Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสํารวจปิโตรเลียมและผลิตปิโตรเลียม (ผลิตปิโตรเลียม (หลุมผลิต…
การสํารวจปิโตรเลียมและผลิตปิโตรเลียม
การสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม
การสำรวจทางธรณีวิทยา(Geological exploration)
การสำรวจในขั้นนี้จะเริ่มต้นด้วยการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพธรณีวิทยาของพื้นที่ และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งได้มีการดำเนินการมาก่อนแล้ว เพื่อประเมินผล สำหรับการสำรวจเพิ่มเติมต่อไป
ถ้าพื้นที่สำรวจเป็นพื้นที่บนบก นักธรณีวิทยาจะต้องศึกษาสภาพธรณีวิทยาของพื้นที่ การใช้ภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายจากดาวเทียม ช่วยพิจารณาลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา (Geological structure) ของพื้นที่การสำรวจภาคสนามเพื่อตรวจสอบหินที่โผล่ให้เห็นบนพื้นผิว
ารตรวจวิเคราะห์อายุหิน การวิเคราะห์ตัวอย่างหินทางธรณีเคมี (Geochemical analysis) เพื่อหาหินต้นกำเนิดปิโตรเลียม (Source rock) และวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพของหิน การประเมินผลการสำรวจทางธรณีวิทยา ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตของพื้นที่ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีความเป็นไปได้ทางด้านหินต้นกำเนิดปิโตรเลียม หินกักเก็บปิโตรเลียม (Reservoir rock) ซึ่งจะกลายเป็นแหล่งปิโตรเลียมต่อไปได้
การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ (Geophysical exploration)
การสำรวจในขั้นนี้อาศัยหลักคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของชั้นหินชนิดต่างๆ อาทิ คุณสมบัติด้านแม่เหล็กไฟฟ้า คุณสมบัติในการเป็นตัวกลางของคลื่นชนิดต่างๆ เป็นต้นมาเป็นข้อพิจารณา
เพื่อตรวจสอบสภาพธรณีวิทยาใต้ผิวดิน ทั้งในเรื่องการเรียงลำดับชั้นหิน โครงสร้างทางธรณีวิทยา โดยใช้เครื่องมือทางธรณีฟิสิกส์ช่วยในการตรวจวัดคุณสมบัติต่างๆ ของหินที่อยู่ใต้ผิวดินลึกลงไปในพื้นที่สำรวจ
เทคนิคทางด้านธรณีฟิสิกส์ ที่นิยมนำมาใช้ในการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม คือ การตรวจวัดค่าความเข้มสนามแม่เหล็กโลก (Magnetic survey) การตรวจวัดค่าความโน้มถ่วง (Gravity survey) และการตรวจวัดคลื่นไหวสะเทือนของชั้นหิน (Seismic survey) การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์เพื่อตรวจวัดค่าความเข้มของสนามแม่เหล็กโลก และการตรวจวัดค่าความโน้มถ่วง จะช่วยในการกำหนดขอบเขตและรูปร่างของแอ่งตะกอนในอดีตใต้ผิวดินลึกลงไป
การเจาะสำรวจ (Drilling exploration)
เมื่อประเมินผลการสำรวจทางธรณีวิทยา และการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์เข้าด้วยกันแล้ว ก็สามารถกำหนดโครงสร้างที่คาดว่าจะเป็นแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมได้ในเบื้องต้น
และลำดับต่อไป ก็จะเป็นการเจาะสำรวจ โดยในขั้นแรก จะเป็นการเจาะสำรวจ เพื่อหาข้อมูลทางธรณีวิทยา เกี่ยวกับลำดับชั้นหินใต้พื้นผิวลึกลงไป ตรวจสอบลักษณะตัวอย่างหิน และยืนยันลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาใต้ดิน รวมทั้งเพื่อค้นหาปิโตรเลียมหรือร่องรอยของปิโตรเลียม
าผลการเจาะสำรวจพบว่ามีปิโตรเลียมสะสมตัวอยู่ในแหล่งใต้ดินลึกลงไป ก็จะมีการศึกษาและตรวจสอบข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม เช่น ลักษณะและคุณภาพปิโตรเลียม อายุของชั้นกักเก็บปิโตรเลียม ชนิดของหิน ความพรุนของเนื้อหิน (Porosity) และคุณสมบัติการให้ของไหลซึมผ่านเนื้อหิน (Permeability)
นอกจากนี้ ยังอาจมีการทดสอบหลุมเจาะสำรวจ เพื่อประเมินหาความสามารถในการผลิตปิโตรเลียมจากแหล่งกักเก็บที่สำรวจพบด้วย ขั้นต่อไปจะเป็นการเจาะสำรวจเพิ่มเติม เพื่อกำหนดขอบเขตที่แน่นอนของแหล่งปิโตรเลียม ปริมาณการไหล ปริมาณสำรองของปิโตรเลียมในแหล่งกักเก็บ เพื่อการประเมินศักยภาพ และสมรรถนะของการผลิตปิโตรเลียมในเชิงพาณิชย์ต่อไป
แท่นขุดเจาะปิโตรเลียม ในแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ จ.กำแพงเพชร
ผลิตปิโตรเลียม
แหล่งก๊าซธรรมชาติ
แยกแก๊สเหลวออกจากแก๊สธรรมชาติโดยผ่านหน่วยแยกของเหลว
ผ่านแก๊สไปยังหน่วยกำจัดปรอท (Mercury removal unit) เพราะไอปรอทมีผลต่อการสึกกร่อนของระบบท่อแก๊สและเครื่องมื่อ ต่างๆ
ผ่านแก๊สไปยังหน่วยกำจัดความชื้น (Dehydration unit) ไอน้ำถูกกำจัดโดยกระบวนการกรองโมเลกุล ซึ่งเป็นสารที่มีรูพรุนสูง สามารถดูดซับน้ำออกจากแก๊ส
ผ่านแก๊สไปยังหน่วยกำจัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ โดยใช้สารละลายโพแทสเซียม
ทำให้แก๊สเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว โดยการเพิ่มความดันและลดอุณหภูมิ
ผ่านไปยังหอกลั่นเพื่อแยกแก๊สมีเทน โพรเพน และบิวเทนตามลำดับโดยการเพิ่มอุณหภูมิ
แหล่งน้ำมันดิบ ซึ่งประกอบด้วย
แหล่งน้ำมันบนบก
แหล่งน้ำมันดิบนอกชายฝั่ง
หลุมผลิต
แหล่งก๊าซธรรมชาติ
โดยธรรมชาตินั้น ก๊าซธรรมชาติเป็นของไหลที่มีน้ำหนักเบา สามารถไหลขึ้นมาด้วยตัวเองจากความดันสูงจากใต้พิภพ
หลุมผลิตในประเทศไทยที่นิยมใข้สำหรับก๊าซธรรมชาติ เป็นแบบหลุมแคบ หรือ Slim Hole ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์อะไรมากมาย ทำให้ลดต้นทุนการขุดเจาะ
เมื่อระยะการผลิตผ่านไปได้ระยะหนึ่งความดันจะลดลงจนถึงระดับหนึ่ง ทำให้ความดันที่ปากหลุมไม่สามารถส่งก๊าซจากแท่นหลุมผลิตต่อไปที่แท่นกระบวนการผลิตได้ ก็จะทำการติดตั้งเครื่องอัดก๊าซ (Booster Compressor) เพื่อช่วยเพิ่มความดันจากปากหลุมส่งไปที่แท่นกระบวนการผลิตได้
แหล่งน้ำมันดิบ
โดยธรรมชาตินั้น น้ำมันดิบเป็นของไหลที่มีน้ำหนักมากกว่าก๊าซธรรมชาติแต่เบากว่าน้ำ ช่วงการผลิตระยะแรกจะสามารถไหลขึ้นมาด้วยตัวเองจากความดันสูงจากใต้พิภพ แต่เมื่อความดันลดลงจนถึงระดับหนึ่ง น้ำมันดิบจะไม่สามารถไหลขึ้นมาบนปากหลุมได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องมีอุปกรณ์การผลิตเพิ่มเติม (Artificial Lift)
หลุมผลิตน้ำมันดิบส่วนใหญ่ยังเป็นหลุมแบบมาตราฐาน หรือ Conventional Hole เพื่อให้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ช่วยในการผลิตน้ำมันดิบในหลุมได้ เช่น ติดตั้งระบบการอัดก๊าซช่วยการผลิตน้ำมัน (Gas Lift), ติดตั้งระบบปั๊มผลิตน้ำมัน (Pump), ติดตั้งระบบแยกโซนการผลิต (Multi-zone Completion) เป็นต้น
ผลิตปิโตรเลียมในทะเลที่มีน้ำลึก
ระบบหอคอยที่มีสายโยง ใช้สำหรับผลิตปิโตรเลียมที่ระดับความลึกของทะเลตั้งแต่ 200 - 600 เมตร ใช้งบลงทุนประมาณ 9,000 ล้านบาท
ระบบแท่นผลิตใต้น้ำ ใช้สำหรับผลิตปิโตรเลียมที่ระดับความลึกของทะเลมากกว่า 600 เมตร
ระบบแท่นผลิตแบบทุนลอย ใช้สำหรับผลิตปิโตรเลียมที่ระดับความลึกของทะเลมากกว่า 1,000 เมตรขึ้นไป