Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้สูงอายุ (บทบาทของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สู…
การสร้างเสริมสุขภาพวัยผู้สูงอายุ
ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของผู้สูงอายุ
1.การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากความชราที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพ
1.1 การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายของผู้สูงอายุทั้งทางกายวิภาคและสรีรวิิทยา
เนื่องจากกระบวนการความชรา การเปลี่ยนแปลงในระบบในเวลาเดียวกัน
1.1.1 ระบบผิวหนัง
ผิวหนังจะมีลักษณะแห้ง คันและแตกง่าย ต่อมไขมันทำงานน้อยลง
1.1.2 ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อ
ความแรงในการหดตัวและขนาดของกล้ามเนื้อลดลง ทำให้มีอุบัติเหตุและหกล้มได้ง่าย
1.1.3 ระบบหัวใจและหลอดเลือด
อัตราการเต้น :<3:สูงสุดลดลง ความทนทานต่อการทำกิจกรรมเคลื่อนไหวออกแรงลดลง การทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อ :<3:ลดลง ทำให้ stroke volume ลดลง
1.1.4 ระบบทางเดินหายใจ
ต้องออกแรงหายใจในขณะพักมากกว่าผู้ใหญ่ที่อายุน้อยกว่า การแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง เหนื่อยง่าย
1.1.5 ระบบทางเดินอาหาร
ส่วนใหญ่ฟันจะหัก ฟันผุง่าย ไม่ค่อยมีฟันต้องใส่ฟันปลอม ทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก
1.1.6 ระบบประสาท
น้ำหนักสมองลดลง จำนวนเซลล์ประสาทและสมองลดลง
1.1.7 ระบบประสาทสัมผัส
การมองเห็นบกพร่อง ตาตกแก้วตาเริ่มขุ่นมัว เกิดต้อกระจก สายตาแคบลง
1.1.8 ระบบภูมิคุ้มกัน
ติดเชื้อได้ง่าย ภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานลดลง อาจเกิดโรคแพ้ภูมิตัวเองมากขึ้น
1.1.9 ระบบขับถ่ายและระบบสืบพันธุ์
น้ำหนักและขนาดของไตลดลง การกรองของไตลดลง ปัสสาวะบ่อยขึ้น ผญ.รังไข่จะฝ่อเล็กลง ช่องคลอดแคบสั้นลง
1.1.10 ระบบต่อมไร้ท่อ
ต่อมหมวกไตส่วนนอกผลิตฮอร์โมนลดลง ทนต่อภาวะเครียดได้น้อย ตับอ่อนหลั่งอินซูลินน้อย เกิดโรคเบาหวานได้ง่าย
1.2 การเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ
1.2.1 ปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรัง
การรักษาใช้เวลานาน ต้องดูแลตัวเองอย่างต่อเนื่อง
1.2.2 การปลดเกษียณหรือการออกจากงาน
เกิดความรู้สึกสูญเสียสถานภาพทางสังคม รู้สึกหมดความสำคัญ ขาดการยอมรับทางสังคม
1.2.3 การเปลี่ยนแปลงทางครอบครัวและสังคม
ครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลง ขยายครอบครัวมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง เหงา โดดเดี่ยว
1.2.4 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
วัดคุณค่าคนโดยอาศัยความสามารถในการหาเงิน ทำให้ปัญหาด้านสังคมและผู้สูงอายุถูกละเลย
2.ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ
2.1 ปัญหาการเดินและการทรงตัว
ทำให้ล้มง่าย สูญเสียความมั่นใจในการเดิน ไม่กล้าออกจากบ้าน
2.2 ภาวะขาดสารอาหาร
ขาดโปรตีนและพลังงาน และขาดวิตามินกับเกลือแร่
2.3 ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
2.4 ปัญหาการนอนหลับ
หลัับยาก ใช้เวลานานกว่าปกติ หลับได้ไม่ยาวนาน ตื่นช่วงกลางดึกหลายครั้ง
2.5 โรคกระดูกพรุน
มีความเสี่ยงต่อการกระดูกหัก
2.6 โรคความดันโลหิตสูง
เป็นโรคเรื้อรัง
2.7 โรคเบาหวาน
ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ไม่ควบคุมน้ำหนักและสัดส่วนของร่างกาย และทานยาไม่ต่อเนื่อง
2.8 ภาวะซึมเศร้า
เกิดเพียงแค่ชั่วครั้งชั่วคราว ต้องใช้ชีวิตเพียงลำพัง ทำให้รู้สึกเหงา
2.9 ภาวะสมองเสื่อม
เป็นโรคเรื้องรัง สูญเสียความสามารถในการดูแลตนเอง
3.พฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อภาวะสุขภาพของผู้สุงอายุ
3.1 พฤติกรรมการเคลื่อนไหวการออกกำลังกายลดลง
3.2 พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม
3.3 พฤติกรรมการจัดการความเครียดที่ไม่เหมาะสม
3.4 พฤติกรรมการรับผิดชอบสุขภาพไม่เหมาะสม
4.ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ
ด้านความชรา และ สุขภาพ และปัจจัยด้านสังคม
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
1.แนวคิดพฤฒพลัง (active aging)
เป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับโมเดลการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ คือกระบวนการ ที่มีสุขภาพที่สมบูรณ์ พฤฒพลัง ประกอบด้วยแนวคิดหลัก 3 ประการคือ
1)สุขภาพ 2)การมีส่วนร่วม 3)หลักประกันและความมั่นคง
2.ทฤษฎีบทบาททางสังคม (role theory)
บุคคลจะปรับตัวต่อการเป็นผู้สูงอายุได้ดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับการยอมรับบทบาททางสังคมที่จะเปลี่ยนแปลง
3.ทฤษฎีการสร้างเสริมพลังอำนาจ (theory of empowerment)
บุคคลมีพลังในตัวเอง สามารถวิเคราะห์ปัญหา เลือกวิธีแก้ปัญหาสุขภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของตนเอง
4.ทฤษฎีความสามารถของตนเอง (the theory of self-efficacy)
เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจ และความตั้งใจของผู้สูงอายุในการปฏิบัติพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ
กลวิธีการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
1. กลวิธีสร้างแรงจูงใจร่วมกับการพีฒนาทักษะ
1.1การสอนสุขศึกษา
1.2 การเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเอง
1.3 การสร้างเสริมพลังอำนาจ
2.กลวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
2.1 การสร้างเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกาย
จะช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย ทำให้ช่วงเวลาที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น
2.2 การสร้างเสริมพฤตติกรรมด้านการบริโภคอาหาร
มีความต้องการพลังงานลดลง เนื่องจากปริมาณกล้ามเนื้อลดลง ควรรับประทานอาหารที่มีพลังงานน้อย
2.3 การสร้างเสริมศักยภาพในการจัดการกับความเครียด
ผู้สูงอายุไม่สามารถปรับตัวและจัดการกับความเครียดในเรื่องการเจ็บป่วยเรื้อรัง
บทบาทของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
1.การประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุ
2.ให้คำปรึกษา
ช่วยเหลือและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถสำรวจความต้องการ ความรู้สึก ปัญหาสุขภาพ
3.สอนและให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ
โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมเป็นปัจจัย
4.สร้างคุณค่าและแรงจูงใจให้ผู้สูงอายุ
เกิดความตระหนัก มีความมั่นใจ สามารถเรียนรู้และพัฒนาทักษะจากการสังเกต
5.ประสานความร่วมมือระหว่างทีมสุขภาพกับหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาชน
เช่น ศูนย์บริการผู้สูงอายุในชุมชน ชมรมผู้สูงอายุ
6.สร้างสัมพันธภาพ
ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกปลอดภัยและมีอิสระ