Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 2 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาของ หู ตา คอ จมูก (การพยาบาลผูป่วยที่โรค…
บทที่ 2 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาของ หู ตา คอ จมูก
ทอนซิลอักเสบ
Chronic tonsillitis
ขาดการรักษาที่ถูกต้อง เกิดร่วมกับไซนัสอักเสบเรื้อรัง ฟันผุ เหงือกอักเสบ
เกิดขึ้นเนื่องจากการอักเสบเฉียบพลันบ่อย
อาการแสดง
เนื้อเยื่อของทอนซิลจะโตขึ้น ขรุขระ แดง
เม็ดหนองสีขาวคล้ายเม็ดข้าว
เขี่ยออกได้มีกลิ่นเหม็น
หูอื้อ หูน้ำหนวก ถึงขั้นแก้วหูทะลุได้
การรักษาพยาบาล
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะ กลุ่ม penicillin นาน 7 วัน เพื่อรักษาอาการอักเสบ
ทำความสะอาดช่องปาก
ถ้าเป็นบ่อย แนะนำให้ทำผ่าตัด Tonsillectomy
การทำผ่าตัด tonsillectomy
เป็น > 4 ครั้ง/ ปี
เคยเป็นฝีรอบทอนซิล
หยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea)
ต่อมอดินอยด์โตมาก หายใจมีเสียงดัง อ้าปากหายใจ รูปหน้าเปลี่ยนไป ฟันสบกันไม่พอดี
ทอนซิลโตข้างเดียว สงสัยเนื้องอก
Acute tonsillitis
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ที่พบได้บ่อย คือ
β-hemolytic streptococcus group A
ไวรัส ก็ได้ ซึ่งสามารถติดต่อได้ทั้งทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร
พบในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่
อาการแสดง
เจ็บคอ ไข้สูง อาจถึง 40.5 °C
หนาวสั่น เบื่ออาหาร
ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย
เจ็บคอมากเมื่อกลืนอาหาร ปวดร้าวมาที่หู
อาการจะรุนแรงอยู่ 24-72 ชั่วโมง อาการจะค่อยๆทุเลาลง
การพยาบาล
5.ให้รับประทานอาหารอ่อนหรืออาหารเหลว
ดูแลเรื่องยาบรรเทาปวด การลดไข้ และความไม่สุขสบาย
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์
ถ้าเจ็บมาก ให้ยาอมที่มียาชา หรือวางกระเป๋าน้ำแข็งที่คอ
รักษาความสะอาดช่องปากและฟัน กลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ หรือน้ำยาบ้วนปาก
ดื่มน้ำ อย่างน้อย 2,500 cc./day
ให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
การพยาบาลผู้ป่วยโรค ตา
ต้อกระจก
สาเหตุ
การขาดสารอาหารในหญิงตั้งครรภ์ ส่งผลทำให้ทารกเป็นต้อกระจกแต่กำเนิด
การกระทบกระเทือนหรือบาดเจ็บบริเวณลูกตาโดยตรง
การใช้ยาหรือสารพิษ เช่น ยาสเตอรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง ยาฆ่าแมลง
รังสี หรือไฟฟ้าแรงสูง
ปัจจัยทางด้านสุขภาพ ได้แก่ พันธุกรรม ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน
ผู้สูงอายุ
อาการและอาการแสดง
มองเห็นภาพซ้อน เนื่องจากการหักเหของแสงในแต่ละส่วนของแก้วตาเปลี่ยนไป
สายตาสั้นลงเพราะแก้วตาเริ่มขุ่น กำลังหักเหของแสงเปลี่ยนไปจึงมองในระยะใกล้ได้ชัด ขณะเดียวกันมองไกลจะไม่ชัดเมื่อใช้ไฟฉายส่องผ่านรูม่านตา จะเห็นแสงสะท้อนสีขาว
ตามัวลงช้าๆ ตามัวมากขึ้นในที่สว่างที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจาก ขณะอยู่ที่สว่างรูม่านตาเล็กลงส่วนอยู่ในที่มืดจะเห็นชัดขึ้น เพราะรูม่านตาขยาย
รูม่านตาจะเห็นขุ่นขาวเมื่อส่องดูด้วยไฟฉาย
ถ้าส่องตาผู้ป่วยด้วยเครื่องมือที่เรียก direct opthalmoscope บริเวณรูม่านตาจะเห็นเป็นเงาดำตามขนาดและรูปร่างของแก้วตาที่ขุ่น
พยาธิสภาพ
ปกติแก้วตาประกอบด้วย โปรตีนที่ใสในปริมาณที่สมดุลและมีโพแทสเซียมกับ ascorbic acid จำนวนมาก การขุ่นของแก้วตาเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี ภายในแก้วตา โดยในระยะแรกจะมีการซึมผ่านของน้ำมากขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อของแก้วตาบวม เมื่อระยะต้อสุกจำนวนน้ำที่เพิ่มขึ้นจะลดลง ความหนาแน่นของแก้วตาจะค่อยๆลดลงเกิดการสูญเสีย โพแทสเซียม โดยโซเดียมเข้ามาแทนที่เพื่อรักษาสมดุล และมีแคลเซียมมาเกาะมากขึ้น การใช้ออกซิเจนลดลงมีผลให้เกิดความไม่สมดุลของโปรตีน
การรักษา
Intracapsular cataract extraction (ICCE)การผ่าตัดนำแก้วตาที่ขุ่นพร้อมทั้งเปลือกหุ้มแก้วตาทั้งหมดในเวลาเดียวกันการผ่าตัดชนิดนี้มีผลไม่แน่นอน
Extracapsular cataract extraction (ECCE)คือ การผ่าตัดนำแก้วตาที่ขุ่นพร้อมทั้งเปลือกหุ้มแก้วตาด้านหน้า โดยเหลือเปลือกหุ้มแก้วตาด้านหลังไว้
Extracapsular Cataract Extraction with Intraocular Lens (ECCE c IOL) เป็นการผ่าตัดเอาแก้วตาออกเหลือแต่เปลือกหุ้มแก้วตาด้านหลังร่วมกับใส่แก้วตาเทียมหลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถมองเห็นชัดทันทีการมองเห็นภาพจะขนาดใกล้เคียงกับตาคนปกติมากที่สุดไม่ต้องสวมแว่นตา
Phacoemulsification with Intraocular Lens ( PE c IOL) เป็นการผ่าตัดต้อกระจกโดยใช้คลื่นเสียง หรือ อัลตราซาวด์ความถี่สูงเข้าไปสลายเนื้อแก้วตาแล้วดูดออก แล้วนำแก้วตาเทียมใส่แทน
อาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัดต้อกระจก
1.ความดันลูกตาสูง (Increase intraocular pressure) IOP เกิดจากการไอ การจาม การอาเจียน การก้มหน้าต่ำกว่าระดับเอว การยกของหนัก การบีบตา การเบ่งถ่ายอุจจาระ และการนอนตะแคงทับข้างที่ผ่าคัด ความดันในลูกตาจะสูงมากกว่า 20 mmHg
2.การดึงรั้งของแผลเย็บ ( Stress on the suture Line) เมื่อความดันในลูกตาสูงจะทำให้แผลเย็บถูกดึงรั้ง
เลือดออกในช่องหน้าม่านตา (Hyphema) เกิดจากการฉีกขาดฉีกขาดของเส้นเลือดม่านตา และ ซีเลียรีบอดี
การติดเชื้อ ( Infection) เกิดได้จากหลายสาเหตุตาถูกน้ำ ผู้ป่วยขยี้ตา
vetreous prolapse เกิดจากการแตกของ posterior capsule มี vetreous ในแผลทำให้การหายของแผลช้า และอาจมีรูที่ retina ทำให้กระจกตาลอกหลุดได้
ท่อทางเดินน้ำตาเกิดการติดเชื้อ เกิดจากการบาดเจ็บขณะผ่าตัด ในการใส่เลนส์
การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก
การพยาบาลเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนตา ประคองศีรษะผู้ป่วยเมื่อเคลื่อนย้ายหลังผ่าตัด
การพยาบาลเพื่อช่วยลดอาการปวดตาและให้พักหลับได้ ให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา จัดท่านอนไม่นอนทับบริเวณตาที่ได้รับการผ่าตัด จัดสภาพแวดล้อมลดสิ่งรบกวน
การพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตาภายหลังผ่าตัด
แนะนำการทำความสะอาดใบหน้า ไม่ให้น้ำเข้าตาข้างที่ทำผ่าตัด
เน้นไม่ให้ผู้ป่วยเปิดตา ใช้นิ้วมือแยงตาหรือขยี้ตา
แนะนำการทำความสะอาดใบหน้า ไม่ให้น้ำเข้าตาข้างที่ทำผ่าตัด
ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ทั้งก่อนและหลังให้การพยาบาล และปฏิบัติการพยาบาลอย่างถูกต้องด้วยวิธีปลอดเชื้อทุกขั้นตอน
การพยาบาลเพื่อลดความพร่องในการดูแลตนเอง
วางกริ่งไว้ใกล้มือผู้ป่วยตลอดเวลา
ตอบรับการร้องขออย่างรวดเร็ว ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยตามความเหมาะสม
บอกแผนการพยาบาลทุกครั้งขณะให้การพยาบาลผู้ป่วย
บอกชนิดอาหารและเครื่องดื่ม ให้ผู้ป่วยทราบทุกครั้ง
การพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดความดันลูกตาสูง แผลเย็บฉีกขาด เลือดออกในช่องหน้าม่านตา
จัดท่านอนให้ผู้ป่วยไม่นอนทับบริเวณตาที่ได้รับการผ่าตัด
แนะนำผู้ป่วยให้หลีกเลี่ยงการไอจามแรงๆ การก้มศีรษะต่ำกว่าระดับเอว การตำหมาก
• แนะนำผู้ป่วยให้หลีกเลี่ยงการออกแรงมากๆ ในการเบ่งถ่ายอุจจาระ การสั่นหน้ามากๆ ขณะแปรงฟัน
การพยาบาลเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองเมื่อกลับบ้าน
ขณะอาบน้ำให้ใช้ขันตักราดจากไหล่ลงมา ระวังอย่าให้น้ำกระเด็นเข้าตา
แปรงฟัน ค่อยๆแปรง ไม่สั่นศีรษะไปมา
สามารถรับประทานอาหารได้ทุกอย่าง หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง เหนียว
ไม่ควรให้ท้องผูก รับประทานผัก ผลไม้
หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การออกกำลังกายประเภทกระโดด เล่นโยคะ
สระผมได้ให้ผู้อื่นสระให้ ไม่เกาแรง ระมัดระวังน้ำเข้าตา
ใช้สายตาได้ตามปกติ เช่น ดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือ แต่ถ้าเมื่อยตาก็ให้หยุดพัก
เน้นให้ผู้ป่วยเห็นความสำคัญของการใช้ผ้าปิดตา และที่ครอบตา
สอนผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการเช็ดตา หยอดตา ป้ายตา ให้ถูกต้องตามเทคนิคปลอดเชื้อ
แนะนำเรื่องการรับประทานยา และใช้ยาหยอดตา ยาป้ายตา
ต้อหิน (glaucoma)
ชนิดของต้อหิน
ต้อหินชนิดปฐมภูมิ (primary glaucoma)
เกิดจากความผิดปกติของทางเดินน้ำเลี้ยงลูกตา
ต้อหินชนิดทุติยภูมิ (secondary glaucoma)
เกิดตามหลังโรคตาบางโรคหรือ
โรคภายนอกลูกตา
ก็ได้เป็นได้ทั้งมุมเปิดและมุมปิด
ต้อหินโดยกำเนิด (congenital glaucoma)
พบได้ตั้งแต่แรกเกิด จากพันธุกรรม
ผลกระทบจากต้อหิน
ความดันภายในลูกตาสูง (ปกติ 10-20 ม.ม.ปรอท)
ความดันลูกตาสูงเกิดจาก ความผิดปกติของระบบการ ไหลเวียนของ
น้ำเอเควียส (aqueous humor)
ขั้วประสาทตาถูกกดให้บุ๋ม (cupping of the disc)
มีลานสายตา (visual field ) แคบกว่าปกติ
อาการ
ปวดตา ตามัว กระจกตาบวม ตา ตามัว กระจกตาบวม
เห็นเป็นสีรุ้งรอบดวงไฟ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
ความดันลูกตาสูง ลานสายตาแคบลง อาจเดินชนของ
การรักษา
การใช้ยาหดรูม่านตา จะส่งผลต่อกล้ามเนื้อหูรูดม่านตาทำให้รูม่านตาหดเล็กลง ทำให้มุมม่านตาเปิดกว้าง กล้ามเนื้อ cilliary หดตัวทำให้น้ำเลี้ยงลูกตาไหลเวียนสะดวกเช่น 2-4% pilocarpine
β-adrenergic blocking agent ลดการสร้างน้ำเลี้ยงลูกตา เช่น 0.25 และ0.5% timoptol
Sympathomimetic drugs ลดการสร้างน้ำเลี้ยงลูกตา เพิ่มการไหลเวียนโลหิต เช่น epinephrine
Carbonic anhydrase-inhibitors ลดการสร้างน้ำเลี้ยงลูกตา เช่น acetazalamide (diamox)
Hyperosmotic agents ทำให้ osmotic pressure ในเลือดสูงขึ้นทำให้ดึงน้ำออกจากเซลล์มานอกเซลล์และขับน้ำออกทางไต ชนิดรับประทาน Glycerol ให้ทางหลอดเลือดดำ Manitol 20% ใช้ในกรณีต้องการให้น้ำเลี้ยงภายในลูกตาลดลงอย่างรวดเร็ว
การผ้าต้ด
Peripheral iridectomy ( PI ) การตัดม่านตาบริเวณฐานให้เป็นรู เพื่อเปิดทางให้น้ำเลี้ยงในลูกตาจากช่องหลังลูกตาเข้าสู่ช่องหน้าลูกตาแล้วไหลเวียนตามปกตินิยมใช้ในต้อหินชนิดมุมปิด
Cyclotherapy การผ่าตัดทำลาย cilliary body ใช้ในผู้ที่มีต้อหินและรักษาโดยทางยาหรือผ่าตัดข้างต้นไม่ได้ผลหรือในผู้ป่วยที่เป็นต้อหินระยะสุดท้าย
Goniotomy การใช้เครื่องมือกรีดที่มุมของช่องหน้าม่านตาเพื่อให้เนื้อเยื่อที่หนาตัวผิดปกติที่มุมม่านตาขาดออกมักทำในผู้ป่วยต้อหินแต่กำเนิด
lazer trabeculoplastyการใช้แสงเลเซอร์ ที่นิยมใช้คือ Argon lazer trabeculoplasty (ALT) และ Lazer peripheral iridotomy (LPI)
การตัด Trabecular meshwork ร่วมกับตาขาวครึ่งหนึ่งเหมาะสำหรับต้อหินชนิดมุมเปิด เป็นการผ่าตัดที่ทำให้เกิดทางเชื่อมต่อระหว่าง ช่องหน้าลูกตา กับช่องใต้เยื่อบุตา โดยแพทย์จะเจาะรูที่ผนังลูกตา โดยเปิดทางระบายน้ำของลูกตาที่อยู่ข้างใน ออกมาอยู่ที่ใต้เยื่อบุตา เพื่อลดความดันของลูกตา
การพยาบาล
ในผู้ป่วยต้อหินจะให้ยาขยายม่านตา และสังเกตการขยายตัวของรูม่านตาถ้าไม่ขยายหรือขยายตัวน้อยให้แจ้งแพทย์ก่อนส่งเข้ารับการผ่าตัด
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาลดความดันลูกตาเพื่อป้องกันการเลื่อนไหลของวุ้นตาออกมาซึ่งทำให้เกิดการลอกหลุดของจอประสาทตาได้
ถ้าผู้ป่วยได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย มักได้รับการ retained foley’ s catheter เพื่อลดจำนวนปัสสาวะจากการที่ยาส่งผลให้สร้างปัสสาวะจำนวนมาก
หลังผ่าตัดแนะนำผู้ป่วยไม่ควรตะแตงทับข้างที่ผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้ความดันลูกตาข้างนั้นสูงขึ้น ให้ผู้ป่วยนอนบนเตียง 6-24 ชม.
เลี่ยงการเงยหน้าก้มหน้า
การติดเชื้อของตา
กุ้งยิง
External hordeolum / stye เป็นการอักเสบของต่อมเหงื่อบริเวณผิวหนังตรงโคนขนตา
Internal hordeolum เป็นการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณเยื่อบุเปลือกตา
สาเหตุ
เกิดจากต่อมไขมันที่โคนตามีการอุดตัน
และเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย
อาการ
ปวดที่เปลือกตา ปวดตุบๆบริเวณที่เป็น
เป็นตุ่มแข็งแตะถูกเจ็บ
บางครั้งมีหนองนูนเป่งหัวขาวๆ เหลืองๆ รอบๆนูนแดงและกดเจ็บ
การรักษา
ให้ใช้ยาหยอดตาหรือป้ายตาที่ผสมยาปฏิชีวนะถ้าหนังตาบวมแดงหรือมีต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโตร่วมด้วย ให้กินยาปฏิชีวนะ
ถ้าเป็นหัวหนอง ควรสะกิดหรือผ่าเอาหนองออก แล้วให้กินยาปฏิชีวนะ
เมื่อเริ่มขึ้นใหม่ๆ ประคบด้วยน้ำอุ่นจัดๆ
การดูแลตนเองถ้าเป็นกุ้งยิง
งดทาเครื่องสำอาง
ไม่ควรบีบหนองที่เปลือกตาเอง เพราะอาจทำให้อักเสบมากขึ้น
ล้างมือบ่อยๆ
หลีกเลี่ยงการใส่คอนแทคเลนส์
ประคบด้วยผ้าชุบน้ำอุ่นหรือไข่ต้มสุกห่อผ้าสะอาดบริเวณที่เป็นวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละประมาณ 15-20 นาที่ เป็นเวลา 3-4 วัน เพื่อช่วยลดอาการบวม เจ็บ และเป็นการทำให้รูเปิดของต่อมเปลือกตาไม่อุดตัน ในขณะทำการประคบให้หลับตาไว้
เยื่อบุตาขาวอักเสบ Conjunctivitis
เยื่อยุตาอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
สาเเหตุ
เชื้อ Strep.epidermidis, Staph.aureus
ติดต่อโดยการสัมผัส
อาการ
ตาแดง หนังตาบวม มีขี้ตามากเป็นสีเหลืองหรือเขียว
ไม่ปวดหรือเคืองตา
การรักษา
ใช้ยาป้ายตาหรือหยอดตา ยาปฏิชีวนะ เช่น Terramycin eye ointment, Poly-oph eyedrop. ถ้าหนังตาบวมมากให้กินยา Cloxacillin หรือ Erythromycin
Viral Conjunctivitis
สาเหตุ
ติดเชื้อไวรัส เช่น adenovirus
ติดต่อโดยการสัมผัสน้ำตาโดยตรง เล่นน้ำในสระว่ายน้ำ
อาการ
ตาแดง เคืองตา หนังตาบวมเล็กน้อย มีขี้ตาเล็กน้อย
ต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโตอาจมีไข้ร่วมด้วย
การักษา
ใช้ยาป้ายตาหรือหยอดตา ยาปฏิชีวนะ
Allergic Conjunctivitis
สาเหตุ
จากการแพ้ เช่น ฝุ่น ควัน เกสรดอกไม้ อากาศ
เครื่องสำอาง โรคภูมิแพ้
อาการ
คันตามาก ตาบวม น้ำตาไหล
มักไม่มีขี้ตา ตาแดงเล็กน้อย
การรักษา
ให้ antihistamine เช่น Hista-oph eye drop , Alomide eyedrop
ถ้าเป็นมากให้ยาแก้แพ้ เช่น CPM หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้
ถ้าคันตามากให้ประคบด้วยน้ำแข็ง
การป้องกัน
ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ
ไม่คลุกคลีใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
ถ้ามีฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาด
อย่าปล่อยให้แมลงหวี่ หรือแมลงวันตอมตา
หมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ให้สะอาดอยู่เสมอ
แผลกระจกตา
Eye Injury
Cornea ulcer
การเกิดแผลของกระจกตา อาจเกิดจากอุบัติเหตุหรือการที่เยื่อบุขั้นนอกสุดของกระจกตามีความต้านทานต่ำทำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อกระจกตา
ถ้ามีการติดเชื้อร่วมด้วยก็จะเกิดหนองและเนื้อเยื่อกระจกตาหลุดลอกจนเกิดแผลของกระจกตาเกิดขึ้น
Retinal detachment
ชนิดปฐมภูมิ หรือชนิดไม่ทราบสาเหตุ (primary or rhematogenous retinal detachment) เชื่อว่าเกิดจากการเสื่อมของประสาทตาและวุ้นตา (vitreous) ทำให้มีการฉีกขาดเป็นรู และน้ำจากวุ้นตาที่เสื่อมสภาพเข้าไปในช่องว่างระหว่าชั้นเส้นใยประสาทกับชั้นเม็ดสีและจะเซาะให้จอประสาทตาทั้ง 2 ชั้นลอกหลุดออกจากกัน
ชนิดทุติยภูมิ (secondary retinal detachment) อาจเกิดจากการอักเสบภายในลูกตา เช่น uvetitis ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
2.1 การลอกหลุดของจอประสาทตาเนื่องจากมีของเหลวคั่ง (exudative retinal detachment) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ของหลอดเลือดภายในลูกตาทำให้มีของเหลวเข้าไปอยู่ใน sub retinal space โดยที่ไม่มีรอยฉีกขาด มักเกิดจากการอักเสบ ติดเชื้อหรือมีก้อนเนื้องอกภายในลูกตา
2.2 การหลุดลอกของประสาทตาเนื่องจากการดึงรั้ง (tractional retinal detachment) เป็นการหลุดของจอประสาทตาที่มีการดึงรั้งจากวุ้นตาให้จอประสาทตาถูกยกขึ้น ถ้าแรงนั้นมีมากอาจทำให้จอประสาทตารับภาพฉีกขาดได้ มักเกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุ
การเสื่อมของจอประสาทตาหรือน้ำวุ้นตา มักพบในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีสายตาสั้นมากๆ
อุบัติเหตุถึงชั้นของจอประสาทตา
หลังผ่าตัดต้อกระจก
โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงทำให้เส้นเลือดเปราะฉีกขาดง่าย เกิดเป็นผังพืดดึงรั้งให้จอประสาทตาหลุดลอกได้
การอักเสบของคอรอยด์ (choroids) และจอประสาทตา (retina)
อาการ
มองเห็นจุดดำๆหรือหยากไย่ลอยไปมา (floater) ร่วมกับเลือดออกที่วุ้นตา ถ้ามีการดึงรั้ง
ลอกหลุดของเรตินาทำให้มองเห็นแสงวูบวาบในตาคล้ายฟ้าแลบ (flashing)
ทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือมองเห็นภาพบิดเบี้ยวหรือเป็นม่านดำมาบังสายตา (scotoma)
การรักษา
ในภาวะฉุกเฉิน ควรให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ ปิดตาทั้งสองข้าง
ในรายที่มีการฉีกขาดหรือลอกหลุดของจอประสาทตามากๆ จะรักษาโดยการผ่าตัด เพื่อให้จอประสาทตาเข้าที่ เกิดการยึดติดกับชั้นคอร์ลอยด์ และปิดรูที่ฉีกขาด
photocoagulation เป็นการใช้แสงเลเซอร์ผ่านรูม่านตาที่ขยาย ไปยังจอประสาท ทำให้เกิดรอยไหม้รอบๆบริเวณที่หลุดลอกและเกิดกระบวนการอักเสบทำให้เกิดการติดแน่นมากกว่าปกติ
cryotherapy or retinal cryopexy เป็นการใช้ความเย็นจี้ด้านนอกผ่านลูกตา เยื่อบุตาและตาขาว บริเวณรอบๆที่มีการหลุดลอก
Pneumatic retinopexy เป็นการทำ cryotherapy โดยการฉีดแก๊สที่ขยายตัวได้เข้าไปในน้ำวุ้นตาใกล้ที่มีพยาธิสภาพ
Buckling operation การดันให้จอประสาทตาที่ลอกหลุดกลับเข้าที่โดยใช้แรงดันจากภายนอกผ่านตาขาว
Vitrectomy วิธีตัดน้ำวุ้นตา ใช้ในรายที่มีรอยฉีกขาดของจอประสาทตาร่วมกับวุ้นตาขุ่น
การพยาบาล
การพยาบาล เพื่อป้องกันการหลุดลอก หรือมีรูขาดที่จอประสาท
ดูแลให้ absolute bed rest บนเตียงเพื่อให้น้ำวุ้นตาช่วยอุดให้จอประสาทตาไม่ให้ลอกหรือมีรูขาดมากขึ้น แนะนำให้งดปัจจัยที่ทำให้จอประสาทตาลอก ได้แก่ การไอ จาม หรืออาเจียนแรงๆ การขยี้ตา
การพยาบาล เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด โดย
จัดท่าให้นอนคว่ำหรือศีรษะต่ำๆ เพื่อให้ก๊าซหรือสารที่ใส่ไว้ในลูกตาไปกดบริเวณจอประสาทตาที่ลอกหลุด เพื่อช่วยให้จอประสาทตากลับเข้าที่ หรือเป็นท่านั่งก้มหน้าบนโต๊ะ
ประเมินภาวะความดันลูกตาสูงได้แก่ การวัดความดันลูกตา อาการ ความรุนแรงของการปวดตา
อธิบายเหตุผลของการถูกปิดตาแน่นในข้างที่ผ่าตัด ส่วนข้างที่ไม่ได้ผ่าตัดจะถูกปิดตาธรรมดา ประมาณ 24-48 ชม.
3 แนะนำผู้ป่วยไม่ควรก้มศีรษะต่ำกว่าเอวหลังผ่าตัด ป้องกันภาวะท้องผูก ไม่ให้ข้างที่ทำผ่าตัดถูกน้ำ ประเมินการติดเชื้อหลังผ่าตัด ให้ทำกิจกรรมเบาๆ หลังผ่าตัด 3 สัปดาห์ หลังผ่าตัด 6 สัปดาห์จึงทำกิจกรรมได้ตามปกติ
แนะนำผู้ป่วยไม่ควรก้มศีรษะต่ำกว่าเอวหลังผ่าตัด ป้องกันภาวะท้องผูก ไม่ให้ข้างที่ทำผ่าตัดถูกน้ำ ประเมินการติดเชื้อหลังผ่าตัด ให้ทำกิจกรรมเบาๆ หลังผ่าตัด 3 สัปดาห์ หลังผ่าตัด 6 สัปดาห์จึงทำกิจกรรมได้ตามปกติ
การพยาบาลเพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองที่บ้าน
การเช็ดตา
การหยอดยา การป้ายตา
แนะนำวิธีการป้องกันการติดเชื้อ
ให้สังเกตอาการที่บ่งบอกถึงจอประสาทตาลอก ได้แก่ การมองเห็นจุดลอยไปมา เห็นแสงคล้ายฟ้าแลบในตา ควรมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
การพยาบาลผู้ป่วยโรค หู
กายวิภาค หู
หูชั้นนอก (External ear or Outer ear)
ใบหู (pinna)
ช่องหู หรือ รูหู (Ear canal
แก้วหู (Ear drum or Tympanic membrane)
หูชั้นกลาง (Middle ear)
กระดูกภายในในหูชั้นกลาง (Ossicular chain)
1.1 กระดูกฆ้อน (Mulleus)
1.2 กระดูกทั่ง (Incus)
1.3 กระดูกโกลน (Stapes)
กล้ามเนื้อของหูชั้นกลาง (Middle ear muscle)
เส้นประสาทที่ผ่านหูชั้นกลาง
โรคหูชั้นกลาง
Tympanic membrane perforation
สาเหตุ
ถูกตบหู ถูกตี
ถูกแทง การถูกกระแทก
อาการ
เจ็บ แก้วหูมีรอยฉีกขาด มีเลือดออก
การได้ยินเสียงเสียไปแบบ conductive hearing loss บางรายอาจมีเสียงดังในหู
เวียนศีรษะร่วมด้วย เนื่องหูชั้นในได้รับการกระทบกระเทือน
การรักษา
ถ้าแก้วหูที่ขาดนั้นสะอาด และฉีกขาดไม่ใหญ่จนเกินไป จะติดเองภายใน 2-3 วัน หรือเป็นสัปดาห์
หากเกิดจากอุบัติเหตุ ดูแลดังนี้
2.1 ไม่ต้องหยอดยาใดๆ
2.2 ไม่ต้องล้างหู ไม่ให้น้ำเข้าหู
2.3 ไม่รบกวนใดๆภายในช่องหู
2.4 กินยาแก้ปวดเมื่อปวด
2.5 พบแพทย์เพื่อทำผ่าตัดแก้ไขส่วนที่เสียหาย หรือเชื่อมรอยต่อแก้วหูที่ขาด
Otitis media
หูน้ำหนวกชนิดน้ำใส
สาเหตุ
มีการอุดตันของท่อ Eustachain tube จากการเป็นหวัดคัดจมูก
คออักเสบ ทอนซิลอักเสบ หวัดหรือภูมิแพ้นานๆ
อาการ
หูอื้อ ฟังเสียงไม่ชัด สูญเสียการได้ยินแบบการนำเสียงผิดปกติ
รู้สึกมีน้ำขังในหูตลอดเวลา
เวลาพูดเสียงจะก้องอยู่ในหู จึงต้องพูดเบาๆ พบบ่อยในเด็ก
การรักษา
รักษาสาเหตุที่ทำให้เกิดการอุดตัน
รับประทานยา antihistamine เพื่อรักษาอาการเป็นหวัด
ยาพ่นจมูกเพื่อให้ยุบบวม
การเป่าลมผ่าน Eustachain tube โดย หายใจเข้าเต็มที่ ปิดจมูก ปิดปาก
แล้วเบ่งลมหายใจออก ลมจะเข้าไปใน Eustachain tube ผ่านไปยังหูชั้นกลาง เป็นผลให้การผลิตเยื่อเมือกลดลง (ห้ามทำขณะมีการอักเสบในช่องคอ)
การเจาะเยื่อแก้วหู (Myringotomy)
หูน้ำหนวกชนิดเป็นหนอง
หูน้ำหนวกเป็นหนองชนิดเฉียบพลันAcute Purulent otitis media
สาเหตุ
ติดเชื้อ β hemolytic streptococci ,
Pneumococci, Hemophilus Influenza
อาการ
ปวดหูมาก แน่นในหู หูอื้อ
แก้วหูโป่ง มีเส้นเลือดที่แก้วหู
การรักษา
เจาะแก้วหูเพื่อเอาหนองออก
ให้ยาบรรเทาปวด บรรเทาอาการหวัด
ให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการอักเสบ
หูน้ำหนวกเป็นหนองชนิดเฉียบพลันและมีอันตราย
ชนิดไม่มีอันตราย อักเสบติดต่อกันเป็นปี ต้องรักษาสุขภาพไม่ให้มีการติดเชื้อในจมูก คอ ไม่ให้น้ำเข้าหู หากมีการทะลุต้องปะแก้วหูด้วยกระดาษมวนบุหรี่ (cigarette paper)ที่ป้ายด้วยยาปฏิชีวนะและขี้ผึ้ง
มีอันตรายเป็นหูน้ำหนวกอยู่นานแก้วหูทะลุทั้งหมด
อาการ
8 more items...
การรักษา
ผ่าเอาฝีออก และให้ยาปฏิชีวนะ ร่วมกับ steroid
ซ่อมแซมกระดูกหู และปะแก้วหูพร้อมกัน เรียก Tympanoplasty
ให้ยาขยายหลอดเลือด เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงประสาทได้เต็มที่
ให้ยาวิตามิน บี 12 เพื่อบำรุงประสาท
ลุกลามถึงหูชั้นใน ทำลายกระดูก Mastoid ต้องทำผ่าตัด Mastoidectomy
การผ่าตัดหู
Myringoplasty ตกแต่ง หรือปะแก้วหู
Tympanoplasty การตกแต่งหูชั้นกลาง รวมทั้งการปะแก้วหู
และตกแต่งกระดูกหู
Mastoidectomy การผ่าตัดกระดูก มาสตอยด์ออก เพื่อรักษาอาการติดเชื้อ
Tympanomastoidectomy การผ่าตัดกระดูก มาสตอยด์ออก
รวมทั้งปะแก้วหู และตกแต่งกระดูกหู
Stepedectomy การผ่าตัดเอากระดูก stepes
ออก แล้วใส่ prostesis เข้าแทนที่
Facial nerve decompression ผ่าเพื่อลดการถูกกดของ Facial nerve
การดูแลผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดหู
หลังผ่าตัด
ถ้าแผลสะอาดดีไม่ต้องเปลี่ยนผ้าปิดแผลจนกว่าจะตัดไหม
การดูแลด้านอาหาร หลังผ่าตัดรับประทานอาหารอ่อนได้ และเคี้ยวอาหารด้านตรงข้ามกับด้านที่ทำผ่าตัด
ระวังผ้าปิดแผลเปียกน้ำ ระมัดระวังการอาบน้ำ
อาการเวียนหัวอาจเกิดได้ ให้นอนพัก เปลี่ยนท่าช้าๆ ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุ
เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการผ่าตัด เช่น อาการทางสมอง ต้องประเมินอาการเปลี่ยนแปลง อาเจียน วิงเวียนศีรษะ
ผู้ที่ปะแก้วหู แนะนำไม่ให้ผู้ป่วยสั่งน้ำมูก หรือจามแรงๆ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ขณะไอ จาม ต้องอ้าปาก เพื่อระบายแรงดันให้ออกภายนอก
ผู้ป่วยหลังผ่าตัด stepedectomy ห้ามก้มมากๆ หรือห้ามขึ้นเครื่องบินจนกว่าแพทย์จะอนุญาต และงดกิจกรรมที่ต้องออกแรง เป็นเวลา 2 สัปดาห์
ผู้ป่วยหลังผ่าตัด Radical mastoidectomy จะมีdischarge ไหลออกมากและมีกลิ่นเหม็น แพทย์จะเปิดแผลทุก 2-3 วัน
คำแนะนำเมื่อกลับบ้าน
การใช้ยาทั้งยารับประทาน ยาหยอดหู บรรเทาปวด ยา anti histamine ยาลดบวม
ในกรณีที่มีแผลที่หลังหู งดสระผม จนกว่าจะตัดไหม
หรือแผลผ่าตัดหายดีแล้ว หลังผ่าตัดตัดใบหูจะชาไปหลายเดือน
ระวังน้ำเข้าหู ใส่หมวกอาบน้ำ
ดูแลสุขภาพอย่าให้เป็นหวัด ย้ำเรื่องการสั่งน้ำมูก และการจาม
อาจมีเสียงก๊อกแก๊กในหูได้ จากเลือดและสำลีที่แพทย์ใส่ไว้
การผ่าตัดปะแก้วหูการได้ยินจะดีขึ้นเมื่อแก้วหูที่ปะไวติดกันดีแล้ว
หูชั้นใน (Inner ear)
ส่วนที่ทำหน้าที่รับเสียง (Cochlear portion)
สามารถรับฟังเสียงได้ตั้งแต่ 20-20,000 Hz
เสียงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน 125-8,000 Hz ซึ่งจะใช้ในการทดสอบการได้ยิน
ส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการทรงตัว (Vestibular portion)
โรคของหูชั้นใน
ประสาทหูพิการมาแต่กำเนิด
หูพิการในผู้สูงอายุ
ประสาทหูพิการจากพิษของยา
Meniere’s disease (Vertigo)
ประสาทหูพิการจากเสียงรบกวน
ประสาทหูพิการจากเสียง
เนื้องอกประสาทหู
การอักเสบของหูชั้นใน
อุบัติเหตุ
Meniere’s disease (Vertigo)
ประสาทหูพิการ
มีเสียงดังในหู
เวียนศีรษะ
พยาธิสภาพ
มีการเปลี่ยนแปลงของหูชั้นใน ที่มีน้ำในหูชั้นในมากเกินไป ความดันของของเหลวในหูชั้นในเพิ่มสูงมากขึ้น และความดันนี้จะกดเซลล์รับเสียงพิการและตาย การได้ยินจะลดลง มักเกิดกับหูเพียงข้างเดียว คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ
การรักษาด้วยยา
ควบคุมสมดุลของสารน้ำอิเลคโตรลัยด์ โดยจำกัดน้ำและอาหาร ให้อาหารโปรตีนสูง เกลือต่ำ ให้ยาขับปัสสาวะ
ให้ยาขยายหลอดเลือด เช่น nicotinic acid และ histamine
ให้พักผ่อนอาจให้ยา phenobarbital
ให้ยา antiemitic , antiallergic
ให้ยาบำรุง
การรักษาด้วยการผ่าตัด
1.Endolymphatic shunt เป็นการทำ shunt เพื่อระบาย endolymphatic fluid
ทำการผ่าตัดเพื่อทำลายหูชั้นใน ได้แก่ membranous labyrinthectomy หรือ vestibular nerve section
การพยาบาล
ให้นอนพักศีรษะสูง ห้ามเคลื่อนไหว
ดูแลให้ได้รับยาระงับอาการเวียนศีรษะ
ระมัดระวังอุบัติเหตุ มีปัญหาเรื่องของการทรงตัว
งดดำน้ำ
บริหารศีรษะ (Head balance exercise) เพื่อบริหารระบบการทรงตัว
การตรวจหู
ปวด otalgia หรือ Earach
ของเหลวไหล otorrhea
3.หูอื้อ ได้ยินลดลง hearing loss
เสียงดังรบกวนในหู tinnitus aurium
5.เวียนศีรษะ บ้านหมุน Vertigo or dizziness
เสียงพูดผิดปกติ (speech disorders) ดัง เบา ไม่ชัด ใบ้
อัมพาตของใบหน้า (Facial paralysis)
ทรงตัวไม่ได้ หรือเดินเซ คลื่นไส้ อาเจียน
มีกลิ่นผิดปกติออกจากช่องหู
10 . ใบหู ช่องหู ผิดรูป
โรค
1.โรคของหูชั้นนอก
ถุงน้ำ มะเร็ง สิ่งแปลกปลอมเข้าหู ขี้หูอุดตัน
มีรูที่หน้าหู
ฝี การอักเสบ แก้วหูทะลุ
สิ่งแปลกปลอมเข้าหู
สิ่งมีชีวิต เช่น แมลง
การพยาบาล
เห็บ มด จะกัดแน่น ใช้แอลกอฮอล์ 70% หยอดลงไปฆ่า แล้วค่อยล้าง หรือคีบออก
แมลงปีก แมลงสาป ใช้น้ำหยอดเข้าในรูหูจนเต็ม มันจะออกมาเอง ถ้าไม่ออกให้ใช้วิธีเดียวกันกับ มด และเห็บ
สิ่งไม่มีชีวิต หิน ดิน กรวด เมล็ดพืช สำลี เม็ดพลาสติก
การพยาบาล
น้ำ ให้ใส่น้ำเพิ่มจนเต็มหู กดติ่งหน้าหู ให้น้ำรวมกันแล้วตะแคงออก
วัตถุก้อนกลม เล็กๆ ให้ล้างออก
วัตถุเป็นแผ่นเล็กๆ ชิ้นบาง ให้คีบออก
การล้างหู
syringe 20 cc.
น้ำอุ่น ±7 °c ของอุณหภูมิกาย
ดึงใบหูส่วนบนไปด้านหลัง
ฉีดน้ำอุ่นเข้าในรูหู เบาๆ ถ้าแรงเกินไป แก้วหูอาจฉีกขาดได้
Hearing loss
Conductive hearing loss การนำเสียงบกพร่อง ผิดปกติที่หูชั้นนอกและชั้นกลาง ไม่สามารถนำเสียงไปสู่หูชั้นในได้ พบใน คนที่ชี้หูอุดตัน แก้วหูทะลุ กระดูกสามชิ้นหลุดหายไป รักษาด้วยยาและการผ่าตัด
2.Sensorineural hearing los ประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง หรือประสาทหูเสื่อม ผิดปกติที่หูชั้นในเข้าไป เกิดจากการแพ้ยา เสียงระเบิด รักษาไม่ค่อยได้ ถึงรักษาไม่หาย
Mixed hearing loss สูญเสียการได้ยินแบบผสม การนำเสียงและประสาทรับฟังบกพร่อง ความผิดปกติที่หูชั้นกลาง และชั้นนอก รวมทั้งประสาทรับฟัง รักษาได้บ้าง
Functional or psychological hearing loss ผิดปกติที่ด้านจิตใจ ไม่มีพยาธิสภาพของหูโดยตรง ต้องรักษาทางจิตเวช
Central hearing loss มีพยาธิสภาพที่สมองส่วนกลางทำให้เสียงที่รับฟังจากหูผ่านประสาทไปเมื่อมาถึงสมองไม่สามารถรับและแปลความหมายได้ จึงไม่เข้าใจความหมายของเสียง เช่น เส้นเลือดในสมองแตก ทำให้ศูนย์การรับฟังไม่สามารถใช้การได้
เครื่องช่วยฟัง (Hearing aids)
Microphone ทำหน้าที่รับเสียงเข้า
Amplifier ทำหน้าที่ขยายพลังงานไฟฟ้าที่ส่งผ่านมาจากไมโครโฟน
Earphone ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าจาก amplifier ให้กลับเป็นพลังงานเสียง
ชนิดของเครื่องช่วยฟัง
ชนิดติดกับตัว (Body type hearing aids)
ชนิดติดไว้กับหู หรือศีรษะ (ear level type)
2.1 แบบทัดหลังใบหู (behind the ear hearing aids)
2.2 แบบแว่นตา (Eye glasses aids)
2.3 แบบช่อนไว้ในหู (In the ear aids)
ชนิดที่ผ่านกระดูกหู (Bone conduction hearing aids)
ชนิดตั้งโต๊ะ (Table type hearing aids)
การดูแลรักษาเครื่องช่วยฟัง
ทุกครั้งหลังการใช้งาน ควรเช็ดทำความสะอาด
ห้ามโดนน้ำ หรือถ้ากรณีที่เครื่องโดนน้ำ ควรรีบนำถ่านออกจากเครื่องและทำเครื่องให้แห้ง
3.ห้ามทำเครื่องหล่นพื้น เพราะอาจทำให้วงจรภายในเสียหายได้
อย่าพยายามแกะหรือเปิดเครื่องเอง
ทุกครั้งหลังการใช้งาน ควรถอดถ่านออกจากตัวเครื่อง และเก็บไว้ในกระปุกดูดความชื้น
การดูแลผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยิน
การช่วยเหลือด้านจิตใจ
การช่วยเหลือด้านการติดต่อสื่อสาร ใช้กิริยาท่าทางในการสื่อสาร
ก่อนการสนทนาเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมที่จะฟัง
ยืนตรงหน้าให้เห็นปาก อย่าตะโกน หรือพูดเสียงดังเกินไป
พูดช้าๆชัดๆ พูดใกล้หูข้างที่ดีกว่า หลีกเลี่ยงการใช้คำเดี่ยว
ให้ใช้เครื่องช่วยฟังเป็นประจำ
ถ้าไม่ได้ยินเลยต้องส่งอรรถบำบัด เพื่อฝึกการอ่านริมฝีปาก
ขี้หูอุดตัน (Impacted cerumen)
อาการหูอื้อ
ปวดหู ไม่สบายในหู
ตรวจหูจะมองเห็นขี้หูอัดกัน มองไม่เห็นเยื่อแก้วหู
การรักษา
การล้างออก ถ้าแข็งมากใช้ Glycerine borax หรือ 7.5% sodium bicarbornate หยอดหูวันละ 2-3 ครั้ง นาน 3-7 วัน แล้วล้างออก ถ้าขี้หูเปียกอาจใช้เครื่อง suction ดูดออก
การอักเสบ
สาเหตุ
เชื้อแบคทีเรีย เรียก Bactrial otitis เกิดจากพฤติกรรมการแคะหู ด้วยอุปกรณ์ที่ไม่สะอาด เช่น กิ๊บ เล็บ
ผิหนังในช่องรูหูจะถลอก และติดเชื้อตามมา หรือน้ำสกปรกเข้าหู เชื้อที่สำคัญ
อาการ
เจ็บในหู เมื่อขากรรไกรเคลื่อนไหว หรือ กดหน้าหูจะเจ็บมาก
มีไข้ อ่อนเพลีย ต่อน้ำเหลืองหลังหูโต กดเจ็บ ช่องหูบวมแดง
การรักษา
ดูดเอาหนองออก
หยอดยาปฏิชีวนะ ผสม ไฮโดรคอร์ติโซน วันละ 4 ครั้ง
กรณีที่มีการอักเสบเฉียบพลัน ต้องกินยาปฏิชีวนะ เช่น erythromycin
หรือ pennicillin นาน 7-10 วัน
ถ้ามีหนองไหล บวมมาก อาจต้องได้ยาป้าย เป็น antibiotic ointment
เชื้อรา Otomycosis เกิดขึ้นกับ หูชั้นนอก เข้าสู่ช่องหูโดยการแคะหู อุปกรณ์ เช่น ขนไก่ ขนนก ดอกหญ้า ซึ่งจะมีเชื้อราปนเปื้อนอยู่
อาการคัน
คัน ส่องดู จะเห็นเชื้อราสีขาว หรือเหลืองเกาะติดอยู่ที่ขี้หู
แก้วหูปกติ การได้ยินปกติ แต่คันมาก
การรักษา
ทำความสะอาดหู หยอดด้วย
tincture merthiorate 1:1,000
2% salicylic acid in alcohol
3% boric acid in alcohol
Amphoteracin B ใช้กับ เชื้อ Candida
ยาเหล่านี้อาจทำให้แสบในรูหู
งูสวัด Herpes zoster
อาการ
จะมีการอักเสบรุนแรง ไข้สูง ปวดแสบปวดร้อน
ในช่องหู และใบหู การอักเสบอาจลุกลามไปที่
ประสาทคู่ที่ 7 (Facial nerve) ทำให้เกิดอัมพาตของใบหน้า (facial paralysis) Bell palsy
หูชั้นกลางก็จะทำลายประสาทการรับฟังเสียงทำให้หูหนวก เรียกว่า herpes zoster oticus หรือ Ramsay Hunt syndrome
การรักษาพยาบาล
โดยทั่วไปรักษาตามอาการ ให้ยาบรรเทาปวด ยาป้ายตุ่มใส หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยต้องได้รับยาปฏิชีวนะ
ส่วนใหญ่จะหายเองภายใน 7 -21 วัน
หลังการหายอาจมีอาการปวด ขั้นตอนนี้ วิตามิน บี 12 จะช่วยทุเลาปวดโดยการบำรุงเส้นประสาทที่เกิดการอักเสบ
ให้ผู้ป่วยสังเกตการได้ยินของตนเอง และการเกิดอัมพาตของใบหน้า
การพยาบาลผูป่วยที่โรค จมูก
Epistaxis
สาเหตุ
การบาดเจ็บ เนื้องอกของจมูก มะเร็งหลังโพรงจมูก หลอดเลือดในจมูกฉีกขาด
โรคเลือด ความดันโลหิตสูง พิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่ได้รับเคมีบำบัด
Anterior epistaxis
Posterior epistaxis
การพยาบาล
จัดให้นอนท่า ศีรษะสูง หรือนั่งก้มหน้าเล็กน้อย เพื่อไม่ให้เลือดไหลงคอ เพราะอาจจะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน และไม่สามารถตรวจดูจำนวนเลือดที่ออกได้
วัดสัญญาณชีพ
ถ้าเลือดไม่ออกมากให้บีบจมูกนาน 5-8 นาที และให้หายใจทางปาก
ประคบเย็นที่สันจมูก
Adrenaline 1: 1,000 หรือ ephredine 1% พ่นจมูก หรือชุบก๊อสสอดเข้าในจมูก (ยกเว้นผู้ป่วยความดันโลหิตสูง)
จี้ไฟฟ้าด้วย
Nasal packing ด้วย gelform ,finger cot
การพยาบาลผู้ป่วยที่ทำ nasal packing
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ และให้ความร่วมมือ
ระหว่างทำ จะมีการดูดเอาเลือดออกก่อน เพื่อใส่ gauze packing
ให้ผู้ป่วยอ้าปากดูว่า gauze packing หลุดลงไปในคอหรือไม่ และยังมีเลือดออกอีกหรือไม่
เมื่อ pack เรียบร้อยแล้วให้นำ gauze ขนาด 4 x 4 พับครึ่งปิดด้านนอกอีกชั้นหนึ่ง
การพยาบาลผู้ป่วยหลัง nasal packing
หลังใส่ nasal packing แล้ว ถ้าใส่ทั้ง 2 ข้างผู้ป่วยจะต้องหายใจทางปาก และปากจะแห้ง
แปรงฟันได้ หากมีแผลในปากกลั้วคอด้วยน้ำยาบ่อยๆ หลีกเลี่ยงน้ำยาที่มีแอลกอฮอล์
กระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ ควรให้อาหารอ่อนหรืออาหารเหลว
ดูแลไม่ให้ริมฝีปากแตก
ดูแลให้นอนยกหัวสูง 45-60 องศา เพื่อลดอาการบวมบริเวณจมูก
ดูแลเกี่ยวกับอาการปวด ให้ยาบรรเทาปวด ประคบเย็น
ประเมินภาวะเลือดออกเพิ่ม
อาจมีอาการหูอื้อได้ เมื่อเอา packing ออก อาการจะหายไป
. ห้ามผู้ป่วยดึงก๊อซออก เอง packing จะถูกนำออก หลังจากใส่ไว้ 48-72 ชั่วโมง
ถ้าใส่ไว้นานเกิน 72 ชั่วโมง แพทย์จะใส่ Vaseline gauze packing เข้าไปในนิ้วของถุงมือที่ใส่ไว้ในจมูกอีกทีหนึ่ง และทารอบถุงมือด้วย antibiotic ointment ไว้ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่า Hb,Hct
หากเลือดไหลไม่หยุดอาจต้องเข้าห้องผ่าตัดเพื่อผูกหลอดเลือด
หลังนำ packing ออก ให้นอนนิ่งๆ 2-3 ชม. ห้ามสั่งน้ำมูกแรงๆ งดแคะจมูก 1 สัปดาห์
Nasal polyp
อาการ
อาการเช่นเดียวกับเป็นหวัด
คันจมูก ก้อนโตมากจะคันมาก
เกิดการปิดกั้น หายใจทางจมูกไม่ได้ต้องหายใจทางปาก
การได้กลิ่นลดลง หรือหายไป
ถ้าริดสีดวงขนาดใหญ่จนปิดรูเปิดไซนัส จะทำให้ไซนัสอักเสบ หนองไม่สามารถไหลออกมาได้สะดวก ทำให้ปวดศีรษะ บริเวณที่มีการอักเสบ
ถ้ามี Choanal polyp ด้วยจะทำให้หูอื้อ แบบการนำเสียงผิดปกติ
ตรวจจมูกพบ inferior turbinate ซีด
การรักษาพยาบาล
รักษาเช่นเดียวกับโรคภูมิแพ้ และการอักเสบเรื้อรังของจมูก
หากก้อนมีขนาดใหญ่ หายใจมาสะดวกต้องรักษาโดยการผ่าตัด ทำ Polypectomy ก่อนการผ่าตัดต้อง x-ray sinus ทุกราย หากมีการอักเสบของไซนัสด้วย ต้องทำผ่าตัดไซนัสพร้อมๆกัน เช่น Caldwell-Luc Operation หรือ Ethmoidectomy
หลังผ่าตัดจะปวด จมูกบวม ให้ประคบเย็นและลดบวม ถ้า
48 ชม.ยังบวมอยู่ แต่ไม่มีเลือดออกให้ประคบร้อน
อาจมีการงอกออกมาใหม่ได้ จึงต้องรักษาสาเหตุการเกิดให้ดี
Sinusitis
Acute sinusitis
สาเหตุ
เกิดขึ้นหลังจากเป็นหวัด ว่ายน้ำ น้ำสกปรกเข้าจมูก เรียก swimmer ‘s sinusitis
ชื้อgram positve cocci ได้ hemophilus influenza , staphylococci, pneumococci
การถอนฟันกรามบนทะลุเข้า maxillary sinus
อุบัติหตุ maxillary
อาการ
คัดจมูก น้ำมูกข้นเป็นหนอง
ปวดหนัก และกดเจ็บบริเวณที่อักเสบ ปวดมากตอนเช้าๆ
ถ้ารูไซนัสถูกปิดหมดไม่มีช่องทางออกของหนอง จะปวดบริเวณหัวตา หลังลูกตา ดั้งจมูกร้าวไปที่ขมับ
หายใจออก มีกลิ่นเหม็นในคอ ใน 24-48 ชม. น้ำมูกจะมีเลือดปน
เจ็บคอ เนื่องจากมีเสมหะลงคอ
หูอื้อ
ตรวจพบเยื่อบุจมูกแดง
การพยาบาล
ใช้ยาบรรเทาปวด
ประคบร้อน
ลดอาการบวมโดยใช้ยาหยอด หรือพ่นจมูก ที่ทำให้หลอดเลือดหดตัว
งดใช้ยากลุ่ม steroid ในขณะที่มีการอักเสบติดเชื้อ
ควบคุมการติดเชื้อโดยใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างน้อย 14 วัน
รับประทาน anti histamine และ anticongestant เพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก
ให้ยาละลายเสมหะ ให้ดื่มน้ำมากๆเพื่อละลายเสมหะ
พักผ่อนให้เพียงพอ
หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ชุมชน เพื่อป้องกันการติดเชื้อไปสู่ผู้อื่น
แนะนำสังเกตอาการแทรกซ้อนทางตา การรักษา acute sinusitis ใช้เวลานาน 4-6 สัปดาห์
Chronic sinusitis
สาเหตุ
1.รักษา acute sinusitis ไม่ได้ผล หรือไม่ได้รับการรักษา หรือเป็นซ้ำๆ ทำให้เซลล์ของเยื่อบุไซนัส ไม่สามารถขจัดเอาน้ำและน้ำออกไปได้
ฟันกรามบนผุ รากฟันกรามบนอักเสบ เหงือกอักเสบ เชื้อโรคกระจายเข้าสู่ maxillary sinus
เชื้อสาเหตุ เป็นกลุ่ม anaerobic หลายๆชนิด และจากเชื้อรา
อาการ
มีน้ำมูกข้น มูกปนหนอง สีเหลือง หรือสีเขียว กลิ่นเหม็น เป็นลักษณะสำคัญของการติดเชื้อ กลุ่ม anaerobe
ปวดน้อยกว่า acute sinusitis ปวดตื้อๆ
การได้กลิ่นลดลง
x-ray sinus พบว่าทึบ เพราะอาจมีหนองหรือน้ำขัง
การรักษาพยาบาล
ขจัดสาเหตุของโรค
ขจัดแหล่งการติดเชื้อ รับประทานยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 2 สัปดาห์
ให้การถ่ายเทของน้ำหรือหนอง ภายในไซนัสได้ดีขึ้น โดยลดอาการบวมของเยื่อบุจมูก
และไซนัส โดยใช้ antihistamine และ decongestant หรือโดยการเจาะล้างไซนัส
และการผ่าตัด antrostomy , endoscopic antrostomy , ethmoidectomy, Caldwell-Luc operation
หรือ Functional endoscopic sinus surgery (FESS)
หลีกเลี่ยงจากควันต่างๆ ไอระเหยของสารเคมี อากาศเย็นจัด ร้อนจัด
ลดอาการไอ ดื่มน้ำมากๆ
Caldwell-Luc operation
การดูแลหลังผ่าตัด
หลังผ่าตัดหน้าจะบวม ขอบตาช้ำ เพราะได้รับการกระทบกระเทือนจาการผ่าตัด
ดูแลให้นอนศีรษะสูง
3.ประคบเย็น เพื่อบรรเทาอาการปวด และลดบวม
บริเวณฟันและเหงือกจะชาไปหลายเดือน เพราะเส้นประสาทถูกตัดขาด
ระวังการกระทบกระเทือนแผลในปาก
ภาวะแทรกซ้อนหลังทำผ่าตัด FESS
เลือดออกสู่ลูกตา
ตาบวม ตาบอด จากมีการกระทบกระเทือนต่อ optic nerve
เกิดการรั่วของน้ำไขสันหลัง
เนื่องจากมีการทะลุของกระดูก ethmoid
และ cribriform plate
ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ
ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
Periorbital abscess
Orbital cellulitis
Cavernous sinus thrombosis
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
Epidural abscess
Brain abscess
มีถุงน้ำ หนอง ในไซนัส pyocele
Otoscope