Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ (Non stress test (NST) (รูปแบบการเต้นของหัวใจทารก…
การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์
Non stress test (NST)
เป็นการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในสตรีตั้งครรภ์ความเสี่ยงสูง วิธีนี้อาศัยหลักการการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจ ดู fetal heart rate variability ซึ่งเป็นการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนมัติต่อสิ่งกระตุ้น โดยมีการใช้มาก่อนในการตรวจสุขภาพทารกในระยะคลอด และต่อมาได้นำมาใช้ในระยะก่อนคลอด และตรวจด้วย electronic fetal monitoring ดู FHR pattern
-
วิธีการตรวจ
จัดท่า semi-Fowler หรือ ท่านอนตะแคงซ้าย จะดีกว่าท่านอนหงายซึ่งมักทำให้เกิด supine hypotension มีผลต่อการแปลผล NST
-
ติดเครื่อง electronic fetal monitoring โดยติดหัวตรวจ tocodynamometer เพื่อบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก ไว้ที่ตำแหน่งยอดมดลูก และหัวตรวจ FHR ไว้ที่ตำแหน่งหลังของทารกที่ได้ยินเสียงการเต้นของหัวใจชัดที่สุด
-
การแปลผล
Reactive
หมายถึง การเพิ่มขึ้นของ FHR มากกว่าหรือเท่ากับ 15 bpm และนานกว่า 15 วินาที อย่างน้อย 2 ครั้งในช่วงการตรวจ 20 นาที อาจเกิดในช่วงใดของการตรวจภายใน 40 นาทีก็ได้ โดยระหว่างที่ตรวจสามารถกระตุ้นการเคลื่อนไหวด้วย artificial larynx กระตุ้นครั้งละ 1-2 วินาทีที่หน้าท้องมารดาซึ่งสามารถทำซ้ำได้ 3 ครั้ง ถ้าอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ ให้ลดเกณฑ์ลง ให้มีการเพิ่มขึ้นของ FHR อย่างน้อย 10 bpm และนานกว่า 10 วินาที ก็ถือว่า reactive เช่นเดียวกัน โดยที่ FHR baseline อยู่ในช่วง 110-160 bpm และ baseline variability อยู่ในช่วง 5-25 bpm
-
-
แนวปฏิบัติ
ผล nonreactive
ให้ตรวจยืนยันด้วยวีธีอื่นเพิ่มเติม เช่น contraction stress tesr(CST) หรือ biophysical profile(BPP) หรือ Doppler ultrasound เป็นต้น ร่วมกับการตรวจ ultrasound ประเมินความผิดปกติของทารกในครรภ์ ปริมาณน้ำคร่ำ ร่วมด้วย
-
ประสิทธิภาพของ NST
การใช้ NST ในการตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ จะช่วยลด antenatal mortality ได้เพียง 0.3/1000 และ perinatal death ได้ 2.3/1000 ทั้งนี้ NST ถือว่ามี ความจำเพาะสูง มากกว่าร้อยละ 90 แต่ความไวต่ำประมาณร้อยละ 50 ซึ่งก็คือมี ผลบวกลวงสูงนั่นเอง ดังนั้น NST reactive สามารถเชื่อมั่นได้ว่าทารกในครรภ์สุขภาพดี แต่ถ้า nonreactive ยังบอกไม่ได้ว่าทารกอยู่ในภาวะอันตรายจริงหรือไม่ต้องตรวจยืนยันเพิ่มเติมเพื่อให้การดูแลรักษาที่เหมาะสม
-
-
-
คลื่นเสียงดอพเลอร์
เป็นการตรวจอัลตราซาวด์ และพัฒนาใช้คลื่นเสียงดอพเลอร์ มาแสดงการไหลเวียนของเลือดที่ไหลผ่าน ทำให้ทราบถึงพยาธิสภาพของการไหลเวียนเลือดที่ทารกและรก โดยสามารถวิเคราะห์จากการวัดความเร็วโดยตรงหรือวิเคราะห์รูปคลื่น ซึ่งการตรวจสามารถทำได้ทั้งที่ทารกในครรภ์และมารดา ส่วนใหญ่จะตรวจในรายที่มีปัญหา fetal growth restriction ดังจะกล่าวพอสังเขป
-
-
การตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์ในรายที่มีความผิดปกติของคลื่นเสียงดอพเลอร์และการถี่ของการตรวจด้วย biophysical profile(BPP)
-
-
-
-
-
-
-
-
-