Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
CASE 1 (การตรวจร่างกาย (การคลำ (การตรวจว่ามีน้ำในเยื่อหุ้มข้อ (Synovial…
CASE 1
การตรวจร่างกาย
-
-
-
การคลำ
การตรวจว่ามีน้ำในเยื่อหุ้มข้อ (Synovial fluid) โดยคลำการบวมตึงรอบข้อ ถ้ามีการบวมตึงตั้งแต่บริเวณเหนือกระดูกสะบ้าลงมาจนไม่เห็นร่อง 2 ข้างของลูกสะบ้าเป็นอาการบวมของข้อเนื่องจากเยื่อบุข้ออักเสบและมีน้ำในข้อ ในขณะที่อาการบวมตึงบริเวณด้านใดด้านหนึ่งของข้อมักแสดงถึงความผิดปกติของ
การตรวจเพื่อแยกความหนาของเยื่อหุ้มกระดูก (Synovial hypertrophy) โดยให้ผู้ป่วยนอนราบเหยียดเข่าออก ไม่ให้เกร็งข้อ คลำข้อเข่าโดยเริ่มที่ต้นขาเหนือลูกสะบ้า 10 เซนติเมตรหาขอบบนของช่องในข้อเข่า
-
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
-
เกณฑ์การประเมินผล
- การอักเสบของข้อลดลงหรือไม่เกิดขึ้น
- ได้รับยาแก้ปวดลดลงหรือไม่ได้รับยาแก้ปวด
-
กิจกรรมทางการพยาบาล
- ให้ข้อที่อักเสบได้พักมากๆ โดยอาจจะจำกัดเรื่องการเคลื่อนไหวข้อที่อักเสบรุนแรงและมีอาการปวด
- ดูแลให้ผู้ป่วยใช้เครื่องกายอุปกรณ์อย่างถูกต้อง และเวลาที่ใส่อย่างเหมาะสม เช่น ใส่เมื่อทำงานหรือเดินทาง
- ประคบด้วยความร้อนที่บริเวณข้อที่ปวด เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว และหลังการประคบ ควรดูแลให้ผู้ป่วยได้มีการบริหารกล้ามเนื้อและข้อ
- ควรหลีกเลี่ยงอากาศที่เย็นในที่มีอากาศเย็นควรใส่ถุงมือเพื่อความอบอุ่น
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาบรรเทาอาการปวด และยาต้านการอักเสบ ตามแผนการรักษา พร้อมทั้งสังเกตอาการข้างเคียงของยา
การตรวจในห้องปฏิบัติการ
1 การตรวจน้ำไขข้อ ส่วนใหญ่ไม่ผิดปกติ จำนวนเม็ดเลือดขาวในน้ำไขข้ออยู่ในเกณฑ์ปกติ (0 – 200/ลบ.มม.) หรือสูงกว่าปกติเล็กน้อยแต่ไม่เกิน 2,000/ลบ.มม.
2 การตรวจด้วยกล้องส่องข้อ สามารถตรวจพบกระดูกอ่อนผิวข้อที่เปลี่ยนแปลงไปได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ แต่ความผิดปกติและอาการปวดข้ออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ดังนั้นการวินิจฉัยโรคด้วยกล้องส่องข้อ ต้องแปรผลด้วยความระมัดระวัง
3 การตรวจทางรังสีวิทยา เป็นการตรวจเพื่อช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม โดยถ่ายภาพเอกซเรย์ในท่ายืน ซึ่งภาพถ่ายจะแสดงว่ามีช่องข้อเข่าแคบลงเนื่องจากกระดูกอ่อนที่ผิวข้อถูก ทำลายไปเห็นกระดูกงอกที่ขอบข้อ (Osteophytes) ภาพเงากระดูกใต้กระดูกอ่อนเข้มขึ้น(Subchondral bone sclerosis) เนื่องจากมีการสร้างกระดูกขึ้นใหม่ ในรายที่เป็นมากภาพผิวข้อจะขรุขระ พบมีการทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อเข้าไปจนถึงกระดูกแข็ง หรือเห็นถุงน้ำในกระดูกใต้กระดูกผิวข้อ อาจเห็นเศษกระดุกเคลื่อนในข้อ (Loose bony)
สาเหตุตามทฤษฎี
-
-
-
ผู้ป่วยโรคอ้วนมักเผชิญอาการ Osteoarthritis บริเวณเข่าและสะโพก เพราะข้อต่ออาจรับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายมากขึ้น
-
-
-
เคยกระดูกหักบริเวณใกล้ ๆ ข้อต่อ เคยป่วยเป็นข้อต่อติดเชื้อ หรือเคยได้รับบาดเจ็บบริเวณเอ็น ซึ่งอาจส่งผลต่อความแข็งแรงของข้อต่อ
-
การรักษา
การรักษาโดยยา
- กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ให้เมื่อผู้ป่วยไม่ตอบสนองต่อยาพาราเซตตามอล ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อระบบทางเดินอาหารให้พิจารณากลุ่มยาต้านการ อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ร่วมกับสารป้องกันกระเพาะอาหาร (Gastroprotective agents) กลไกการออกฤทธิ์ของกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
- ยาทาเฉพาะที่ประเภทกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาประเภทนี้มีผลดีพอควรและปลอดภัย พิจารณาให้ยาทาเป็นยาเสริมตัวอื่นหรือให้เดี่ยวๆในกรณีที่กินยาไม่ได้ผลและ ไม่ต้องการยาฉีด เช่น ยา Capsaicin เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคข้อเข่าสื่อม ทำมาจาก Capsicum
- การรักษาโดยการฉีดยาเข้าช่องข้อ (Intra-Articular Therapy)
- พิจารณายาพาราเซตตามอลชนิดรับประทาน โดยให้ขนาด 500 มิลลิกรัม 1-2 เม็ด
ซ้ำทุก 6 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 8 เม็ด/วัน และไม่ควรรับประทานติดต่อกันทุกวันนานๆ อาจมีผลเสียต่อตับและไตได้
-
พยาธิสภาพตามทฤษฎี
เป็นอาการที่กระดูกอ่อน (Cartilage) ในข้อต่อกระดูกเสื่อมสภาพจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อายุ การใช้งาน เป็นต้น การเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อน ส่งผลให้กระดูกเสียดสีกันหรือเกิดแรงกดมากขึ้น จนทำให้เจ็บบริเวณข้อต่อและขยับข้อต่อลำบาก หากไม่รีบรักษา อาการอาจรุนแรงขึ้น หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยทั่วไปแล้ว Osteoarthritis มักเกิดบริเวณข้อนิ้วมือ เข่า สะโพก กระดูกสันหลัง และเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่อายุมากกว่า 50 ปี
-
อาการและอาการแสดง
-
-
-
-
-
ข้อต่อเกิดการติดแข็ง เมื่อขยับตัวหลังจากอยู่นิ่ง ๆ หรือไม่ได้ทำกิจกรรมเป็นเวลานาน เช่น การตื่นนอนตอนเช้า