Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Antenatal Care การฝากครรภ์ (Laboratory 15 มกราคม 2563 (Hemoglobin (9.8 …
Antenatal Care
การฝากครรภ์
ประวัติมารดา
หญิงตั้งครรภ์ชาวไทย อายุ 23 ปี
G2P1001 GA 20 wk 2 day
LMP 29 ตุลาคม 2562 มา 4 วัน
EDC by date 4 สิงหาคม 2563
ประวัติการผ่าตัด
ปฏิเสธ
ประวัติการแพ้ยา
ปฏิเสธ
ประวัติการเจ็บป่วย
ปฏิเสธ
ประวัติครอบครัว
ปฏิเสธการเจ็บป่วยในครอบครัว
ประวัติฉีดวัคซีนบาดทะยัก
ครั้งที่ 1
ปี พ.ศ. 2559 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ
ครั้งที่ 2
ปี พ.ศ. 2559 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎฯ
ครั้งที่ 3
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
การตั้งครรภ์
น้ำหนัก
47 กิโลกรัม
ส่วนสูง
165 เซนติเมตร
BMI
17.26 กิโลกรัม /ตารางเมตร (ต่ำกว่าเกณฑ์มาตาฐาน)
ตรวจร่างกาย
ตา
เยื่อบุตาซีดเล็กน้อย ไม่มีตาพร่ามัว
จมูก
ไม่บวม ลักษณะสมมาตรกัน
ช่องปากและฟัน
ไม่มีฟันผุ ช่องปากสะอาดไม่มีกลิ่น
ลำคอ
ปกติ คลำไม่พบก้อน
เต้านม
หัวนมปกติ ลานมปกติ ไม่คัดตึงเต้านม
แขน
ไม่บวม
ขาและเท้า
ไม่บวม ไม่มีเส้นเลือดขอด
ศีรษะ
ผมนุ่มลื่น ไม่มีรังแค ไม่มีแผลที่หนังศีรษะ
Laboratory 15 มกราคม 2563
Hemoglobin
9.8 g/dL ต่ำ
Hematocrit
29.2 % ต่ำ
MCV
91.3 fL ปกติ
Hb E Screening (DCIP)
Negative
ABO
A
Rh
Positive
Ab screening
Positive
VDRL
Negative
HIV Ab
Negative
HBsAg
Positive
HBeAg
Positive
Glucose
Negative
Albumin
Negative
การตรวจครรภ์
ขนาดของท้องสมมาตรกับอายุครรภ์ หน้าท้องมี Linea nigra มี striae gravidarum สีเงิน ตรวจพบ ระดับยอดมดลูกเท่ากับสะดือ คลำไม่พบส่วนนำ FHS 140 bpm เด็กดิ้นดี
Pathology
คือ
Hepatitis B เป็นโรคตับชนิดร้ายแรงที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบ บี(hepatitis B virus)
อยู่ในกลุ่ม hepadnavirus
เป็นสาเหตุของการเกิดโรคตับแข็งและมะเร็งตับชนิด hepatocellular carcinogen
แบ่งการดำเนินโรค
acute hepatitis B infection
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในระยะแรก ถือที่การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 6 เดือน
chronic hepatitis B infection
การติดเชื้อเป็นระยะเวลามากกว่า 6 เดือน
carrier
ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ แต่ยังสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
chronic hepatitis
ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ
compensated cirrhosis
ตับแข็งที่ยังไม่แสดงอาการทางคลินิก
decompensated cirrhosis
ตับแข็งที่แสดงอาการทางคลินิก เช่น ท้องมานน้ำ ตัวเหลือง ตาเหลือง เป็นต้น
ผลการตรวจเลือด
HBsAg
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
HBeAg
ความสามารถในการแบ่งตัวของไวรัสตับอักเสบบี (Viral replication)
Anti HBc
เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อไวรัสตับอักเสบบี บอกถึงการเคยติดเชื้อไวรัสบี
Anti HBc-IgM
พบในตับอักเสบเฉียบพลัน
Anti HBc-IgG
พบได้ทั้งในตับอักเสบเฉียบพลัน, เรื้อรัง หรือแม้แต่ผู้ที่ตรวจไม่พบเชื้อแล้ว
Anti HBe
จะพบหลังจากตรวจไม่พบ HBeAg ในเลือดแล้ว
Anti HBs
จะพบหลังจากตรวจไม่พบ HBsAg ในเลือดแล้ว หรือ เป็นภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
อาการและอาการแสดง
ระยะฟักตัวของโรคตับอักเสบบีประมาณ 60-150วัน
โดยเฉลี่ย 90 วันภายหลังจากการติดเชื้ออาการ
เด็กที่อายุต่ำกว่า5 ปีและผู้ใหญ่ที่ได้รับเชื้อในระยะแรกจะไม่มีอาการ
ขณะเด็กที่อายุมากกว่า 5 ปีมีอาการติดเชื้อเฉียบพลัน
ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีจะมีอาการรุนแรง
อาการของการติดเชื้อ
มีไข้
อ่อนเพลีย
เบื่ออาหาร
คลื่นไส้อาเจียน
ปวดท้อง
ปัสสาวะสีเข้ม
อุจจาระสีซีด
ปวดข้อ
อาการตัวเหลืองตา
เด็กทารกที่ได้รับเชื้อจากมารดาที่ติดเชื้อขณะตั้งครรภ์จะกลายเป็นพาหะหรือตับอักเสบเรื้อรังได้สูงกว่าผู้ใหญ่
ผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อจะมีตับอักเสบเรื้อรัง จะเป็นพาหะของโรคตลอดชีวิต
การแพร่ระบาด
ทางตรง
การส่งผ่านเชื้อไวรัสด้วยการให้เลือดที่ปนเปื้อน
การสัมผัสส่วนประกอบของเลือดที่ปนเปื้อน
การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดโรค
การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในกลุ่มเสพยาเสพติด
การสัมผัสสารคัดหลั่งหรือเลือดของผู้ป่วยผ่านทางผิวหนังที่มีแผล
ทางอ้อม
การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน
ผ้าขนหนูใบมีดโกน
แปรงสีฟัน
ต่างหู
จากมารดาสู่ทารก
ปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่เชื้อ
Viral load
มีผลต่อการติดเชื้อในช่วงก่อนคลอด
viral load > 7 log (IU/ml) หรือ >8 log (copies/ml)
จะทำให้ทารกมีโอกาสติดเชื้อได้มากขึ้น
viral load<6 log (copies/ml) และทารกแรกคลอดได้รับ infant immunoprophylaxis
ไม่มีโอกาสการติดเชื้อของทารก
HBeAg ในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
positive
แต่ทารกหลังคลอดไม่ได้รับวัคซีน Hepatitis B Immunoglobulin
มีโอกาสการติดเชื้อได้ร้อยละ 40-90
HBeAg positive จะมีระดับไวรัสสูง และ HBeAg สามารถผ่านรกไปยังทารกในครรภ์
กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของทารกดื้อต่อเชื้อไวรัสตับอีกเสบบี ทำให้ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้
negative
มีโอกาสติดเชื้อเพียงร้อยละ 10-40
infant immunoprophylaxis
การที่ทารกแรกคลอดได้รับ HBIG และ hepatitis B vaccine ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด
จะช่วยป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกได้ถึงร้อยละ 90-95
หากทารกได้รับเพียง hepatitis B vaccine
จะช่วยป้องกันได้เพียงร้อยละ 75
Threatened preterm labor or threatened abortion
ทำให้มีโอกาสเกิด transplacental leakage
เกิด maternal-fetal microtransfusion
วิธีการคลอด
ทางช่องคลอด
มีโอกาสติดเชื้อร้อยละ 8.1
ติดเชื้อเรื้อรังร้อยละ 7.3
การใช้หัตถการช่วยคลอด
vacuum or forceps extraction
มีโอกาสติดเชื้อร้อยละ 7.7
ติดเชื้อเรื้อรังร้อยละ 7.7
การผ่าตัดคลอด
มีโอกาสติดเชื้อร้อยละ 9.7
ติดเชื้อเรื้อรังร้อยละ 7.7
การป้องกัน
การได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีสำหรับกลุ่มเสี่ยง
ทารกแรกเกิด
วัยรุ่น
ผู้ป่วยเอชไววี
ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องจากการได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
การหลีกเลี่ยงหรือปกป้องจากการสัมผัสโรค
การป้องกันการติดเชื้อจากการสัมผัสเลือด สารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ
การใช้ถุงยางอนามัยในขณะมีเพศสัมพันธ์
การใช้อุปกรณ์การแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
การละเว้นการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น กรรไกรตัดเล็บ แปรงสีฟัน ต่างหู
การป้องกันการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก
หญิงมีครรภ์ที่มีการติดเชื้อแต่ผลเลือด
มีanti HBV น้อยกว่า 10 IU/ml
ได้รับ Hepatitis Bimmunoglobulin(HBIG) (400IU) ทันทีหรือภายใน
72 ชั่วโมงหลังติดเชื้อ
จากนั้นควรให้วัคซีนภายใน 7 วัน และให้ซ้ำใน 1 เดือนและ 6 เดือนหลังการติดเชื้อ
หญิงมีครรภที่เป็นพาหะของโรคและตรวจพบ HBV DNA ในกระแสเลือดมากกว่า 107 copiers/ml
ควรได้รับยาต้านไวรัสตั้งแต่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์กระทั่งคลอดและหนึ่งเดือนภายหลังคลอด
การคัดกรองโรคและเฝ้าระวังโรค
การดูแล
มารดาติดเชื้อ
HBeAg
Negative
ฝากครรภ์ ตามปกติ
Positive
ให้Tenofovir DisoproxilFumarate (TDF) ขนาด 300 mg รับประทาน วันละ 1 ครั้ง
เมื่ออายุครรภ์ครบ 28-32 สัปดาห์ และใหhต่อเนื่องไปจนครบ 4 สัปดาห์หลังคลอด
ฝากครรภ์ช้า
แพทย์ควรตรวจหา HB
ประเมินผู้ป่วยโดยเร็วหากพบว่ามีข้อบ่งชี้ต้องได้รับยา
TDF
ยังไม่เข้าสู่ระยะคลอด ให้สามารถเริ่มยาได้ทันที
ทารกที่มารดาติดเชื้อ
หลีกเลี่ยงหัตถการความเสี่ยงสูง
Chorionic sampling
Amniocentesis
ทำการตรวจด้วยวิธี non-invasive prenatal testing ทดแทน
HIGH RISK PREGNANCY
HBsAg positive ร่วมกับ HBeAg positive
NOTIFY
Preterm
(BMI 17.26 กิโลกรัม /ตารางเมตร)
Ab screening positive
Problem lish
HBsAg positive ร่วมกับ HBeAg positive
BMI 17.26 กิโลกรัม /ตารางเมตร (ต่ำกว่าเกณฑ์มาตาฐาน)
Hemoglobin 9.8 g/dL ต่ำ
Hematocrit 29.2 % ต่ำ
Ab screening Positive
ปัสสาวะแสบขัด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
1.หญิงตั้งครรภ์มีภาวะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีขณะตั้งครรภ์
ข้อมูลสนับสนุน
HBsAg Positive
HBeAg Positive
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
ป้องกันการติดเชื้อสู่ทารกในครรภ์
เกณฑ์การประเมินผล
1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับยาครบตามกำหนด
2.ทารกในครรภ์สุขภาพดีไม่มีการติดเชื้อ
กิจกรรมการพยาบาล
หญิงตั้งครรภ์เมื่ออายุครรภ์ครบ 28-32 สัปดาห์ เริ่มให้ได้รับยา Tenofovir DisoproxilFumarate (TDF) ขนาด 300 mg รับประทาน วันละ 1 ครั้ง เมื่อ ต่อเนื่องไปจนครบ 4 สัปดาห์หลังคลอด
2.ตรวจค่า Creatinine หลังเริ่มให้ยา 4 สัปดาห์ เพื่อดูการทำงานของไต ถ้าพบว่าการทำงานของไตผิดปกติควรปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับยา
ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการดำเนินโรคที่รุนแรงขึ้นและการแพร่กระจายของโรค
การให้ความรู้เกี่ยวกับโรค สาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การดำเนินของโรคและการรักษาพยาบาลเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากแม่สู่ลูก
แนะนำการปฏิบัติตัวในระยะตั้งครรภ์และตลอดชีวิต
1.งดการดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
หลีกเลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อราAlphatoxin
3 รับประทานอาหารที่สุกสะอาดไม่รับประทานอาหารไขมันสูง หรือปิ้งย่าง งดอาหารสุกๆ
4 รักษาสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกายสม่ำเสมอ และทำจิตใจให้แจ่มใส
5 หากจะรับประทานสมุนไพรหรือวิตามินเสริมควรปรึกษาแพทย์
6 ลดการแพร่เชื้อ โดยการระวังการแพร่เชื้อจากตนเองสู่ผู้อื่น
7แนะนำการลดการแพร่กระจายของเชื้อทางอุปกรณ์ของใช้ส่วนตัวโดยการทำลายอย่างถูกวิธี
ให้คำแนะนำตัวในการส่งเสริมสุขภาพในระยะตั้งครรภ์
4.หลีกเลี่ยงหัตถการความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ที่ทำแก่ทารก ในครรภ์ ได้แก่ Chorionic sampling และ Amniocentesis
ประเมินผล
หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติตามคำแนะนำได้
2.หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ข้อมูลสนับสนุน
มีอาการปัสสาวะแสบขัด
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
ป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
เกณฑ์การประเมินผล
1.ไม่มีอาการปัสสาวะแสบขัด
2.ปัสสาวะสีใส ไม่ขุ่น
3.WBC ในทางเดินปัสสาวะปกติ 0-5/HPF
กิจกรรมการพยาบาล
1.แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ห้ามกลั้นปัสสาวะ และพยายามปัสสาวะให้สุด
2.ให้ทำความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้งเมื่อปัสสาวะเสร็จ หลังถ่ายหนักควรเช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันเชื้อแบคทีเรียในอุจจาระเข้าสู่ท่อไต
3.หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่มีค่าความเป็นกรดหรือด่างสูง รวมถึงน้ำยาทำความสะอาดจุดซ่อนเร้น และไม่ใช้แป้งทาบริเวณอวัยวะเพศ
4.ไม่แช่น้ำในอ่างอาบน้ำนานเกิน 30 นาที หรือมากกว่าวันละ 2 ครั้ง
5.เปลี่ยนกางเกงในทุกวัน และควรเลือกใช้กางเกงในที่ทำจากผ้าฝ้าย
6.ไม่สวมกางเกงหรือกระโปรงที่รัดแน่น
7.ดื่มน้ำเปล่าวันละ 6-8 แก้ว หรือหมั่นจิบน้ำตลอดวัน
8.เลี่ยงบริโภคอาหารแปรรูป น้ำผลไม้ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีนหรือปรุงแต่งด้วยน้ำตาล
9.รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เบต้าแคโรทีน และสังกะสี เพื่อช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ
10.ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ถ้ามีอาการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะขุ่น ให้รีบมาพบแพทย์
ประเมินผล
หญิงตั้งครรภ์สามารถตอบได้ว่าต้องปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
4.หญิงตั้งครรภ์เสี่ยงต่อภาวะพร่องโภชนาการเนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
ข้อมูลสนับสนุน
น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ 47 กิโลกรัม ส่วนสูง 165 เซนติเมตร BMI 17.26 กิโลกรัม /ตารางเมตร (ต่ำกว่าเกณฑ์มาตาฐาน)
น้ำหนักหญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก ลดไป 1.3 กิโลกรัม
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ด้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ
เกณฑ์การประเมินผล
1.น้ำหนักของหญิงตั้งครรภ์ขึ้นเป็นไปตามเกณฑ์
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหารของหญิงตั้งครรภ์
2.ให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์ในการเพิ่มน้ำหนักในแต่ละสัปดาห์และน้ำหนักที่ควรเพิ่มขึ้นตลอดหารตั้งครรภ์โดยหญิงตั้งครรภ์รายนี้ในไตรมาสที่สอง น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ และตลอดการตั้งครรภ์น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 12.5- 18 กิโลกรัม
แนะนำเรื่องการรับประทานอาหารแก่มารดา ดังนี้
รับประทานเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ได้รับจากเนื้อ หมู ปลา กุ้ง หอย ไก่ หรือ เป็ด วันละประมาณ
120-180 กรัม หรือประมาณ ½ -3/4 ถ้วยตวงหรือมื้อละ 3 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 มื้อ
2 ควรดื่มนมไขมันต่ำวันละ 1-2แก้ว เพราะนมเป็นอาหารโปรตีนคุณภาพดี มีแคลเซี่ยมที่
ร่างกายดูดซึมได้ดี
ควรกินไข่วันละ 1 ฟองเป็นประจำ
4.ควรกินผลไม้ ทุกวัน วันละ 2-4 ครั้ง เพราะจะได้รับวิตามินและเกลือแร่ครบ
ผักชนิดต่างๆ ควรกินผักใบเขียวทุกวันในปริมาณไม่จำกัด นอกจากวิตามินเกลือแร่จะครบแล้วยังช่วยให้ท้องไม่ผูก
ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง เพื่อเพิ่มโปตีน
ไขมันหรือน้ำมัน เป็นอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ควรบริโภคระดับปานกลาง
ควรดื่มน้ำ วันละ 2,000 ซีซี
4.แนะนำการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องวันละ 30 นาที อย่างน้อย 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ควรเป็นกิจกรรมเบาๆ เช่น โยคะ การเดิน เป็นต้น
5.แนะนำให้รับประทานวิตามินเสริมตามแผนการรักษาของแพทย์ ได้แก่ Folic acid 1x1 oral pc, Iodine 1x1 oral pc, Dimen 1x3 oral pc, B6 1x1 oral HS เป็นประจำทุกวัน
6.แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ทำกราฟ โภชนาการ Vallop curve ในสมุดฝากครรภ์ เพื่อเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการและติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักของหญิงตั้งครรภ์
ประเมินผล
หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติตามคำแนะนำได้
3.หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางเนื่องจาการขาดโฟเลต
ข้อมูลสนับสนุน
Hemoglobin 9.8 g/dL ต่ำ
Hematocrit 29.2 % ต่ำ
วัตถุประสงค์ทางการพยาบาล
เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับโฟเลตอย่างเพียงพอ
เกณฑ์การประเมินผล
1.Hemoglobin ไม่ต่ำกว่า 11 g/dL ปกติ
2.Hematocrit ไม่ต่ำกว่า 33 % ปกติ
กิจกรรมการพยาบาล
1.ดูแลให้ได้รับ Folic acid 1x1 oral pc และ Vitamin B6 1x1 oral HS ตามแผนการรักษาของแพทย์
2.แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์การรับประทานอาหาร ที่ช่วยเสริมโฟเลต เช่น บรอกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วลิสง ส้ม มะนาว มะเขือเทศ เมล็ดทานตะวัน ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ลูกเดือย แคนตาลูป
3.ให้หญิงตั้งครรภ์มาตรวจทางห้องปฏิบัติการอีกครั้ง
ประเมินผล
หญิงตั้งครรภ์ได้รับ Folic acid 1x1 oral pc และ Vitamin B6 1x1 oral HS ตามแผนการรักษาของแพทย์
5.ส่งเสริมลดอาการไม่สุขสบายขณะตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2
ท้องผูก
อาการท้องผูกมักพบร่วมกับท้องอืด แน่นอึดอัดท้อง หรืออาจมีอาการจุกเสียดแสบร้อนยอดอกเพราะกรดไหลย้อนร่วมด้วย อาการท้องผูกจะรุนแรงมากในคุณแม่ที่ไม่ชอบกินผักและผลไม้
สาเหตุ
1) เกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวและบีบตัวเพื่อขับกากอุจจาระออกจากร่างกายได้ช้าลง อุจจาระที่ค้างในลำไส้นานจะถูกดูดซึมน้ำออกไปมากจนกลายเป็นก้อนแข็ง
2) มดลูกมีขนาดโตขึ้น ไปกดหรือเบียดลำไส้ ทำให้กากอาหารผ่านได้ยากขึ้น
3) คุณแม่กินผัก ผลไม้ หรืออาหารที่มีกากใยน้อย หรือ ดื่มน้ำน้อย
4) ผลของยาบำรุงที่มีธาตุเหล็ก หากกินแล้วท้องผูก อุจจาระแข็ง ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ ห้ามหยุดกินยาเองเป็นอันขาด
5) ไม่ออกกำลังกาย
การป้องกันและบรรเทาอาการ
1) กินอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ และดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว
2) ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา ในตอนเช้าถ้ายังไม่รู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ ควรดื่มน้ำอุ่นนมอุ่นๆ น้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ หรือน้ำมะนาว จะช่วยให้รู้สึกอยากถ่ายอุจจาระ
3) อุจจาระทันทีที่รู้สึกปวด ไม่กลั้นอุจจาระ
4) ออกกำลังกายทุกวัน เช่น เดิน ออกกำลังเบาๆ 20-30 นาทีต่อวัน หรือฝึกบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้อง อุ้งเชิงกราน และทวารหนัก โดยหายใจเข้าหน้าท้องป่อง หายใจออกหน้าท้องแฟบ และฝึกขมิบก้นแล้วคลายบ่อยๆ
5) ไม่ซื้อยาระบายมากินเอง หากท้องผูกบ่อยควรปรึกษาคุณหมอ
ท้องอืด
ท้องอืด คือ อาการมีลมแน่นในท้อง จนทำให้คุณแม่รำคาญ อึดอัด ผายลมหรือเรอบ่อยครั้ง
สาเหตุ
1) เกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีระดับสูงขึ้น ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวและบีบตัวเพื่อขับกากอาหารออกมาเป็นอุจจาระได้ช้าลง แบคทีเรียในลำไส้จึงย่อยกากอาหารเหล่านั้นจนเกิดแก๊สคั่งค้างในลำไส้จำนวนมาก
2) การกินอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร เช่น นม ถั่ว ข้าวโพด กะหล่ำปลี หัวหอม ผักกาด น้ำอัดลม เป็นต้น
การป้องกันและบรรเทาอาการ
1) หลีกเลี่ยงการกินอาหารประเภทไขมัน และอาหารที่ ทำให้เกิดแก๊สในลำไส้
2) กินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้งขึ้น และเคี้ยวให้ละเอียด
3) ระวังอย่าให้ท้องผูก
4) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ เช่น เดินช้าๆ สบายๆ วันละ 20-30 นาที เพื่อกระตุ้นให้ลำไส้บีบตัวดีขึ้น
นอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับ หรือ หลับยาก เป็นสาเหตุที่ทำให้อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย และหงุดหงิด
สาเหตุ
1) ลูกน้อยในครรภ์ยังไม่ทราบความแตกต่างของกลางวันและกลางคืน เมื่อลูกตื่นก็จะสร้างสารกระตุ้นให้ร่างกายทำงาน แล้วส่งผ่านรกเข้าสู่กระแสเลือดของคุณแม่ จึงทำให้ตื่นตัวและนอนไม่หลับ
2) การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างการตั้งครรภ์ อาจทำให้อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า หงุดหงิด กระวนกระวาย จนนอนไม่หลับ
3) ความเครียด ความคิดฟุ้งซ่าน ความวิตกกังวลของคุณแม่เอง
4) ปวดปัสสาวะจนต้องตื่นขึ้นมาเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ในตอนกลางคืน
การป้องกันและบรรเทาอาการ
1) ห้องนอนควรสงบ ไม่มีแสงสว่างมากเกินไป และอากาศเย็นสบาย
2) ไม่กังวลกับการนอนไม่หลับมากเกินไป อ่านหนังสือ ฟังเพลงเบาๆ หาสิ่งที่ชอบทำจนรู้สึกอยากนอนจึงเข้านอน
3) ไม่ควรกินยานอนหลับ
4) นอนตะแคงซ้าย หาหมอนรองขาให้สบาย
5) กินอาหารที่มีโพแทสเซียมจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย
6) ออกกำลังมากขึ้น เช่น ทำงานช่วงกลางวันจะช่วยให้เหนื่อยและหลับตลอดคืน
7) งดดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มหลังอาหารเย็นหรือก่อนเข้านอน
ปัสสาวะบ่อย
ปัญหาปวดปัสสาวะบ่อยเป็นสิ่งที่พบบ่อยในระยะตั้งครรภ์
สาเหตุ
1) ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีระดับสูงขึ้น ขณะเดียวกันตัวอ่อนก็เริ่มสร้างฮอร์โมนตั้งครรภ์ที่ เรียกว่า HCGทำให้ไตผลิตปัสสาวะเพิ่มขึ้น
2) คุณแม่ที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ขณะไอหรือจาม เกิดจากกล้ามเนื้อพื้นเชิงกราน ที่อยู่บริเวณรอบรูเปิดท่อปัสสาวะและทวารหนักหย่อนตัว
3) หากมีกระเพาะปัสสาวะอักเสบร่วมด้วย จะทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยและปวดท้องน้อย หรือปวดแสบขณะปัสสาวะ
การป้องกันและบรรเทาอาการ
1) ช่วงกลางวันให้คุณแม่ดื่มน้ำมากๆ และดื่มน้อยลงในช่วงกลางคืนหรืองดดื่มน้ำ ก่อนเข้านอน งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เพราะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
2) ปัสสาวะทุกครั้งที่ปวด และไม่กลั้นปัสสาวะ
3) ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์หลังถ่ายปัสสาวะทุกครั้ง
4) ฝึกขมิบช่องคลอด เพื่อให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรง
5) ดื่มน้ำสมุนไพร เช่น อ้อยแดง สับปะรด กระเจี๊ยบ เพื่อให้ขับปัสสาวะได้ดีขึ้น
6) สังเกตอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะแสบขัด สีเข้ม มีเลือดปน มีไข้ ปวดหลัง ปวดบั้นเอว ถ้ามีอาการดังกล่าวควรรีบไปพบคุณหมอก่อนกำหนดนัดตรวจครรภ์