กลุ่มอาการดาวน์ (down's syndrome)
เป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่สาเหตุเกิดจากความผิดปกติทางด้านจำนวนโครโโซม โดยมีอัตราการเกิด ประมาณ 1 ต่อ 800-1,000 การเกิดมีชีพและอุบัติการณ์ยังเพิ่มขึ้นตามอายุของมารดาขณะตั้งครรภ์
2.การตรวจวินิจฉัย
การเจาะน้ำคร่ำ
แพทย์เจาะตัวอย่างน้ำคร่ำที่อยู่รอบตัวทารกในครรภ์ไปตรวจหาโครโมโซมที่ผิดปกติ เป็นวิธีตรวจที่เสี่ยงต่อการแท้ง ใช้ตรวจในหญิงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 และควรตรวจในอายุครรภ์มากกว่า 15 สัปดาห์ขึ้นไป และหญิงตั้งครรภ์อายุมากกว่า 35 ปี
การพยาบาลก่อนทำ
แนะนำได้รับการเตรียมตั้งแต่ล่วงหน้าก่อนเจาะน้ำคร่ำ โดยไม่ต้องงดน้ำงดอาหาร แต่ถ่ายปัสสาวะก่อนเจาะน้ำคร่ำเสียก่อน และก่ออนตรวจควรบอกเหตุผล ความจำเป็นที่ต้องตรวจ และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดต่อมารดาและทารกหลังทำ
ภาวะแทรกซ้อน
น้ำคร่ำรั่ว และอาจเกิดแท้งบุตรหรือทารกตาย
ทารกบาดเจ็บจากการถูกเข็มเจาะ
การติดเชื้อ
คลอดก่อนกำหนด
วิธีการตวจ
1.เริ่มด้วยการตรวจ ultrasound ตรวจตำแหน่งของทารกการเกาะของรก
2.เตรียมหน้าท้องบริเวณที่เจาะน้ำคร่ำด้วยเทคนิคปราศจากเชื้อ
3.ใช้เข็มเจาะหลัง เจาะผ่านหน้าท้าท้อง มดลูกถุงน้ำคร่ำ และดูดเอาน้ำคร่ำ 15-20 มล. บริเวณตำแหน่งด้าน small part
4.ภายหลังเจาะใช้พลาสเตอร์ปิดบริเวณที่เข็มเจาะและแกะออกเมื่อครบ 24 ชม.
การพยาบาลหลังเจาะน้ำคร่ำ
ถ้าปวดแผลบริเวณที่เจาะสามารถรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดได้
ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดแผลที่เจาะน้ำคร่ำ สามารถอาบน้ำได้ปกติ
งดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 24 ชม.หลังเจาะน้ำคร่ำ
อาการผิดปกติเมื่อพบที่ต้องมาพบแพทย์
มีไข้
หลังจากที่เจาะแล้วอาจเกิดถุงน้ำคร่ำติดเชื้อหรือรกเกิดการติดเชื้อได้
ปวดท้องมาก
มีน้ำเดิน
เลือดออกทางช่องคลอด
งดกิจกรรมหนัก หรือกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก
ขึ้นลงบันไดบ่อย
เดินทางไกล 24 ชม. หลังตรวจ
ยกของหนัก
2.การตรวจโครโมโซมจกรกเด็ก
แพทย์จะนำตัวอย่างเนื้อเยื่อจากรกมาตรวจหาโครโมโซมที่ผิดปกติ ใช้ตรวจในอายุครรภ์ 10 สัปดาห์เป็นต้นไปแต่เป็นวิธีการแท้งสูงกว่าเจาะน้ำคร่ำ
ภาวะแทรกซ้อน
มีความพิการของทารกในครรภ์ชนิดมีแขนขาไม่ครบ (transverse digital defect)
การแตกของถุงน้ำคร่ำ การตกเลือดและการติดเชื้อ
แท้งบุตรร้อยละ 2-4
วิธีการตรวจ
เหมือนการเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจทุกประการแต่ดูดชิ้นเนื้อรกส่งตรวจแทน
2.สามารถเจาะผ่านทางปากมดลูก(transcervical) และผ่านทางหน้าท้อง (transabdomen)
การพยาบาลหลังทำ
งดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 2-3 วัน
สังเกตอาการผิดปกติ เช่นเดียวกับการเจาะน้ำคร่ำ
ภายหลังตรวจให้พักผ่อนเต็มที่ งดการทำงานทุกชนิด
3.การเจาะเลือดจากสายสะดือทารก
แพทย์จะเจาะนำตัวอย่างจากเส้นเลืดบริเวณสายสะดือทารก เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมใช้ตรวจในอายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ มีความเสี่ยงแท้งสูงกว่า การเจาะน้ำคร่ำ และการตรวจเนื้อเยื่อจากรก จึงเป็นวิธีที่แนะนำต่อเมื่อ การตรวจด้วยวิธีการอื่นข้างต้นแล้วไม่ทราบผลที่ชัดเจน
ภาวะแทรกซ้อน
เลือดออกไม่หยุด
สายสะดือบาดเจ็บ
ภาวะการณ์ปะปนของเลือดมารดาสู่ทารกในครรภ์
ภาวะหัวใจทารกเต้นช้า การคลอดก่อนกำหนด
การพยาบาลหลังทำ
1.การประเมินภาวะเลือดออกจากสายสะดือจากเครื่อง untrasound และ fetal monitoring 30-60 okmu4kps]y'9i;0
ตรวจนับอัตราการเต้นของหัวใจทารก
3.เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน
4.ตรวจสอบภาวะเด็กดิ้น
electronic mornitoring
วิธีการตรวจ
ใช้ยาเฉพาะที่ และเทคนิคปราศจากเชื้อ
ใช้เข็มเจาะผ่านลงไปที่สายสะดือเหนือที่เกาะกับรกมาประมษณ 2-3 เซนติเมตร
ใช้คลื่นเสียงความถี่สูงตรวจดูตำแหน่งที่เจาะ
4.นิยมเจาะที่หลอดเลือดำ(umbilical vein) มากกว่าเพราะมีขนาดของหลอดเลือใหญ่กว่า
1.การตรวจคัดกรอง
การตรวจการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2
ในสัปดาห์ที่ 16-19 จะมีการตรวจเลือดหาความผิดปกติของสารเคมีในเลือด ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ คือ การตรวจหาอัลฟา-ฟิโตรโปรตีน (Alpha Fetoprotein) อีสไทรออล(Estroil) ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์อย่างเช่น เอสโตรเจนกันโปรเจสเตอโรน (HCG ) และอิน ฮีบิน เอในเลือด (Inhibin A) ตรวจพบว่ามีการตั้งครรภ์ดาวน์ซินโดรมประมาณ 80 %
การตรวจแบบ NIPs หรือ NIPT- เป็นการตรวจ DNA ของทารกมาจากรก และหมุนเวียนอยู่ในเลือดของมารดา โดยแนะนำให้ตรวจเมื่ออายุครรภ์ 10 สัปดาห์ขึ้นไปแล้วโดยเฉพาะมารดาที่อายุมาก เนื่องจากมีความเสี่ยงที่ทารกจะมีโครโมโซมที่ผิดปกติสูง
การตรวจการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก
การตรวจเลือด หาความผิดปกติของโปรตีน (PAPP-A)และระดับโกนาโดโทรพิน (Hcg).ในมนุษย์
การตรวจอัลตราซาวด์ในช่วง 11 ถึง 13 สัปดาห์หากเด็กมีความผิดปกติจะตรวจพบของเหลวสะสมอยู่ที่เนื้อเยื่อบริเวณลำคอของเด็กมากกว่าปกติ
การทดสอบนี้ตรวจพบการตั้งครรภ์ดาว์ซินโดรม 80-90 % การทดสอบนี้ไม่เหมาะสำหรับคุณ ถ้าคุณตั้งครรภ์นานกว่า 14 สัปดาห์
นศพต.ชุติกาญจน์ กลิ่นสุคนธ์ เลขที่ 10 ชั้นปีที่ 3