Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 19 พระราชบัญญัติ การพัฒนาเด็กปฐมวัยพ.ศ. ๒๕๖๒ (หมวด ๔…
บทที่ 19 พระราชบัญญัติ
การพัฒนาเด็กปฐมวัยพ.ศ. ๒๕๖๒
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๒ ”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
“เด็กปฐมวัย” หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุต่างกว่าหกปีบริบูรณ์ และให้หมายความรวมถึง เด็กซึ่งต้องได้รับการพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษา
“การพัฒนาเด็กปฐมวัย” หมายความว่า การดูแล การพัฒนา และการจัดการเรียนรู้ส าหรับ เด็กปฐมวัย หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ดูแลเด็กปฐมวัย
“ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย” หมายความว่า บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ซึ่งเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
“สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย” หมายความว่า ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์บริการช่วยเหลือ ระยะแรกเริ่มของเด็กพิการหรือเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษ
มาตรา ๔ ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการ ตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑ บททั่วไป
มาตรา๕ การพัฒนาเด็กปฐมวัยตามพระราชบัญญัตินี้ มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปน
(๑) ให้มารดาได้รับการดูแลในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อให้บุตรที่อยู่ในครรภ์มีสุขภาวะและพัฒนาการที่ด
(๒) ให้เด็กปฐมวัยอยู่รอดปลอดภัยและได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากการล่วงละเมิดไม่ว่า ในทางใด
(๓) ให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่ดีรอบด้านทั้งทางร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และ สติปัญญาให้สมกับวัย เพื่อให้เกิดทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สามารถเรียนรู้ อย่างสอดคล้องกับหลักการพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคลและความต้องการจ าเป็นพิเศษ
(๔) สร้างคุณลักษณะให้เด็กปฐมวัยมีอุปนิสัยใฝ่ดี มีคุณธรรม มีวินัย ใฝ่รู้ มีความคิด สร้างสรรค์ และสามารถซึมซับสุนทรียะและวัฒนธรรมที่หลากหลายได้
(๕) บ่มเพาะเจตคติของเด็กปฐมวัยให้เคารพคุณค่าของบุคคลอื่น มีจิตวิญญาณของการอยู่ร่วมกัน ในสังคมอย่างเสมอภาค และมีจิตส านึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก
มาตรา ๖ ให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่เกี่ยวข้อง มีภารกิจร่วมกันด าเนินการเพื่อให้มีการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๗ บิดา มารดา และผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้เด็กปฐมวัยซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับ การพัฒนาตามแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๘ การจัดการเรียนรู้ของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้องเป็นไปเพื่อเตรียมความพร้อม ของเด็กปฐมวัย แต่ต้องไม่เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการสอบแข่งขันระหว่างเด็กปฐมวัย
หมวด ๒ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย
(๑) นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการโดยต าแหน่ง ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย และนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนต าบล แห่งประเทศไทย
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จ านวนแปดคน ซึ ่งนายกรัฐมนตรีแต ่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย ด้านการศึกษา ด้านการศึกษาพิเศษ ด้านการสาธารณสุข ด้านสังคมสงเคราะห์ และด้านสื่อสารมวลชน ด้านละหนึ่งคน และด้านการบริหารสถานพัฒนา เด็กปฐมวัยจ านวนสองคน ซึ่งมาจากสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยภาครัฐหนึ่งคนและภาคเอกชนหนึ่งคน
มาตรา ๑๐ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙ (๓) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะ
ต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำากว่าสามสิบห้าปี
(๓) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ไม่เคยได้รับโทษจ าคุกโดยค าพิพากษาถึงที่สุดให้จ าคุก เว้นแต่เป็นโทษส าหรับความผิด ที่ได้กระท าโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๖) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ด ารงตำแหน่งทางการเมือง กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่ ง ที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง
(๗) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงาน
ของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที
มาตรา ๑๑ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙ (๓) มีวาระการด ารงต าแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะด ารงต าแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได
มาตรา ๑๒ นอกจากการพ้นจากต าแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙ (๓) พ้นจากต าแหน่ง เมื่อ
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๐
(๔) ขาดประชุมคณะกรรมการสามครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการก าหนด
(๕) นายกรัฐมนตรีให้ออกเพราะบกพร ่องต ่อหน้าที ่ มีความประพฤติเสื ่อมเสีย หรือ หย่อนความสามารถ
(๑) ตาย
มาตรา ๑๓ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๙ (๓) พ้นจากต าแหน่งก่อนวาระ ให้ด าเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนต าแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ต าแหน่งว่างลง และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ด ารงต าแหน่งแทนอยู่ในต าแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน เว้นแต่ วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นเหลือไม่ถึงเก้าสิบวันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ โดยในระหว่าง ที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการแทนต าแหน่งที่ว่าง ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่
มาตรา ๑๔ คณะกรรมการมีหน้าที่และอ านาจ ดังต่อไปน
(๑) จัดทำนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยซึ่งต้องสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วย
การศึกษาแห่งชาติ
(๒) อนุมัติแผนงบประมาณและแผนการด าเนินงานประจ าปีแบบบูรณาการของหน่วยงานของรัฐ
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
1 more item...
มาตรา ๑๕ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ
จ านวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๑๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการมีอ านาจแต่งตั้งที่ปรึกษา
และคณะอนุกรรมการ เพื่อด าเนินการตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้
1 more item...
หมวด ๓ แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๑๙ ให้คณะกรรมการเสนอแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณา
ให้ความเห็นชอบและประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป
มาตรา ๒๐ แผนพัฒนาเด็กปฐมวัยตามมาตรา ๑๙ ต้องก าหนดรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลา การใช้บังคับแผน การบริหารและพัฒนาเด็กปฐมวัย วิธีปฏิบัติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งระยะเวลา ในการด าเนินการให้ชัดเจน และอย่างน้อยต้องมีแนวทางการด าเนินการในเรื่อง
(๑) แผนงานและโครงการของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการใช้ งบประมาณด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบ
(๒) การบูรณาการการท างานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อขับเคลื่อนการด าเนินการตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
(๓) การส่งเสริมและสนับสนุนการด าเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
ให้มีคุณภาพ
(๔) การส่งเสริมและสนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมในครอบครัวและชุมชนที่เอื้อต่อการพัฒนา เด็กปฐมวัย รวมทั้งให้เด็กปฐมวัยอยู่รอดปลอดภัยและได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากการล่วงละเมิด ไม่ว่าในทางใด
(๕) การจัดให้มีการพัฒนาบุคลากรด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีความสามารถ ศักยภาพ และคุณธรรม
(๖) การจัดทำฐานข้อมูลเด็กปฐมวัย
มาตรา ๒๑ เมื่อได้มีการประกาศแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยแล้ว ให้หน่วยงานของรัฐและองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งมีหน้าที่ด าเนินการตามภารกิจที่ก าหนดไว้ในแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๒๒ ให้คณะกรรมการติดตามให้หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติการตามแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย
หมวด ๔ การพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๒๓ ในการผลิตครูหรือพัฒนาครูด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัย ให้สถาบันอุดมศึกษา จัดให้มีการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างจิตวิญญาณของความเป็นครู มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะ และความสามารถในการจัดการเรียนการสอนเพื่อดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัยตามหลักการและ ปรัชญาของการพัฒนาเด็กปฐมวัย
มาตรา ๒๔ สถานพยาบาลของหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชน ที่มีหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขแก่หญิงตั้งครรภ์และเด็กปฐมวัย ต้องจัดให้มีการให้บริการสุขภาพแก่ มารดาและบุตรอย่างทั่วถึง โดยให้บริการวางแผนครอบครัว การอนามัยเจริญพันธุ์ การฝากครรภ์
มาตรา ๒๕ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีหน้าที่จัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย ต้องจัดให้มี การอบรมเลี้ยงดู เพิ่มพูนประสบการณ์ ส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ และจัดการศึกษาแก่เด็กปฐมวัย อย่างทั่วถึง รวมทั้งจัดให้มีการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยที่เหมาะสมในช่วงรอยต่อตั้งแต่ก่อน ระดับอนุบาลจนถึงระดับประถมศึกษาอย่างต่อเนื่อง
มาตรา ๒๖ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชน ที่มีหน้าที่ใน การพัฒนาเด็กปฐมวัย ต้องจัดสวัสดิการและให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัย รวมทั้ง ติดตามดูแลเด็กปฐมวัยให้ได้รับสวัสดิการและบริการด้านการคุ้มครองสิทธิอย่างทั่วถึง
มาตรา ๒๗ นอกจากการด าเนินการตามมาตรา ๒๔ มาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖
หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน
(๑) ให้ความรู้ ส่งเสริมทักษะ และสร้างเสริมเจตคติที่ดีแก่ผู้ดูแลเด็กปฐมวัยและบุคคลอื่น
ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ในเรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างทั่วถึง
(๒) จัดให้มีการคัดกรองที่เป็นระบบและได้มาตรฐานเพื่อค้นหาเด็กปฐมวัยที่พิการหรือ
มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม หรือสติปัญญา
มาตรา ๒๘ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเด็กปฐมวัย หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน อาจด าเนินการแบบบูรณาการโดยจัดให้มีบริการสาธารณสุข จัดการศึกษา หรือจัดสวัสดิการและให้บริการด้านการคุ้มครองสิทธิแก่เด็กปฐมวัยในหน่วยงานเดียวกันได้
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๒๙ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการประกอบด้วย กรรมการตามมาตรา ๙ (๑) และ (๒) และให้เลขาธิการสภาการศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ
มาตรา ๓๐ ในวาระเริ่มแรก ให้ส านักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้แก่ส านักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องตามความจ าเป็น เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๑ ในระหว ่างที ่คณะกรรมการยังมิได้มีการก าหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ ตามมาตรา ๒๗ (๒) ให้น าบทบัญญัติเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิและได้รับโอกาสในการพัฒนาที่มีคุณภาพ สิ่งอ านวยความสะดวก สื่อ และบริการ รวมทั้งความช่วยเหลืออื่นใดทางการพัฒนาและการศึกษา ที่สอดคล้องเหมาะสมกับความจ าเป็นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดการศึกษาส าหรับคนพิการและกฎหมาย ว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ มาใช้บังคับไปพลางก่อนจนกว่าคณะกรรมการ จะได้ก าหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายอนัส ไชยสุวรรณ์ เลขที่ 12
6220160438 กลุ่มที่ 06