Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางการพยาบาล (ข้อดี (การถ่ายทอดเนื้อหาทาง…
การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางการพยาบาล
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน (Instructional Media) สื่อ (Media) หมายถึง ตัวกลางที่ใช่ถ่ายทอดหรือนำความรู้ ในลักษณะต่าง ๆ จากผู้ส่งไปยังผู้รับให้เข้าใจ ความหมายได้ตรงกันในการเรียนการสอนสื่อที่ใช้เป็นตัวกลางนำความรู้ในกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนเรียกว่าสื่อการสอน (Instruction Media)
องค์ประกอบของ e-Learning
องค์ประกอบของ e-Learning องค์ประกอบในการสร้าง e-Learning ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ เนื้อหา ระบบบริหารจัดการรายวิชา โหมดการติดต่อสื่อสาร และแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ โดย มีรายละเอียด
เนื้อหา (content)
เนื้อหาถือเป็นองค์ประกอบสําคัญที่สุดสําหรับ e-Learning การที่ผู้เรียนจะบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนใน ลักษณะนี้ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับการออกแบบการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ใน e-Learning ในการออกแบบประกอบไปด้วย รายละเอียดของเนื้อหาและความรู้ต่างๆ ที่ผู้สอนได้จัดเตรียมไว้ ให้แก่ผู้เรียน ผู้เรียนมีหน้าที่ในการแปลงเนื้อหา (convert content) ที่ผู้สอนเตรียมไว้ให้เกิดเป็นความรู้ โดยผ่านการคิด วิเคราะห์อย่างมีหลักการและเหตุผลด้วยตัวเอง
ระบบบริหารจัดการรายวิชา
ระบบบริหารจัดการเป็นเสมือนระบบที่รวบรวมเครื่อง มือซึ่งออกแบบไว้เพื่อให้สะดวกแก่ผู้ใช้ในการจัดการเรียน การสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน และผู้บริหารเครือข่าย
โหมดการติดต่อสื่อสาร
การประชุมทางคอมพิวเตอร์
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
ลักษณะการนำ e-Learning มาใช้ในการเรียน
สื่อเสริม
สื่อเติม
สื่อหลัก
ข้อดี
การถ่ายทอดเนื้อหาทาง multimedia ช่วยให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนจากสื่อข้อความ เพียงอย่างเดียว
ติดตามพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนได้อย่าง ละเอียดและตลอดเวลา
ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหัวข้อใดก่อนก็ได้ โดยไม่ ต้องเรียงเนื้อหา (non-linear)
ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามจังหวะของตนหรือ ตามความต้องการของตน (self-paced learning)
สนับสนุนการเรียนการสอนแบบ Active learning และส่งเสริมทักษะของคนในศตวรรษที่ 21
สามารถลดต้นทุนในการจัดการศึกษาในกรณีที่ ผู้เรียนมีจำ นวนมาก
ข้อเสีย
ผู้สอนควรมีความพรอมทางด้านทักษะคอมพิวเตอร์รับผิดชอบต่อการสอนมีความใส่ใจกับผู้เรียนโดยไม่ทิ้งผู้เรียน และต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ให้ เนื้อหามาเป็น (facilitator)
เนื้อหาภายใน e-Learning ต้องมีการปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ หากไม่มีการปรับปรุงอาจทำให้ไม่น่าสนใจ หรือขาดแรงจูงใจในการเข้าใช้
สิ่งอํานวยความสะดวก (facilities) เช่น คอมพิวเตอร์ด้านความเร็ว และจุดบริการของอินเตอร์เน็ต
การออกแบบสื่อ e-Learning ที่ไม่เหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียน
ผู้เรียนบางคนอาจชอบเรียนแบบดังเดิม (passive learning) ทำให้ปฏิเสธการเรียนการสอนผ่านสื่อ e-Learning
ผู้สอนไม่สามารถทราบได้ว่าผู้เรียนกำลังสับสนหรือเข้าใจในเนื้อหา หรือไม่ หากไม่มีการติดต่อสื่อสารกันทางเว็บ อีเมลล์ การอภิปราย หรือ วิธีการอื่น ๆ
ตัวอย่างการออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)
การวิเคราะห์
การออกแบบ
การนำไปใช้
ก่อนการเปิดการเรียนการสอนอาจารย์ผู้สอนประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลระบบ เรื่องการเตรียมพร้อมรหัสผู้ใช้ (username) และรหัสผ่าน (password) และในวันแรกของการจัดการเรียนการสอนผู้สอนปฐมนิเทศการเรียนรู้ด้วยสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) ประกอบด้วย การเข้าถึงระบบโดย ผู้เรียนทุกคนทดลองใช้รหัสผู้ใช้และรหัสผ่านหากมีปัญหาดำเนิน ปรับแก้ไขในทันที วิธีการเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้
ผู้บริหารควรเห็นความสำคัญของการพัฒนาการ จัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วย e-Learning โดย อาจส่งเสริมในลักษณะของสื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่มี ความเพียงพอต่อผู้เรียน สัญญาณอินเตอร์เน็ตที่มีความเสถียร เงินสนับสนุนในการพัฒนาความรู้ของอาจารย์ผู้สอนหรือ เจ้าหน้าที่ และการสร้างสื่อ e-Learning
ผู้สอนควรเห็นความสำคัญของการจัดการเรียน การสอนด้วยสื่อ e-Learning เห็นความสำคัญของการพัฒนา ทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 และเปิดใจยอมรับกับแนวการ เรียนการสอนใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น 3. ผู้เรียนต้องเข้าใจวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (active learning) เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยสื่อ e-Learning และเข้าใจแนวทางในการพัฒนาทักษะของคนในศตวรรษที่ 21