Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สถานการณ์การใช้เชื้อเพลิงเพื่อการคมนาคม (3.1 สถานการณ์พลังงานของโลกและของป…
สถานการณ์การใช้เชื้อเพลิงเพื่อการคมนาคม
3.1 สถานการณ์พลังงานของโลกและของประเทศไทย
ในปัจจุบันที่ประชากรเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก มีการขยายขนาดพื้นที่อยู่อาศัยการพัฒนาชุมชนเมือง ส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรมอย่างไม่หยุดยั้งการผลิตสินค้าปรับเปลี่ยนจากการผลิตระดับครัวเรือนไปสู่ระดับอุตสาหกรรมเพื่อให้เพียงพอแก่ความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ระบบคมนาคมขนส่งเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
ประเทศไทยมีความต้องการพลังงานเพื่อกิจกรรมต่างๆ เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ พลังงานที่ใช่ในประเทศมาจากหลายแหล่ง ส่วนใหญ่มาจากธรรมชาติและใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้อีก ยิ่งประชากรเพิ่มจำนวนขึ้นความต้องการใช้พลังงานก็ยิ่งมากขึ้นด้วย
ปริมาณสำรองปิโตรเลียม (Petroleum Reserves)
ปริมาณปิโตรเลียมที่มีอยู่และสามารถผลิตได้ในเชิงพาณิชณย์ ณ วันที่กำหนดใดๆ ภายใต้เงื่อนไขสภาวะทางเศรษฐกิจและวิธีการผลิตในปัจจุบัน รวมถึงกฎระเบียบของรัฐ ปริมาณสำรองปิโตรเลียมแบ่งเป็นปริมาณสำรองน้ำมันดิบและปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ
ปริมาณสำรองน้ำมันดิบของโลกส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง รองลงมาคือทวีปอเมริกา แอฟริกา ส่วนเอเชียและยุโรปมีปริมาณสำรองน้ำมันดินน้อยที่สุด ส่วนปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของโลกส่วนใหญ่อยู่ในแถบตะวันออกกลาง รองลงมาคือแถบยูเรเซีย ส่วนบริเวณที่มีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติน้อยที่สุด คือ บริเวณอเมริกากลางและอเมริกาใต้และยุโรป
3.2 การใช้พลังงานด้านการคมนาคมของประเทศไทย
ปริมาณสำรองปิโตรเลียมจะช่วยให้เรามั่นใจถึงความมั่นคงของการใช้พลังงานในประเทศได้ และคาดการณ์การใช้พลังงานของประเทศได้อย่างถูกต้อง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้พลังงานของคนในประเทศด้วย
การคมนาคมขนส่งและภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนการใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน ในปริมาณมากแต่แหล่งพลังงานของประเทศมีปริมาณไม่เพียงพอแก่ความต้องการทำให้ต้องมีการนำเข้าพลังงานประเภทต่างๆมากขึ้นและส่งผลให้มีความจำเป็นต้องกำหนดและควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติ
3.3 การกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทั้งสิ้น แต่ประเทศไทยมีแหล่งปิโตรเลียมไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ ประเทศไทยจึงต้องนำเข้าน้ำมันดิบมากกว่าร้อยละ 80 ของความต้องการใช้ภายในประเทศ
โครงสร้างราคาน้ำมัน
ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำหนด ณ สถานีบริการ กำหนดขึ้นมาจาก 3 ส่วนใหญ่ๆ คือค่าต้นทุนน้ำมันร้อยละ 55-60 ภาาีและกองทุน ร้อยละ 30-35 และค่าการตลาดประมาณร้อยละ 10
ค่าต้นทุนน้ำมัน : เป็นค่าต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหรือน้ำมันดิบที่ซื้อจากโรงกลั่นหรือนำเข้าจากต่างประเทศ
ภาษีและกองทุน - ภาษี : รัฐบาลเป็นผู้กำหนดและเรียกเก็บภาษีจากผู้ค้าน้ำมัน ได้แก่ ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นเงินเรียกเก็บจากผู้บริโภค ภาษีเทศบาลซึ่งเป็นเงินเรียกเก็บเพื่อบำรุงท้องถิ่น
กองทุน : เป็นเงินที่เรียกเก็บจากผู้ค้าน้ำมัน เพื่อจัดเก็บเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ค่าการตลาด : เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจของบริษัทผู้ประกอบการ เช่น ค่าสารปรับปรุงคุณภาพ ค่าขนส่ง
3.4 ผลกระทบและแนวทางการแก้ไขผลจากการใช้เชื้อเพลิงเพื่อการคมนาคม
การสำรวจ การผลิต และการใช้ปิโตรเลียมอย่างถูกวิธี ทำใหมนุษย์มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นสามารถดำรงชีวิตอย่างสะดวกสะบาย สามารถเพิ่มผลผลิตด้านอุตสาหกรรม พัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญรุดหน้า แต่ถ้าเราใช้ปิโตรเลียมอย่างไม่ประหยัด ไม่ถูกวิธีและไม่ได้ควบคุมการปล่อยของเสียต่างๆ
การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดังกล่าวอย่างประหยัดและเหมาะสม และการนำพลังงานประเภทอื่นๆ มาใช้ทดแทนพลังงานดังกล่าวเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับมนุษย์ เมื่อปิโตรเลียมหมดลง ซึ่งการใช้พลังงานทดแทนจำเป็นต้องคำนึงถึงผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมด้วย