Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Gouty Arthritis (พยาธิสรีรภาพ (กรดยูริคเกาะในคอลลาเจน…
Acute Gouty Arthritis
พยาธิสรีรภาพ
กรดยูริคเกาะในคอลลาเจน และเนื้อเยื่อฮัยยาไลท์ (Hyaline) ในรูปผลึกโมโนโซเดียมยูเรต ซึ่งเห็นได้ด้วยกล้องจุลทัศน์ ผลึกโนซินโนเวียม และน้ำซินโนเวียม ทำให้เกิดอาการปวดข้ออย่างเฉียบพลัน และปวดข้ออาจจากเซลล์ซินโนเวียม ซึ่งกินผลึกนั้นตายหรือผลึกตกตะกอนภายในเซลล์เยื่อซินโนเวียมบวมและเป็นแพนนัส (punnus) และอาจทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อกร่อน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเสื่อม การเกิดผลึกที่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังเรียกว่า โทฟัส ผลึกอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาสิ่งแปลกปลอมอย่างเฉียบพลัน และโทฟัสอาจบวม ร้อน และปวด การเกิดผลึกในไต อาจทำให้ไตวาย นอกจากนี้ก้อนนิ่วยูเรตอาจเกิดขึ้นในทางเดินปัสสาวะ
-
-
-
การรักษา
การรักษาด้านศัลยกรรม
- ในระยะที่มีการอักเสบเฉียบพลันควรให้ข้อพักนิ่ง เพื่อป้องกันการผิดรูปของข้อ
แต่การจัดให้อยู่นิ่งไม่ควรนานเกินเพราะจะทำให้ข้อติดแข็งได้
2.สำหรับก้อนโทพัสที่เกิดขึ้น ถ้าขัดขวางต่อการเคลื่อนไหวของข้อ
หรือเอ็นหรือกดเส้นประสาทก็ควรผ่าตัดเอาออก
- ผู้ป่วยที่มีก้อนโทพัสขนาดใหญ่อยู่ใต้ผิวหนัง
อาจต้องทำผ่าตัดเอาออกเพื่อป้องกันผิวหนังตาย ซึ่งจะเป็นแผลเรื้อรังต่อไป
- ในรายที่เป็นแผลเรื้อรัง ขณะทำแผลควรเช็ดผลึกยูเรตออก ร่วมกับการรักษาทางยา
ไม่ควรใส่สารต้านจุลชีพที่มีฤทธิ์รุนแรงเฉพาะที่ จะทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นใหม่
ผู้ป่วยที่มีแผลขนาดใหญ่อาจต้องผ่าตัดทำการปลูกหนัง (Skin graft) เพื่อปิดแผล
- ในรายที่ข้อถูกทำลายโดยผลึกยูเรต มีหลักการรักษาดังนี้
-
-
-
-
-
-
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
-
- ปวดข้อ เนื่องจากพยาธิสภาพของโรค
-
เกณท์ในการพยาบาล
- อาการปวดข้อลดลงหรือไม่มีอาการปวด
-
-
การวางแผนทางการพยาบาล
- ดูแลให้ผู้ป่วยพักข้อที่มีการอักเสบรุนแรง และยกสูงวางบนหมอน
เพื่อลดการอักเสบและอาการปวด หลีกเลี่ยงการลดนํ้าหนัก
- ประคบข้อที่อักเสบด้วยความเย็นเพื่อลดอาการปวด
- ดูแลให้ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบให้ถูกทาง และถูกเวลา
พร้อมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงของยา
- หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบของข้อเพิ่มขึ้น
เช่น อาหารที่มี พิวรีนสูง ความเครียดต่างๆ ซึ่งจะทำให้ภาวะกรดยูริคในเลือดสูง
-
-
-
อาการ
- กลุ่มอาการที่พบบ่อย (Typical tupe)
ระยะที่ 1 พบภาวะกรดยูริคในเลือดสูงนำมาก่อน แต่ไม่มีอาการอักเสบของข้อ มักพบในผู้ชายวัยกลางคน พบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมด จะเกิดข้ออักเสบในเวลาต่อมา ผู้ป่วยจะอยู่ในระยะนี้นานถึง 10-20 ปี จึงจะเข้าสู่ระยะมีการอักเสบของข้อ
ระยะที่ 2 คือ ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน (Acute gouty arthritis) โดยเริ่มจากข้อใดข้อหนึ่ง ร้อยละ 50-70 ของผู้ป่วย จะมีการอักเสบที่นิ้วหัวแม่เท้า เรียกว่า โพดากรา (podagra) ข้ออื่นก็พบได้แต่มักพบในข้อเล็กๆ การอักเสบของข้อมักจะเกิดภายหลังที่รับประทานอาหารเป็นจำนวนมากๆ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การปวดที่จะเกิดอย่างเฉียบพลันมักเริ่มในตอนเย็นหรือกลางคืน
ระยะที่ 3 คือ ระยะเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีข้ออักเสบเรื้อรัง ไม่มีช่วงที่หายเป็นปกติ พบเกิดข้ออักเสบเฉียบพลันขึ้นอีกเป็นครั้งคราว มักพบก้อนผลึกยูริค (tophus) ที่ขึ้นตามที่ต่างๆ ความแข็งของก้อนโทพัส ทำให้เกิดความเจ็บปวดที่ข้อต่อ ทำให้บริเวณเนื้อเยื่อบริเวณนั้นตาย ก้อนโทพัสที่อยู่ใต้ผิวหนัง บางทีจะตึง มีความบางและเป็นมัน บางครั้งอาจมีแผลแตกทะลุ มีผงสีขาวคล้ายชอล์กไหลออกมา ซึ่งจะประกอบด้วยผลึกละเอียดอยู่มากมาย รูปร่างคล้ายเข็ม ในผู้ป่วยที่มีการอักเสบเรื้อรังของข้อ ข้อจะถูกทำลาย และผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะพบความผิด ปกติของไต
- กลุ่มที่พบอาการไม่เด่นชัด (Atypical gout)
อาจพบข้ออักเสบหลายๆ ข้อ ตั้งแต่แรก ถ้าข้อนิ้วมืออักเสบอาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ฉะนั้น จึงควรเจาะเอานํ้าในข้อไปตรวจหาผลึกยูเรต
-
สาเหตุ
- ทางเดินอาหาร เกิดจากภาวะที่ร่างกายได้รับแอลกอฮอล์มากเป็นประจำ หรือรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง
-
- จากร่างกายมีการเผาผลาญสารพิวรีนและผลิตสารพิวรีนสูงกว่าปกติ
-
-